โจทก์ ฟ้อง ขอให้ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลย ทั้ง สอง เด็ดขาดและ พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง เป็น บุคคล ล้มละลาย
จำเลย ที่ 1 ไม่ยื่น คำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง ห้า อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ พิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลย ทั้ง สองเด็ดขาด
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า ศาลแพ่ง ได้ พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง และ นาย นที สุทินชัยยะ หรือ กรุง ศรีวิไล ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1เป็น เงิน 18,220 บาท โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น เงิน 308,000 บาทโจทก์ ที่ 4 เป็น เงิน 127,210 บาท และ โจทก์ ที่ 5 เป็น เงิน 14,350บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ที่ จำเลย ทั้ง สองและ นาย นที จะ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ แก่ โจทก์ แต่ละ คน ตั้งแต่ วันที่ 30 ธันวาคม 2522 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ กับ ค่าฤชาธรรมเนียมและ ค่า ทนายความ 7,500 บาท แทน โจทก์ ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ 7608/2524คดีถึงที่สุด แล้ว คิด ดอกเบี้ย ถึง วันฟ้อง คดี นี้ เป็น จำนวน หนี้ทั้งสิ้น 900,731.74 บาท ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ประการ แรก มี ว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริตหรือไม่ เห็นว่า การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง กับ นาย นที ต้อง ร่วมกัน รับผิด ต่อ โจทก์ ทั้ง ห้า ใน ฐานะ เป็น ลูกหนี้ ร่วม ตาม คำพิพากษา ของ ศาลแพ่งดังกล่าว โจทก์ ทั้ง ห้า ย่อม มีสิทธิ เลือก บังคับ ชำระหนี้ ทั้งหมดเอา จาก ลูกหนี้ คนใด คนหนึ่ง หรือ ทั้ง สาม คน ร่วมกัน ก็ ได้ หาก บังคับชำระหนี้ ได้ไม่ ครบ หรือไม่ ได้ เลย และ อยู่ ใน หลักเกณฑ์ ที่ จะ ฟ้องให้ ลูกหนี้ คนใด ล้มละลาย ได้ โจทก์ ทั้ง ห้า ก็ มีสิทธิ ฟ้อง ให้ ล้มละลายได้ ด้วย ดังนั้น การ ที่ โจทก์ ทั้ง ห้า เลือก ฟ้อง จำเลย ที่ 2 ให้ล้มละลาย ใน คดี นี้ หา เป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริต ไม่ ปัญหา ต่อไปที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า มิได้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว นั้น เห็นว่าเมื่อ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี หนี้สินล้นพ้นตัว แต่ มีเหตุ ที่ ไม่ควร ให้ จำเลย ทั้ง สอง ล้มละลาย จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ จึง ฟัง ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ว่าจำเลย ทั้ง สอง มี หนี้สินล้นพ้นตัว และ วินิจฉัย เฉพาะ ปัญหา ตาม อุทธรณ์ของ โจทก์ ว่า มีเหตุ ไม่ควร พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ล้มละลาย หรือไม่ที่ จำเลย ที่ 2 ยก ปัญหา ดังกล่าว ขึ้น มา ฎีกา จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
ปัญหา สุดท้าย มีเหตุ ที่ ไม่ควร ให้ จำเลย ที่ 2 ล้มละลาย หรือไม่เห็นว่า แม้ ก่อน ฟ้องคดี นี้ โจทก์ ทั้ง ห้า ได้ บังคับคดี ยึดทรัพย์ของ นาย นที มา ก่อน แต่ ต่อมา โจทก์ ทั้ง ห้า ก็ ได้ ถอน การ ยึดทรัพย์ ไป แล้ว เพราะ ทรัพย์ ติด จำนอง ธนาคาร ที่ จำเลย ที่ 2 อ้างว่า มี รายได้เดือน ละ 200,000 ถึง 300,000 บาท ก็ ไม่ปรากฏ ว่า เคย ชำระหนี้ให้ โจทก์ ทั้ง ห้า เลย ข้ออ้าง เกี่ยวกับ รายได้ จึง เลื่อนลอยไม่น่าเชื่อถือ ยัง ไม่พอ ฟัง ว่า จำเลย ที่ 2 มี รายได้ ที่ อาจ ชำระหนี้ ได้ ทั้งหมด จึง ไม่มี เหตุ ที่ ไม่ควร ให้ จำเลย ที่ 2 ล้มละลายศาลอุทธรณ์ พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน