โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นคนต่างด้าวจำเลยได้ขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๘๖ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ กั่นยายน ๒๔๔๔ จำเลยได้ขอต่ออายุใบสำคัญประจำตัวชนิดที่ ๒ ตามความใน ม.๑๐ พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๓ มีกำหนด ๕ ปี จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระให้ครบภายในกำหนด ๗ วัน นับตั้งแต่วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๙๕ เป็นต้นไป ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๓ ม.๑๓ และฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๙๕ ม.๓,๔,๗ กับกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ ๒ ข้อ ๑ (พ.ศ. ๒๔๙๕)
จำเลยให้การต่อสู้ว่าเป็นคนไทย บิดามารดาเป็นผู้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแทน
โจทก์รับว่า จำเลยเกิดจังหวัดชุมพร จำเลยรับว่าบิดา มารดา จำเลยสัญชาติอินเดีย เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโ่จทก์ไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงงดสืบพยาน แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเป็นคนไทย ไม่ต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๖ ม.๕ จำเลยได้ขาดสัญชาติไทยแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.การทะบเียนคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๕ ม.๔ ให้ปรับจำเลย
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าจะยก พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๔๙๖ มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะ พ.ร.บ.นี้ ให้ใช้บังคับถัดจากวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ เป็นต้นไป ซึ่งเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว นอกจากนี้ตามพ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) ม.๔ ยังบัญญัติว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงผู้ที่ได้สัญชาติไทยอยู่ก่อนแล้ว ฉนั้นก่อนใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒ ) จำเลยจึงยังคงมีสัญชาติไทยอยู่ ยังไม่มีความผิดตามฟ้อง พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์