ได้ความว่า จำเลยค้างชำระเงินอากรค่านาแลรัชชูปการ รวมเป็นเงิน ๓๐๐ บาทเศษ กรมการอำเภอจึงแบ่งยึดที่นาจำเลย ๒๐ ไร่ ขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินชำระ โจทก์เป็นผู้รับซื้อที่นานี้ไว้ เจ้าพนักงานได้+วัดแยกโฉนดให้โจทก์แล้ว ครั้นต่อมาจำเลยบุกรุกเข้ามาทำนารายพิพาท โจทก์จึงขอให้ขับไล่แลเรียกค่าเสียหาย
ศาลล่างทั้ง ๒ ให้ขับไลจำเลยกับให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ๔๐๐ บาท
จำเลยฎีกาคัดค้านว่า เจ้าพนักงานอำเภอไม่มีอำนาจเอาที่ขายทอดตลาดได้ เพราะเงินค่านาเป็นเงินค่าภาษีอากรรัฐบาลย่อมมีบุริมสิทธิสามัญจะต้องใช้สิทธิรับชำระหนี้จากสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ก่อนตาม ม.๒๘๓ ดังนั้นการซื้อขายที่นี้จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ
ศาลฎีกาเห็นว่าเจ้าพนักงานอำเภอมีอำนาจยึดที่นี้ขายทอดตลาดเพื่อเอาใช้ค่านาที่ค้างได้ตาม พ.ร.บ.ลักษณเก็บเงินค่านา ร.ศ.๑๑๙ เพราะการซื้อขายนี้ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ ส่งนบทกฎหมายที่จำเลยอ้างนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อดำเนรการชำระหนี้ระวางเจ้าหนี้ที่มีบุริมสิทธิจะพึงด้างใช้เท่านั้น คดีนี้หาเกี่ยวแก่เรื่องบุริมสิทธิไม่ จึงตัดสินยืนตามศาลล่าง