โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น เจ้าของ โฉนด เลขที่ 3937โจทก์ ทั้ง สอง ร่วมกัน ขุด ลอก คู ร่องน้ำ ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ด้าน ที่ ติดกับที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สอง ให้ กว้าง ขึ้น เพื่อ ใช้ ประโยชน์ ใน การ นำ น้ำ จากคลอง บางพัง เข้า มา ใช้ รดต้นไม้ และ เป็น ทางเรือ เข้า ออก ได้ เมื่อ ปลาย เดือน มิถุนายน 2529 จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ปิด กั้น คูน้ำโดย ทำ ทำนบ เขื่อนกั้นน้ำ เป็น สอง ทาง เพื่อ เลี้ยงลูก ไรและ ปล่อย น้ำเสียจาก ส้วม ไหล ลง บ่อ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง รื้อถอน เขื่อน ทำนบ ที่ ปิดกั้น คูน้ำ ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม รื้อถอนขอให้ โจทก์ ทั้ง สอง มีอำนาจ รื้อถอน โดย จำเลย เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่ายและ ห้าม จำเลย และ บริวาร เกี่ยวข้อง กับ ที่ดินพิพาท ดังกล่าว
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า คูน้ำ พิพาท มิได้ อยู่ ใน อาณาเขต ที่ดินโฉนด เลขที่ 3937 บิดา มารดา ของ จำเลย ที่ 2 และ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันครอบครอง คูน้ำ พิพาท ตั้งแต่ ปี 2447 จน ถึง ปัจจุบัน จึง เป็น การ ครอบครองคูน้ำ ต่อเนื่อง ตลอดมา ด้วย ความสงบ เปิดเผย เจตนา เป็น เจ้าของติดต่อ กัน มา ไม่ น้อยกว่า 40 ปี แล้ว จำเลย ทั้ง สอง จึง ได้ กรรมสิทธิ์ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง รื้อถอนเขื่อน ทำนบ ที่ ปิด กั้น คูน้ำ พิพาท ห้าม จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร เข้า ไปขัดขวาง การ ใช้สอย คูน้ำ พิพาท ของ โจทก์ ทั้ง สอง คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า คูน้ำ พิพาท เป็น ของ โจทก์ ทั้ง สองห้าม จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร เข้า ไป เกี่ยวข้อง นอกจาก ที่ แก้ คง ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็นเจ้าของ ที่ดิน มี โฉนด โจทก์ ขุด ร่องน้ำ พิพาท ซึ่ง อยู่ ใน เขต โฉนดเพื่อ รับ น้ำ จาก คลอง สาธารณะ มา ใช้ ประโยชน์ ต่อมา จำเลย ทั้ง สองทำ ทำนบ กั้น ร่องน้ำ ดังกล่าว ขอให้ ศาล พิพากษา ให้ จำเลย รื้อถอน ทำนบออก ไป จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า ไม่รับรอง โฉนด ของ โจทก์ แต่ จำเลย ทั้ง สองใช้ ร่องน้ำ พิพาท ติดต่อ กัน มา ไม่ น้อยกว่า 40 ปี จึง ได้ กรรมสิทธิ์โดย การ ครอบครองปรปักษ์ ฯลฯ ศาลชั้นต้น จด รายงาน กระบวนพิจารณาให้ ตีราคา ที่ดินพิพาท เพื่อ ให้ โจทก์ เสีย ค่าขึ้นศาล อย่าง คดี มี ทุนทรัพย์ เมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ เสีย ค่าขึ้นศาล เพิ่มขึ้นตาม จำนวน ทุนทรัพย์ ตีราคา 38,500 บาท โดย ไม่มี ฝ่ายใด คัดค้านใน กรณี เช่นนี้ แม้ คำขอ ท้ายฟ้อง จะ ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง รื้อถอน ทำนบ ที่ ปิดกั้น ร่องน้ำ ซึ่ง เป็น คำขอ ให้ ปลดเปลื้อง ทุกข์ ที่ ไม่อาจ คำนวณ เป็น ราคาเงินได้ แต่เมื่อ จำเลย ให้การ ต่อสู้ อ้าง กรรมสิทธิ์ จึง เป็น คดี มีทุนทรัพย์ คำขอบังคับ ของ โจทก์ ดังกล่าว จึง เป็น ผล ต่อเนื่อง มาจากประเด็น ข้อพิพาท ว่า คูน้ำ พิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือไม่ เมื่อ ทุนทรัพย์ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท จึง ต้องห้าม มิให้ คู่ความฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ แก้ไข ใหม่ ซึ่ง ใช้ บังคับ เมื่อ วันที่27 ตุลาคม 2534 คดี นี้ ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า การ ที่ จำเลยทั้ง สอง ให้การ ว่า ได้ ครอบครองปรปักษ์ คูน้ำ พิพาท จึง เป็น การ ครอบครองคูน้ำ พิพาท ซึ่ง อยู่ ใน อาณาเขต ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3937 ของ โจทก์ ทั้ง สองนั้นเอง โจทก์ ทั้ง สอง จึง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ คูน้ำ พิพาท จำเลย ฎีกาว่า ที่ จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า ได้ ครอบครองปรปักษ์ คูน้ำ พิพาท จน ได้กรรมสิทธิ์ นั้น เป็น เพียง เหตุผล ข้อ หนึ่ง ของ จำเลย ทั้ง สอง ที่ แสดง ว่าโจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี สิทธิ ใด ๆ ใน คูน้ำ พิพาท และ เป็นเหตุ ผล ที่ แสดง ว่าจำเลย ทั้ง สอง ใช้ ประโยชน์ ใน คูน้ำ พิพาท มา ตลอด ใน ฐานะ ผู้ มีกรรมสิทธิ์ ใน คูน้ำ พิพาท อัน ทำให้ คดี มี ประเด็น ข้อพิพาท เท่านั้น การ ที่ศาล จะ วินิจฉัย ว่า คูน้ำ พิพาท อยู่ ใน เขต ที่ดิน โฉนด ของ โจทก์ หรือไม่ ศาลควร จะ ต้อง พิจารณา จาก พยานหลักฐาน ต่าง ๆ ที่ คู่ความ นำสืบ และ พยานหลักฐาน ที่ จำเลย ทั้ง สอง นำสืบ มี น้ำหนัก เพียงพอ ที่ จะ ทำให้ เห็นว่าคูน้ำ พิพาท อยู่ ใน เขต ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สอง พิเคราะห์ ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สอง แล้ว เป็น เรื่อง ที่ จำเลย โต้แย้ง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง จึง ต้องห้าม ตาม บทบัญญัติของ กฎหมาย ดังกล่าว ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา โดย เห็นว่า เป็น คดี ที่ มีคำขอ ให้ ปลดเปลื้อง ทุกข์ อัน ไม่อาจ คำนวณ เป็น ราคา เงินได้ นั้น ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษา ให้ยก ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง