คดี สืบเนื่อง มาจาก ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอน การ ยึดทรัพย์ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1258 ซึ่ง ผู้คัดค้าน ยึด ไว้ และ ขอ ดำเนินคดี อย่างคนอนาถา โดย ยกเว้น ค่าธรรมเนียมศาล ใน ทุนทรัพย์ ที่ เพิ่มขึ้นผู้คัดค้าน และ โจทก์ ยื่น คำคัดค้าน ศาลชั้นต้น ไต่สวน คำร้องขอ ดำเนินคดีอย่าง คนอนาถา แล้ว มี คำสั่ง ว่าคดี ไม่มี มูล ให้ยก คำร้อง หาก ผู้ร้องประสงค์ จะ ดำเนินคดี ต่อไป ให้ นำ ค่าธรรมเนียมศาล มา ชำระ ภายใน15 วัน หลังจาก ผู้ร้อง ได้ ฟัง คำสั่ง แล้ว 10 วัน เมื่อ วันที่7 มิถุนายน 2536 ผู้ร้อง อุทธรณ์ คำสั่งศาล ชั้นต้น ว่าคดี ของ ผู้ร้องมีมูล ที่ จะ ขอให้ปล่อย ที่ดินพิพาท และ ผู้ร้อง เป็น คน ยากจน ไม่มีทรัพย์สิน ที่ จะ นำ มา วาง เป็น ค่าธรรมเนียมศาล ได้ ศาลชั้นต้น สั่ง ว่าผู้ร้อง ยื่น อุทธรณ์ คำสั่ง เมื่อ พ้น กำหนด 7 วัน ไม่รับ อุทธรณ์ คำสั่ง
ต่อมา วันที่ 13 กรกฎาคม 2536 ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้องยัง ประสงค์ จะ ขอ ดำเนินคดี ต่อไป จึง ขอ นำ เงิน ค่าธรรมเนียมศาลมา ชำระ ภายใน กำหนด 10 วัน นับแต่ วัน ยื่น คำร้อง
ศาลชั้นต้น สั่ง ใน คำร้อง ว่า ศาล มี คำสั่ง ให้ ผู้ร้อง นำ ค่าธรรมเนียม ชำระ ภายใน 15 วัน แต่ ผู้ร้อง ไม่นำ มา ชำระ ภายในกำหนด หรือ ยื่น คำร้องขอ ขยายเวลา ภายใน กำหนด และ ได้ ใช้ สิทธิ อุทธรณ์คำสั่งศาล ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง เข้า มา วัน นี้ เมื่อ พ้น กำหนด แล้วจึง ไม่อนุญาต ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ตาม ฎีกา ผู้ร้อง ใน ชั้น นี้ ว่า มีเหตุที่ จะ อนุญาต และ กำหนด เวลา ให้ ผู้ร้อง นำ เงิน ค่าธรรมเนียมศาลมา ชำระ ต่อ ศาล อีก หรือไม่ เห็นว่า เมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 2536ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่าคดี ผู้ร้อง ไม่มี มูล ให้ยก คำร้อง หาก ผู้ร้องประสงค์ จะ ดำเนินคดี ต่อไป ให้ ผู้ร้อง นำ ค่าธรรมเนียมศาล มา ชำระ ภายใน15 วัน เมื่อ ผู้ร้อง ไม่เห็น พ้อง ด้วย กับ คำสั่งศาล ชั้นต้น ก็ ต้องอุทธรณ์ คำสั่ง นั้น ต่อ ศาลอุทธรณ์ ภายใน กำหนด 7 วัน นับแต่ วัน มีคำสั่ง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้ายซึ่ง ครบ กำหนด อุทธรณ์ ใน วันที่ 4 มิถุนายน 2536 แต่ ผู้ร้อง ได้ ยื่นอุทธรณ์ ใน วันที่ 7 มิถุนายน 2536 เมื่อ พ้น กำหนด เวลา อุทธรณ์ แล้วและ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับ อุทธรณ์ ของ ผู้ร้อง ซึ่ง ผู้ร้อง มีสิทธิยื่น คำร้องอุทธรณ์ คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ ไม่รับ อุทธรณ์ ไป ยัง ศาลอุทธรณ์ได้ ภายใน 15 วัน นับแต่ วันที่ ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่ ผู้ร้อง หา ได้กระทำ ไม่ คำสั่งศาล ชั้นต้น เมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 2536 จึง ยัง คง มีผลบังคับ ต่อไป และ ย่อม เป็น อัน ถึงที่สุด หาใช่ เป็น อัน ถูก เพิกถอน ไป โดย การยื่น อุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2536 ของ ผู้ร้อง แต่ ประการใด ไม่กรณี จึง ไม่มี เหตุ ที่ ศาลชั้นต้น จะ ต้อง กำหนด เวลา ให้ ผู้ร้อง วางเงินค่าธรรมเนียมศาล ใหม่ เมื่อ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับ อุทธรณ์ อีก แต่อย่างใด ดังนั้น ถ้า ผู้ร้อง ประสงค์ จะ ดำเนินคดี ต่อไป ก็ ต้อง ปฏิบัติตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น ดังกล่าว โดย นำ ค่าธรรมเนียมศาล มา ชำระ ต่อศาลชั้นต้น ภายใน 15 วัน นับแต่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2536 ซึ่ง ครบ กำหนดใน วันที่ 12 มิถุนายน 2536 ตรง กับ วัน เสาร์ หยุดราชการ ผู้ร้องมีสิทธิ ที่ จะ นำ ค่าธรรมเนียมศาล มา ชำระ ต่อ ศาลชั้นต้น ได้ ใน วันที่ 14มิถุนายน 2536 ซึ่ง เป็น วันที่ เริ่ม ทำการ ใหม่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 แต่ ผู้ร้อง ก็ ไม่ได้ นำ ค่าธรรมเนียมศาล มา ชำระ ต่อ ศาลชั้นต้น ภายใน กำหนดทั้ง มิได้ ยื่น คำร้องขอ ขยาย ระยะเวลา นำ ค่าธรรมเนียมศาล มา ชำระ ต่อศาลชั้นต้น ก่อน สิ้น ระยะเวลา เช่นว่า นั้น จึง ถือว่า ผู้ร้อง ไม่ประสงค์ที่ จะ ดำเนินคดี ต่อไป การ ที่ ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ลงวันที่ 13 กรกฎาคม2536 ต่อ ศาลชั้นต้น อ้างว่า พอ ที่ จะ รวบรวม เงิน เป็น ค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน ได้ แล้ว ขอ นำ ค่าธรรมเนียมศาล มา วาง ต่อ ศาลชั้นต้น ภายใน กำหนดเวลา 10 วัน นับแต่ วัน ยื่น คำร้อง จึง เป็น การ ยื่น คำร้อง เมื่อ พ้นระยะเวลา ตาม ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด แล้ว แม้ พอ ถือได้ว่า เป็น การที่ ผู้ร้อง ขอ ขยาย ระยะเวลา นำ ค่าธรรมเนียมศาล มา ชำระ ต่อ ศาลชั้นต้นแต่ ก็ ไม่ เข้า กรณี มีเหตุ สุดวิสัย ที่ ศาลชั้นต้น จะ สั่ง อนุญาต ตาม คำขอ ของผู้ร้อง ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23คดี จึง ไม่มี เหตุ ที่ จะ อนุญาต และ กำหนด เวลา ให้ ผู้ร้อง นำ ค่าธรรมเนียมศาลมา ชำระ ต่อ ศาล อีก ได้
พิพากษายืน