พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ การบังคับคดี และสิทธิในการยึดถือทรัพย์
ตามทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยมีความผูกพันเป็นพิเศษอย่างไรนอกเหนือจากที่เคยให้กู้ยืมเงินกันมาก่อน การที่หลังจากให้จำเลยกู้ยืมเงิน 1,800,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 ต่อมาเดือนตุลาคม 2556 จำเลยขอให้โจทก์โอนเงินมาให้อีก 1,500,000 บาท และโจทก์เห็นว่าได้ยึดถือโฉนดที่ดินของจำเลยไว้แล้ว จึงโอนเงินไปให้โดยไม่ได้ทำหลักฐานอื่นใดเพิ่มเติมนั้น บ่งชี้ว่าเป็นการให้จำเลยกู้ยืมเงินอีกดังที่ศาลล่างวินิจฉัย ส่วนที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าการโอนเงินให้แก่กันไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการโอนเงินที่สามารถเรียกคืนได้ตามกฎหมายนั้น การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฎว่าจำเลยจะต้องคืนเฉพาะเงินเหรียญหรือธนบัตรในลักษณะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเท่านั้น เมื่อโจทก์โอนเงินกู้ให้แก่จำเลยไป กรรมสิทธิ์ในเงินกู้ย่อมตกแก่จำเลย ฟ้องโจทก์จึงไม่ใช่การใช้ทรัพยสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน แต่เป็นการใช้บุคคลสิทธิเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" เมื่อโจทก์ยังมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพราะจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญมานำสืบตามกฎหมาย จึงฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระเงินกู้ไม่ได้ ซึ่งรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นมูลฟ้องร้องและยึดถือโฉนดไว้เป็นหนี้เงินกู้ที่ฟ้องร้องบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย ส่วนหนี้เงินกู้ 1,800,000 บาท โจทก์ก็รับว่าจำเลยชำระหนี้ให้แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ของจำเลยไว้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4942/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาประนีประนอมยอมความ การอายัดทรัพย์สิน และการบังคับคดีชำระหนี้
กรณีตามคำร้องเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ว่าหนี้ตามคำพิพากษามีจำนวนเท่าใด มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยคัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาสูงเกินกว่าที่จะพอชำระหนี้โดยหนี้ตามคำพิพากษานั้นมีจำนวนแน่นอนแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยในบัญชีเงินฝากดังกล่าวจึงไม่เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 300 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง-ปลอมแปลงเอกสาร: การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียว, เอกสารราชการ/เอกสารทั่วไป
แบบส่งเงินอายัด เป็นเอกสารที่ธนาคารจัดส่งเงินฝากในบัญชีของจำเลยที่ 1 มาให้สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี ตามคำสั่งอายัดเงินของจำเลยที่ 1 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 326/2558 ของศาลจังหวัดเพชรบุรี ไม่ใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ รวมทั้งไม่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) และ (9) จึงเป็นเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 1 (7) เท่านั้น
ส่วนใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5) เป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นในหน้าที่เพื่อมอบให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินเพื่อเป็นหลักฐานในการชำระภาษีบำรุงท้องที่ จึงเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) แต่ไม่เป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) ในความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ล้วนเป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวเพื่อหลอกลวงโจทก์ทั้งสอง การที่โจทก์ทั้งสองทยอยมอบเงินกู้ยืมให้แก่จำเลยที่ 1 ในแต่ละครั้ง รวม 70 ครั้ง เป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาเดียวเพื่อฉ้อโกงโจทก์ทั้งสองเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
ส่วนใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5) เป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นในหน้าที่เพื่อมอบให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินเพื่อเป็นหลักฐานในการชำระภาษีบำรุงท้องที่ จึงเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) แต่ไม่เป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) ในความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ล้วนเป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวเพื่อหลอกลวงโจทก์ทั้งสอง การที่โจทก์ทั้งสองทยอยมอบเงินกู้ยืมให้แก่จำเลยที่ 1 ในแต่ละครั้ง รวม 70 ครั้ง เป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาเดียวเพื่อฉ้อโกงโจทก์ทั้งสองเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2833/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกกรณีหนี้สินค่าสินสอด: สิทธิเรียกร้องของกองมรดกต่อลูกหนี้และการแบ่งทรัพย์สินให้ทายาท
หนังสือแจ้งความจำนงชำระเงินที่ยืมมีข้อความว่า ธ. ได้ยืมเงินจากผู้ตาย จำนวน 1,000,000 บาท โดยผู้ตายให้ ธ. ผ่อนชำระเดือนละ 4,000 บาท จนเดือนสิงหาคม 2561 ผู้ตายถึงแก่ความตาย ธ. ผ่อนชำระไปแล้ว 48,000 บาท คงเหลือ 952,000 บาท และจะขอผ่อนชำระกับโจทก์ทั้งสอง (ภริยาผู้ตาย) เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบ และ ธ. ได้เบิกความยอมรับว่าเป็นผู้ทำเอกสารดังกล่าวด้วยตนเองโดยทำขึ้นหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว เหตุที่ทำเอกสารดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ทั้งสองทวงถามเงินจาก ธ. เมื่อ ธ. มีความรับผิดที่จะต้องชำระหนี้แก่ผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นหนี้สินซึ่งค้างชำระอยู่แก่กองมรดกที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นจะเรียกให้ชำระแก่กองมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคสอง จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีเพียงสิทธิเรียกร้องให้ ธ. ชำระหนี้แก่กองมรดกเท่านั้น สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่อาจแบ่งแยกแก่โจทก์ทั้งสองได้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย ธ. ได้ชำระเงินคืนแก่กองมรดกเพียงใด จึงยังไม่มีตัวเงินที่จะแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกต้องไปว่ากล่าวเรียกร้องให้ ธ. ชำระหนี้แก่กองมรดกเพื่อรวบรวมและแบ่งปันให้แก่โจทก์ทั้งสองต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของทันตแพทย์: การจัดฟันที่ส่งผลให้เกิดการสูญเสียกระดูกและต้องผ่าตัดแก้ไข
คงมีปัญหาตามว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ตามพยานหลักฐานของโจทก์ปรากฏว่า โจทก์เข้ารับการรักษากับจำเลยด้วยวิธีการจัดฟัน ต่อมาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2559 โจทก์มีอาการเหงือกอักเสบบริเวณฟันหน้าด้านบนขวา แต่จำเลยยังดำเนินการจัดฟันต่อไป โจทก์เห็นว่าการรักษาของจำเลยไม่เกิดผลดี จึงไปพบทันตแพทย์ ห. ที่คลินิกทันตกรรม อ. ซึ่งมีการเอกซเรย์ฟันโจทก์และแนะนำให้ถอนฟันออก โดยให้โจทก์กลับไปปรึกษากับจำเลยที่ตรวจดูแลโจทก์มาตั้งแต่ต้น วันที่ 27 มิถุนายน 2559 โจทก์ไปพบจำเลยพร้อมกับใบส่งตัวและฟิลม์เอกซเรย์ จำเลยแจ้งว่าให้ถอนฟันออก 2 ซี่ ยุติการจัดฟันและถอดเครื่องมือจัดฟันออก บ่งชี้ว่าในขณะนั้น ทันตแพทย์ ห. และโจทก์ยังไม่ทราบว่าอาการเหงือกอักเสบของโจทก์เกิดจากการรักษาของจำเลยหรือไม่ มิเช่นนั้นแล้ว ทันตแพทย์ ห. คงจะไม่ส่งตัวให้โจทก์กลับไปรักษากับจำเลยอีก ต่อมาวันที่ 29 มิถุนายน 2559 เมื่อฟันหน้าบนขวาซี่ที่ 12 ของโจทก์ล้ม โจทก์ไปพบทันตแพทย์ที่คลินิกทันตกรรม อ. อีกครั้ง ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาเห็นว่าอาการรุนแรงจึงส่งตัวโจทก์ไปที่โรงพยาบาล ท. และวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 ทันตแพทย์ของโรงพยาบาล ท. พิจารณาฟิลม์เอกซเรย์แล้ววินิจฉัยว่า โจทก์เป็นโรคปริทันต์อักเสบอย่างรุนแรงเฉพาะตำแหน่ง และวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ได้ถอนฟันซี่ที่ 12 ออก หลังจากนั้นโจทก์ไปพบทันตแพทย์ที่โรงพยาบาล ท. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 วันที่ 9 กันยายน 2559 และวันที่ 23 กันยายน 2559 รวม 3 ครั้ง เป็นการรักษาโดยการขูดหินปูน เกลารากฟันซ้ำ กรอแต่งเฝือก และถ่ายภาพเอกซเรย์เท่านั้น ต่อมาวันที่ 29 ตุลาคม 2559 จึงมีการวางแผนผ่าตัดเปิดแผ่นเหงือก และสรุปแนวทางการรักษาเบื้องต้น และค่าใช้จ่ายโดยประมาณจำนวน 800,700 บาท คำเบิกความของโจทก์ที่ว่า โจทก์ทราบถึงการกระทำละเมิดและผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนระหว่างวันที่ 9 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 ระหว่างการรักษาโรคเหงือกนั้นจึงมีน้ำหนักรับฟัง และไม่เชื่อว่าโจทก์ทราบถึงการกระทำละเมิด และผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2559 ดังที่จำเลยอ้างในฎีกา ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 14 กรกฎาคม 2560 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ถึงการกระทำละเมิดและผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด และศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้กำหนดค่าเสียหายในส่วนการผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างจำนวน 250,000 บาท ชอบหรือไม่ ภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวตกอยู่แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ตามคำเบิกความของ ก. พยานจำเลยอ้างทำนองว่าสาเหตุที่โจทก์เป็นเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์เกิดจากการทำความสะอาดในช่องปากของโจทก์ไม่ดีเพียงพอ ไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ตามคำเบิกความของจำเลยและ ก. ได้ความว่า ขณะเริ่มจัดฟันจำเลยไม่ได้ถ่ายภาพเอกซเรย์ฟันของโจทก์ โดยจำเลยเบิกความว่าเหตุที่ไม่ทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ฟันของโจทก์เนื่องจากเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และคลินิกของจำเลยไม่มีเครื่องเอกซเรย์ ซึ่งตามคำเบิกความของรองศาสตราจารย์ น. ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ม. ว่า โดยปกติคนไข้ที่ประสงค์จะจัดฟันต้องมีการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ก่อนจัดฟัน หากทันตแพทย์ไม่เอกซ์เรย์ก่อนทันตแพทย์ต้องรับความเสี่ยงและคนไข้ก็ต้องรับความเสี่ยงด้วย แสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยจัดฟันให้แก่โจทก์โดยไม่มีการถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อเก็บประวัติก่อนการรักษา จะมีความเสี่ยงในการรักษา อีกทั้งจำเลยให้การว่าโจทก์ทราบอยู่แล้วว่า โจทก์เป็นโรคเหงือกแต่ก็มาจัดฟันกับจำเลย หากเป็นจริงดังที่จำเลยให้การ จำเลยก็ย่อมต้องทราบว่าโจทก์เป็นโรคเหงือกด้วยเช่นกัน และการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ก่อนเพื่อให้ทราบว่าโจทก์เป็นโรคเหงือกยิ่งมีความสำคัญก่อนการจัดฟัน แต่คำเบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ของจำเลยอ้างว่าจำเลยถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของโจทก์ อันเป็นการผิดวิสัยของผู้เป็นแพทย์พึงกระทำ นอกจากนี้ตามคำเบิกความของพยานจำเลยยังได้ความด้วยว่า หลังจากการจัดฟัน โจทก์มาพบที่คลินิกตามนัด และ ก. ทำความสะอาดและขูดหินปูนให้โจทก์ แต่ตามสำเนาเวชระเบียนและบันทึกการรักษา กลับไม่ปรากฏว่ามีการขูดหินปูนให้โจทก์แต่อย่างใด แม้ ก. จะอ้างว่า ในบางครั้งจะไม่ระบุว่ามีการขูดหินปูนในเวชระเบียนและบันทึกการรักษาเนื่องจากไม่ได้คิดค่ารักษาเนื่องจากเป็นการคิดค่ารักษาแบบเหมาจ่ายจึงไม่ได้คิดค่ารักษา ก็เป็นเรื่องผิดปกติวิสัยของแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาและไม่บันทึกประวัติการรักษาในเวชระเบียนและบันทึกการรักษา และตามคำเบิกความของรองศาสตราจารย์ น. ได้ความว่า เมื่อมีการเปลี่ยนยาง ทันตแพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติของเหงือกและเห็นหินปูนที่สะสมอยู่ ดังนั้น หากจำเลยตรวจช่องปากโจทก์ทุกครั้งที่โจทก์มาพบตามนัด จำเลยย่อมสังเกตเห็นได้ถึงความผิดปกติของเหงือกและหินปูน หากสงสัยว่าอาการผิดปกติดังกล่าวมีความรุนแรงจำเลยก็จำเป็นต้องส่งตัวโจทก์ไปถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาได้ทันท่วงที ตามคำเบิกความของจำเลยอ้างว่า วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 จำเลยเพิ่งตรวจพบว่า โจทก์มีอาการเหงือกอักเสบและมีหนอง จำเลยเพียงแต่แนะนำให้โจทก์อมน้ำอุ่นผสมเกลือบ้วนปากเพื่อลดการบวมของเหงือก และจำเลยได้ตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่า จำเลยขูดรากฟัน เกลารากฟันให้โจทก์ และแนะนำให้ดูแลรักษาความสะอาด ไม่ได้ให้ยาแก้อักเสบและไม่ได้ทำการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ แต่ตามเอกสาร ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2559 ไม่ปรากฎว่ามีการรักษาโรคปริทันต์แต่อย่างใด คงมีเพียงการเปลี่ยนยางจัดฟัน แสดงให้เห็นว่า ขณะนั้นโจทก์มีอาการปริทันต์หรือเหงือกอักเสบอยู่ในขั้นรุนแรงแล้ว จำเลยควรจะตรวจพบแล้วแต่ไม่ได้รักษาหรือส่งตัวไปให้แพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษา และยังคงทำการจัดฟันต่อไป จนต่อมาโจทก์ต้องไปพบทันตแพทย์ ห. ที่คลินิกทันตกรรม อ. และทันตแพทย์ ห. ถ่ายเอกซ์เรย์และแนะนำให้ถอนฟันออก และแนะนำให้กลับไปปรึกษากับจำเลยซึ่งเป็นผู้ตรวจดูแล และวันที่ 27 มิถุนายน 2559 โจทก์ไปพบกับจำเลยอีกครั้งพร้อมกับใบส่งตัวและภาพถ่ายเอกซ์เรย์ จำเลยแจ้งว่าให้ถอนฟันออก 2 ซี่ ยุติการจัดฟันและถอดเครื่องจัดฟัน แสดงให้เห็นว่า ในระหว่างระยะเวลาที่พบอาการเหงือกอักเสบในช่องปากของโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นทันตแพทย์ผู้ดูแลรักษาไม่ได้ใส่ใจหรือใช้ความระมัดระวังตามสมควรของวิชาชีพทันตแพทย์ จนเป็นเหตุให้อาการของโจทก์ลุกลาม การที่โจทก์ต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาลทันตกรรม กับต้องผ่าตัดในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 และรักษาตัวต่อเนื่องหลังจากนั้น เกิดจากการรักษาของจำเลยที่ต่ำกว่ามาตรฐานของวิชาชีพทันตกรรม อันเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย
จำเลยฎีกาทำนองว่า ค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนและค่าเสริมกระดูกเทียม ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การสูญเสียกระดูกบริเวณรอบรากฟันอยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลย และจำเลยมีภาระการพิสูน์ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งตามคำเบิกความของจำเลยและ ก. พยานจำเลยอ้างเป็นทำนองว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดจากโจทก์ไม่ดูแลรักษาความสะอาด ไม่ได้เกิดจากการจัดฟัน แต่ตามคำเบิกความของจำเลยและพยานจำเลยดังกล่าว ไม่มีพยานสนับสนุนว่าสาเหตุดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการจัดฟันด้วย แม้ตามคำเบิกความของทันตแพทย์ ผ. พยานโจทก์รับว่าการสูญเสียกระดูกดังกล่าวไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากการจัดฟันอย่างเดียว อาจเกิดจากปัจจัยอื่นก็ได้แต่ก็ตอบคำถามค้านทนายจำเลยด้วยว่า หากคนไข้ใส่เครื่องมือจัดฟันแล้วทำความสะอาดไม่เพียงพอก็เป็นเหตุปัจจัยเสริมที่ก่อให้เกิดโรคได้เท่านั้น ลำพังโจทก์ไม่ดูแลรักษาความสะอาดจึงไม่น่าก่อให้เกิดโรคได้ พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีน้ำหนักรับฟังว่า ค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนและค่าเสริมกระดูกเทียมไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนเป็นเงิน 35,000 บาท และค่าเสริมกระดูกเทียมเป็นเงิน 51,000 บาท ด้วยนั้นจึงชอบแล้ว ส่วนค่าผ่าตัดขากรรไกรบนและล่าง ตามคำเบิกความของโจทก์ก็รับว่า สภาพฟันของโจทก์มีการจัดฟันผิดปกติมีลักษณะฟันล่างครอบฟันบน ช่องการตรวจข้อ 2 ระบุว่า โครงสร้างกระดูกขากรรไกรล่างยื่นมากกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถใส่ฟันเทียมที่บริเวณฟันหน้าบนในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ และในช่องลำดับการรักษาข้อ 4 ผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างเพื่อให้มีความสัมพันธ์ของขากรรไกรเป็นปกติ จึงฟังได้ว่า โจทก์มีปัญหาขากรรไกรบนและล่างมาก่อนการจัดฟันกับจำเลย แม้ในการใส่ฟันเทียมหน้าบน แพทย์จะต้องผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างให้มีความสัมพันธ์กัน แต่เหตุดังกล่าวไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้
ปัญหาว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด และศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้กำหนดค่าเสียหายในส่วนการผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างจำนวน 250,000 บาท ชอบหรือไม่ ภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวตกอยู่แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ตามคำเบิกความของ ก. พยานจำเลยอ้างทำนองว่าสาเหตุที่โจทก์เป็นเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์เกิดจากการทำความสะอาดในช่องปากของโจทก์ไม่ดีเพียงพอ ไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ตามคำเบิกความของจำเลยและ ก. ได้ความว่า ขณะเริ่มจัดฟันจำเลยไม่ได้ถ่ายภาพเอกซเรย์ฟันของโจทก์ โดยจำเลยเบิกความว่าเหตุที่ไม่ทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ฟันของโจทก์เนื่องจากเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และคลินิกของจำเลยไม่มีเครื่องเอกซเรย์ ซึ่งตามคำเบิกความของรองศาสตราจารย์ น. ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ม. ว่า โดยปกติคนไข้ที่ประสงค์จะจัดฟันต้องมีการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ก่อนจัดฟัน หากทันตแพทย์ไม่เอกซ์เรย์ก่อนทันตแพทย์ต้องรับความเสี่ยงและคนไข้ก็ต้องรับความเสี่ยงด้วย แสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยจัดฟันให้แก่โจทก์โดยไม่มีการถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อเก็บประวัติก่อนการรักษา จะมีความเสี่ยงในการรักษา อีกทั้งจำเลยให้การว่าโจทก์ทราบอยู่แล้วว่า โจทก์เป็นโรคเหงือกแต่ก็มาจัดฟันกับจำเลย หากเป็นจริงดังที่จำเลยให้การ จำเลยก็ย่อมต้องทราบว่าโจทก์เป็นโรคเหงือกด้วยเช่นกัน และการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ก่อนเพื่อให้ทราบว่าโจทก์เป็นโรคเหงือกยิ่งมีความสำคัญก่อนการจัดฟัน แต่คำเบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ของจำเลยอ้างว่าจำเลยถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของโจทก์ อันเป็นการผิดวิสัยของผู้เป็นแพทย์พึงกระทำ นอกจากนี้ตามคำเบิกความของพยานจำเลยยังได้ความด้วยว่า หลังจากการจัดฟัน โจทก์มาพบที่คลินิกตามนัด และ ก. ทำความสะอาดและขูดหินปูนให้โจทก์ แต่ตามสำเนาเวชระเบียนและบันทึกการรักษา กลับไม่ปรากฏว่ามีการขูดหินปูนให้โจทก์แต่อย่างใด แม้ ก. จะอ้างว่า ในบางครั้งจะไม่ระบุว่ามีการขูดหินปูนในเวชระเบียนและบันทึกการรักษาเนื่องจากไม่ได้คิดค่ารักษาเนื่องจากเป็นการคิดค่ารักษาแบบเหมาจ่ายจึงไม่ได้คิดค่ารักษา ก็เป็นเรื่องผิดปกติวิสัยของแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาและไม่บันทึกประวัติการรักษาในเวชระเบียนและบันทึกการรักษา และตามคำเบิกความของรองศาสตราจารย์ น. ได้ความว่า เมื่อมีการเปลี่ยนยาง ทันตแพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติของเหงือกและเห็นหินปูนที่สะสมอยู่ ดังนั้น หากจำเลยตรวจช่องปากโจทก์ทุกครั้งที่โจทก์มาพบตามนัด จำเลยย่อมสังเกตเห็นได้ถึงความผิดปกติของเหงือกและหินปูน หากสงสัยว่าอาการผิดปกติดังกล่าวมีความรุนแรงจำเลยก็จำเป็นต้องส่งตัวโจทก์ไปถ่ายภาพเอกซ์เรย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาได้ทันท่วงที ตามคำเบิกความของจำเลยอ้างว่า วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 จำเลยเพิ่งตรวจพบว่า โจทก์มีอาการเหงือกอักเสบและมีหนอง จำเลยเพียงแต่แนะนำให้โจทก์อมน้ำอุ่นผสมเกลือบ้วนปากเพื่อลดการบวมของเหงือก และจำเลยได้ตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่า จำเลยขูดรากฟัน เกลารากฟันให้โจทก์ และแนะนำให้ดูแลรักษาความสะอาด ไม่ได้ให้ยาแก้อักเสบและไม่ได้ทำการถ่ายภาพเอกซ์เรย์ แต่ตามเอกสาร ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2559 ไม่ปรากฎว่ามีการรักษาโรคปริทันต์แต่อย่างใด คงมีเพียงการเปลี่ยนยางจัดฟัน แสดงให้เห็นว่า ขณะนั้นโจทก์มีอาการปริทันต์หรือเหงือกอักเสบอยู่ในขั้นรุนแรงแล้ว จำเลยควรจะตรวจพบแล้วแต่ไม่ได้รักษาหรือส่งตัวไปให้แพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษา และยังคงทำการจัดฟันต่อไป จนต่อมาโจทก์ต้องไปพบทันตแพทย์ ห. ที่คลินิกทันตกรรม อ. และทันตแพทย์ ห. ถ่ายเอกซ์เรย์และแนะนำให้ถอนฟันออก และแนะนำให้กลับไปปรึกษากับจำเลยซึ่งเป็นผู้ตรวจดูแล และวันที่ 27 มิถุนายน 2559 โจทก์ไปพบกับจำเลยอีกครั้งพร้อมกับใบส่งตัวและภาพถ่ายเอกซ์เรย์ จำเลยแจ้งว่าให้ถอนฟันออก 2 ซี่ ยุติการจัดฟันและถอดเครื่องจัดฟัน แสดงให้เห็นว่า ในระหว่างระยะเวลาที่พบอาการเหงือกอักเสบในช่องปากของโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นทันตแพทย์ผู้ดูแลรักษาไม่ได้ใส่ใจหรือใช้ความระมัดระวังตามสมควรของวิชาชีพทันตแพทย์ จนเป็นเหตุให้อาการของโจทก์ลุกลาม การที่โจทก์ต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาลทันตกรรม กับต้องผ่าตัดในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 และรักษาตัวต่อเนื่องหลังจากนั้น เกิดจากการรักษาของจำเลยที่ต่ำกว่ามาตรฐานของวิชาชีพทันตกรรม อันเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย
จำเลยฎีกาทำนองว่า ค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนและค่าเสริมกระดูกเทียม ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การสูญเสียกระดูกบริเวณรอบรากฟันอยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลย และจำเลยมีภาระการพิสูน์ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งตามคำเบิกความของจำเลยและ ก. พยานจำเลยอ้างเป็นทำนองว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดจากโจทก์ไม่ดูแลรักษาความสะอาด ไม่ได้เกิดจากการจัดฟัน แต่ตามคำเบิกความของจำเลยและพยานจำเลยดังกล่าว ไม่มีพยานสนับสนุนว่าสาเหตุดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการจัดฟันด้วย แม้ตามคำเบิกความของทันตแพทย์ ผ. พยานโจทก์รับว่าการสูญเสียกระดูกดังกล่าวไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากการจัดฟันอย่างเดียว อาจเกิดจากปัจจัยอื่นก็ได้แต่ก็ตอบคำถามค้านทนายจำเลยด้วยว่า หากคนไข้ใส่เครื่องมือจัดฟันแล้วทำความสะอาดไม่เพียงพอก็เป็นเหตุปัจจัยเสริมที่ก่อให้เกิดโรคได้เท่านั้น ลำพังโจทก์ไม่ดูแลรักษาความสะอาดจึงไม่น่าก่อให้เกิดโรคได้ พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีน้ำหนักรับฟังว่า ค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนและค่าเสริมกระดูกเทียมไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระค่าปลูกกระดูกบริเวณฟันหน้าบนเป็นเงิน 35,000 บาท และค่าเสริมกระดูกเทียมเป็นเงิน 51,000 บาท ด้วยนั้นจึงชอบแล้ว ส่วนค่าผ่าตัดขากรรไกรบนและล่าง ตามคำเบิกความของโจทก์ก็รับว่า สภาพฟันของโจทก์มีการจัดฟันผิดปกติมีลักษณะฟันล่างครอบฟันบน ช่องการตรวจข้อ 2 ระบุว่า โครงสร้างกระดูกขากรรไกรล่างยื่นมากกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถใส่ฟันเทียมที่บริเวณฟันหน้าบนในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ และในช่องลำดับการรักษาข้อ 4 ผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างเพื่อให้มีความสัมพันธ์ของขากรรไกรเป็นปกติ จึงฟังได้ว่า โจทก์มีปัญหาขากรรไกรบนและล่างมาก่อนการจัดฟันกับจำเลย แม้ในการใส่ฟันเทียมหน้าบน แพทย์จะต้องผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างให้มีความสัมพันธ์กัน แต่เหตุดังกล่าวไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะทายาทและการฟ้องยักยอกทรัพย์มรดก: ผู้ไม่เป็นทายาทฟ้องไม่ได้
โจทก์ที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย แม้ตามทางนำสืบจะได้ความว่า จำเลยทั้งสามและทายาทของผู้ตายตกลงยินยอมให้โจทก์ที่ 1 มีส่วนในทรัพย์มรดกของผู้ตายเท่าทายาทชั้นบุตรก็เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างคู่ความและผู้มีส่วนได้เสียในทางแพ่ง ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 เปลี่ยนสถานะเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ เพราะการเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายหาใช่เกิดขึ้นโดยข้อตกลงระหว่างทายาทด้วยกันเองไม่ สำหรับความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกตาม ป.อ. มาตรา 354 บุคคลที่จะเป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว ได้แก่ บรรดาทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะส่วนตัวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ การโต้แย้งสิทธิใช้ทางของเจ้าของที่ดินติดกัน ถือเป็นการละเมิด
เจ้าของเดิมแบ่งแยกที่ดินมีโฉนด 1 แปลง ออกเป็น 8 แปลง แล้ว ทำให้ที่ดินแปลงย่อยบางแปลงไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ต้องใช้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นแปลงที่เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ภายหลังแบ่งแยกที่ดินเจ้าของเดิมขายที่ดินที่แบ่งแยกไปจนหมด คงเหลือแต่ที่ดินพิพาทที่ไม่ได้จำหน่ายจ่ายโอน โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของเดิมหรือทายาทอื่นได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ถือได้ว่าเจ้าของเดิมไม่มีเจตนากันที่ดินพิพาทไว้ใช้ทำนาหรือทำประโยชน์ใด ๆ แต่มีเจตนาจะให้ที่ดินพิพาทเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างที่ดินที่ถูกแบ่งแยกกับทางสาธารณประโยชน์ทั้งสามด้าน เพื่อให้ขายได้ง่ายและในราคาสูง การที่เจ้าของเดิมยินยอมให้ขุดคลองเชื่อมต่อจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินแปลงที่มายังที่ดินแปลงอื่น และมีการทำถนนกับปรับปรุงถนนที่มีลักษณะมั่นคงเป็นถนนคอนกรีต กับการดูแลรักษาคลองโดยใช้งบประมาณของหน่วยงานราชการเรื่อยมา โดยประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์จากคลองและถนนในที่ดินพิพาทเป็นเวลากว่า 30 ปี อีกทั้งมีการปักเสาไฟฟ้าและวางท่อประปาในที่ดินพิพาท โดยไม่มีพฤติการณ์โต้แย้งหวงกันจากเจ้าของเดิมและจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้าของเดิม ถือได้ว่าเจ้าของเดิมอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว แม้ไม่ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนของราชการก็ตาม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2)
ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน พ.ศ. 2553 กำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ ก็เป็นกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการดูแลสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนรวม แต่มิได้ตัดสิทธิเอกชนใดที่จะใช้สิทธิของตนในสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์จึงชอบที่จะใช้สอยที่ดินพิพาทได้ การที่จำเลยที่ 1 เข้ายึดถือครอบครองโดยนำท่อคอนกรีตวางขวางทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ในเส้นทางดังกล่าว ทั้งดำเนินคดีโจทก์ทางอาญาในข้อหาบุกรุกและทางแพ่งฐานละเมิดต่อศาลชั้นต้น แม้ภายหลังต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำท่อคอนกรีตที่ขวางทางโจทก์ออกไปแล้ว ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการใช้ทางสาธารณประโยชน์เยี่ยงประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แล้ว อันถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 และ 1337 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้รับประโยชน์จากการจัดสรรที่ดินของโจทก์หรือต้องรับผิดต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรของโจทก์หากไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะตามที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินแก่โจทก์หรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 และเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน พ.ศ. 2553 กำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ ก็เป็นกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการดูแลสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนรวม แต่มิได้ตัดสิทธิเอกชนใดที่จะใช้สิทธิของตนในสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์จึงชอบที่จะใช้สอยที่ดินพิพาทได้ การที่จำเลยที่ 1 เข้ายึดถือครอบครองโดยนำท่อคอนกรีตวางขวางทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ในเส้นทางดังกล่าว ทั้งดำเนินคดีโจทก์ทางอาญาในข้อหาบุกรุกและทางแพ่งฐานละเมิดต่อศาลชั้นต้น แม้ภายหลังต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำท่อคอนกรีตที่ขวางทางโจทก์ออกไปแล้ว ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการใช้ทางสาธารณประโยชน์เยี่ยงประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แล้ว อันถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 และ 1337 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้รับประโยชน์จากการจัดสรรที่ดินของโจทก์หรือต้องรับผิดต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรของโจทก์หากไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะตามที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินแก่โจทก์หรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 และเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทอาวุธปืนและสิ่งเทียมอาวุธปืน, การสืบพยานเพิ่มเติมแม้จำเลยรับสารภาพ, และอำนาจย้อนสำนวนของศาล
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ระบุว่า จำเลยมีและพกพาอาวุธปืนแบลงก์กัน ขนาด 9 มม. P.A.K. ผลิตเลียนแบบปืนพกออโตเมติก ไม่มีเครื่องหมายทะเบียน เลขหมายประจำปืน 0000170629 พร้อมซองกระสุนปืน 1 อัน และกระสุนปืนออโตเมติก (BLANK) ขนาด 9 มม. P.A. 16 นัด ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ซึ่งจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของว่าของกลางถูกผลิตขึ้นเพื่อเลียนแบบอาวุธปืนพกออโตเมติก ของกลางดังกล่าวจึงอาจเป็นเพียงสิ่งซึ่งมีรูปและลักษณะอันน่าจะทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืนเพราะเกิดจากการกระทำเลียนแบบ แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าของกลางดังกล่าวเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมาย และเมื่อศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยานก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง หาได้มีความหมายว่า ในชั้นพิจารณา คดีที่มิได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นดังเช่นคดีนี้ ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะต้องพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปเท่านั้นไม่ หากศาลเห็นว่ากรณีมีข้อสงสัยว่าจำเลยอาจมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยอาจไม่เป็นความผิด ศาลชั้นต้นก็ควรใช้อำนาจของศาลค้นหาความจริงด้วยการสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวจนสิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 228 หรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 อาจมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานแล้วส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ภาค ๗ เพื่อวินิจฉัยต่อไปตามมาตรา 208 (1) ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจทำให้ผลแห่งคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองเปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะของกลางที่เป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนกับสิ่งเทียมอาวุธปืนมีความรับผิดทางอาญาตามข้อหาที่โจทก์ฟ้องแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วก็ชอบที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานและพิพากษาใหม่ ทั้งนี้ ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษกักขังแทนค่าปรับสิ้นสุดเมื่อได้รับพระราชทานอภัยโทษ การบังคับคดีเรียกค่าปรับจึงไม่ชอบ
การกักขังเป็นโทษประการหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 18 และตามมาตรา 29 มาตรา 29/1 และมาตรา 30 แห่ง ป.อ. กำหนดให้ผู้ต้องโทษปรับต้องชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา หากมิได้มีการชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลานั้น ผู้ต้องโทษปรับจะถูกยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นอาจถูกกักขังแทนค่าปรับ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นลงโทษปรับ โดยหากไม่ชำระค่าปรับให้กักขังจำเลยมีกำหนด 1 ปี แทนค่าปรับ 3,837,025 บาท และจำเลยไม่มีเงินชำระค่าปรับจนต้องรับโทษกักขัง จึงเป็นกรณีที่โทษเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นโทษปรับ ได้เปลี่ยนไปเป็นโทษกักขังจำเลยมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี แทน เพราะหากจำเลยถูกกักขังครบ 1 ปี โทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมสิ้นสุดลง ไม่มีโทษปรับที่จะต้องถูกบังคับอีกต่อไป ต่อมาเมื่อมี พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2562 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ต้องโทษดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป (1) ผู้ต้องกักขัง..." ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดและเป็นผู้ต้องกักขังแล้วตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จึงเป็นกรณีตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) หาใช่นักโทษเด็ดขาดซึ่งยังไม่ได้รับโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปโดยไม่ต้องรับโทษไม่ แต่ไม่รวมถึงการยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระเป็นค่าปรับด้วยตามมาตรา 5 วรรคสอง ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัย และถือได้ว่า โทษกักขังในส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งจำเลยจะต้องรับเป็นอันสิ้นสุดลงตามผลของกฎหมาย โทษตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงสิ้นสุดลง ไม่แตกต่างจากการที่จำเลยถูกกักขังครบ 1 ปี จึงไม่มีโทษปรับที่จำเลยจะต้องถูกบังคับอีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับโทษปรับ และยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็ก และการบังคับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา
การยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ มิใช่คดีที่ผู้เสียหายฟ้องเองโดยตรง จึงต้องถือว่าคำพิพากษาในส่วนที่เรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาในคดีส่วนอาญา ทั้งการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนในคดีส่วนแพ่งต้องถือคดีส่วนอาญาเป็นหลัก หากคดีอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คดีส่วนแพ่งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา