ได้ความว่าจำเลยกับนางยาภรรยาโจทก์เป็นบุตร์ พ. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ พ.ตาย นางยากับโจทก์และนางสาวเทียบได้ปกครองที่นา ๕ โฉนดมาด้วยกันครั้น พ.ศ.๒๔๖๙ นางยาตายโดยไม่มีบุตร์กับโจทก์ ๆ กับนางสาวเทียบก็ปกครองที่นั้นมาด้วยกัน แล้วโจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ขึ้นว่าได้ปกครองที่มากับนางยาฝ่ายเดียวขอให้ศาลชี้ขาดว่าเป็นที่ของนางยากับโจทก์ จำเลยคัดค้านว่าโจทก์ไม่มีบุตร์กับนางยา ไม่มีสิทธิได้มฤดก
ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลล่างทั้ง ๒ ว่า เมื่อ พ.เจ้าของมฤดกตายแล้ว นางยากับโจทก์และ ท.จำเลยได้ปกครองที่นารายนี้มาด้วยกัน นางยามีสิทธิได้ส่วนมฤดกของ พ. เมื่อนางยาตายส่วนได้ของนางยาย่อมตกเป็นมฤดกของโจทก์ผู้สามี และข้อที่คัดค้านว่า โจทก์ไม่มีบุตร์กับนางยาไม่ควรได้ส่วนของนางยานั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติเช่นนั้นเลย จึงให้แบ่งที่ให้กับโจทก์และนางสาวเทียบคนละครึ่ง ส่วนนายต่วนและเด็กชายชิตไม่ได้ปกครองที่รายนี้และไม่ว่ากล่าวในอายุความ ไม่ควรได้ส่วนแบ่ง