โจทก์ ทั้ง สามสิบสาม ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ของ โรงงาน กระสอบกระทรวงการคลัง ซึ่ง เป็น รัฐวิสาหกิจ จำเลย ปรับ อัตรา เงินเดือนไม่ ถูกต้อง ตาม มติ คณะรัฐมนตรี ทำ ให้ โจทก์ ได้ รับ เงิน ไม่ ครบถ้วน และ กระทบ ถึง การ คำนวณ เงิน บำเหน็จ ค่าชดเชย ทำ ให้ โจทก์ ได้ รับเงิน บำเหน็จ และ ค่าชดเชย ขาด ไป นอกจาก นั้น จำเลย ไม่ จ่าย ค่าครองชีพ เดือน พฤศจิกายน 2526 ให้ โจทก์ โจทก์ มี สิทธิ ได้ เลื่อน ขั้นเงินเดือน ตาม ระเบียบ ของ จำเลย โจทก์ ทำ งาน ครบ 1 ปีงบประมาณ แล้วจำเลย สั่ง ปิด โรงงาน เสียก่อน ทำ ให้ โจทก์ ไม่ ได้ รับ สิทธิ ในการ เลื่อนขั้น เงินเดือน เป็น เหตุ ให้ การ คำนวณ เงินบำเหน็จ เงินค่าชดเชย เงินเดือน เดือน พฤศจิกายน 2526 และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า ขาด ไป ขอ ให้ จำเลย จ่าย เงิน ต่างๆ พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า ตาม มติ คณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงสร้าง ค่าจ้างเงินเดือน ของ พนักงาน และ ลูกจ้าง รัฐวิสาหกิจ ให้ คำนึง ถึง ฐานะและ ความ สามารถ ใน ทาง การเงิน ของ หน่วยงาน นั้นๆ เป็น แนวทาง กำหนดโครงสร้าง อัตรา เงินเดือน ใหม่ ตาม บัญชี โครงสร้าง อัตรา เงินเดือนที่ กระทรวง การคลัง จัดทำ ขึ้น โดย ให้ พนักงาน ได้ รับ เงินเดือนเพิ่มขึ้น ไม่เกิน ไป กว่า ที่ คณะรัฐมนตรี กำหนด หา ได้ บังคับ ให้จำเลย ต้อง ปรับ เงินเดือน ตาม บัญชี โครงสร้าง อัตรา เงินเดือน โดยเคร่งครัด ตาย ตัว ไม่ โรงงาน กระสอบ ของ จำเลย ประสบการ ขาดทุน จำเลยจึง ปรับ เงินเดือน สูง ขึ้น แก่ พนักงาน ทุกคน แต่ น้อยกว่า อัตราของ บัญชี โครงสร้าง ที่ คณะ รัฐมนตรี อนุมัติ ซึ่ง กระทรวง การคลังได้ อนุมัติ เห็นชอบ ด้วย แล้ว จำเลย จึง ไม่ ต้อง รับผิด ใน ส่วน ที่ขาด จาก อัตรา ที่ คณะรัฐมนตรี กำหนด ไม่ ต้อง รับผิด ใน เงิน บำเหน็จและ ค่าชดเชย ที่ ขาด ไป ตาม ฟ้อง สำหรับ การ เลื่อน ขั้น เงินเดือนตาม ข้อบังคับ การ บริหาร โรงงาน กระสอบ พ.ศ. 2508 เป็น ดุลยพินิจ ของผู้บังคับบัญชา โจทก์ จะ วินิจฉัย การ ที่ โรงงาน กระสอบ ถูก ยุบ เลิกเสียก่อน ที่ จะ มี การ วินิจฉัย ผลงาน ของ โจทก์ สิทธิ ใน การ เลื่อนขั้น เงินเดือน ของ โจทก์ จึง ไม่ เกิด ขึ้น ส่วน เงิน บำเหน็จ นั้นโจทก์ ทุกคน ต้อง ถูก บังคับ ตาม ข้อบังคับ โรงงาน กระสอบ ว่า ด้วยกองทุน บำเหน็จ พ.ศ. 2521 ข้อ 11 หา ใช่ ข้อ 9 และ ข้อ 10 ไม่ และโจทก์ ได้ รับ เงิน บำเหน็จ ไป มากกว่า สิทธิ แล้ว ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย เงิน ค่าครองชีพ สินจ้าง แทนการ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าทำงาน ใน วันหยุด ให้ แก่ โจทก์ ตามบัญชี ท้าย คำพิพากษา พร้อม ดอกเบี้ย คำขอ นอกจาก นี้ ให้ ยก
โจทก์ ทั้ง สามสิบสาม และ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ปัญหา เรื่อง โครงสร้าง ค่าจ้างเงินเดือน ของ พนักงาน และ ลูกจ้าง รัฐวิสาหกิจ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี ลงมติให้ ใช้ นั้น คณะรัฐมนตรี ลงมติ ไว้ ด้วย ว่า ใน การ ปรับ อัตราเงินเดือน นั้น รัฐวิสาหกิจ แต่ ละ แห่ง ต้อง คำนึง ถึง ฐานะ และ ความสามารถ ทาง การเงิน ประกอบ ด้วย โดย ให้ ได้ รับ เพิ่มขึ้น ไม่เกินไป กว่า ตาราง ปรับ ค่าจ้าง เงินเดือน โครงสร้าง ค่าจ้าง เงินเดือนดังกล่าว เป็น อัตรา ขั้น สูง ที่ รัฐวิสาหกิจ แต่ ละ แห่ง จะ พิจารณาปรับ ให้ ลูกจ้าง ของ ตน ได้ มิใช่ เป็น อัตรา ตายตัว ที่ รัฐวิสาหกิจทุก แห่ง จะ ต้อง ปรับ ให้ แก่ ลูกจ้าง ของ ตน ก็ หา ไม่ เมื่อ ปรากฏว่า กิจการ โรงงาน กระสอบ ของ จำเลย ขาดทุน จำเลย ย่อม มี อำนาจ ปรับค่าจ้าง เงินเดือน ให้ แก่ ลูกจ้าง ต่ำกว่า ขั้น สูง ของ โครงสร้างค่าจ้าง เงินเดือน ได้
ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย การ เลื่อน ขั้น เงินเดือน มิใช่เป็น สิทธิ อัน เด็ดขาด ที่ โจทก์ จะ ต้อง ได้ รับ เสมอ ไป กรณี ย่อมต้อง อยู่ ใน ดุลยพินิจ ของ ผู้บังคับบัญชา ที่ จะ พิจารณา ว่า ควรจะ เลื่อน ขั้น เงินเดือน ให้ หรือ ไม่ ด้วย เมื่อ จำเลย ต้อง ปิดกิจการ โรงงาน กระสอบ โดย ที่ ยัง ไม่ ทัน ได้ มี การ พิจารณา เลื่อนขั้น เงินเดือน โจทก์ จะ ขอ ให้ บังคับ จำเลย รับผิด ใน เงินเดือนที่ ยัง ไม่ ได้ พิจารณา เพิ่ม ให้ หา ได้ ไม่ ศาล ไม่ มี อำนาจ บังคับให้ จำเลย ใช้ ดุลยพินิจ เลื่อน เงินเดือน ให้ โจทก์ ได้
โจทก์ ถูก เลิกจ้าง เพราะ โรงงาน กระสอบ ขาดทุน จน ต้อง ปิด กิจการกรณี ของ โจทก์ จึง ต้อง ด้วย ข้อบังคับ โรงงาน กระสอบ กระทรวงการคลังว่าด้วย กองทุน บำเหน็จ พ.ศ. 2521 ข้อ 11 ซึ่ง โจทก์ แต่ ละ คน จะได้ รับ เงิน บำเหน็จ อย่าง มาก ไม่ น้อยกว่า ค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย180 วัน ตาม ข้อ 11.3 เมื่อ ความ ปรากฏ ว่า โจทก์ แต่ ละ คน ได้รับ เงิน บำเหน็จ ไป แล้ว สูงกว่า สิทธิ อัน พึง ได้ แม้ นำ เอาค่า ครองชีพ มา รวม กับ เงินเดือน เพื่อ คำนวณ เงิน บำเหน็จ ก็ ยังได้ ไม่ เท่ากับ เงิน ที่ โจทก์ ได้ รับ ไป แล้ว โจทก์ ก็ ย่อม ไม่ มีสิทธิ จะ เรียกร้อง เพิ่ม อีก ได้
พิพากษา ยืน.