โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นสมุห์บัญชีอำเภอ มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีอากรเงินค่าภาษีและมีหน้าที่จัดทำเขียนรายการใบเสร็จเงินภาษีการค้า (พ.ศ.++) ซึ่งมี ๒ ท่อน.ต้นขั้วเป็นหลักฐานการตรวจสอบปลายขั้วมอบผู้ชำระภาษี จำเลยเขียนรายการจำนวนเงินในท่อนปลายขั้ว (ที่รับจากผู้ชำระค่าภาษีจริง) ซึ่งท่อนปลายนี้เป็นเท็จ.จำนวนเงินที่เกินจากเขียนท่อนปลายนี้จำเลยเอาไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว และเงินที่เรียกเก็บค่าภาษีเกินกว่าที่ควรนี้ จำเลยยักยอกเสียไม่นำส่งรัฐบาล ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.อาญา ม.๑๓๑,๑๓๕.๒๒๙,๒๓๐ (แก้ไข)
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นเห็นว่าผู้ชำระภาษีตามจำนวนเงินในใบเสร็จท่อนปลายถูกต้องตามความจริงแต่โจทก์กลับว่าใบเสร็จท่อนปลายนี้เป็นเท็จ ดังนี้ข้อเท็จจริงทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องลงโทษจำเลยไม่ได้ อนึ่งฟ้องยืนยันว่าจำเลยเรียกเก็บเงินค่าภาษีเกินจากที่ควรแล้วไม่ส่งรัฐบาล แต่ผู้เสียภาษีชำระเงินตรงตามใบเสร็จท่อนปลาย.จำลยมิได้เรียกเก็บเกิน.เป็นบรรยายความผิดตาม ม.๑๓๕ มิได้++บรรยายความผิดตาม ม.๑๓๑ เป็นแต่อ้างมาตราเข้ามาเฉย ๆ. จึงพิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ-์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกาในข้อ ก.ม.ว่าบรรยายฟ้องชัดเจนพอที่จะลงโทษจำเลยตาม ม.๑๓๑ ได้.
ศาลฎีกาเห็นว่า ก.ม.อาญา ม.๑๓๑ เป็นทบบัญญัติเรื่องเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ของรัฐบาลซึ่งอยู่ในความปกครองรักษาตามหน้าที่ของตน ฟ้องของโจทก์ทุกข้อกล่าวข้อความยืนยันซ้ำ ๆ กันแต่ในเรื่องจำเลยเรียกเก็บเงินค่าภาษีเกินกว่าที่ควรจะเก็บแล้วยักยอกเงินส่วนที่เรียกเกินมานั้นทั้งสิ้น แม้แต่ในฎีกาของโจทก์เองก็ยังยืนยันอยู่เช่นนั้น ซึ่งเห็นได้ชัดว่าโจทก์ฟ้องเจาะจงความผิดตาม ม.๑๓๕ โดยตรงมิได้มีข้อความประการใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์มุ่งหมายถึง ม.๑๓๑ นี้เลย เมื่อข้อเท้จจริงในคดีไม่ใช่เรื่องเรียกเก็บเงินค่าภาษีเกินกว่าที่ควรจะเก็บดังโจทก์ฟ้องนั้นแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง จึงพิพากษายืน