โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๒๕๔, ๒๕๖.
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยผิดเพียงมาตรา ๒๕๔ จำคุก ๒ ปี.
โจทก์จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่า บาดแผลสาหัสตามมาตรา ๒๕๖ (๘) ให้จำคุก ๓ ปี.
จำเลยฎีกา,
ศาลฎีกาตรวจสำนวนแล้ว บาดแผลของผู้เสียหายตามรายงานชัณสูตรท้ายฟ้องมีดังนี้ แผลที่ ๑ กลางหลังกว้าง ๕ ซ.ม. ยาว ๘ ซ.ม. ทะลุกลวง ฐานแผลเรียบ
แผลที่ ๒ ท้ายทอย กว้าง ๓ ซ.ม. ยาว ๗.+ ซ.ม. ลึกถึงประโหลก ฐานแผลเรียบ
แผลที่ ๓ ท้ายทอย กว้าง ๓.๕ ซ.ม. ยาว ๘ ซ.ม. ลึกถึงกระโหลก ฐานแผลเรียบ
แผลที่ ๔ นิ้วชี้ซ้ายกว้าง ๓ ซ.ม. ยาว ๑.๗ ซ.ม. ลึก ๐.๒ ซ.ม. ฐานแผลเรียบ
แผลที่ ๕ นิ้วกลางซ้าย กว้าง ๐.๓ ซ.ม. ยาว ๐.๗ ซ.ม. ลึก ๐.๒ ซ.ม. ฐานแผลเรียบ.
แผลที่ ๖ นิ้วนางซ้าย กว้าง ๐.๓ ซ.ม. ยาว ๐.๗ ซ.ม. ลึก ๐.๒ ซ.ม. ฐานแผลเรียบ.
แผลที่ ๗ นิ้วก้อยซ้าย กว้าง ๐.๓ ซ.ม. ยาว ๐.๗ ซ.ม. ลึก ๐.๒ ซ.ม. ฐานแผลเรียบ
ทุกแผลถูกของแข็งมีคน รักษาประมาณ ๓๐ วันหาย ผู้เสียหายว่าต้องนอนรักษาตัวอยู่นานถึง ๑ เดือน ๑๙ วัน จึงขอทะเลา ลุกนั่งได้ สาธารณะสุขอำเภอ ผู้รักษาให้การว่า แผลที่ ๑ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงที หรือไม่ดีอาจถึงตายได้ จำเลยมิได้นำสืบโต้ แย้ง ศาลชั้นต้นก็ว่ารักษาเดือนเศษ ทำการงานอะไรไม่ได้เลย ค่อนข้างรุนแรงมาก ดังนี้จึงต้องฟังว่าเข้าลักษณะที่ไม่ สามารถประกอบการงานตามปกติได้เกินกว่า ๒๐ วันแล้ว เป็นบาดแผลสาหัสตามมาตรา ๒๕๖ (๘)
แต่เห็นว่าผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน จึงลดโทษให้ตามมาตรา ๕๙ กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลย ๑ ปี ๖ เดือนตามมาตรา ๒๕๖./