โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,289,83, 80, 60, และริบของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ริบของกลาง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา3 บทหนึ่ง และมาตรา 289 (4), 83,80,60 อีกบทหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4),83 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4),83ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ประหารชีวิต จำเลยจำเลยรับสารภาพชั้นจับกุมและสอบสวนเป็นเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1)คงจำคุกจำเลยตลอดชีวิต ริบของกลาง
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว โจทก์มีพยานบุคคลที่อ้างว่าเห็นจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกันฆ่าผู้ตายสองปากคือ นายประหยัดจันทร์ปลั่ง และนางสาวสมศรี ใจวิจิตร ตามคำเบิกความของนายประหยัดได้ความว่าวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 6 นาฬิกา เดินผ่านบบ้านผู้ตายเห็นชายแปลกหน้าคนหนึ่งเดินเตร่ไปมาและเมื่อเดินผ่านไปได้ 3-4 วา เห็นมีชายแปลกหน้าอีกคนหนึ่งนั่งอยู่คนเดียวที่เพิงริมถนนมีรถจักรยานยนต์จอดอยู่ หลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงระหว่างที่นายประหยัดเดินกลับเข้ามาในซอยจึงทราบว่ามีการยิงกัน ในวันนั้นนายประหยัดไปให้ปากคำกับเจ้าพนักงานตำรวจ เจ้าพนักงานตำรวจได้เอาภาพชายคนหนึ่งตามภาพถ่ายหมาย จ.7 ให้ดู นายประหยัดว่าเป็นภาพถ่ายของชายคนที่เดินเตร่ไปมาต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจให้นายประหยัดดูภาพถ่ายหมาย จ.15 ซึ่งเป็นภาพนายเสน่ห์ที่ถูกยิงตาย นายประหยัดก็จำได้ว่าเป็นชายคนที่เดินเตร่ไปมา เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยแล้วได้ให้นายประหยัดดูตัวนายประหยัดไม่แน่ใจว่าใบหน้าคนร้ายที่จับกุมได้จะเป็นคนเดียวกับชายคนที่นั่งอยู่ที่เพิงริมถนนหรือไม่ แต่รูปร่าางลักษณะคล้ายคลึงข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของนายประหยัดดังกล่าวไม่ได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่นั่งอยู่ที่เพิงริมถนนก่อนเกิดเหตุ ส่วนนางสาวสมศรีนั้นเบิกความได้ความว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ นางสาวสมศรีไปรอขึ้นรถอยู่ที่เพิงร้านค้าในซอยบางหญ้าแพรก มีชายคนหนึ่งนั่งอยู่ห่างประมาณ 1 เมตร เห็นมีรถจักรยานยนต์คันหนึ่งจอดอยู่ ขณะที่รอรถอยู่ได้ 5 นาที ได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 3 นัด เห็นชายคนหนึ่งวิ่งมาตามถนนจากที่เสียงปืนดังตรงมาที่รถจักรยานยนต์จอดอยู่ ชายที่นั่งอยู่นั้นกระโดดขึ้นสตาร์ตรถจักรยานยนต์ ชายที่วิ่งมากระโดดขึ้นนั่งซ้อนท้ายแล้วรถจักรยานยนต์คนร้ายแล่นออกไปทางปากซอย ชายคนที่เห็นป้ายรถหมายเลขทะเบียน 6397 หลังเกิดเหตุประมาณ 1 สัปดาห์เจ้าพนักงานตำรวจได้เอาภาพถ่ายหมาย จ.7 มาให้นางสาวสมศรีดูนางสาวสมศรียืนยันว่าเป็นชายที่นี่งรออยู่และขับรถจักรยานยนต์หนีไปข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของนางสาวสมศรีดังกล่าวนั้น ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่ามีพิรุธและขัดกับเหตุผลอยู่หลายประการ กล่าวคือ กรณีของคนร้ายที่เตรียมการมาเพื่อฆ่าผู้ตายเช่นนั้น การที่คนหนึ่งเข้าไปทำการยิงและคนร้ายอีกคนหนึ่งคอยขับรถเพื่อพาหนีนั้น คงไม่มานั่งรอจนกระทั่งพวกของตนลงมือยิงแล้วจึงออกมาสตาร์ตรถเพื่อจะขับหนีไปเพราะเป็นที่เห็นได้ล่วงหน้าว่าอาจจะไม่ทันการที่จะหลบหนีได้ คนร้ายน่าจะเตรียมติดเครื่องยนต์รออยู่หรือขี่คร่อมอยู่ให้พร้อมที่จะออกรถไม่ใช่มานั่งรออยู่ห่างรถที่จะใช้หลบหนี ต่อเมื่อเห็นพวกของตนวิ่งมาจึงลุกขึ้นมาสตาร์ตรถเพื่อหลบหนี เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเอาภาพถ่ายหมาย จ.15 ให้นางสาวสมศรีดูตามคำของนางสาวสมศรีก็ว่าดูแล้วจำได้ว่าเป็นคนร้ายที่เห็นวิ่งมาขึ้นรถจักรยานยนต์ ส่วนภาพถ่ายหมาย จ.7นางสาวสมศรีก็ว่าเป็นภาพของชายคนที่นั่งรออยู่และขับรถจักรยานยนต์นำคนร้ายที่วิ่งมาซ้อนท้ายแล่นหนีไป เห็นได้ว่าภาพถ่ายหมาย จ.1 และจ. 7 น น เป็นภาพถ่ายของคนคนเดียวกันคือนายเสน่ห์ ซึ่งถ้านางสาวสมศรีเห็นและจำคนร้ายได้ว่าเป็นจำเลยจริงก็ไม่น่าที่จะเบิกความสับสนดังกล่าว นอกจากนั้นในชั้นสอบสวนนางสาวสมศรีให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนว่าคนร้ายที่ขับรถจักรยานยนต์มีลักษณะคางมน แต่ภาพถ่ายของของจำเลยที่ปรากฎตามภาพถ่ายหมาย จ.13, จ. 27 นั้น เห็นได้ว่า ไม่ใช่คนที่มีลักษณะคางมนตามที่นางสาวสมศรีเบิกความ คำของนางสาวสมศรีที่ขัดต่อเหตุผลและความเป็นไปตามปกติดังกล่าวทำให้ไม่อาจเชื่อได้ว่านางสาวสมศรีจะจำคนร้ายได้ว่าเป็นจำเลย และเมื่อพิจารณาถึงการได้ตัวจำเลยมาตามหมายจับแล้ว ได้ความตามคำเบิกความของพันตำรวจโทสุทธิพงศ์รามัญวงศ์ ว่า หลังจากสอบปากคำนางสาวสมศรี แล้วให้นางสางสาวสมศรีดูภาพถ่ายคนร้าย นางสาวสมศรีว่าภาพถ่ายของจำเลยคล้ายคลึงกับคนร้ายที่ขับรถจักรยานยนต์จึงได้ออกหมายจับจำเลยที่พยานยืนยันว่าเป็นคนร้าย ได้พิจารณาหมายจับเอกสารหมาย จ. 30 แล้ว ออกเมื่อวันที่ 8มิถุนายน 2531 แต่จากบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของนางสาวสมศรีเอกสารหมาย จ. 16 นางสาวสมศรีให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2531 อันเป็นวันเกิดเหตุนั้น ในการสอบสวนครั้งแรกพนักงานสอบสวนมิได้นำภาพถ่ายจำเลยมาให้นางสาวสมศรีดูคงมีปรากฎจากการสอบสวนเพิ่มเติมในวันที่ 20 กรกฎาคม 2531 เท่านั้น แสดงว่านางสาวสมศรีดูภาพถ่ายจำเลยภายหลังจากที่มีการออกหมายจับจำเลยตามเอกสารหมาย จ.30 แล้ว คำเบิกความของพันตำรวจโทสุทธิพงศ์ที่ว่าออกหมายจับจำเลยตามคำให้การของนางสาวสมศรีจึงรับฟังไม่ได้ ทั้งเมื่อจับกุมจำเลยได้แล้วก็ไม่ปรากฎว่าพนักงานสอบสวนจัดให้นางสาวสมศรีชี้ตัวตามปกติทั่วไป และเมื่อดูภาพถ่ายที่ปรากฎในหมายจับเอกสารหมายจ. 30 กับภาพถ่ายหมาย จ. 7 ที่นางสาวสมศรีและนายประหยัดระบุว่าเป็นคนร้ายแล้ว เห็นได้ว่าเป็นภาพของคนละคนกัน พยานหลักฐานของโจทก์นอกจากที่ได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วก็ไม่มีพยานปากใดรู้เห็นว่าจำเลยเป็นคนร้ายโจทก์คงมีคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนเท่านั้น ซึ่งคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีพยานเหตุผลแวดล้อมอื่น ๆ ประกอบให้เห็นว่าจำเลยเป็นคนร้ายนั้นไม่อาจนำมารับฟังลงโทษจำเลยได้ และในกรณีนี้คำให้การชั้นสอบสวนก็ยังมีข้อโต้แย้งของจำเลยว่าไม่ได้ให้การด้วยความสมัครใจ จึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายตามที่ฟ้อง เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายแล้วเช่นนี้ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยพยานจำเลย..."
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง แต่หัวกระสุนปืนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด จึงให้ริบ