โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้ผลิต และ จำหน่าย เครื่องถ่าย เอกสาร อะไหล่ และ อุปกรณ์ สำหรับ เครื่องถ่ายเอกสาร ใช้เครื่องหมายการค้า อักษร โรมัน คำ ว่า MITA โดย โจทก์ ที่ 1 เป็น เจ้าของ และ ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ที่ ประเทศ ญี่ปุ่น และ ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า อักษร โรมัน คำ ว่า MITA ที่ ประเทศ ไทย เมื่อ วันที่ 12 กันยายน 2527 ใน สินค้า จำพวก เครื่อง ถ่ายเอกสาร เช่นเดียวกัน สำหรับ ใน ประเทศ ไทย โจทก์ ที่ 1 ได้ แต่งตั้งให้ โจทก์ ที่ 2 เป็น ตัวแทน จำหน่าย สินค้า ของ โจทก์ ที่ 1 ดังกล่าว โดยใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ที่ 1 แต่ ผู้เดียว โจทก์ ที่ 1 และที่ 2 ได้ โฆษณา สินค้า ดังกล่าว จน เป็น ที่ นิยม แพร่หลาย ใน ประเทศ ไทยจำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ได้ ร่วมกัน แสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ ด้วย การ เอา เครื่องหมายการค้า อักษร โรมัน คำ ว่า MITA และ ข้อความ ใน การ ประกอบการค้า ของ โจทก์ ทั้ง สอง ไป ใช้ โดย การ นำเข้า มา ใน ราชอาณาจักร จำหน่าย หรือ เสนอ จำหน่าย สินค้า อุปกรณ์สำหรับ เครื่องถ่ายเอกสาร ประเภท ผง หมึก (TONER) ชนิด ขวด และ ชนิด หลอด กับ ผง เหล็ก (DEELOPER) ชนิด ขวด โดย ได้ ใช้ เครื่องหมาย การค้า ของ โจทก์ ที่ 1 และ ข้อความ ระบุ รุ่น ของ เครื่องถ่ายเอกสาร ใช้อักษร โรมัน ดี ซี (DC) และ กลุ่ม ตัวเลข อารบิค บน กล่อง และ ฉลาก ปิด ขวด สินค้า นั้น เพื่อ แสดง ว่า เป็น ผลิตภัณฑ์ ของ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง แท้จริงแล้ว มิใช่ สินค้า ของ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 ทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง ได้รับความเสียหาย การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง ห้า เป็น การ ละเมิด ทำให้ โจทก์ทั้ง สอง เสียหาย คิด เป็น เงิน 200,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง ห้าร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ทั้ง สอง พร้อม ด้วยดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จและ ห้าม จำเลย ทั้ง ห้า นำเข้า มา ใน ราชอาณาจักร จำหน่าย หรือ เสนอจำหน่าย สินค้า อุปกรณ์ เครื่องถ่ายเอกสาร ที่ ใช้ เครื่องหมายการค้าอักษร โรมัน คำ ว่า MITA หรือ ที่ ปรากฏ ชื่อ รูป รอย เครื่องหมายการค้า หรือ ข้อความ ใน การ ประกอบการค้า ของ โจทก์ ทั้ง สอง โดย ที่ สินค้า นั้นมิได้ เป็น สินค้า ของ โจทก์ อีก ต่อไป
จำเลย ทั้ง ห้า ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง ห้า ไม่ได้ เอา ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือ ข้อความ ใด ๆ ใน การ ประกอบการค้า ของ โจทก์ ที่ 1 มา ใช้ หรือทำให้ ปรากฏ ที่ สินค้า หีบ ห่อ หรือ วัตถุ ที่ ใช้ ห่อ หุ้ม เพื่อ ให้ ประชาชนหลงเชื่อ ว่า เป็น สินค้า ของ โจทก์ ที่ 1 จำเลย ทั้ง ห้า มิได้ กระทำ ละเมิดต่อ โจทก์ ทั้ง สอง ข้อความ ที่ ปรากฎ บน สินค้า มิได้ เป็น การ เอา ชื่อ รูปรอย ประดิษฐ์ หรือ ข้อความ ใน การ ประกอบการค้า ของ โจทก์ ที่ 1 มา ใช้อีก ทั้ง ลักษณะ ของ สินค้า ดังกล่าว ต้อง นำ ไป ใช้ กับ สินค้า หลัก คือเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่ง ผู้ใช้ โดย ทั่วไป จะ เข้าใจ และ ไม่ได้ หลงเชื่อโจทก์ ที่ 1 จึง ไม่ได้ รับ ความเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง ห้า ร่วมกัน ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น เงิน 200,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง (2 กันยายน 2531) จน ถึง วัน ชำระ เสร็จห้าม จำเลย ทั้ง ห้า นำเข้า ใน ราชอาณาจักร จำหน่าย หรือ เสนอ จำหน่ายสินค้า อุปกรณ์ สำหรับ เครื่องถ่ายเอกสาร ที่ ปรากฎ เครื่องหมายการค้าอักษร โรมัน คำ ว่า MITA หรือ ปรากฏ ชื่อ รูป รอย เครื่องหมายการค้า หรือ ข้อความ ใน การ ประกอบการค้า ของ โจทก์ โดย ที่ สินค้า นั้น มิใช่เป็น ผลิตภัณฑ์ สินค้า ของ โจทก์
จำเลย ทั้ง ห้า อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง ห้า ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ว่า จำเลย ทั้ง ห้าได้ ละเมิด สิทธิ เครื่องหมายการค้า คำ ว่า mita ของ โจทก์ ที่ 1หรือไม่ เห็นว่า แม้ ที่ กล่อง บรรจุ สินค้า ผง หมึก และ ฉลาก ปิด ข้าง ขวดบรรจุ สินค้า ผง เหล็ก ที่ จำเลย ที่ 1 นำเข้า มา จำหน่าย จะ มี คำ ว่า MITA ซึ่ง เป็น เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ที่ 1 ที่ ได้ จดทะเบียน ไว้ ในประเทศ ไทย สำหรับ สินค้า เครื่องถ่ายเอกสาร แต่ จำเลย ทั้ง ห้า มิได้นำ คำ ดังกล่าว มา ใช้ อย่าง เครื่องหมายการค้า กล่าว คือ สินค้า ผง หมึกและ ผง เหล็ก ที่ จำเลย ที่ 1 นำเข้า มา ใน ราชอาณาจักร เพื่อ จำหน่ายมิได้ ระบุ ว่า เป็น ผง หมึก หรือ ผง เหล็ก ภายใต้ เครื่องหมายการค้า คำ ว่า mita ของ โจทก์ ที่ 1 สินค้า ดังกล่าว เป็น สินค้า ที่ ไม่มี เครื่องหมาย การค้า ระบุ หรือ ติด ไว้ ที่ กล่อง หรือ ขวด บรรจุ สินค้า สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า จดทะเบียน ของ โจทก์ ที่ 1 เป็น สิทธิ แต่ ผู้เดียว เพื่อ ใช้เครื่องหมายการค้า นั้น สำหรับ สินค้า จำพวก ที่ ได้ จดทะเบียน ไว้ เพื่อระบุ ว่า สินค้า นั้น เป็น ของ โจทก์ ที่ 1 และ แยกแยะ ให้ เห็นว่า สินค้าของ โจทก์ ที่ 1 แตกต่าง จาก สินค้า ของ ผู้ผลิต อื่น เท่านั้น หา ได้ รวม ไปถึง สิทธิ แต่ ผู้เดียว ที่ จะ ผลิต สินค้า ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่งสินค้า ที่ ผลิต ขึ้น นั้น อันเป็น สิทธิ ของ ผู้ทรง สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ไม่ ประกอบ กับ กล่อง และ ขวด บรรจุ ผง หมึก และ ผง เหล็ก ที่ จำเลย ที่ 1นำเข้า มา จำหน่าย ก็ มิได้ เขียน คำ ว่า MITA ให้ มี ลักษณะ บ่ง เฉพาะ ว่า mita เช่นเดียว กับ ของ โจทก์ ที่ 1 แต่ เขียน ด้วย ตัว พิมพ์ ใหญ่ ว่า MITA และ คำ ว่า TONER กับ DEVELOPER ก็ เขียน ด้วย ตัว พิมพ์ ใหญ่ เช่นเดียวกัน รวมทั้ง ข้อความ ว่า FOR USE IN ซึ่ง หมายความ ว่า ใช้ กับ หรือ ใช้ สำหรับ ก็ เขียน ด้วย ตัว พิมพ์ ใหญ่ เห็น ได้ ชัดเจนแม้ กล่อง และ ขวด บรรจุ สินค้า ดังกล่าว จะ มิได้ ระบุ ชื่อ บริษัท ผู้ผลิตแต่ ก็ มิได้ ระบุ ชื่อ บริษัท โจทก์ ที่ 1 ว่า เป็น ผู้ผลิต ผง หมึก และผง เหล็ก ที่ จำเลย ที่ 1 นำเข้า มา จำหน่าย ส่วน กล่อง บรรจุ ผง หมึกของ โจทก์ ที่ 1 คำ ว่า TONER เขียน ด้วย ตัว พิมพ์ ใหญ่ เฉพาะ อักษร T เพียง ตัว เดียว ตัวอักษร นอกนั้น เขียน ด้วย ตัว พิมพ์ เล็ก โดย เขียน ว่า Toner ตาม แนว นอน 6 แถว แถว ละ 8 คำ อยู่ ส่วน บน ของ กล่อง มี คำ ว่า mita เขียน ด้วย ตัวอักษร สี ขาว บน พื้น กรอบ สี่เหลี่ยม สีแดง เห็น ได้ เด่นชัดทั้ง หก ด้าน ของ กล่อง สี ดำ และ มี ชื่อ บริษัท โจทก์ ที่ 1 อยู่ ด้วย แต่ไม่มี ข้อความ ว่า FOR USE IN ส่วน ที่ ฉลาก ปิด ข้าง ขวด บรรจุ สินค้า ผง หมึก ของ โจทก์ ที่ 1 ก็ เป็น ฉลาก สี ฟ้า มี คำ ว่า mita เป็น ตัวอักษร สี ขาว เห็น เด่นชัด คำ ว่า TOMER เป็น ตัวอักษร เล็ก กว่า คำ ว่า mita มาก และ ฝา ขวด เป็น สี น้ำ เงิน แต่ ฉลาก ปิด ข้าง ขวด บรรจุ สินค้า ผง หมึก ของ จำเลย ที่ 1 เป็น สี น้ำตาล เข้ม มี คำ ว่า TONER FOR USE IN MITA เห็น ได้ เด่นชัด และ ฝา ขวด เป็น สี น้ำตาล เข้มกล่อง และ ขวด สินค้า ผง หมึก ที่ จำเลย ที่ 1 นำเข้า มา จำหน่าย กับ ของโจทก์ ที่ 1 จึง แตกต่าง อย่าง ชัดเจน สำหรับ ขวด บรรจุ สินค้า ผง เหล็กที่ จำเลย ที่ 1 นำเข้า มา จำหน่าย และ ของ โจทก์ ที่ 1 ก็ แตกต่าง กันชัดเจน เช่นกัน กล่าว คือ ที่ ฉลาก ปิด ข้าง ขวด สินค้า ของ จำเลย ที่ 1เขียน ด้วย ตัวอักษร สี น้ำตาล เข้า ใน กรอบ สี่เหลี่ยม สี เดียว กัน ว่า DEVELOPER FOR USE IN MITA DC-131/132/133 R/121/122/161/162/232 ส่วน ของ โจทก์ ที่ 1 มี คำ ว่า mita เขียน ด้วย ตัวอักษร สี ขาว อยู่ ใน กรอบ สี่เหลี่ยม พื้น สีแดง ข้อความ เขียน ด้วย ตัวอักษร สี ดำ บน พื้น สี ขาว ว่า DEVELOPER FOR USE IN MITA DC-131/132/133 R และ ชื่อ บริษัท โจทก์ ที่ 1 เขียน ด้วย ตัวอักษร สี ขาว อยู่ ใน กรอบ สี่เหลี่ยม พื้น สีแดงอยู่ ด้าน ล่าง ทั้ง ลักษณะ ของ ขวด ก็ แตกต่าง กัน ขวด ของ จำเลย ที่ 1เป็น ขวด ทรง กลม เรียบ ต่ำกว่า ขวด ของ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง เป็น ขวด กลม ทรง สูงฝา ขวด ของ จำเลย ที่ 1 เป็น สี น้ำตาล เข้ม ฝา ขวด ของ โจทก์ ที่ 1 เป็นสี ดำ ขอบ ด้าน ล่าง ของ ขวด ของ โจทก์ ที่ 1 ยัง มี คำ ว่า mita เป็น อักษร ตัว นูน อีก 4 คำ อยู่ รอบ นอก และ คอ ขวด ด้าน บน เป็น เส้นตรง นู น ยาวประมาณ 2 นิ้วฟุต ตาม แนว ดิ่งอยู่ รอบ ขวด อีก 8 เส้น ดังนี้ จากข้อความ ที่ ระบุ ข้าง กล่อง และ ขวด บรรจุ สินค้า ที่ จำเลย ที่ 1 จำหน่ายอย่าง ชัดเจน ว่า FOR USE IN MITA ซึ่ง หมายถึง สินค้า ที่ ใช้ กับ เครื่องถ่ายเอกสาร ม้า ประชาชน ผู้ต้อง ใช้ สินค้า ผง หมึก และ ผง เหล็ก ดังกล่าว ย่อม ทราบ ดี ว่า สินค้า ที่ จำเลย ทั้ง ห้า จำหน่าย มิใช่สินค้า ของ โจทก์ ที่ 1 เพียงแต่ เป็น สินค้า ที่ อาจ ใช้ แทน กัน ได้เท่านั้น ประชาชน จึง ไม่ สับสน หรือ หลงผิด ว่า สินค้า ที่ จำเลย ทั้ง ห้าจำหน่าย เป็น สินค้า ของ โจทก์ ที่ 1 แต่อย่างใด การ ที่ จำเลย ที่ 1โดย จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ได้ นำ ผง หมึก ตาม วัตถุ พยานหมาย ว.จ. 1 กล่อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 กับ ว.จ. 2 และ ผง เหล็กตาม วัตถุ พยาน หมาย ล. 3 เข้า มา จำหน่าย และ เสนอ จำหน่าย ใน ประเทศ ไทยดังกล่าว ยัง ถือไม่ได้ว่า จำเลย ทั้ง ห้า ได้ จำหน่าย หรือ เสนอ จำหน่ายสินค้า โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ที่ 1 และ ข้อความ ใน การประกอบการค้า ของ โจทก์ ทั้ง สอง เพื่อ ให้ ประชาชน หลงเชื่อ ว่า เป็นสินค้า หรือ การค้า ของ โจทก์ ที่ 1 การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง ห้า จึง ยัง ไม่เป็น การ ละเมิด สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า คำ ว่า mita ของ โจทก์ ที่ 1โจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่อาจ ขอให้ห้าม จำเลย ทั้ง ห้า นำเข้า มา ใน ราชอาณาจักรจำหน่าย หรือ เสนอ จำหน่าย สินค้า ผง หมึก และ ผง เหล็ก ที่ นำเข้า ดังกล่าวและ เรียก ให้ จำเลย ทั้ง ห้า ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ได้
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง