โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี โจทก์ ไม่มี มูล พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ผู้ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลชั้นต้น อนุญาตให้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย มี ว่าคดี โจทก์ มีมูลที่ ต้อง รับ ไว้ พิจารณา หรือไม่ โจทก์ ฎีกา ว่า เมื่อ จำเลย ทำ สัญญากู้ยืมเงิน เอกสาร หมาย จ. 1 ให้ โจทก์ แล้ว จำเลย ได้ ออก เช็ค เอกสาร หมายจ. 2 ชำระหนี้ เงิน ที่ กู้ยืม ให้ โจทก์ ใน วันที่ ทำ สัญญากู้ยืม เงิน นี้จึง ถือว่า จำเลย ได้ ออก เช็ค เพื่อ ชำระหนี้ ที่ บังคับ ได้ ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แล้ว คดี โจทก์ จึง มีมูล ที่ศาล จะ รับฟ้อง ไว้ พิจารณา ต่อไป เห็นว่า เมื่อ โจทก์ มี สัญญากู้ยืม เงินเอกสาร หมาย จ. 1 มา แสดง ว่า จำเลย ได้ กู้ยืม เงิน ไป จาก โจทก์ ใน วันที่20 เมษายน 2537 ย่อม ฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่า จำเลย เป็น หนี้ เงินกู้ ยืมโจทก์ ตาม สัญญากู้ยืม เงิน ดังกล่าว เมื่อ จำเลย ได้ ออก เช็ค ชำระหนี้ เงินกู้ ดังกล่าว ไว้ ล่วงหน้า มอบ ให้ โจทก์ โดย วันที่ สั่งจ่าย ที่ ลงใน เช็ค ตรง กับ วันที่ ครบ กำหนด ชำระ เงิน ตาม สัญญากู้ยืม เงิน ดังกล่าวแล้ว การ สั่งจ่าย เช็ค ดังกล่าว ย่อม ถือว่า เป็น การ ออก เช็ค เพื่อ ชำระหนี้ที่ มี อยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย เมื่อ ธนาคาร ปฏิเสธ ไม่ ใช้ เงินตามเช็ค เพราะ บัญชี ปิด แล้ว เช่นนี้ การกระทำ ของ จำเลย ย่อม เข้าองค์ประกอบ ของ ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค ฯ มาตรา 4 แล้ว คดี โจทก์ จึง มีมูลที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ว่า จำเลย สั่งจ่าย เช็ค เป็น การ ประกันหนี้ เงินกู้ มิใช่ เป็น การ ออก เช็ค เพื่อ ชำระหนี้ การกระทำ ของ จำเลยจึง ไม่มี มูล ความผิด ตาม ฟ้อง นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ฟังขึ้น "
พิพากษากลับ ให้ ประทับ ฟ้อง