โจทก์จำเลยต่างเป็นภรรยาหลวงนครจีนวิจารณ์ เมื่อหลวงจครฯตายแล้ว จำเลยได้ฟ้องบุตรหลวงนครฯเรียกสินสมรสภาคภรรยา คดีถึงที่สุดศาลฎีกาให้แบ่งสินสมรสภาคภรรยาให้จำเลย ๓๖,๐๓๖.๓๒ บาท โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ขอแบ่งสินสมรสสภาคภรรยาให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้ส่วนสินสมรส คดีถึงศาลฎีกา ๆ พิพากษาว่าถ้าหากโจทก์มีสินเดิมโจทก์ก็มีส่วนในสินสมรส ย่อมมีสิทธิติดตามฟ้องเรียกส่วนของตนจากจำเลยตภายในกำหนดอายุความ แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้พิจารณาถึงข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีสินเดิมหรือเปล่า จึงให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีสินเดิมพิพากษาให้จำเลยส่งเงิน ๓๘,๐๑๘.๑๖ บาท แก่โจทก์ ฯลฯ
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายของจำเลยเรื่องอายุความว่า เดิมจำเลยของเพิ่มคำให้การยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความ ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความ ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตแต่ต่อมาสั่งเพิกถอนเพราะเห็นว่าฝ่าฝืน ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๘๐ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กลับไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การนี้ไม่ปรากฎว่ามีการอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๒๖ จริงอยู่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยก็มิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นตั้งเป็นประเด็นไว้ ต้องถือว่าจำเลยไม่ติดใจในปัญหาเรื่องอายุความต่อไป จึงไม่มีข้อที่จะพิจารณาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ อนึ่งการที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิติดตามฟ้องเรียกเอาส่วนของตนจากจำเลยได้ภายในอายุความนั้น มิได้หมายความว่าแม้จำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ ศาลก็จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ ส่วนฎีกาข้อเท็จจริงอื่น ๆ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลล่างได้ชี้ขาดมาชอบแล้ว จึงพิพากษายืน