โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ตามหนังสือ แจ้ง ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ที่ 1037/2/04069-04071 ลงวันที่27 พฤษภาคม 2525 และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 เลขที่ 144/2534/1 ลงวันที่11 มีนาคม 2534
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา เพิกถอน การ ประเมิน ของจำเลย ที่ 1 ตาม หนังสือ แจ้ง ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ที่1037/2/04069-04071 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2525 และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 เลขที่ 144/2534/1 ลงวันที่11 มีนาคม 2534
จำเลย ทั้ง สี่ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า "ข้อเท็จจริง ฟังได้เบื้องต้น ว่า เมื่อ เดือน กุมภาพันธ์ 2521 จำเลย ที่ 1 ได้ มี หมายเรียกให้ โจทก์ ส่ง หลักฐาน สมุดบัญชี เอกสาร ต่าง ๆ พร้อม ทั้ง ให้ ส่ง บุคคลไป ให้ เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย ที่ 1 สอบถาม และ ตรวจสอบ การ เสียภาษีอากร สำหรับ รอบ ระยะเวลา บัญชี ปี 2515 ถึง ปี 2519 หลังจาก ตรวจสอบแล้ว ต่อมา วันที่ 30 มิถุนายน 2524 จำเลย ที่ 1 จึง แจ้ง การ ประเมินให้ โจทก์ นำ ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ไป ชำระ เพิ่มเติม ให้ จำเลย ที่ 1เนื่องจาก โจทก์ แจ้ง รายรับ ค่าเช่า อาคาร ต่ำกว่า ความ เป็น จริง วันที่27 กรกฎาคม 2524 โจทก์ อุทธรณ์ การ ประเมิน ต่อ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์วันที่ 6 มีนาคม 2532 โจทก์ ได้รับ แจ้ง คำวินิจฉัย อุทธรณ์ แล้ว โจทก์ฟ้อง จำเลย ที่ 1 กับพวก ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน และ คำวินิจฉัย ของคณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ต่อ ศาลภาษีอากรกลาง เป็น คดี หมายเลขดำที่ 68/2532 ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมิน และคำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ จำเลย ฎีกา ศาลฎีกา พิพากษายืนตาม คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 3819/2534 ใน ระหว่าง นั้น เมื่อ วันที่27 พฤษภาคม 2525 จำเลย ที่ 1 ได้ มี หนังสือ แจ้ง การ ประเมิน ไป ยัง โจทก์ว่า ใน รอบ ระยะเวลา บัญชี ปี 2517 ถึง ปี 2519 โจทก์ นำ ดอกเบี้ยเงินกู้ ยืม อัน มี ลักษณะ เป็น เงินทุน ซึ่ง ต้องห้าม ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5) มา หัก เป็น รายจ่าย เมื่อ ปรับปรุง การ คำนวณ กำไร สุทธิแล้ว ทำให้ โจทก์ มี กำไร สุทธิ เพิ่มขึ้น ต้อง เสีย ภาษี พร้อม เงินเพิ่มรวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 1,069,366.95 บาท โดย จำเลย ที่ 1 มิได้ มี การออกหมาย เรียก ให้ มา ไต่สวน ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 อีก คดี มีปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย ประการ แรก ว่า การ ประเมิน ของจำเลย ที่ 1 ใน คดี นี้ ชอบ ด้วย ประมวลรัษฎากร หรือไม่ ใน เรื่อง นี้ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 มาตรา 12 บัญญัติ ว่า"เว้นแต่ จะ มี บัญญัติ ไว้ เป็น อย่างอื่น ใน ลักษณะ นี้ ถ้า ภายใน เวลาห้า ปี นับแต่ วันที่ ได้ ยื่น รายการ แล้ว เจ้าพนักงาน ประเมิน มีเหตุอันควร เชื่อ ว่า ผู้ใด แสดง รายการ ตาม แบบ ที่ ยื่น ไม่ถูกต้องตาม ความจริง หรือไม่ บริบูรณ์ เจ้าพนักงาน ประเมิน มีอำนาจ ออกหมาย เรียกตัว ผู้ยื่น รายการ นั้น มา ไต่สวน และ ออกหมาย เรียก พยาน กับ สั่ง ให้ผู้ยื่น รายการ หรือ พยาน นั้น นำ บัญชี หรือ พยานหลักฐาน อื่น อันควร แก่เรื่อง มา แสดง ได้ แต่ ต้อง ให้ เวลา ล่วงหน้า ไม่ น้อยกว่า เจ็ด วัน นับแต่วัน ส่งหมาย " และ มาตรา 20 บัญญัติ ว่า "เมื่อ ได้ จัดการ ตาม มาตรา 19และ ทราบ ข้อความ แล้ว เจ้าพนักงาน ประเมิน มีอำนาจ ที่ จะ แก้ จำนวนเงินที่ ประเมิน หรือ ที่ ยื่น รายการ ไว้ เดิม โดย อาศัย พยานหลักฐาน ที่ ปรากฏและ แจ้ง จำนวนเงิน ที่ ต้อง ชำระ อีก ไป ยัง ผู้ต้องเสียภาษี อากร ใน กรณี นี้จะ อุทธรณ์ การ ประเมิน ก็ ได้ " เมื่อ พิจารณา จาก บทบัญญัติ ดังกล่าว แล้วเห็น ได้ว่า การ ประเมิน ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 20 จะ ต้อง มี การออกหมาย เรียก ตัว ผู้ยื่น รายการ มา ไต่สวน ตาม มาตรา 19 ก่อน และ การประเมิน เจ้าพนักงาน ประเมิน จะ ต้อง อาศัย พยานหลักฐาน ที่ ปรากฏ จาก การไต่สวน ดังนั้น เมื่อ พยานหลักฐาน ที่ ปรากฏ จาก การ ไต่สวน ตาม มาตรา 19มี อยู่ เท่าใด เจ้าพนักงาน ประเมิน จะ ต้อง ตรวจสอบ ให้ ครบถ้วนใน คราว เดียว กัน แล้ว จึง จะ มี การ แจ้ง การ ประเมิน ไป มิใช่ ว่า จะ ให้ อำนาจเจ้าพนักงาน ประเมิน ตรวจสอบ หลักฐาน เป็น ส่วน ๆ แล้ว ทยอย แจ้ง การ ประเมินไป ใน แต่ละ คราว เท่าที่ เห็นสมควร หาก ให้ เจ้าพนักงาน ประเมิน มีอำนาจที่ จะ แจ้ง การ ประเมิน หลาย ครั้ง ได้ เจ้าพนักงาน ประเมิน ก็ สามารถ ทำการ ประเมิน ได้ อีก โดย ไม่มี กำหนด ระยะเวลา ความรับผิด ของ ผู้เสียภาษีก็ ไม่มี กำหนด เวลา ที่ จะ สิ้นสุด ลง ได้ หาก จะ มี การ ประเมิน อีก ครั้งก็ ต้อง มี การ ออกหมาย เรียก ตัว ผู้ยื่น รายการ มา ไต่สวน ภายใน กำหนดเวลา ก่อน ไม่อาจ ที่ จะ อาศัย หมายเรียก มา ไต่สวน ครั้งเดียว เพื่อทำการ แจ้ง การ ประเมิน อีก ต่อไป ได้ ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่าการ ประเมินครั้งแรก เป็น การ ประเมิน ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4) ส่วน การ ประเมิน ครั้งหลัง เป็น การ ประเมิน ตามมาตรา 65 ตรี (5) นั้น การ ประเมิน ทั้ง สอง ครั้ง เป็น การ ประเมิน ตามประมวลรัษฎากร ต้อง อยู่ ใน บังคับ ตาม มาตรา 19 และ 20 เช่นเดียวกันที่ จำเลย อุทธรณ์ ประการ สุดท้าย ว่า ไม่มี ประเด็น ข้อพิพาท ว่าการออกหมาย เรียก ประเมิน ภาษีอากร ไม่ชอบ นั้น ใน เรื่อง นี้ แม้ โจทก์จะ ไม่ได้ ยกขึ้น อ้าง ใน คำฟ้อง โดยตรง ก็ ตาม แต่ ก็ มี ประเด็น ข้อพิพาทแห่ง คดี ว่า การ ประเมิน และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ชอบ หรือไม่ทั้ง ปัญหา เรื่อง การ ประเมิน ภาษีอากร โดย มิได้ มี การ ออกหมาย เรียกมา ไต่สวน ก่อน ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ดังกล่าว ข้างต้น เป็น ปัญหาอัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ชอบ ที่ ศาล จะ ยกขึ้นวินิจฉัย ได้ ฉะนั้น การ ประเมิน ภาษีอากร และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลยคดี นี้ จึง ไม่ชอบ ไม่จำต้อง วินิจฉัย อุทธรณ์ ข้อ อื่น ของ จำเลย ต่อไปศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา ชอบแล้ว อุทธรณ์ จำเลย ทั้ง สี่ ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน