คดี ทั้ง สอง สำนวน นี้ ศาลแรงงานกลาง รวม พิจารณา พิพากษา เข้า ด้วยกันโดย เรียก โจทก์ ตามลำดับ สำนวน ว่า โจทก์ ที่ 1 และ โจทก์ ที่ 2
โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง ใน ทำนอง เดียว กัน ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ออกจาก งาน แล้ว และ มิได้ ทำ ความเสียหาย แต่ จำเลย ไม่ยอม คืนเงิน ประกัน ให้ขอให้ บังคับ จำเลย คืนเงิน ประกัน ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง คน ละ 6,500 บาท
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย คืนเงิน ประกัน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1จำนวน 6,500 บาท และ ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 6,500 บาท
จำเลย ทั้ง สอง สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่าระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ข้อ 9.3 ที่ กำหนด ว่า จำเลยจะ คืนเงิน ประกัน ให้ แก่ ลูกจ้าง หลังจาก ลูกจ้าง พ้น สภาพ จาก การ เป็นลูกจ้าง ของ จำเลย ภายใน 30 วันนั้น เป็น เงื่อนเวลา ใน การ ที่ ลูกจ้างจะ เรียกเงิน ประกัน คืน ซึ่ง เป็น ประโยชน์ แก่ จำเลย จำเลย มีสิทธิยก ประโยชน์ แห่ง เงื่อนเวลา ดังกล่าว ขึ้น ปฏิเสธ ที่ จะ คืนเงิน ประกันให้ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง เรียกเงิน ประกัน คืน ก่อน กำหนดแต่เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง เรียกเงิน ประกัน คืน ก่อน กำหนด จำเลย หา ได้ยก ประโยชน์ แห่ง เงื่อนเวลา นี้ ขึ้น ปฏิเสธ ไม่ กลับ ปฏิเสธ ว่า โจทก์ทั้ง สอง ก่อ ความเสียหาย ให้ แก่ จำเลย ถือได้ว่า จำเลย ได้ สละ เสีย ซึ่งประโยชน์ แห่ง เงื่อนเวลา นั้น แล้ว ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 192 วรรคท้าย (ใหม่ ) และ บทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าว หา ได้ บัญญัติ ว่าการ สละ ประโยชน์ แห่ง เงื่อนเวลา จะ ต้อง ทำโดยชัดแจ้ง เป็น ลายลักษณ์อักษร ไม่ ดังนั้น เมื่อ มี พฤติการณ์ ที่ถือได้ว่า จำเลย สละ ประโยชน์ แห่ง เงื่อนเวลา แล้ว ก็ เป็น อัน บังคับได้ ตาม นั้น จำเลย จึง ไม่อาจ ยก ประโยชน์ แห่ง เงื่อนเวลา ที่ ได้ สละเสีย แล้ว มา เป็น ข้อต่อสู้ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ อีก โจทก์ ทั้ง สอง มีอำนาจ ฟ้องจำเลย ได้ คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง ชอบแล้ว อุทธรณ์ ของ จำเลยฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน