พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในอาวุธปืนมรดกและการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ศาลพิจารณาเจ้าของกรรมสิทธิ์และพฤติการณ์
ก่อนเกิดเหตุ จำเลยไปหาผู้ร้องและหยิบอาวุธปืนของกลางออกมาเพื่อใช้ซ้อมยิงปืนในค่ายทหารซึ่งเป็นกิจกรรมที่จำเลยกระทำอยู่เป็นประจำ ภายหลังจากนั้นจำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวมาใช้ก่อเหตุ อันแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้เข้มงวดกวดขันในการอนุญาตให้จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปใช้อย่างแท้จริง และการที่จำเลยสามารถหยิบอาวุธปืนของกลางไปใช้ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าววัตถุประสงค์ให้ผู้ร้องทราบก่อน ย่อมแสดงว่าผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงว่าจำเลยจะนำไปใช้ในกิจกรรมใด ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษเมื่อจำเลยกระทำความผิดซ้ำในระหว่างรอการลงโทษ
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยว่า ภายในเวลาที่ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีรอการลงโทษให้จำเลยไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 465/2557 จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก และคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน โดยไม่ลงโทษปรับ ไม่คุมความประพฤติจำเลยและไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์จึงต้องนำโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน ของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยคดีนี้ การที่ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้นำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 465/2557 ของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี มาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยคดีนี้ด้วยนั้นเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งครอบครอง vs. ครอบครองแทน หากมิได้อ้างการครอบครองแทน ศาลล่างวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องและให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองที่ดินพิพาทแทน จ. แล้วแย่งการครอบครองโดยบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง จ. ว่าไม่มีเจตนายึดที่ดินพิพาทแทน จ. ต่อไป คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ทั้งสองได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง จ. บิดาจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ทั้งสอง ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ และเมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 โดยโจทก์ทั้งสองมิได้แก้ฎีกาว่า ส. บิดาโจทก์ที่ 2 เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ จ. หรือบริษัท ร. แล้วโจทก์ที่ 2 เข้าครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องมาจาก จ. จึงเป็นการครอบครองแทน จ. บิดาจำเลยด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ จ. ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงมีอำนาจฟ้องแย้งให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชดใช้หนี้จากราคาขายทอดตลาดที่ดินแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิม
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดและทำการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 44249 ไปในคดีนี้ ที่ดินมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เงินที่ได้จากขายทอดตลาดส่วนที่เหลืออยู่ภายหลังที่ได้หักชำระค่าฤชาธรรมเนียมและจ่ายแก่เจ้าหนี้ของจำเลยในคดีนี้แล้ว จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะรับเงินดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 322 วรรคสอง ล. โดยผู้ร้องผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 573/2544 ของศาลจังหวัดภูเก็ต จึงไม่มีสิทธิขอให้จ่ายให้แก่ผู้ร้องได้โดยตรง แต่เนื่องจาก ล. เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีดังกล่าว ซึ่งพิพากษาบังคับจำเลยให้จดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่ 44248 และ 44249 แก่โจทก์ หากไม่สามารถปฏิบัติได้ให้ใช้ราคา 40,000,000 บาท การที่ที่ดินโฉนดเลขที่ 44249 ถูกยึดและขายทอดตลาดไปในคดีนี้แล้ว มีผลทำให้จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงนี้ให้แก่ ล. ได้ ล. จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีดังกล่าวโดยให้จำเลยใช้ราคาที่ดินแปลงนี้แทน เมื่อการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 44249 ไปทำให้จำเลยได้เงินมาแทน กรณีถือได้ว่า ล. เจ้าหนี้จำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 573/2544 ของศาลจังหวัดภูเก็ต เป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 (1) ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรส่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 44249 ส่วนที่เหลืออยู่ภายหลังที่ได้หักชำระค่าฤชาธรรมเนียมและจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยในคดีนี้แล้ว ไปให้ศาลจังหวัดภูเก็ตดำเนินการในชั้นบังคับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 573/2544 ของศาลจังหวัดภูเก็ต โดยนำไปชดใช้ราคาที่ดินที่จำเลยต้องชดใช้แทนให้แก่ ล. โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีดังกล่าวเสียก่อน หากไม่มีราคาที่ดินที่ต้องชดใช้หรือเมื่อชดใช้ราคาที่ดินแล้วมีเงินเหลือเพียงใด ก็ให้จ่ายเงินนั้นแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8393/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบโทรศัพท์มือถือในคดียาเสพติด: พยานหลักฐานต้องเชื่อมโยงการใช้เพื่อกระทำผิด
ฎีกาของโจทก์ยอมรับว่าเมทแอมเฟตามีน 1,844 เม็ด ที่ยึดได้จาก ห. กับเมทแอมเฟตามีน 27 เม็ด ที่ยึดได้จากจำเลย มีการแบ่งแยกกันเป็นคนละส่วน คนละจำนวน และจำเลยได้มาคนละคราวกัน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนที่ยึดได้จากจำเลยและ ห. มิได้มีลักษณะหรือสีเหมือนกัน ประกอบกับชั้นจับกุมจำเลยให้การทันทีว่าซื้อเมทแอมเฟตามีน 27 เม็ด เพื่อเสพ และชั้นสอบสวนจำเลยให้การว่า รับจ้างจาก ฉ. นำเมทแอมเฟตามีนไม่ทราบจำนวนบรรจุอยู่ในห่อไปส่งที่จังหวัดพังงามี ห. มารับเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไป จึงฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีน 27 เม็ดที่ยึดได้จากจำเลย เป็นเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยได้มาคนละคราวกับเมทแอมเฟตามีน 1,844 เม็ด ที่จำเลยจำหน่ายให้แก่ ห. เมทแอมเฟตามีนเป็นคนละจำนวนกัน จำเลยมีเจตนามีเมทแอมเฟตามีน 27 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแยกต่างหากจากการมีเมทแอมเฟตามีน 1,844 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นความผิดซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ศาลต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 13 เมื่อพยานหลักฐานโจทก์นำสืบได้ความเพียงว่า พันตำรวจโท อ. ยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางได้จากจำเลยเท่านั้น โดยไม่มีพยานนำสืบให้เห็นว่าจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางติดต่อซื้อขายและส่งมอบเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้อย่างใด โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยจึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง และไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิด จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางก็ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32
อนึ่ง เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2559 มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559 ใช้บังคับ โดยมาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 30 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด จึงให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นความผิดซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ศาลต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 13 เมื่อพยานหลักฐานโจทก์นำสืบได้ความเพียงว่า พันตำรวจโท อ. ยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางได้จากจำเลยเท่านั้น โดยไม่มีพยานนำสืบให้เห็นว่าจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางติดต่อซื้อขายและส่งมอบเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้อย่างใด โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยจึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง และไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิด จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางก็ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32
อนึ่ง เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2559 มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2559 ใช้บังคับ โดยมาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 30 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด จึงให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดจากเหตุสุดวิสัย (ธรณีพิบัติภัย) ทายาทผู้เช่าซื้อต้องคืนทรัพย์หรือชำระราคา
กรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อพังเสียหายจากการถูกคลื่นสึนามิซัดเข้าปะทะกับต้นไม้และพลิกตะแคงอยู่กับเศษวัสดุต่าง ๆ ที่แตกหักเสียหายเป็นเหตุให้รถยนต์ที่เช่าซื้อเสียหายใช้การไม่ได้และสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 5 วรรคสอง กำหนดว่าหากไม่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบค่าเสียหายเพียงเท่าที่เจ้าของได้ใช้จ่ายไปตามความจำเป็นและมีเหตุอันสมควรและตามข้อ 11 กำหนดว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุด ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์คืน แม้โจทก์ฟ้องเป็นกรณีผิดสัญญาเช่าซื้อโดยทั่วไปก็ตาม แต่ก็พอถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดกรณีสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดจากเหตุที่มิได้เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อด้วย เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อได้รับความเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ดังเดิม แต่รถยนต์หาได้สูญสิ้นสภาพไปทั้งหมดยังคงมีตัวทรัพย์อยู่ โจทก์ในฐานะเจ้าของย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนได้ แม้รถยนต์ที่เช่าซื้อเสียหายจากธรณีพิบัติภัยอันเป็นเหตุสุดวิสัย ผู้เช่าซื้อไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในการส่งมอบรถยนต์คืนตามสภาพที่ใช้การได้ดี แต่ต้องส่งมอบคืนตามสภาพที่เป็นจริงหลังเกิดธรณีพิบัติภัย จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดในการคืนทรัพย์แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทน โดยกำหนดให้ในลักษณะของค่าซากรถเป็นเงิน 20,000 บาท
ตามคำฟ้องของโจทก์ขอเรียกค่าเสียหายใด ๆ อันเนื่องมาจากความรับผิดตามสัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 5 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการทวงถาม การติดตามทรัพย์ ค่าทนายความหรือค่าใช้จ่ายอื่นใด จึงไม่กำหนดให้ คงมีเพียงค่าเสียหายจากการที่รถยนต์ที่เช่าซื้อเสียหายโดยสิ้นเชิงจากเหตุธรณีพิบัติภัย แม้โจทก์ไม่อาจเรียกค่าเสียหายตามราคารถยนต์ที่โจทก์ออกเงินลงทุนก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาว่า หากรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่ได้เสียหายจากธรณีพิบัติภัยและ ย. ชำระค่าเช่าซื้อครบ 48 งวด โจทก์จะได้รับผลประโยชน์เป็นเงิน 44,979.37 บาท แต่คดีนี้โจทก์ได้รับผลประโยชน์จากค่าเช่าซื้อที่ ย. ผ่อนชำระแล้ว 8 งวด รถยนต์ก็เสียหายโดยสิ้นเชิงจนมีสภาพเป็นเพียงซากรถ จึงเห็นควรกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ 37,400 บาท เมื่อค่าซากรถและค่าเสียหายที่กำหนดให้เป็นจำนวนที่พอสมควรแล้ว จึงไม่กำหนดให้จำเลยต้องรับผิดในดอกเบี้ยของค่าเสียหายอีก ส่วนค่าใช้ทรัพย์และค่าเช่าซื้อค้างชำระที่โจทก์ขอมานั้น ย. ผู้เช่าซื้อยังมิได้ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันคงต้องรับผิดเฉพาะการคืนทรัพย์แก่โจทก์หรือใช้ราคาแทนและชดใช้ค่าเสียหายดังที่วินิจฉัยแล้ว
ตามคำฟ้องของโจทก์ขอเรียกค่าเสียหายใด ๆ อันเนื่องมาจากความรับผิดตามสัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 5 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการทวงถาม การติดตามทรัพย์ ค่าทนายความหรือค่าใช้จ่ายอื่นใด จึงไม่กำหนดให้ คงมีเพียงค่าเสียหายจากการที่รถยนต์ที่เช่าซื้อเสียหายโดยสิ้นเชิงจากเหตุธรณีพิบัติภัย แม้โจทก์ไม่อาจเรียกค่าเสียหายตามราคารถยนต์ที่โจทก์ออกเงินลงทุนก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาว่า หากรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่ได้เสียหายจากธรณีพิบัติภัยและ ย. ชำระค่าเช่าซื้อครบ 48 งวด โจทก์จะได้รับผลประโยชน์เป็นเงิน 44,979.37 บาท แต่คดีนี้โจทก์ได้รับผลประโยชน์จากค่าเช่าซื้อที่ ย. ผ่อนชำระแล้ว 8 งวด รถยนต์ก็เสียหายโดยสิ้นเชิงจนมีสภาพเป็นเพียงซากรถ จึงเห็นควรกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ 37,400 บาท เมื่อค่าซากรถและค่าเสียหายที่กำหนดให้เป็นจำนวนที่พอสมควรแล้ว จึงไม่กำหนดให้จำเลยต้องรับผิดในดอกเบี้ยของค่าเสียหายอีก ส่วนค่าใช้ทรัพย์และค่าเช่าซื้อค้างชำระที่โจทก์ขอมานั้น ย. ผู้เช่าซื้อยังมิได้ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันคงต้องรับผิดเฉพาะการคืนทรัพย์แก่โจทก์หรือใช้ราคาแทนและชดใช้ค่าเสียหายดังที่วินิจฉัยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์หลายกรรมต่างกัน & หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
จำเลยเป็นลูกจ้างผู้เสียหาย มีหน้าที่รับเงินผู้เสียหายไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ จำเลยรับเงินจากผู้เสียหายหลายครั้ง แล้วเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายรวม 260,597.80 บาท ไปเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต แม้ระยะเวลาที่จำเลยยักยอกเงินในแต่ละครั้งจะไม่ห่างกันมาก แต่การที่จำเลยยักยอกเงินผู้เสียหายในแต่ละครั้งก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
หนังสือรับสภาพหนี้มีเนื้อความว่าจำเลยเป็นหนี้เนื่องจากยักยอกเงินของผู้เสียหายไป โดยจำเลยตกลงจะผ่อนชำระคืนให้เป็นงวดๆ ซึ่งมีผลผูกพันกันในทางแพ่งและเป็นสิทธิทางแพ่งที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่ง เมื่อไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับ
หนังสือรับสภาพหนี้มีเนื้อความว่าจำเลยเป็นหนี้เนื่องจากยักยอกเงินของผู้เสียหายไป โดยจำเลยตกลงจะผ่อนชำระคืนให้เป็นงวดๆ ซึ่งมีผลผูกพันกันในทางแพ่งและเป็นสิทธิทางแพ่งที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่ง เมื่อไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14929/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทุจริต: การส่งเรื่องจาก ป.ป.ช. ให้ตำรวจสอบสวนตามประกาศ คปค. ชอบด้วยกฎหมาย
ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ข้อ 6 กำหนดว่า ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาเห็นสมควร อาจส่งเรื่องที่มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่บุคคลตามมาตรา 66 ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนดำเนินการทางวินัยหรือดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้วแต่กรณี หรือส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตาม ป.วิ.อ. ต่อไปก็ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาและถูกดำเนินคดีในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และพนักงานสอบสวนได้ส่งเรื่องกล่าวหาร้องเรียนจำเลยทั้งสองซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการตามกฎหมายแล้ว ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้พิจารณาเรื่องกล่าวหาร้องเรียนจำเลยทั้งสองแล้วมีมติให้ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรคุระบุรีดำเนินการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. ต่อไป โดยอาศัยอำนาจตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับดังกล่าว ดังนั้น การสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรคุระบุรีในคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14213/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดเจตนา, ตัวการโดยอ้อม, การกระทำความผิดทางอาญา, การคืนเงินผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายเบิกถอนเงินของผู้เสียหายจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารโดยสำคัญผิดว่าจำเลยที่ 3 ผู้มอบบัตรเอทีเอ็มและใช้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปเบิกถอนเงินมีสิทธิที่จะใช้บัตรเอทีเอ็มนั้นได้ แม้ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 3 มีสิทธิใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายไปเบิกถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารจะไม่มีอยู่จริง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สำคัญผิดว่ามีอยู่จริง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดของจำเลยที่ 3 เอง และแม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิด แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะกระทำผิดด้วยตัวเอง หรือเป็นการกระทำผิดโดยอ้อม จำเลยที่ 3 ก็มีสถานะเป็นผู้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเหมือนกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาจึงย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราเด็กและผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว: โจทก์ฎีกาข้อหาเดิมไม่ได้ แต่ศาลแก้ให้จำคุก
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลายกรรมต่างกัน โดยเฉพาะความผิดที่ได้กระทำในวันที่ 13 สิงหาคม 2551 และวันที่ 12 กันยายน 2551 จำเลยได้กระทำโดยมีอาวุธปืน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3, 4 รวม 4 กระทง และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ โจทก์จะฎีกาในข้อหาความผิดนี้หาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220