ได้ความตามโจทฟ้องว่าจำเลยเงินตราต่างประเทสเข้ามาไนไนราชอานาจักรไทยเปนจำนวน ๙๔๕ เหรียน เทียบราคาเงินไทยเปนราคา ๕๓๘ บาท ๖๕ สตางค์ ทั้งนี้ รัถมนตรีว่าการกะซวงการคลังอนุญาตไห้นำติดตัวเข้ามาได้เพียง ๑๐ บาทเท่านั้น จำเลยจึงเปนผู้เงินตราต่างประเทสเข้ามาไนราชอานาจักรไทย โดยไม่รับอนุญาตเปนราคา ๕๒๘ บาท ๖๕ สตางค์
จำเลยไห้การว่า "ฉันซาบฟ้องแล้ว ขอรับสารภาพว่าได้ทำผิดจิงดังฟ้องโจท"
สาลชั้นต้นพิพากสาว่ามีความผิดตามกดหมายที่โจทอ้าง
สาลอุธรน์เห็นว่า โจทมิได้นำสืบว่าจำเลยนำเงินตราต่างประเทสล่วงพ้นผ่านด่านแล้วหรือไม่ จึงเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้ และกดหมายยังเปิดโอกาสไห้ผู้เงินตราต่างประเทสเข้ามานั้นขออนุญาตจากรัถมนตรีว่าการกะซวงการคลังได้อ้างคำพิพากสาดีกาที่ ๘๑๕/๒๔๘๕ ฉนั้นไนเรื่องนี้แม้จำเลยจะได้รับสารภาพตามฟ้องโจทก็ตาม เมื่อปรากตว่าการกะทำของจำเลยไม่เปนผิด จำเลยก็ยังไม่ต้องรับโทส พิพากสายกฟ้องโจท
โจทดีกา สาลดีกาเห็นว่า คดีเรื่องนี้โจทฟ้องว่าจำเลยนำเงินตราต่างประเทสเข้ามาไนราชอานาจักร จำเลยก็รับสารภาพว่าได้ทำผิดจึงดังฟ้องโจท โจทจำเลยไม่สืบพยาน ข้อเท็ดจิงเปนอันยุติ คดีไม่ปัญหามาสู่สาลเลยว่า เมื่อจำเลยถูกจับยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เข้ามาไนราชอานาจักรแล้ว และไม่มีข้อเท็ดจิงหรือพรึตการน์อันไดที่จะสแดงว่าการกะทำของจำเลยไม่เปนผิด เมื่อคดีเปนที่ยุตติว่การกะทำของจำเลยเปนการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกดหมาย และไม่ปรากตเหตุตามกดหมายหย่างไดที่จำเลยได้รับยกเว้นโทส สาลต้องพิพากสาลงโทสจำเลยตามความผิด ดีกา ๒ เรื่องนั้นเปนกรนีที่มีข้อเท็ดจิงและพรึกติการน์แตกต่างไปจากคดีเรื่องนี้ จึงพิพากสากลับคำพิพากสาสาลอุธรน์ บังคับคดีไปตามคำพิพากสาสาลชั้นต้น