คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับศาล/ผู้พิพากษา
ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาทางเพศ: รายละเอียดการกระทำความผิดไม่ต้องระบุในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายโดยจับแขนผู้เสียหายไว้ทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วจำเลยทั้งสองร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เป็นคำฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนที่จำเลยทั้งสองร่วมกันประทุษร้ายโดยจำเลยคนใดเป็นผู้จับแขนข้างใด จำเลยร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอย่างไร จำเลยคนใดทำหน้าที่อะไรนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู
ป.พ.พ. มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิง ธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ
จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัย ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวัยอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 (3) จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ.เป็นบุตร ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเด็กฟ้องรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
โจทก์ผู้มีอายุ 16 ปีเศษ ซึ่งฟ้องขอให้จำเลยผู้เป็นบิดารับรองโจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยในคดีเดียวกันนี้ได้ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556 วรรคสอง ให้อำนาจเด็กที่มีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ฟ้องคดีให้รับรองเด็กเป็นบุตรได้เองโดยเฉพาะ อีกทั้งขณะยื่นฟ้องโจทก์ก็ยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย คดีของโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุม ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 และการฟ้องของโจทก์ในเรื่องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู เป็นผลหลังจากที่มีการรับรองความเป็นบุตรของโจทก์แล้ว และเป็นเรื่องต่อเนื่องจากการรับรองบุตรนั่นเอง โจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย
การที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองบุตรภายใน 30 วัน ถ้าไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบเพราะตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้ว เพื่อให้บันทึกในทะเบียนเท่านั้น ประกอบกับโจทก์มิได้มีคำขอบังคับดังกล่าวมาในคำฟ้องจึงเป็นกรณีที่พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: อำนาจปกครองของมารดา, ความยินยอม, และการกระทำชำเรา
ผู้เสียหายอายุ 15 ปีเศษ ไปอยู่กับญาติซึ่งบ้านอยู่ใกล้กันไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้เสียหายทะเลาะกับมารดา หรือมารดานำไปฝาก ก็ไม่ถือว่าพ้นจากอำนาจปกครองของมารดา การที่ญาติของผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายไปเอาหม้อยากับจำเลยแล้วจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย และทำให้กระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า และการกำหนดระยะเวลาชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรคืนมาอยู่ในความปกครองของโจทก์ จำเลยฟ้องแย้งขอให้บุตรเปลี่ยนไปอยู่ในความปกครองของจำเลย โดยให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนับแต่ วันฟ้องด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้เปลี่ยนผู้ปกครองบุตรจากโจทก์เป็นจำเลย และให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามฟ้องแย้ง แต่ไม่ได้ระบุว่าให้ชำระตั้งแต่เมื่อใด ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ดังนี้ ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมให้ครบถ้วน โดยให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ลักทรัพย์-วิ่งราวทรัพย์ ต้องใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวยซึ่งหน้า การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) บทหนึ่ง และเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามมาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่ง กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90 ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยอัตราโทษชั้นสูงของมาตรา 335 (7) และ 336 วรรคแรกนั้นเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 5 ปี แต่มาตรา 335 (7) มีโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จึงมีบทลงโทษหนักกว่าต้องใช้มาตรา 335(7) เป็นบทลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาคดีเด็ก: ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม ไม่ถือเป็นการลงโทษ จึงห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก, 279 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนัก ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ประกอบกับมาตรา 80 ลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กรณีเป็นการแก้บทลงโทษและกำหนดโทษแม้จะเป็นการแก้ไขมากแต่การที่ศาลทั้งสองเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มิใช่การลงโทษ ถือมิได้ว่าศาลทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส และอำนาจปกครองบุตร
บทบัญญัติมาตรา 1536 ซึ่งบัญญัติว่า เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามี หมายถึงเด็กที่เกิดจากหญิงขณะที่เป็นภริยาชายโดยชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีในกรณีที่เด็กเกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่การสมรสของชายหญิงที่จดทะเบียนสมรสได้สิ้นสุดลงตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษในคดีวิวาททำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจปรับบทได้แต่ต้องไม่หนักกว่าเดิม
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันให้ส่งจำเลยไปควบคุมไว้ยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มีกำหนด 1 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 เพิ่มอีกบทหนึ่ง ก็เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 1 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาต่างกับฟ้องก็ดี จำเลยมิได้เข้าร่วมชุลมุนต่อสู้กับฝ่ายผู้ตายและผู้เสียหายก็ดี เป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
กรณีวิวาทต่อสู้กันซึ่งกระทำต่อเนื่องกันไป และจำเลยร่วมกันกับพวกใช้อาวุธฝ่ายเดียวทำร้ายอีกฝ่ายจนได้รับบาดเจ็บและตาย การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดเพียงร่วมกับพวกทำร้ายอีกฝ่ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 บทเดียว ย่อมไม่ถูกต้อง เมื่อคดีมีการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะหยิบยกบทมาตราที่ถูกต้องขึ้นปรับคดีได้ หากมิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้น
เมื่อมีการตายและบาดเจ็บเกิดขึ้นในขณะวิวาทต่อสู้กันย่อมถือได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาเพียงทำร้ายฝ่ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ประกอบด้วยมาตรา 83 อีกบทหนึ่ง ต่างหากจากมาตรา 295 เท่านั้น และต้องลงโทษจำเลยตามบทนี้ที่มีโทษหนักที่สุด แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น จำเลยจึงควรรับโทษเพียงไม่เกินกว่าอัตราโทษที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1833/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องขอให้ศาลสั่งให้เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย กรณีผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ส.มารดาเด็กหญิง ว. ซึ่งเป็นผู้ปกครองของเด็กหญิง ว. ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เป็นกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กไม่สามารถทำหน้าที่ได้ผู้ร้องซึ่งเป็นยายของเด็กหญิง ว. จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าเด็กหญิง ว. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ช. ผู้วายชนม์ได้
of 5