ได้ความว่าจำเลยกับพวกอีก ๕ คนสมคบกันมีสาตราวุธขึ้นไปบนเรือนของ อ.และทำการเก็บทรัพย์ต่าง ๆ ในบ้าน อ. อ.และภรรยามีความกลัวจึงได้ลงเรือนหนีไป จำเลยกับพวกเก็บทรัพย์ที่บ้าน อ.ไปได้คิดเป็นเงินสยาม ๑๒ บาท ๗๕ สตางค์แล้วพากันขึ้นเรือนคนอื่น ๆ ลักทรัพย์ไปได้อีกคิดเป็นเงินสยาม ๑๓๓ บาท ๕๖ สตางค์เหตุเกิดที่ตำบลพูบู ตำบลบาดังดารับกีรี จังหวัดไทรย์บุรี แล้วจำเลยหลบหนีเข้ามาในประเทศสยาม เจ้าพนักงานจับจำเลยได้รัฐบาลไทรย์บุรีได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานฝ่ายสยามจัดการฟ้องร้องลงโทษจำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการที่จำเลยกับพวกขึ้นไปบนเรือน อ. พร้อมด้วยสาตราวุธทำการเก็บทรัพย์เช่นนี้ ทำให้ อ.และภรรยามีความกลัวจึงได้ลงเรือนหนีไป กิริยาของจำเลยเป็นการขู่เข็ญตามมาตรา ม.๓๐๑ และโจทก์ได้อ้างกฎหมายซึ่งใช้อยู่ที่เมืองไทรย์บุรีมาแสดงต่อศาลว่าการปล้นทรัพย์เป็นการผิดต่อกฎหมายนั้นโจทก์ได้นำสืบมาตรา ๑๐ ครบถ้วนแล้ว ส่วนข้อที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์ในเคหะสถานตามมาตรา ๒๙๔ นั้นโจทก์ไม่ได้นำพะยานมาแสดงว่ากฎหมายเรื่องลักทรัพย์ที่ใช้อยุ่ในเมืองไทรย์บุรี-เป็นอย่างไร แต่เมื่อกฎหมายไทรย์บุรีเรื่องปล้นต้องเกิดแต่การลักทรัพย์เป็นมูลแล้ว ต้องสันนิษฐานว่าการลักทรัพย์มีโทษตามกฎหมายไทรย์บุรีด้วย ศาลจึงลงโทษฐานลักทรัพย์ได้ด้วย แต่โทษฐานปล้นเป็นบทหนักแล้ว ควรรวมโทษฐานลักทรัพย์ไปด้วยกันฐานปล้นตามมาตรา ๗๑ พิพากษาให้จำคุก ๑๐ ปี
ศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปล้นทรัพย์ดังที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมา ส่วนในเรื่องลักทรัพย์นั้นตามมาตรา ๑๐(๔)ประการที่ ๒ นั้นเป็นข้องเท็จจริงที่โจทก์ตะต้องสืบแสดงให้ชัดเจนว่ากฎหมายไทรย์บุรีในเรื่องลักทรัพย์มีลักษณอย่างใด จริงอยู่ศาลอุทธรณ์อาจถูกในการวินิจฉัยว่าการลักทรัพย์ในกฏหมายไทยนั้นมีลักษณเช่นเดียวกับกฎหมายไทรย์บุรี แต่ศาลจะตั้งข้อสังเกตกฎหมายต่างประเทศแล้วสันนิษฐานเสียเองยังมิชอบ เห็นว่าจะลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ยังไม่ได้ พิพากษาให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ของ อ.ตามมาตรา ๒ ๓๐๑ มีกำหนดโทษจำคุก ๑๐ ปีและให้ใช้ทรัพย์ที่ปล้นเอาไป