โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ กับ จำเลย เป็น เจ้าของรวม ใน ที่ดิน โฉนดเลขที่ 2242 เมื่อ เดือน สิงหาคม 2532 โจทก์ มี ความ ประสงค์ จะ แบ่งแยกที่ดิน จึง บอกกล่าว ให้ จำเลย และ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ไป ทำการ แบ่งแยก ที่ดินที่ สำนักงาน ที่ดิน ปรากฎ ว่า จำเลย คัดค้าน การ แบ่งแยก ที่ดิน ขอให้บังคับ จำเลย ไป ทำการ แบ่งแยก ที่ดิน ตาม ฟ้อง ให้ แก่ โจทก์ หาก จำเลยไม่ไป ขอให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย และ สามี จำเลย มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท 4 ใน 6 ส่วน คิด เป็น เนื้อที่ ประมาณ 357 ตารางวาจาก จำนวน เนื้อที่ ทั้งหมด ประมาณ 536 ตารางวา โดย จำเลย กับสามี จำเลย ได้รับ มรดก และ ซื้อ จาก ผู้ถือกรรมสิทธิ์ รวม เมื่อ ปี 2492จำเลย ได้ เข้า ครอบครอง ที่ดิน ปลูก บ้าน ล้อม รั้ว รอบ ที่ดิน ที่ จำเลยครอบครอง ไม่มี ผู้ใด โต้แย้ง คัดค้าน จำเลย ครอง ครอบ ที่ดิน เป็นส่วนสัด ตั้งแต่ ปี ที่ จำเลย ซื้อ และ รับมรดก ที่ดิน ขณะ นั้น ที่ดินที่ จำเลย ครอบครอง ห่าง จาก คลอง มหาชัย ประมาณ 15 วา ที่ดิน ที่ ติด คลอง มหาชัย มี เจ้าของรวม คนอื่น ครอบครอง ต่อมา ที่ดิน ที่ ติด คลอง มหาชัย ได้ พัง ลง คลอง จน หมด คงเหลือ ที่ดิน ส่วน ที่ จำเลย ครอบครอง เนื้อที่ ประมาณ 290 ตารางวา ซึ่ง น้อยกว่า ที่ จำเลย มีกรรมสิทธิ์ อยู่ ใน โฉนด ที่ดิน จำเลย ครอบครอง ที่ดิน โดย สงบ เปิดเผยและ เจตนา เป็น เจ้าของ เป็น เวลา กว่า 40 ปี จำเลย จึง ได้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ใน ส่วน ที่ จำเลย ครอบ ครอบ ซึ่ง มี อาณาเขต แน่นอน โจทก์ และ บิดาโจทก์ ไม่เคย เข้า ครอบครอง ที่ดิน เพราะ ไม่มี ที่ดิน เหลือ เนื่องจากที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ได้ พัง ลง คลอง มหาชัย ไป นาน แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ไป ทำการ แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตาม ฟ้อง ให้ โจทก์ ตาม ส่วน โดย ยึดถือ วิธี ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย แบ่ง กรรมสิทธิ์ที่ดิน ตาม ฟ้อง ให้ โจทก์ 1 ใน 6 ส่วน ใน การ แบ่ง ให้ ตกลง กัน ก่อนหาก ตกลง กัน ไม่ได้ ก็ ให้ ทดแทน กัน เป็น เงิน และ ถ้า ยัง ตกลง ไม่ได้ อีกก็ ให้ ขาย โดย ประมูล ราคา กันเอง หรือ ขายทอดตลาด แล้ว แบ่ง เงินให้ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โฉนด ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน36 ตารางวา มี ชื่อ จำเลย และ สามี ถือ กรรมสิทธิ์รวม กัน 4 ใน 6 ส่วนโจทก์ 1 ใน 6 ส่วน และ พ. 1 ใน 6 ส่วน เมื่อ โจทก์ อายุ 13 ปี ได้ รื้อ บ้าน ใน ที่ดินพิพาท ถวาย วัด แล้ว ย้าย ไป อยู่ กับ ตา ที่ดินพิพาท จึงเป็น ที่ว่าง แล้ว โจทก์ ไม่เคย เข้า มา เกี่ยวข้อง กับ ที่ดินพิพาท นาน ถึง45 ปี จึง มา ฟ้องคดี นี้ ส่วน จำเลย เข้า ปลูก บ้าน อยู่ ใน ที่ดินพิพาท จน ถึงวันฟ้อง เป็น เวลา ประมาณ 40 ปี โดย ไม่เคย มี ผู้ใด คัดค้าน การ ครอบครองของ จำเลย สภาพ ที่ดินพิพาท ใช้ เป็น ที่อยู่อาศัย มี บ้าน จำเลย และ บุตรปลูก อยู่ 2 หลัง ไม่สามารถ แบ่งแยก ให้ ผู้อื่น เข้า ไป ปลูก บ้าน อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น อีก ได้ เพราะ เหลือ เนื้อที่ เพียง 330 ตารางวา เนื่องจากที่ดิน บางส่วน ตาม โฉนด พัง ลง คลอง พฤติการณ์ ที่ โจทก์ ละทิ้ง ที่ดินพิพาทไป เป็น เวลา นาน หลาย สิบ ปี เชื่อ ได้ว่า โจทก์ สละ สิทธิ ใน ที่ดิน ส่วน ของ ตนและ ถือได้ว่า จำเลย ครอบครองปรปักษ์ ที่ดิน ส่วน ของ โจทก์ นาน เกินกว่าสิบ ปี จน ได้ กรรมสิทธิ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์