โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ของ พ. จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ภริยา โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของ พ. ได้ โอน ขาย บ้าน พิพาท พร้อม ที่ดิน โฉนด เลขที่ 36893 ตำบล อนุสาวรีย์ อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น น้องเขย ของ พ. ใน วันเดียว กัน กับ ที่ จำเลย ที่ 1 ไถ่ถอน จำนอง บ้าน และ ที่ดิน ดังกล่าวจาก ธนาคาร การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 พ. และ จำเลย ที่ 2 เป็น การ ฉ้อฉล มิให้ โจทก์ บังคับคดี เอา แก่ บ้าน และ ที่ดิน ดังกล่าว ข้างต้น ขอให้เพิกถอน นิติกรรม การ ซื้อ ขาย บ้าน และ ที่ดิน ดังกล่าว หาก จำเลย ทั้ง สองไม่ยอม ไป จดทะเบียน การ โอน กรรมสิทธิ์ ดังกล่าว ให้ ถือเอา คำพิพากษาเป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สอง และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง เสีย ค่าใช้จ่ายพร้อม ทั้ง ค่าธรรมเนียม การ โอน กรรมสิทธิ์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ จำเลย ที่ 2ซื้อ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท โดยสุจริต เสีย ค่าตอบแทน และ จดทะเบียนถูกต้อง ตาม กฎหมาย โจทก์ เคย ฟ้อง จำเลย ที่ 2 เป็น คดีอาญา เกี่ยวกับการ ซื้อ ขาย ที่ดิน และ บ้าน พิพาท แต่ ศาล พิพากษายก ฟ้องโจทก์ กลับมาฟ้องคดี นี้ อีก ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237นั้น เจ้าหนี้ ชอบ ที่ จะ ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ เพิกถอน นิติกรรม ที่ ลูกหนี้ทำ ต่อ บุคคลภายนอก ได้ ถ้า ทำให้ เจ้าหนี้ เสียเปรียบ จำเลย ที่ 1เป็น เพียง ภริยา โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของ พ. เท่านั้น จำเลย ที่ 1จึง ไม่ต้อง ร่วมรับผิด ใน หนี้สิน ของ พ. เพราะ ไม่ใช่ หนี้ ร่วม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ใช่ลูกหนี้ ของ โจทก์ อัน โจทก์ จะ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ฉ้อฉล ได้ ตาม บท กฎหมายดังกล่าว โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ เพิกถอน นิติกรรม การ โอน ที่ดินและ บ้าน พิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2
พิพากษายืน