พบผลลัพธ์ทั้งหมด 291 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินคืนจากสัญญาซื้อขายที่ดิน: สัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงมีอายุความ 10 ปี
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจากจำเลย มีบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินว่าหากรังวัดที่แล้ว ปรากฏว่ามีเนื้อที่ไม่ครบถ้วนตามที่ระบุในโฉนดที่ดิน จำเลยยินยอมคืนเงินโจทก์ตามส่วนที่ดินซึ่งขาดไป เป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดิน โดยมีข้อตกลงการคืนเงิน ถ้าที่ดินไม่ครบถ้วน เมื่อรังวัดที่ดินแล้ว พบว่าที่ดินขาดหายไปบางส่วนจริง การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อเรียกเงินราคาที่ดินบางส่วนคืน เป็นกรณีสืบเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน จะนำอายุความ 1 ปี ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 มาบังคับไม่ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การทราบ ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ ศาลฎีกาเพิกถอนกระบวนการ
ป.วิ.พ. มาตรา 184 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลออกหมายกำหนดวันนัดสืบพยานส่งให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน" การที่ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 7 แล้วนัดฟังคำพิพากษาไปโดยมิได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นคู่ความที่มิได้มาศาลในวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานทราบ จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยอื่นที่ไม่ได้มาศาลในวันกำหนดนัดสืบพยานขาดนัดยื่นคำให้การแล้วก็ตาม เพราะจำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การนี้ยังคงมีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ได้ เพียงแต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 7 ที่ 32 ที่ 34 และที่ 40 ในวันที่ 25 ถึง 27 พฤศจิกายน 2563 โดยมิได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การและมิได้มาศาลทราบและต่อมามีการสืบพยานตามที่กำหนดนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยมิได้แจ้งวันนัดให้จำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การดังกล่าวทราบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การนัดสืบพยานเป็นต้นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเนื่องจากศาลมิได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยที่ขาดนัดทราบ
ป.วิ.พ. มาตรา 184 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลออกหมายกำหนดวันนัดสืบพยานส่งให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน" การที่ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 7 แล้วนัดฟังคำพิพากษาไปโดยมิได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นคู่ความที่มิได้มาศาลในวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานทราบ จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยอื่นที่ไม่ได้มาศาลในวันกำหนดนัดสืบพยานขาดนัดยื่นคำให้การแล้วก็ตาม เพราะจำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การนี้ยังคงมีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ได้ เพียงแต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 7 ที่ 32 ที่ 34 และที่ 40 ในวันที่ 25 ถึง 27 พฤศจิกายน 2563 โดยมิได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การและมิได้มาศาลทราบและต่อมามีการสืบพยานตามที่กำหนดนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยมิได้แจ้งวันนัดให้จำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การดังกล่าวทราบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การนัดสืบพยานเป็นต้นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 เมื่อปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาจำต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์เกินกว่าที่ศาลชั้นต้นตัดสิน และการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย ให้ลงโทษจำคุกคนละ 2 เดือน โจทก์และโจทก์ร่วมไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย เป็นจำคุกคนละ 6 เดือน และปรับคนละ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี เช่นนี้ ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยทั้งสองไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินบางส่วนที่เป็นมรดก และเรียกค่าเสียหายจากการให้เช่าโดยไม่ได้รับความยินยอม
ป.พ.พ. มาตรา 1566 และมาตรา 1574 ให้อำนาจผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ได้เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงจะทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้ การสละมรดกของผู้เยาว์เป็นการกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และเป็นการจำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น การที่โจทก์ทั้งสามสละมรดกที่ดินพิพาทโดย ส. มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสามทำบันทึกตกลงสละมรดกของผู้ตายไว้เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 ขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ ส. จึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนทำบันทึกข้อตกลง ตามมาตรา 1574 (2) (4) ไม่ปรากฏว่า ส. ได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำบันทึกข้อตกลงแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลงที่ ส. ทำไว้ไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามไม่เป็นการสละมรดกที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ตาย เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้สละมรดก ดังนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เพื่อให้จำเลยที่ 3 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกันการกู้เงินจากธนาคาร ก. แล้วนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ยังได้ความว่า จำเลยที่ 2 มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งการให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 ยังคงมีอำนาจสั่งการให้จำเลยที่ 3 จัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ตามความต้องการ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการถือที่ดินพิพาทไว้แทน ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายจึงยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย
การที่จำเลยที่ 2 สั่งให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 2 กับ ป. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยมีข้อความตอนหนึ่งให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. หรือแก่บุคคลที่ ป. กำหนด โดยทายาทคนอื่นไม่รู้เห็นยินยอมด้วย และทำไปเพื่อต้องการให้ ป. ไปถอนฟ้องคดีอาญาจำเลยที่ 2 ข้อหายักยอก เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การจัดการทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะกระทำให้มีผลผูกพันทรัพย์มรดกได้ คงมีผลผูกพันที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โดยปลอดจากภาระจำนองที่ดินทั้งแปลง เพราะการจำนองที่ดินพิพาทต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสามเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 โดยยึดโยงจากการที่จำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นเช่าบ้านเลขที่ 262/1 อยู่บนที่ดินพิพาท ขณะฟ้องไม่ปรากฏว่าสัญญาเช่าเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาขายที่ดินพิพาท ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ก่อนจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่า การที่จำเลยที่ 1 นำบ้านดังกล่าวออกให้บุคคลอื่นเช่า เป็นการจัดการทรัพย์สินตามธรรมดาเพื่อรักษาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสอง ซึ่งเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นก่อน แต่การที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทเป็นก่อให้เกิดภาระติดพันบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาท ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสามแสดงออกชัดว่า ไม่ยินยอม การให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทจึงขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทของผู้ตาย จึงเป็นผู้เสียหายชอบที่จะใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดในส่วนของผู้ตายเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้ ส่วนระยะเวลาการชดใช้ค่าเสียหายนั้นให้นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปตลอดระยะเวลาที่มีการเช่าบ้านเลขที่ 262/1 หรือจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท หรือจนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดระยะเวลาให้ถึงวันที่จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 252
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ตาย เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้สละมรดก ดังนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เพื่อให้จำเลยที่ 3 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกันการกู้เงินจากธนาคาร ก. แล้วนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ยังได้ความว่า จำเลยที่ 2 มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งการให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 ยังคงมีอำนาจสั่งการให้จำเลยที่ 3 จัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ตามความต้องการ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการถือที่ดินพิพาทไว้แทน ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายจึงยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย
การที่จำเลยที่ 2 สั่งให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 2 กับ ป. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยมีข้อความตอนหนึ่งให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. หรือแก่บุคคลที่ ป. กำหนด โดยทายาทคนอื่นไม่รู้เห็นยินยอมด้วย และทำไปเพื่อต้องการให้ ป. ไปถอนฟ้องคดีอาญาจำเลยที่ 2 ข้อหายักยอก เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การจัดการทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะกระทำให้มีผลผูกพันทรัพย์มรดกได้ คงมีผลผูกพันที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โดยปลอดจากภาระจำนองที่ดินทั้งแปลง เพราะการจำนองที่ดินพิพาทต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสามเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 โดยยึดโยงจากการที่จำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นเช่าบ้านเลขที่ 262/1 อยู่บนที่ดินพิพาท ขณะฟ้องไม่ปรากฏว่าสัญญาเช่าเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาขายที่ดินพิพาท ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ก่อนจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่า การที่จำเลยที่ 1 นำบ้านดังกล่าวออกให้บุคคลอื่นเช่า เป็นการจัดการทรัพย์สินตามธรรมดาเพื่อรักษาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสอง ซึ่งเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นก่อน แต่การที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทเป็นก่อให้เกิดภาระติดพันบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาท ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสามแสดงออกชัดว่า ไม่ยินยอม การให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทจึงขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทของผู้ตาย จึงเป็นผู้เสียหายชอบที่จะใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดในส่วนของผู้ตายเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้ ส่วนระยะเวลาการชดใช้ค่าเสียหายนั้นให้นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปตลอดระยะเวลาที่มีการเช่าบ้านเลขที่ 262/1 หรือจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท หรือจนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดระยะเวลาให้ถึงวันที่จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยต้องพิสูจน์การครอบครองโดยสงบและเปิดเผย ต่อเนื่อง 10 ปี
ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ให้การว่า เดิมที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 2 คัดค้านเป็นของ พ. ที่ขายให้จำเลยที่ 1 และ อ. โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วบุคคลทั้งสองยกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยที่ 2 จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นเพียงการบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่มาของการที่จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทในโฉนดที่ดินของ พ. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี ก็อาจได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ให้การยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มาแต่ต้น อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เองได้ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการลักทรัพย์: การกระทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สินคืนสู่เจ้าของที่แท้จริง ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ร่วมและจำเลยมีความสัมพันธ์ฉันเครือญาติและต่างเป็นสมาชิกกลุ่ม อสม. เมื่อจำเลยทราบว่าสมาชิกผู้สั่งซื้อเสื้อยังไม่ได้รับเสื้อ จำเลยซึ่งเป็นผู้ดำเนินการรับสั่งจองเสื้อ จึงไปสอบถามและทวงเสื้อคืนจากโจทก์ร่วมโดยเปิดเผย ทั้งยังฝากเงินค่าซื้อเสื้อคืนให้แก่โจทก์ร่วมและนำเสื้อไปให้สมาชิกทันที พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเสื้อที่โจทก์ร่วมมีไว้ในครอบครอง โจทก์ร่วมได้รับไปโดยไม่ถูกต้อง การกระทำของจำเลยหาใช่เจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทน: การฟ้องคดีในฐานะตัวการโดยมิได้ระบุฐานะตัวแทน
โจทก์มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของนางสาว ซ. และทำหน้าที่ลงชื่อในสัญญาการผ่อนชำระเงินค่าทำศัลยกรรมและค่าตอบแทนฯ แทนนางสาว ซ. เจ้าของโครงการเท่านั้น ซึ่งคดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่โจทก์นำสัญญาพิพาทมาฟ้อง ทั้งในคดีอื่นที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยนั้น โจทก์เบิกความเท็จว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง เป็นการใช้สิทฺธิทางศาลโดยไม่สุจริต คดีมีประเด็นตามคำให้การแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของนางสาว ซ. แต่โจทก์กลับฟ้องคดีนี้โดยอ้างสิทธิในฐานะตัวการเสียเอง โดยมิได้ระบุว่ากระทำในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากนางสาว ซ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาที่แท้จริง โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2979/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษคดียาเสพติด: การใช้กฎหมายใหม่ (ประมวลกฎหมายยาเสพติด) และการพิจารณาโทษกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนคดีถึงที่สุดแล้ว ระหว่างจำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดได้มี พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และให้ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า "จำหน่าย" ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำอย่างเดียวกันคือการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งแยกเป็นคนละฐานความผิด จึงต้องลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 เพียงบทเดียว ส่วนการที่จำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่อเจ้าพนักงานตำรวจนั้น ป.ยาเสพติด มาตรา 153 ยังคงบัญญัติให้อำนาจศาลลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งดังกล่าวน้อยกว่าอัตราโทษ ที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ ทำนองเดียวกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 แต่กฎหมายใหม่กำหนดหลักเกณฑ์ให้โจทก์ต้องระบุในคำฟ้องหรือยื่นคำร้องต่อศาล หรือมิฉะนั้นผู้กระทำความผิดต้องยื่นคำร้องต่อศาล ศาลจึงจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ ดังนั้น กฎหมายใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องบังคับตามกฎหมายเดิมซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ส่วนการกระทำความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ป.ยาเสพติด มาตรา 126 ยังคงบัญญัติให้ระวางโทษผู้พยายามกระทำความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จทำนองเดียวกับ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7 แต่เมื่อลงโทษจำเลยตามกฎหมายใหม่ มาตรา 90, 145 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยแล้ว จึงต้องบังคับตามกฎหมายใหม่ มาตรา 126 ด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 3
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวน 4,018 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 70.823 กรัม และจำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 1,996 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35.180 กรัม ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ โดยเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนทราบการกระทำความผิดของจำเลยมาจากผู้ต้องหาคดียาเสพติดให้โทษที่เคยซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลย จึงวางแผนล่อซื้อและจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนของกลาง พฤติการณ์แห่งคดีจึงบ่งชี้ถึงการกระทำของจำเลยว่า จำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และหากมีการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางออกไปย่อมทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังผู้เสพหลายคนโดยสภาพเข้าลักษณะเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มิใช่เป็นเพียงความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ตามที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ทั้งยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป อันเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เช่นนี้ เมื่อ ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท และการมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามกฎหมายใหม่ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงบทเดียวดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การที่จำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1,996 เม็ด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 4,018 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวลงโทษได้เพียงกระทงเดียว โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังทั้งในเรื่องการกำหนดโทษและจำนวนกระทงลงโทษ ศาลย่อมมีอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จะกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (2) ประกอบมาตรา 126 ป.อ. มาตรา 80 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ตามที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใด
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวน 4,018 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 70.823 กรัม และจำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 1,996 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35.180 กรัม ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ โดยเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนทราบการกระทำความผิดของจำเลยมาจากผู้ต้องหาคดียาเสพติดให้โทษที่เคยซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลย จึงวางแผนล่อซื้อและจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนของกลาง พฤติการณ์แห่งคดีจึงบ่งชี้ถึงการกระทำของจำเลยว่า จำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และหากมีการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางออกไปย่อมทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังผู้เสพหลายคนโดยสภาพเข้าลักษณะเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มิใช่เป็นเพียงความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ตามที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ทั้งยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป อันเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เช่นนี้ เมื่อ ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท และการมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามกฎหมายใหม่ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงบทเดียวดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การที่จำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1,996 เม็ด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 4,018 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวลงโทษได้เพียงกระทงเดียว โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังทั้งในเรื่องการกำหนดโทษและจำนวนกระทงลงโทษ ศาลย่อมมีอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จะกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (2) ประกอบมาตรา 126 ป.อ. มาตรา 80 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ตามที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน กรณีแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยเจตนา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221" วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่" มิได้มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าหากมิได้ดำเนินการตามมาตรา 1119 แล้ว จะทำให้การเป็นผู้ถือหุ้นเป็นโมฆะ หรือกลับกลายเป็นไม่เป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ดังนั้น บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมีผลแต่เพียงว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวยังมิได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้นแก่บริษัทเท่านั้น กรรมการจึงสามารถที่จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทเสียเมื่อใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1124 ทั้งตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในขณะที่ ส. ยังมีชีวิตอยู่ ส. ก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นส่งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแล้วหรือไม่ และโดยวิธีใด เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการเรียกเงินค่าหุ้น จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่เคยได้รับมอบใบหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนได้เสียในบริษัท เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้ส่วนได้เสียของบริษัท เช่น กำไร ขาดทุน นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้ออกใบหุ้นให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ไปรับหรือไม่ จำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือเชิญประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจะว่าโจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เข้ามามีส่วนได้เสียของบริษัทหาได้ไม่ จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 137
แม้คำฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้อง ข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว
แม้คำฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้อง ข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว