พบผลลัพธ์ทั้งหมด 185 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัทที่ละเลยหน้าที่ทำให้บริษัทเสียหาย คดีไม่ขาดอายุความหากอ้างอิงอายุความ 10 ปี
แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องให้ชัดเจนว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ให้รับผิดในความเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือให้รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ทำการเป็นตัวแทนหรือทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าจะต้องด้วยบทกฎหมายใด ซึ่งสหกรณ์ น. เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 37 วรรคสอง และโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์และเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ความเกี่ยวพันระหว่างสหกรณ์ น. กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งสองทาง โดยให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดทั้งในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนและในมูลละเมิด แม้ว่าโจทก์จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าในวันที่ 20 ธันวาคม 2555 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดของโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือในฐานะตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 นั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 กระทำการฝ่าฝืนระเบียบสหกรณ์ น. ในวันที่ 17 มิถุนายน 2552 โดยการทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายปาล์มน้ำมันกับบริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อและมิได้ให้บริษัท ภ. จัดหาหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามระเบียบ เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม รวมถึงฉ้อโกงโดยการแสดงเอกสารเท็จ
หนังสือรับรองสิทธิครอบครองและการทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิขององค์การบริหารส่วนตำบล ต้องมีการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินและมีผู้ปกครองท้องที่ยืนยัน อันเป็นกิจการที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงเป็นกิจการที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ หนังสือรับรองดังกล่าวจึงเป็นเอกสารราชการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4898/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาและแพ่งควบคู่กัน การพิพากษาคดีอาญาและการฎีกาคดีแพ่งที่เกี่ยวข้อง
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 295 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์ร่วมอุทธรณ์ว่าไม่ได้สมัครใจวิวาทกับจำเลย จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ และพิพากษาแก้โทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษ จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกา ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ขอให้ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และที่ขอให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ส่วนความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาขอให้ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ฐานวิ่งราวทรัพย์ได้
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจกับความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เป็นความผิดคนละกรรมกัน แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ร่วมสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจำเลย ก็มีผลทำให้โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจเท่านั้น แต่การกระทำดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เมื่อโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานนี้ โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงชอบแล้ว
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจกับความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เป็นความผิดคนละกรรมกัน แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ร่วมสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจำเลย ก็มีผลทำให้โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจเท่านั้น แต่การกระทำดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เมื่อโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานนี้ โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปหวงห้าม การพิสูจน์ไม้เก่าที่เคยเป็นสิ่งปลูกสร้าง และการรอการลงโทษ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องที่กฎหมายกําหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาไปโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไป มิได้หมายความว่าเมื่อจําเลยให้การรับสารภาพแล้วจะต้องพิพากษาลงโทษจําเลยเสมอไป คดีอาญาไม่ว่าจําเลยจะให้การเช่นใด ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเสมอว่าจําเลยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจําเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง หรือหากศาลเห็นว่าสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคําพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ ประกอบขณะคดีนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 (ที่แก้ไขใหม่) มีผลต่อการวินิจฉัยของศาลว่า ไม้ของกลางยังคงเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ ซึ่งหากไม่เป็นไม้หวงห้าม การกระทำของจําเลยก็ย่อมไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงมีอำนาจที่สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนพยานโจทก์และพยานจําเลยในประเด็นว่าไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ ได้ตาม ป.วิ.อ มาตรา 208 (1) ทั้ง พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะนําข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่พนักงานคุมประพฤติส่งศาลมาประกอบการพิจารณาพิพากษาหรือเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จําเลย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการสืบเสาะและพินิจจําเลยก่อนมีคําพิพากษา และพิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าไม้ของกลางยังเป็นไม้หวงห้ามต่อไปหรือไม่ จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นถึงแหล่งที่มาของไม้ของกลาง แล้วนําข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสืบพยานหลักฐานของโจทก์และจําเลยมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. และ พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 ดังกล่าว
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานมีไม้จําปา ไม้ตาเสือและไม้หยีแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคําขอให้ลงโทษจําเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 จําเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางส่วนที่เป็นไม้ใหม่เป็นไม้ที่ตัดมาจากที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ส่วนที่เป็นไม้เก่าได้มาจากการรื้อบ้านหลังเก่าที่ปลูกสร้างมาประมาณ 30 ปี เมื่อจําเลยให้การต่อสู้ดังกล่าว จําเลยจึงต้องนําสืบให้เห็นว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ ไม่ใช่ไม้หวงห้ามจึงจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 (4) ส่วนไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) ซึ่งในประเด็นไม้แปรรูปที่เป็นไม้ใหม่นั้น จําเลยและ อ. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ขายไม้แปรรูปของกลางให้แก่จําเลยเบิกความแต่เพียงลอย ๆ ว่า ไม้แปรรูปของกลางตัดมาจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแบบ ส.ป.ก. 4-01 ข โดยไม่มีข้อเท็จจริงใดมานําสืบสนับสนุนให้เห็นเช่นนั้น ทั้งภาพถ่ายที่จําเลยอ้างไม่ปรากฏตอไม้ที่จะบ่งชี้ถึงที่มาของไม้แปรรูปของกลาง และบางภาพปรากฏว่าเป็นต้นไม้ที่ถูกโค่นใหม่ ยังไม่มีการแปรรูปใด ๆ ทำให้เชื่อได้ว่ามีการโค่นต้นไม้ดังกล่าวภายหลังจากจําเลยถูกดำเนินคดีนี้แล้ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ได้มาจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ดังนั้น จึงต้องฟังว่าจําเลยมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าเป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านหลังเก่าของจําเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ บัญญัติว่า "ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สัก และไม่น้อยกว่าสิบปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป" ความในวรรคนี้มีความหมายว่า ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปนั้นแยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือเคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้วและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช้ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ตามความในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ข้อความที่ว่า "รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้ว" ย่อมแสดงชัดว่าในปัจจุบันไม้มิได้อยู่ในสภาพเช่นนั้นแล้ว โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ ห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สัก ดังนั้นไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่านี้เป็นไม้ที่เคยอยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างมาก่อน จึงมิใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) การที่จําเลยมีไม้ของกลางในส่วนที่เป็นไม้เก่าไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 เมื่อไม้ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจําเลยมีทั้งไม้แปรรูปที่เป็นไม้หวงห้าม กับไม้ที่มีไว้ในครอบครองได้โดยไม่เป็นความผิด ซึ่งในส่วนของไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายที่โจทก์นําสืบมีจำนวนค่อนข้างมาก จําเลยเองก็ให้การไว้ในรายงานการสืบเสาะและพินิจจําเลยว่า ร. ไม่ทราบชื่อสกุล นําไม้จําปาแปรรูปจำนวน 50 แผ่น ไม้ตาเสือแปรรูปจำนวน 20 แผ่น และไม้หยีแปรรูปจำนวน 20 แผ่น มาขายให้แก่จําเลย ไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่จึงย่อมต้องมีปริมาตรเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อไม่ได้ความชัดว่าปริมาตรเกิน 2 ลูกบาศก์เมตร หรือไม่ ก็ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จําเลยว่า จําเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เกิน 2 ลูกบาศก์เมตร
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานมีไม้จําปา ไม้ตาเสือและไม้หยีแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคําขอให้ลงโทษจําเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 จําเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางส่วนที่เป็นไม้ใหม่เป็นไม้ที่ตัดมาจากที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ส่วนที่เป็นไม้เก่าได้มาจากการรื้อบ้านหลังเก่าที่ปลูกสร้างมาประมาณ 30 ปี เมื่อจําเลยให้การต่อสู้ดังกล่าว จําเลยจึงต้องนําสืบให้เห็นว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ ไม่ใช่ไม้หวงห้ามจึงจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 (4) ส่วนไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) ซึ่งในประเด็นไม้แปรรูปที่เป็นไม้ใหม่นั้น จําเลยและ อ. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ขายไม้แปรรูปของกลางให้แก่จําเลยเบิกความแต่เพียงลอย ๆ ว่า ไม้แปรรูปของกลางตัดมาจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแบบ ส.ป.ก. 4-01 ข โดยไม่มีข้อเท็จจริงใดมานําสืบสนับสนุนให้เห็นเช่นนั้น ทั้งภาพถ่ายที่จําเลยอ้างไม่ปรากฏตอไม้ที่จะบ่งชี้ถึงที่มาของไม้แปรรูปของกลาง และบางภาพปรากฏว่าเป็นต้นไม้ที่ถูกโค่นใหม่ ยังไม่มีการแปรรูปใด ๆ ทำให้เชื่อได้ว่ามีการโค่นต้นไม้ดังกล่าวภายหลังจากจําเลยถูกดำเนินคดีนี้แล้ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ได้มาจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ดังนั้น จึงต้องฟังว่าจําเลยมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าเป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านหลังเก่าของจําเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ บัญญัติว่า "ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สัก และไม่น้อยกว่าสิบปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป" ความในวรรคนี้มีความหมายว่า ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปนั้นแยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือเคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้วและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช้ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ตามความในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ข้อความที่ว่า "รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้ว" ย่อมแสดงชัดว่าในปัจจุบันไม้มิได้อยู่ในสภาพเช่นนั้นแล้ว โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ ห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สัก ดังนั้นไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่านี้เป็นไม้ที่เคยอยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างมาก่อน จึงมิใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) การที่จําเลยมีไม้ของกลางในส่วนที่เป็นไม้เก่าไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 เมื่อไม้ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจําเลยมีทั้งไม้แปรรูปที่เป็นไม้หวงห้าม กับไม้ที่มีไว้ในครอบครองได้โดยไม่เป็นความผิด ซึ่งในส่วนของไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายที่โจทก์นําสืบมีจำนวนค่อนข้างมาก จําเลยเองก็ให้การไว้ในรายงานการสืบเสาะและพินิจจําเลยว่า ร. ไม่ทราบชื่อสกุล นําไม้จําปาแปรรูปจำนวน 50 แผ่น ไม้ตาเสือแปรรูปจำนวน 20 แผ่น และไม้หยีแปรรูปจำนวน 20 แผ่น มาขายให้แก่จําเลย ไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่จึงย่อมต้องมีปริมาตรเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อไม่ได้ความชัดว่าปริมาตรเกิน 2 ลูกบาศก์เมตร หรือไม่ ก็ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จําเลยว่า จําเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เกิน 2 ลูกบาศก์เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนใบอนุญาตจัดสรรที่ดินไม่ตัดสิทธิผู้ซื้อในการฟ้องร้องความชำรุดบกพร่องจากผู้ขายเดิม
ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 บัญญัติเรื่องการโอนใบอนุญาตจัดสรรที่ดินไว้ในมาตรา 38 กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินยื่นคำขอต่อคณะกรรมการตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าการโอนนั้นไม่เป็นที่เสียหายแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร และธนาคารหรือสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตามมาตรา 24 หรือมาตรา 43 วรรคสอง ได้ยินยอมด้วยแล้ว ให้คณะกรรมการอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอน แม้มาตรา 39 บัญญัติผลแห่งการโอนใบอนุญาตว่า "เมื่อได้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอนแล้ว ให้บรรดาสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตกไปยังผู้รับโอน" ก็ตาม แต่เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโดยเฉพาะการได้สิทธิในที่ดินจัดสรรและการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ดังจะเห็นได้จากการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดสรรที่ดินในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคไว้ในมาตรา 43 ส่วนบ้านเรือนที่ปลูกสร้างในที่ดินที่จัดสรรย่อมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ซึ่งยังคงมีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายกับผู้ขาย หาได้โอนไปตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งโอนไปเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน แต่ไม่หมายรวมถึงสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ตามข้อสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ภายในบังคับของ ป.พ.พ. ต่างหากจาก พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ดังนั้นบรรดาสิทธิ หน้าที่และความรับผิดที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับดังกล่าวจึงยังคงมีอยู่ทุกประการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ได้ เมื่ออาคารพาณิชย์ที่จำเลยที่ 1 ขายให้แก่โจทก์มีความชำรุดบกพร่อง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ข้อ 5 บัญญัติว่า เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดดังระบุไว้ต่อไปนี้ หรือกิจการอันมีสภาพคล้ายคลึงกัน ให้เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี (7) การจัดหามาซึ่งเงินทุนแล้วให้ผู้อื่นกู้เงินนั้น หรือเอาเงินนั้นซื้อหรือซื้อลดซึ่งตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่น หรือตราสารการเครดิต ข้อ 16 บัญญัติว่า ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ 4 หรือข้อ 5 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 มีใจความว่า "...รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงออกประกาศกำหนดให้การให้สินเชื่อส่วนบุคคลอันเป็นกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการธนาคาร ซึ่งมีลักษณะตามที่ระบุไว้ในประกาศนี้ เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ "สินเชื่อส่วนบุคคล" หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลด ตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด แก่บุคคลธรรมดาโดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการและไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจของตนเอง... ข้อ 2 ให้การประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต... ข้อ 3 ผู้ประกอบธุรกิจต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี..." นั้น เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดังกล่าว ซึ่งจะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเท่านั้น หาใช่มีความหมายว่า กฎหมายมีวัตถุประสงค์จะทำการควบคุมเฉพาะนิติบุคคลที่จะประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับเท่านั้น แต่บุคคลธรรมดาอาจกระทำการดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีและไม่เป็นความผิดต่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ตามที่จำเลยฎีกาไม่ ดังนั้น หากผู้ใดไม่ว่าเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจหรือกิจการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีย่อมมีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงปืนลั่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นการกระทำโดยประมาท ไม่ใช่ป้องกันโดยชอบธรรม
การกระทำซึ่งจะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 68 ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา จำเลยเอาอาวุธปืนออกมาขู่ผู้ตายและทำปืนลั่นโดยประมาทถูกผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ใช่การกระทำโดยเจตนา การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่การป้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8791/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแสวงหาประโยชน์จากเหยื่อต่างด้าว ไม่ถือว่าช่วยเหลือพ้นการจับกุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันกักขังผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 ไว้ที่บ้านเกิดเหตุเพื่อให้ติดต่อญาติของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 เรียกเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาทำงานในประเทศไทยเพิ่ม แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกมีเจตนาจะแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองว่ามีเจตนาที่จะช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 ให้พ้นจากการจับกุมและไม่อาจถือได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันนำผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 เข้ามาในราชอาณาจักร การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันให้เข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 10 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6666/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปาล์มน้ำมันในป่าสงวน: ผลผลิตเป็นของป่า แม้ปลูกโดยได้รับอนุญาต
แม้ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตผลปาล์มน้ำมันของกลางจะเกิดจากการเพาะปลูกของบริษัท บ. ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐ แต่ต้นปาล์มน้ำมันดังกล่าวเป็นไม้ยืนต้นที่ปลูกบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่รัฐอนุญาตแล้ว ไม่ปรากฏว่ารัฐหรือบริษัท บ. ได้ดำเนินการให้รื้อถอนต้นปาล์มออกไป แสดงว่าต่างมีความประสงค์ให้ต้นปาล์มน้ำมันเป็นส่วนควบของผืนป่า และเป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว ผลปาล์มน้ำมันของกลางที่เกิดจากต้นปาล์มน้ำมันนั้น จึงเป็นดอกผลที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่า ผลปาล์มน้ำมันจึงเป็นของป่า จำเลยเข้าไปเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันของกลาง การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิด อันเป็นความผิดฐานเก็บของป่าตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และผลปาล์มน้ำมันของกลางย่อมเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดจึงต้องริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเก็บผลปาล์มน้ำมันในป่าสงวนแห่งชาติ: ความหมาย ‘ของป่า’ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ และ พ.ร.บ.ป่าไม้
ความผิดฐานเก็บของป่า ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุกคนละ 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานเก็บของป่าแต่ยังคงมีความผิดฐานยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ให้ปรับจำเลยทั้งสองคนละ 20,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษกึ่งหนึ่งคงปรับคนละ 10,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะได้รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยทั้งสองอันเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกิน 2 ปี คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ในข้อนี้มานั้นไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อพิจารณาคำว่า ของป่า ตาม พ.ร.บ.สงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 4 ให้ความหมายไว้ว่า ของป่าหมายความว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่าเป็นต้นว่า (1) ไม้ฟืน ถ่าน เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ด ผลไม้ หน่อไม้ ชันไม้ และยางไม้ แสดงว่าของป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มีความหมายรวมทั้งหมดไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์ปลูกสร้างขึ้น หากเกิดขึ้นและมีอยู่ในป่าแล้ว ล้วนแต่เป็นของป่าทั้งสิ้น ซึ่งจะแตกต่างจากคำนิยามของคำว่า ของป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (7) ซึ่งให้ความหมายว่า ของป่า หมายความว่า บรรดาของที่เกิดขึ้นหรือมีขึ้นในป่าตามธรรมชาติ จึงหมายถึงเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในป่าแห่งนั้น ส่วนสิ่งที่ปลูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ไม่อาจเป็นของป่าไปได้ ความหมายของคำว่า ของป่า ตามพระราชบัญญัติทั้งสองดังกล่าว จึงแตกต่างกัน ต้นปาล์มน้ำมันที่บริษัท ว. ปลูกขึ้นในป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุตั้งแต่ขณะได้รับอนุญาตจากรัฐ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ย่อมไม่อาจเป็นของป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ได้ แต่เนื่องจากต้นปาล์มน้ำมันดังกล่าวต้องถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่า ย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า ของป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 นั้นเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองที่เข้าไปเก็บเอาผลปาล์มน้ำมัน น้ำหนักประมาณ 500 กิโลกรัม ในป่าสงวนแห่งชาติ ป่ารับร่อ และป่าสลุย ที่เกิดเหตุ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 แล้ว
เมื่อพิจารณาคำว่า ของป่า ตาม พ.ร.บ.สงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 4 ให้ความหมายไว้ว่า ของป่าหมายความว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่าเป็นต้นว่า (1) ไม้ฟืน ถ่าน เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ด ผลไม้ หน่อไม้ ชันไม้ และยางไม้ แสดงว่าของป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มีความหมายรวมทั้งหมดไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์ปลูกสร้างขึ้น หากเกิดขึ้นและมีอยู่ในป่าแล้ว ล้วนแต่เป็นของป่าทั้งสิ้น ซึ่งจะแตกต่างจากคำนิยามของคำว่า ของป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (7) ซึ่งให้ความหมายว่า ของป่า หมายความว่า บรรดาของที่เกิดขึ้นหรือมีขึ้นในป่าตามธรรมชาติ จึงหมายถึงเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในป่าแห่งนั้น ส่วนสิ่งที่ปลูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ไม่อาจเป็นของป่าไปได้ ความหมายของคำว่า ของป่า ตามพระราชบัญญัติทั้งสองดังกล่าว จึงแตกต่างกัน ต้นปาล์มน้ำมันที่บริษัท ว. ปลูกขึ้นในป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุตั้งแต่ขณะได้รับอนุญาตจากรัฐ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ย่อมไม่อาจเป็นของป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ได้ แต่เนื่องจากต้นปาล์มน้ำมันดังกล่าวต้องถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่า ย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า ของป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 นั้นเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองที่เข้าไปเก็บเอาผลปาล์มน้ำมัน น้ำหนักประมาณ 500 กิโลกรัม ในป่าสงวนแห่งชาติ ป่ารับร่อ และป่าสลุย ที่เกิดเหตุ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 แล้ว