โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 67, 102 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 ริบของกลาง และเพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 จำคุก 2 ปีเพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก2 ปี 8 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่งคงจำคุก 1 ปี 4 เดือน ริบของกลาง
จำเลย อุทธรณ์ ขอให้ รอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยฎีกาว่า ถึงแม้ศาลแขวงพระนครเหนือจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกจำเลยในคดีก่อนเป็นเวลา 20 วันก็จริง แต่ศาลแขวงพระนครเหนือก็ได้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังไปแล้ว จึงเท่ากับว่าจำเลยมิได้ต้องโทษจำคุก การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิ่มโทษจำคุกแก่จำเลยหนึ่งในสามเป็นการไม่ซ้อนกันปรากฎว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ มาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 และ ได้ พ้นโทษ ไป แล้ว ก่อน หรือ ใน วันที่ พระราชบัญญัตินี้ ใช้ บังคับ โดย ให้ ถือว่า ผู้ นั้น มิได้ เคย ถูก ลงโทษ ใน กรณี ความผิดนั้น ๆ เมื่อ คดี ฟังได้ ว่า จำเลย พ้นโทษ ใน ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ตาม คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 7002/2535 ของ ศาลแขวง พระนคร เหนือไป ก่อน วันที่ 9 มิถุนายน 2539 ซึ่ง เป็น วันที่ พระราชบัญญัติดังกล่าว ใช้ บังคับ จำเลย จึง ได้รับ ประโยชน์ จาก พระราชบัญญัติ ดังกล่าวซึ่ง ถือว่า จำเลย ไม่เคย ถูก ลงโทษ ใน ความผิด นั้น มา ก่อน จึง ไม่อาจเพิ่มโทษ จำเลย ได้ คดี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลย เพราะ ไม่ทำ ให้ผล ของ คดี เปลี่ยนแปลง
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปีนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์