โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 92, 288 และเพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ระหว่างพิจารณา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาตัวในโรงพยาบาล 79,445 บาท ค่าขาดรายได้ที่ไม่สามารถประกอบอาชีพการงานได้ในระหว่างรักษาตัวและพักฟื้นร่างกาย 7 เดือน เดือนละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 700,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลในภายหลัง 120,000 บาท รวมค่าเสียหาย 899,445 บาท
จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม เนื่องจากโจทก์ร่วมเป็นฝ่ายก่อเหตุด่าว่าท้าทายจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยบันดาลโทสะ และค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ร่วมเรียกมานั้น สูงเกินส่วน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและยกคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับ
โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) (เดิม) ให้จำคุก 6 เดือน เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 8 เดือน ให้ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และยกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในคดีส่วนอาญา ให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จำนวน 105,645 บาท แก่นายธนวัฒน์ และให้คืนค่าขึ้นศาลในอนาคต 100 บาท แก่นายธนวัฒน์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับจำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า วันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง ผู้เสียหาย กับนายการัณย์ภัทรและพวกรวม 6 คน ไปนั่งรับประทานอาหารและดื่มสุราที่ร้านของนางสุนันทา ต่อมาขณะเรียกเก็บเงินนายการัณย์ภัทรบอกให้พนักงานเสิร์ฟไม่ต้องเก็บเงินส่วนที่เป็นเศษอีก 7 บาท พนักงานเสิร์ฟทำสีหน้าไม่พอใจและพูดทำนองว่าจะออกเงินส่วนนี้ให้ก็ได้ ทำให้นายการัณย์ภัทรและผู้เสียหายไม่พอใจ นายการัณย์ภัทรไปต่อว่านางสุนันทาที่เคาน์เตอร์แคชเชียร์และขอให้เรียกพนักงานเสิร์ฟคนดังกล่าวมาขอโทษ เมื่อนายการัณย์ภัทรเดินออกจากร้าน ผู้เสียหายกลับเข้ามาในร้านและต่อว่านางสุนันทาในเรื่องเดิมอีก จำเลยซึ่งกำลังซ่อมโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนางสุนันทาอยู่ที่เคาน์เตอร์แคชเชียร์ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายหลายครั้งได้รับบาดเจ็บ สำหรับความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่มีคู่ความฎีกา ความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัสตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่า ขณะพูดคุยกับนางสุนันทาเรื่องการบริการของพนักงานเสิร์ฟได้ยินเสียงตะโกนว่า "มึงเก๋ามาจากไหนมาร้านกู" หันมาเห็นจำเลยเงื้ออาวุธมีดฟันที่ศีรษะจึงยกแขนขึ้นบัง จำเลยฟันผู้เสียหายอีกหลายครั้ง โดยมีนายศรีรัตน์ นางสาวสิริพร นางสาวณัฏฐณิชา เป็นพยานเบิกความทำนองเดียวกัน ทั้งยังปรากฏตามบันทึกคำให้การ ที่นางสุนันทารับว่าให้การไว้ ก็ได้ความว่า ขณะผู้เสียหายยืนต่อว่าตนเพื่อนผู้เสียหายเข้ามาห้ามปรามดึงตัวผู้เสียหายผลักหรือชกกระเด็นไป แม้ผู้เสียหายยืนยันให้ขอโทษและตบโต๊ะที่นั่งอยู่ จำเลยนั่งอยู่ด้านหลังพูดว่า เรื่องยังไม่จบอีกหรือ หลังจากนั้นเห็นเลือดของผู้เสียหาย ซึ่งคำให้การที่นางสุนันทารับว่าให้การหลังเกิดเหตุ 2 สัปดาห์ นับเป็นระยะเวลาที่มีโอกาสทบทวนรายละเอียดเหตุการณ์ หากมีเห