พบผลลัพธ์ทั้งหมด 489 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา, การปรับบทกฎหมาย, และการลดโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายร่วมกันกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยบรรยายแยกรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่กระทำความผิด จำนวนและราคาทรัพย์ที่ถูกลักในแต่ละครั้งตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นความผิดหลายกระทง ซึ่งโจทก์รวมมาในฟ้องเดียวกันได้ เพียงแต่ให้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับกันไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.1 มีใจความว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองโดยใช้รถบรรทุกเป็นยานพาหนะเพื่อการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงไม่ได้แยกต่างหากจากฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.8 แต่เป็นการบรรยายฟ้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ซึ่งเมื่ออ่านคําฟ้องโดยรวมทั้งหมดแล้วถือว่า ฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.8 ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดแล้ว จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์ข้อ 1.2 ถึง 1.8 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หวงห้ามเพื่อใช้ในราชการ โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนโฉนดและขับไล่ จำเลยสู้ไม่ได้
ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3325 เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) เมื่อที่ดินพิพาทในคดีนี้ก็เป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3325 เช่นเดียวกัน จึงเป็นกรณีคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) จำเลยทั้งสี่กล่าวอ้างว่า มีสิทธิในที่ดินพิพาท จึงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าอย่างไร การนำสืบของจำเลยทั้งสี่เป็นการนำสืบโดยใช้วิธีอธิบายพยานเอกสารให้มีความหมายต่างไปจากที่ปรากฎในพยานเอกสารหรือเป็นการให้ความเห็นเท่านั้น ถือว่าจำเลยทั้งสี่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า จึงต้องฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหาย เดือนละ 44,304 บาท แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินของโจทก์ จำนวนค่าเสียหายจึงเริ่มต้นนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคตย่อมไม่อาจคำนวณค่าเสียหายเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ได้ ถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหาย เดือนละ 44,304 บาท แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินของโจทก์ จำนวนค่าเสียหายจึงเริ่มต้นนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคตย่อมไม่อาจคำนวณค่าเสียหายเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ได้ ถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า
แม้การให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 24 เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ตาม แต่ข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นข้อเท็จจริงที่มีการนำสืบกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น คดีนี้ไม่มีการสืบพยานให้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกา จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ชอบแล้ว
หญิงซึ่งรับตั้งครรภ์แทนตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจ้างนั้นไม่อยู่ในเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 21 ที่จะรับตั้งครรภ์แทนได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันพาหญิงดังกล่าวไปตรวจมดลูกที่โรงพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อม และเดินทางไปฝังตัวอ่อน อันเป็นการดำเนินการครบถ้วนในทางการแพทย์ที่จะทำให้หญิงตั้งครรภ์โดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้ว จากนั้นเป็นการเจริญของทารกในครรภ์ในมดลูกของหญิงตามธรรมชาติ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อประโยชน์ทางการค้าแล้ว จึงเป็นความผิดสำเร็จตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 24 โดยไม่จำต้องให้หญิงที่รับจ้างตั้งครรภ์แทนตั้งครรภ์ก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดองค์ประกอบความผิดและไม่เป็นการพยายามกระทำความผิด
หญิงซึ่งรับตั้งครรภ์แทนตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจ้างนั้นไม่อยู่ในเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 21 ที่จะรับตั้งครรภ์แทนได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันพาหญิงดังกล่าวไปตรวจมดลูกที่โรงพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อม และเดินทางไปฝังตัวอ่อน อันเป็นการดำเนินการครบถ้วนในทางการแพทย์ที่จะทำให้หญิงตั้งครรภ์โดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้ว จากนั้นเป็นการเจริญของทารกในครรภ์ในมดลูกของหญิงตามธรรมชาติ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อประโยชน์ทางการค้าแล้ว จึงเป็นความผิดสำเร็จตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 มาตรา 24 โดยไม่จำต้องให้หญิงที่รับจ้างตั้งครรภ์แทนตั้งครรภ์ก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดองค์ประกอบความผิดและไม่เป็นการพยายามกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3330/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฉ้อโกงและการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่ง: ค่าขึ้นศาลในคดีอาญาและอำนาจศาล
คดีนี้เป็นคดีอาญา ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 252 กำหนดไว้ว่า ในคดีอาญาทั้งหลายห้ามมิให้ศาลยุติธรรมเรียกค่าธรรมเนียมนอกจากที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ซึ่งบทบัญญัติในหมวดนี้ในส่วนของจำเลยไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องบังคับไปตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อค่าขึ้นศาลเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่ง จำเลยจึงไม่ต้องเสีย ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสามมิได้เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ร่วมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งบริษัท
กองบังคับการปราบปรามนั้น ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 จึงมีอำนาจสอบสวนคดีได้ทั่วราชอาณาจักรตามกฎหมายอยู่แล้ว เพียงแต่เพื่อที่จะไม่ให้ขัดแย้งหรือซ้ำซ้อนกับอำนาจของพนักงานสอบสวนในพื้นที่เกิดเหตุโดยตรง โดยให้คดีในลักษณะต่าง ๆ ที่ถือว่ามีความสำคัญหรือยุ่งยากเป็นพิเศษ เพื่อให้อยู่ในอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เช่น เมื่อได้มีการรับเรื่องร้องทุกข์ไว้ดำเนินการแล้ว พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามก็มีอำนาจทำการสอบสวนไปได้ก่อนในเบื้องต้นพร้อมทั้งทำเรื่องรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเพื่อทราบและให้มีคำสั่งอนุญาตให้ทำการสอบสวนต่อไปตามระเบียบ ดังนั้น เอกสารที่พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามรวบรวมไว้ ย่อมเป็นเอกสารที่ได้มาโดยถูกต้องชอบดัวยกฎหมาย แม้ภายหลังผู้บังคับบัญชาจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำการสอบสวนต่อไป ก็เป็นเพียงเรื่องภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มีระเบียบกำหนดให้คดีในลักษณะดังกล่าวต้องมีการส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุดำเนินการต่อไปเท่านั้น ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรี ก็ได้มีการเรียกโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายให้มาดำเนินการร้องทุกข์ใหม่อีกครั้งหนึ่งด้วยในลักษณะที่คล้ายกับว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรีเริ่มดำเนินการสอบสวนใหม่เองทั้งหมด ส่วนเอกสารหลักฐานที่พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามส่งมาให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรีก็รวบรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนในลักษณะเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่ง เพื่อนำมาใช้พิจารณาประกอบดุลพินิจในการสั่งสำนวนเท่านั้น หากเห็นว่า ยังขาดตกบกพร่องอยู่ในส่วนใดก็สามารถใช้ดุลพินิจดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่ได้ หรือหากเห็นว่าหลักฐานที่รวบรวมไว้โดยพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามและส่งมาให้รวมไว้ในสำนวนการสอบสวนมีความชัดเจนเพียงพอแล้วก็สามารถใช้เอกสารหลักฐานดังกล่าวเป็นกลักฐานในสำนวนการสอบสวนต่อไปเพื่อใช้ประกอบดุลพินิจในการสั่งคดีได้ โดยไม่ต้องทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้เช่นเดียวกัน
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ร่วมกันปลอมเอกสาร รวมทั้งร่วมกันใช้เอกสารปลอม และสำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัด กระทำหรือยินยอมให้กระทำการปลอมเอกสารหรือลงข้อความเท็จในเอกสารของบริษัทหรือที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 นั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวกันคือเพียงเพื่อต้องการให้นายทะเบียน สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดชลบุรีจดทะเบียนแก้ไขจำนวนผู้ถือหุ้น แก้ไขจำนวนกรรมการเข้าและออก และแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท พ. จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายบท ต้องลงโทษจำเลยทั้งสามตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วย
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ร่วมกันปลอมเอกสาร รวมทั้งร่วมกันใช้เอกสารปลอม และสำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัด กระทำหรือยินยอมให้กระทำการปลอมเอกสารหรือลงข้อความเท็จในเอกสารของบริษัทหรือที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 นั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวกันคือเพียงเพื่อต้องการให้นายทะเบียน สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดชลบุรีจดทะเบียนแก้ไขจำนวนผู้ถือหุ้น แก้ไขจำนวนกรรมการเข้าและออก และแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท พ. จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายบท ต้องลงโทษจำเลยทั้งสามตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาแผ่นดินมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม จึงตกเป็นโมฆะ
ป.พ.พ. มาตรา 850 บัญญัติว่า "อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน" เมื่อพิจารณาคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งเป็นข้อตกลงในการถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 ปรากฏข้อความว่าให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ 200,000 บาท แล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 นอกจากนั้นยังให้จำเลยชำระเงิน 200,000 บาท ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1967/2561 และชำระเงิน 400,000 บาท ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.6137/2560 และยังมีข้อตกลงในส่วนคดีของศาลแรงงานกลางที่ทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้เลิกแล้วต่อกัน รวมถึงจำเลยจะไม่ไปดำเนินการร้องเรียนใด ๆ เกี่ยวกับการประมูลงานของโจทก์ ส่วนที่ร้องเรียนไปแล้วก็จะไปถอนคำร้อง ซึ่งเห็นได้ว่า ข้อความตามคำร้องขอถอนฟ้องเป็นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทด้วยการให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาหมายดำที่ 6070/2560 โดยมีข้อตกลงอื่นด้วยว่าจำเลยต้องชำระเงินให้โจทก์อีก 600,000 บาท ข้อตกลงตามคำร้องขอถอนฟ้องจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายตกลงผ่อนผันให้แก่กันเพื่อระงับข้อพิพาท เมื่อปรากฏว่าข้อตกลงประนีประนอมยอมตามคำร้องขอถอนฟ้อง โจทก์ตกลงถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264, 268 อันเป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดิน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเรียกค่าเสียหายส่วนที่เหลือตามสัญญาที่เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2047/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเยียวยาค่าปรับจากการดำเนินคดีรถยนต์ผิดกฎหมาย: การคืนเงินค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยและรถยนต์
ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 8 วรรคสอง กำหนดให้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคำร้องนั้นด้วย แม้ตามคําร้องของจำเลยทั้งสองขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ มีคําขอท้ายคําร้องเพียงว่าขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่และพิพากษายกฟ้อง มิได้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องนี้ด้วย ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้รับคําร้องของจำเลยทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ ในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ จำเลยทั้งสองจึงเพิ่งยื่นคําร้องขอเงินค่าปรับคืนจากศาลพร้อมดอกเบี้ยก็ตาม ก็พออนุโลมได้ว่า จำเลยทั้งสองประสงค์จะขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนดังกล่าวและระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว และตามมาตรา 14 (2) ตอนแรกที่บัญญัติว่า "ถ้าต้องรับโทษปรับและได้ชําระค่าปรับต่อศาลแล้ว ให้ได้รับเงินค่าปรับคืน..." เป็นการบังคับว่าต้องให้ได้รับเงินค่าปรับคืน จะใช้ดุลพินิจไม่ให้ได้รับเงินค่าปรับคืนไม่ได้ ส่วนตอนท้ายที่บัญญัติว่า "…โดยศาลจะคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับ จนถึงวันที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้" เป็นการให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ก็ได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงในสํานวนว่าสมควรจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ หาใช่ว่าศาลต้องคิดดอกเบี้ยให้โดยศาลคงใช้ดุลพินิจคิดดอกเบี้ยให้เพียงถึงวันใดเท่านั้น
คดีรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มีเจตนารมณ์ให้บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญาโดยคําพิพากษาถึงที่สุดมีสิทธิขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในภายหลังหากปรากฏหลักฐานขึ้นใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน หากปรากฏตามคําพิพากษาของศาลที่พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลผู้นั้นมิได้กระทำความผิด ซึ่งการที่จะให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน และได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ไม่จำต้องถูกผูกพันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ทำให้จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ได้กระทำความผิดแล้วจะกำหนดให้จำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไม่ได้ เพราะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งแห่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ก็เพื่อต้องการให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิดได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย ดังนั้น ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ซึ่งรวมทั้งศาลฎีกายังคงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับความเสียหายมาก สมควรที่จำเลยที่ 2 จะได้รับการเยียวยาด้วยการคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับจนถึงวันที่ได้รับเงินค่าปรับคืนด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของกลาง เพื่อมิให้มีปัญหาที่อาจมีในชั้นการขอคืน ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเสียด้วย
คดีรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มีเจตนารมณ์ให้บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญาโดยคําพิพากษาถึงที่สุดมีสิทธิขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในภายหลังหากปรากฏหลักฐานขึ้นใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน หากปรากฏตามคําพิพากษาของศาลที่พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลผู้นั้นมิได้กระทำความผิด ซึ่งการที่จะให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน และได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ไม่จำต้องถูกผูกพันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ทำให้จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ได้กระทำความผิดแล้วจะกำหนดให้จำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไม่ได้ เพราะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งแห่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ก็เพื่อต้องการให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิดได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย ดังนั้น ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ซึ่งรวมทั้งศาลฎีกายังคงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับความเสียหายมาก สมควรที่จำเลยที่ 2 จะได้รับการเยียวยาด้วยการคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับจนถึงวันที่ได้รับเงินค่าปรับคืนด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของกลาง เพื่อมิให้มีปัญหาที่อาจมีในชั้นการขอคืน ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทบดอกเบี้ยเข้าต้นเงิน: ชอบด้วยกฎหมายหากไม่ใช่เบี้ยปรับสูงเกินไป
การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญากู้ยืมตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น เป็นข้อตกลงที่มีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และข้อตกลงดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินและคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ทุกครั้งที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยถึงหนึ่งปีเช่นนั้น แม้ว่าจะครบกำหนดชำระคืนและลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดในรูปดอกเบี้ยทบต้นไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงโดยกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ครั้งเดียวนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะ: ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้หักเงินชำระตามกรมธรรม์ไม่ได้ และกำหนดดอกเบี้ยตามกฎหมาย
กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถสำหรับรถบรรทุกคันเกิดเหตุส่วนหัวลากและส่วนพ่วงกําหนดให้จำเลยร่วมที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยระบุจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิต ส่วนจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับความเสียหายต่อชีวิตกำหนดไว้เป็นเงิน 35,000 บาท และจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย แสดงว่าในกรณีที่ผู้รับประกันภัยได้ชําระค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไป 35,000 บาท แล้ว ย่อมนํามาหักออกจากค่าสินไหมทดแทนตามวงเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยที่ผู้รับประกันภัยต้องชําระทั้งหมด 300,000 บาท ได้ ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองอีกเพียง 265,000 บาท การจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 4 เช่นนี้ เฉพาะแต่ค่าเสียหายเบื้องต้นซึ่งผู้รับประกันภัยชําระแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยเท่านั้นที่ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ ค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ไม่รวมถึงค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าขาดไร้อุปการะตามที่โจทก์ฟ้องเรียกมา ส่วนค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามวงเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 265,000 บาท นั้น เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มิได้บัญญัติไว้เฉพาะว่าเป็นความคุ้มครองความเสียหายในส่วนใด ค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้จึงถือเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการทำละเมิดกรณีผู้ถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ซึ่งรวมถึงค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ฟ้องเรียกมาด้วย
อย่างไรก็ตาม คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยร่วมที่ 1 ชําระค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากให้แก่โจทก์ 265,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพ และชําระค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกับค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนพ่วงให้แก่โจทก์ 300,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพเช่นเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดีชี้ให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยร่วมที่ 1 ว่าประสงค์ให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงเป็นจำนวนเงินชดเชยค่าปลงศพเพียงอย่างเดียว ไม่รวมถึงค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ฟ้องเรียกมาด้วย จึงไม่อาจนําเงินซึ่งจำเลยที่ 1 ชําระแก่โจทก์เป็นค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงกรมธรรม์ละ 265,000 บาท รวม 2 กรมธรรม์ เป็นเงิน 530,000 บาท ไปหักออกจากค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ได้
อย่างไรก็ตาม คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยร่วมที่ 1 ชําระค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากให้แก่โจทก์ 265,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพ และชําระค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกับค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนพ่วงให้แก่โจทก์ 300,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพเช่นเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดีชี้ให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยร่วมที่ 1 ว่าประสงค์ให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงเป็นจำนวนเงินชดเชยค่าปลงศพเพียงอย่างเดียว ไม่รวมถึงค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ฟ้องเรียกมาด้วย จึงไม่อาจนําเงินซึ่งจำเลยที่ 1 ชําระแก่โจทก์เป็นค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงกรมธรรม์ละ 265,000 บาท รวม 2 กรมธรรม์ เป็นเงิน 530,000 บาท ไปหักออกจากค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4328/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยแทงผู้ตายหลายครั้งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลแก้เป็นจำคุก 16 ปี และให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
การที่จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายที่ 2 หลายครั้ง แล้วย้อนกลับมาแทงผู้ตายที่ 1 ขณะที่ผู้ตายที่ 1 นั่งคร่อมรถจักรยานยนต์ โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าผู้ตายที่ 1 ลงจากรถจักรยานยนต์เข้าช่วยเหลือผู้ตายที่ 2 หรือเข้าไปทำร้ายจำเลยแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่า จุดมุ่งหมายในการแทงของจำเลยแยกออกจากกันได้ว่า จำเลยประสงค์จะแทงผู้ตายคนใด มิใช่แทงในขณะที่มีการชุลมุนกัน แม้การแทงผู้ตายทั้งสองจะเกิดจากมูลเหตุเดียวกันและต่อเนื่องกัน ก็สามารถแยกเจตนาในขณะที่จำเลยลงมือกระทำความผิดได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน