โจทก์ฟ้องมีใจความว่า โจทก์ที่ ๒ เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูป "นกยูง" ในวงกลมสองชั้นภายนอกมีรัศมีโดยรอบซึ่ง ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว โจทก์ที่ ๑ ได้ใช้เครื่องหมายหารค้าของโจทก์ที่ ๒ ร่วมในกิจการค้าขายด้วย บัดนี้ จำเลยได้ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิของโจทก์ กล่าวคือจำเลยได้ถือเอาฉลากปิดขวดยาซองบรรจุยาแผ่นพิมพ์ ฉลากสรรพคุณ ยาของโจทก์ไปแปลงรูปเลียนแบบ ขอเรียกค่าเสียหาย ๓๐๐๐๐ บาท จำเลยได้ใช้คำว่า "แม่เลื่อน" ในชื่อของบริษัทจำเลย ในตราเครื่องหมายการค้า ในแผ่นพิมพ์คำโฆษณา และในกิจการค้าของจำเลย ฯลฯ ขอเรียกค่าเสียหาย ๒๐๐๐๐ บาท จำเลยได้จงใจทำเครื่องหมายการค้าเป็นรูปแม่เลื่อน ภายในวงกลมสองชั้น ภายนอกมีรัศมีโดยรอบ ดดยเจตนาเลียน แบบให้คล้ายคลึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ขอเรียกค่าเสียหาย ๑๐๐๐๐ บาท ฯลฯ
จำเลยแก้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้งดใช้ชื่อแม่เลื่อนในการค้าของจำเลย เพราะแม่เลื่อนเป็นมารดาของจำ เลย คำว่าแม่เลื่อนมิใช่เป็นเครื่องหมายการค้าดดยตรงของโจทก์ เครื่องหมายที่แท้จริงของโจทก์คือรูปนกยูง จำเลยมิได้ ใช้แต่เพียงคำว่าแม่เลื่อน จำเลยใช้คำว่าตราแม่เลื่อน ฯลฯ
ศาลชั้นต้นสอบโจทก์จำเลยแล้ว งดสืบพยานพิพากษายกฟ้องโจทก์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว ฝ่ายโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกยูงในวงกลมสองชั้น ภายนอกมีรัศมี ภายในวงกลมมีตัว อักษาว่า "แม่เลื่อน" และใช้ชื่อว่า "ห้างขายยาตรานกยุงแม่เลื่อน" ฝ่ายจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าตราหรือภาพแม่ เลื่อนภายในวงกลมรัศมี และใช้ชื่อว่าห้างขายยาตราแม่เลื่อน กล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นก็ว่า ฝ่ายโจทก์ใช้ตรานกยูงเป็น เครื่องหมายการค้า ฝ่ายจำเลยใช้ตราเป็นภาพหรือรูปของแม่เลื่อนเป็นเครื่องหมายการค้า ต่างกันตรงที่ฝ่ายโจทก์ใช้ตรา เป็นรูปนกยูง ฝ่ายจำเลยใช้ตราเป็นรูปตัวแม่เลื่อน ตรานกกับตราคน ผู้ใดเห็นก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นตราคนละอย่างต่างกัน ไกลมา ไม่มีทางจะหลงเข้าใจผิดว่าเป็นตราอย่างเดียวกันได้ แม้จะมีคำว่า แม่เลื่อนด้วยกัน ในเรื่องฉลากปิดขวดยา ฉลากสรรพคุณของยา ฯลฯ ก็เช่นเดียวกัน คือมีเครื่องหมายนก กับ คน ต่างกันไกลส่วนข้อความที่อธิบายวิธีการใช้ยา มีข้อความอย่างเดียวกันนั้นก็ไม่เห็นว่าเป็นลิขสิทธิตามกฎหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ฯลฯ
จึงพิพากษายืน.