โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ประกอบ ธุรกิจ เป็น ผู้ ให้ บริการ สินเชื่อแก่ บุคคล ทั่วไป โดย เป็น ผู้ ออก บัตรเครดิต ให้ แก่ ผู้ สมัคร เข้า เป็นสมาชิก ของ โจทก์ สมาชิก สามารถ นำ บัตร ดังกล่าว ไป แสดง ต่อ บุคคล หรือนิติบุคคล หรือ ร้านค้า ซึ่ง ตกลง รับ บัตรเครดิต ที่ โจทก์ ออก ให้ เพื่อ ซื้อสินค้า หรือ ใช้ บริการ โดย ไม่ต้อง ชำระ เงินสด โจทก์ จะ เป็น ผู้ชำระ เงินแทน สมาชิก แล้ว จะ เรียกเก็บเงิน จาก สมาชิก ใน ภายหลัง เป็น รายเดือนและ สมาชิก สามารถ นำ บัตร ไป ถอนเงิน สด จาก เครื่อง ฝาก ถอนเงิน อัตโนมัติได้ ด้วย โดย จะ ต้อง เสีย ค่าธรรมเนียม แก่ โจทก์ หาก สมาชิก มี คำร้องขอต่อ โจทก์ ให้ ผู้อื่น เข้า เป็น สมาชิก บัตร เสริม โจทก์ ก็ จะ ดำเนินการ ให้ซึ่ง สมาชิก บัตร เสริม มีสิทธิ หน้าที่ และ ความรับผิด เช่นเดียว กับสมาชิก จำเลย ที่ 1 ได้ เข้า เป็น สมาชิก ของ โจทก์ โดย ตกลง จะ ปฏิบัติ ตามเงื่อนไข ดังกล่าว ต่อมา จำเลย ที่ 1 ได้ ร้องขอ ต่อ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 2เข้า เป็น สมาชิก บัตร เสริม โดย จำเลย ทั้ง สอง เข้า ผูกพัน เพื่อ ชำระหนี้แก่ โจทก์ โดย ยอมรับ ผิด ร่วมกัน อย่าง ลูกหนี้ ร่วม จำเลย ทั้ง สอง ได้ นำ บัตรที่ โจทก์ ออก ให้ ไป ใช้ หลาย ครั้ง และ โจทก์ ได้ ชำระ เงิน แทน จำเลย ทั้ง สองทุกครั้ง จำเลย ทั้ง สอง ค้างชำระ หนี้ แก่ โจทก์ จำนวน 62,477.15 บาทขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 62,477.15 บาทแก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ใช้ บัตร เสริม ซื้อ สินค้าและ ใช้ บริการ เป็น เงิน 10,460.50 บาท เท่านั้น และ ได้ มอบ เงินจำนวน ดังกล่าว ให้ จำเลย ที่ 1 นำ ไป ชำระ แก่ โจทก์ แล้ว จำเลย ที่ 2ไม่เคย ตกลง กับ โจทก์ ว่า จะ ต้อง ร่วมรับผิด ต่อ โจทก์ อย่าง ลูกหนี้ ร่วม กับจำเลย ที่ 1 คำฟ้อง ของ โจทก์ เคลือบคลุม และ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน62,477.15 บาท แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา วินิจฉัย มา สู่ ศาลฎีกา เฉพาะใน ข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ 2 ปีเพราะ โจทก์ เป็น ผู้ค้า ใน การ ดูแล กิจการ ของ ผู้อื่น หรือ รับ ทำการ งานต่าง ๆ เรียก เอา สินจ้าง อัน จะ พึง ได้รับ ใน การ นั้น หรือ เรียก เอา ค่าที่ ได้ ออก เงินทดรอง ไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)เดิม หรือไม่ ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตามข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ว่าโจทก์ มี วัตถุประสงค์ ใน การ ให้ บริการ สินเชื่อ แก่ บุคคล ทั่วไป ใน รูป ของบัตรเครดิต โดย โจทก์ ออก บัตร ให้ แก่ สมาชิก แล้ว สมาชิก ของ โจทก์ สามารถนำ บัตร ไป ใช้ บริการ โดย ซื้อ สินค้า จาก ร้านค้า ที่ ตกลง รับ บัตร ของ โจทก์โดย สมาชิก ไม่ต้อง ชำระ ราคา สินค้า เป็น เงินสด โจทก์ เป็น ผู้ชำระ เงินแทน สมาชิก ไป ก่อน แล้ว จึง เรียกเก็บเงิน จาก สมาชิก ภายหลัง และ สมาชิกสามารถ นำ บัตร ไป ถอนเงิน สด จาก บัญชี เงินฝาก ของ โจทก์ ที่ ธนาคาร โดย ผ่านเครื่อง ฝาก ถอนเงิน อัตโนมัติ ซึ่ง สมาชิก จะ ต้อง เสีย ค่าบริการ ให้ แก่โจทก์ ด้วย เห็นว่า การ ให้ บริการ ดังกล่าว แก่ สมาชิก ของ โจทก์ โจทก์ ได้เรียกเก็บ ค่าบริการ หรือ ค่าธรรมเนียม รายปี ด้วย โจทก์ จึง เป็น ผู้ค้ารับ ทำการ งาน ต่าง ๆ ให้ แก่ สมาชิก และ การ ที่ โจทก์ ได้ ชำระ เงิน แก่เจ้าหนี้ ของ สมาชิก แทน สมาชิก ไป ก่อน แล้ว จึง เรียกเก็บเงิน จาก สมาชิกภายหลัง เป็น การ เรียก เอา ค่า ที่ โจทก์ ได้ ออก เงินทดรอง ไป ดังนั้น การ ที่โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง เป็น คดี นี้ ถือได้ว่า โจทก์ เป็น ผู้ค้า รับ ทำการงาน ต่าง ๆ เรียก เอา ค่า ที่ ได้ ออก เงินทดรอง ไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าว จึง มี อายุความ 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165(7) เดิม ที่ ใช้ อยู่ ใน ขณะที่ โจทก์ อาจ บังคับ สิทธิเรียกร้อง ได้ปรากฏว่า จำเลย ทั้ง สอง ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ครั้งสุดท้าย เป็น บางส่วน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2530 อันเป็น การ รับสภาพหนี้ ต่อ โจทก์ ทำให้ อายุความสะดุด หยุด ลง และ เริ่ม นับ อายุความ ขึ้น ใหม่ ตั้งแต่ วัน ดังกล่าวโจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 2532 พ้น กำหนด 2 ปี แล้วสิทธิเรียกร้อง ของ โจทก์ จึง ขาดอายุความ และ คดี นี้ จำเลย ทั้ง สองเป็น ลูกหนี้ ร่วม มูล ความ แห่ง คดี เป็น การ ชำระหนี้ ซึ่ง แบ่งแยกจาก กัน มิได้ ประกอบ กับ จำเลย ที่ 1 เป็น สมาชิก บัตรเครดิต จำเลย ที่ 2เป็น สมาชิก บัตร เสริม ของ โจทก์ สิทธิเรียกร้อง ของ โจทก์ ต่อ จำเลยทั้ง สอง เป็น อย่างเดียว กัน การ ที่ จำเลย ที่ 2 ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ ร่วม ได้ ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้แล้ว เช่นกัน แม้ จำเลย ที่ 1 มิได้ ฎีกา แต่เมื่อ คดี ของ โจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกา ย่อม มีอำนาจ พิพากษา ให้ มีผล ถึง จำเลย ที่ 1ได้ ด้วย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1), 247
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง