ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกเสียภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่การค้า/หากำไร สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีคำนวณภาษีได้หากเกิดความสำคัญผิด
ตามมาตรา 48(4) แห่ง ป. รัษฎากร ที่กำหนดให้ผู้มีเงินได้ จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือ หากำไรเลือกเสียภาษีเฉพาะเงินได้ประเภทนี้ โดยไม่ต้องนำไป รวมคำนวณภาษีกับเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 48(1) และ (2) ก็ได้นั้น เป็นการให้สิทธิผู้เสียภาษี และมีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้แก่ผู้มีเงินได้ในประเภทดังกล่าว และสิทธิตามมาตรา 48(4) นี้ ก็มิได้มีข้อจำกัดไว้ว่าจะหมดไปเมื่อใด ดังนั้น จึงต้องถือว่า สิทธิของผู้เสียภาษีคงมีอยู่ตลอดเวลาที่ภาระในการเสียภาษียังมีอยู่ โจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งใน ทางการค้าหรือหา กำไร จึงมีสิทธิตามมาตรา 48(4) การที่โจทก์ ยื่นเสียภาษีโดย วิธีรวมคำนวณ ด้วยความเข้าใจผิดเพราะคิดหัก ค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ทำให้จำนวนภาษี ซึ่งคำนวณตามวิธีที่โจทก์ยื่น เสียภาษีขาดไปเป็นจำนวนถึง2,276,397.80 บาท ซึ่งถ้าโจทก์ แยกยื่นเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มุ่งในทาง การค้าหรือหากำไรแล้ว โจทก์จะมีจำนวนภาษีที่ต้องชำระเพิ่มอีกเพียง 98,800.99 บาท เท่านั้น เห็นได้ว่าการที่โจทก์ยื่นเสียภาษี โดยวิธีรวมยื่นนั้นเกิดขึ้นด้วยความสำคัญผิดเมื่อภาระหน้าที่ ในการชำระภาษีของโจทก์ยังมีอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลง วิธีการยื่นเสียใหม่โดยใช้วิธีการยื่นแยกเฉพาะเงินได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเพื่อ บรรเทาภาระภาษีตามที่ ประมวลรัษฎากรให้สิทธิไว้ได้ เพราะไม่ทำให้ จำนวนภาษีที่โจทก์จะต้องเสียโดยวิธีแยกยื่นตามมาตรา 48(4)นี้ขาดจำนวนไป การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอาการยื่นรวม ที่โจทก์ยื่นด้วยความสำคัญผิดมาเป็นหลักในการประเมินโดยไม่ให้ โอกาสโจทก์แก้ไขตามสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายย่อมเป็นการไม่ชอบ