ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับบำนาญข้าราชการเมื่อกลับเข้ารับราชการใหม่ และการเรียกร้องเงินบำนาญเกินสิทธิ
สิทธิของจำเลยในการขอรับบำนาญจากโจทก์เมื่อกลับเข้า รับราชการใหม่จะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 มาตรา 34 ที่กำหนดว่า ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่า เงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการจะขอรับบำนาญรวมกัน ไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือนรวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิม ต้องลดบำนาญลงในระหว่างที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือน ใหม่รวมกับบำนาญไม่สูงกว่าเงินเดือนเดิม ถ้าเงินเดือนใหม่ เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิมก็ให้งดบำนาญในระหว่างนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนใหม่ในอัตราเดือนละ 750 บาท จำเลยมีสิทธิได้รับบำนาญเพียงเดือนละ 250 บาท ซึ่งเมื่อรวม กับเงินเดือนแล้วไม่สูงกว่าเงินเดือนก่อนลาออกจากราชการ ที่รับอยู่ในอัตราเดือนละ 1,000 บาท และเมื่อเงินเดือนใหม่ ของจำเลยสูงขึ้น สิทธิในการรับบำนาญของจำเลยก็จะต้องลดลง จนเมื่อเงินเดือนใหม่เป็นอัตราเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป จึงให้งดบำนาญเสียทั้งหมด สิทธิในการรับบำนาญของจำเลยในกรณีที่กลับเข้ารับราชการใหม่กับไม่เข้ารับราชการใหม่ จึงไม่ เหมือนกันและเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่น เพื่อ โจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของ ของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับ เข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่า สิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้ คืนจากจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ ของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ