พบผลลัพธ์ทั้งหมด 175 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเนื่องจากผู้รับโอนมีพฤติกรรมลักทรัพย์และหมิ่นประมาทผู้ให้
แม้โจทก์มีโจทก์อ้างตนเองเป็นพยานเพียงปากเดียวที่เบิกความว่า จำเลยด่าทอโจทก์และไล่โจทก์ออกจากบ้าน ไม่มีพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความสนับสนุนก็ตาม ซึ่งจำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าไม่ได้ด่าทอโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างและไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากบ้าน ทำให้ต้องวินิจฉัยว่าคำเบิกความฝ่ายใดจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่ากัน เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์เริ่มแรก ก่อนที่จำเลยจะเข้ามาเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ โจทก์เบิกความว่าก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์และ พ. เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ม. เป็นเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ มี ส. และ ท. พ่อตาแม่ยายของจำเลยมาเฝ้าดูแล และพาไปโรงพยาบาล จนเกิดความสนิทสนมคุ้นเคยกันจนกระทั่งโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ทำให้เห็นว่าจำเลยและครอบครัวทางภริยาพยายามเข้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์และ พ. น้องสาวโจทก์เป็นพิเศษ ทั้งที่ไม่ได้เป็นเครือญาติกัน จึงเป็นเรื่องผิดวิสัยที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาดูแลเอาใจใส่พาโจทก์และ พ. ไปโรงพยาบาล ให้ที่พักอาศัยพาไปทำบุญและท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ แต่ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า ทั้งโจทก์และ พ. น้องสาวโจทก์ต่างเป็นหญิงชรา โจทก์มีโรคประจำตัวหลายโรคทั้งเบาหวาน และความดัน ส่วน พ. ป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ติดเชื้อในกระแสเลือด และเป็นผู้ป่วยติดเตียงต้องการผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อโจทก์และ พ. มีทรัพย์สินและเงินฝากในบัญชีธนาคารมูลค่าไม่ใช่น้อยจึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยในการกระทำของจำเลยและครอบครัวว่ากระทำด้วยความสุจริตหรือไม่ ซึ่งต่อมาโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม และทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและเงินสดให้แก่จำเลย แต่โจทก์ก็ยังเป็นห่วงจำเลยว่าเครือญาติของโจทก์จะมีเรื่องทรัพย์สินพิพาทกับจำเลย จึงจดทะเบียนยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ย่อมรักไว้ใจและผูกพันจำเลยเสมือนบุตรและหวังฝากผีฝากไข้ไว้กับจำเลย ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 โจทก์ได้รับเงินประกันชีวิต 4,770,000 บาท และนำไปฝากไว้ที่ธนาคาร ก. ปรากฏว่าในวันเดียวกันมีการถอนเงินออกไป 2,700,000 บาท และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 มีการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีก 2,010,000 บาท โจทก์เบิกความว่าไม่ได้เป็นผู้เบิกถอน ซึ่งจำเลยนำสืบรับว่า เงินที่ถอน 2,700,000 บาท โจทก์ยกให้จำเลยนำไปชำระหนี้ส่วนตัวของจำเลยและภริยา ส่วนเงินที่ถอน 2,010,000 บาท โจทก์ให้นำไปใช้ในครอบครัวและดูแลความเป็นอยู่ของโจทก์ แม้ให้การไม่สอดคล้องกัน แต่ก็ทำให้เห็นว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากการที่ดูแลโจทก์เพียงไม่กี่เดือน นับแต่ที่โจทก์รับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมและจำเลยพาโจทก์มาพักอาศัยอยู่ด้วยกัน หลังจากที่โจทก์ย้ายออกมาจากบ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ตรวจสอบบัญชีเงินฝากจึงทราบว่าเหลือยอดเงินฝากเพียง 68.03 บาท โจทก์จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาลักทรัพย์ และพนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคามยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ที่ลักเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ไปโดยใช้บัตรกดเงินสด (บัตรเอทีเอ็ม) รวม 37 ครั้ง และลักเงินสด รวมยอดเงินที่จำเลยลักไปในคดีดังกล่าว 560,504 บาท ในระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2561 ช่วงที่โจทก์พักอาศัยอยู่กับจำเลย ทำให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาสุจริตที่รับเลี้ยงดูแลโจทก์ดังที่จำเลยนำสืบ แต่การกระทำของจำเลยแฝงไว้ด้วยเล่ห์เพทุบายในการหลอกล่อเอาทรัพย์สินของโจทก์ไปโดยทุจริต จนเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์เหลือเพียง 68.03 บาท และโจทก์ยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้เป็นของจำเลยแล้วจนโจทก์แทบไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยด่าทอโจทก์ด้วยถ้อยคำตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง และไล่โจทก์ออกจากบ้าน เมื่อพิเคราะห์ถ้อยคำที่จำเลยด่าทอโจทก์ที่ว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม ไม่รักลูก เงินแค่นี้ก็ทวง จะไปตายที่ไหนก็ไป หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" กับการที่โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมโจทก์ก็เปรียบเสมือนเป็นมารดาของจำเลยคนหนึ่ง จำเลยย่อมต้องให้ความเคารพและยกย่องเชิดชูโจทก์ คำว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม" เป็นการกล่าวหาโจทก์ว่า ไม่รู้จักชอบชั่วดี ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ทำให้ถูกคนอื่นเกลียดชัง เสียชื่อเสียง ส่วนคำว่า "หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีความละอายแก่ใจที่มาอาศัยอยู่กับจำเลยและครอบครัว อันเป็นถ้อยคำที่ไร้ความเคารพนับถือ เป็นการลบหลู่เหยียดหยาม อกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากสำคัญผิดในราคา โมฆะ คืนทรัพย์สิน + คืนเงิน
การที่ขณะทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทโจทก์เข้าใจว่าตกลงขายฝากที่ดินพิพาทเป็นเงิน 160,000 บาท ตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 มิใช่ 500,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาขายฝากเป็นกรณีโจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาขายฝาก แม้มิใช่การสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม หรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาที่ตกลงขายฝากย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมการขายฝากโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ศาลจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนการขายฝากที่ดินพิพาท
ส่วนเงินจำนวน 160,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะยึดถือเงินนั้นไว้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์คืนแก่จำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สำหรับเงินอีกจำนวน 340,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไปเป็นของตนเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องว่ากล่าวเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหาก
ส่วนเงินจำนวน 160,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะยึดถือเงินนั้นไว้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์คืนแก่จำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สำหรับเงินอีกจำนวน 340,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไปเป็นของตนเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องว่ากล่าวเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามสัญญาประนีประนอมฯ ที่ทำผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ย: สัญญาฯ มีผลเสมือนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
เมื่อพิจารณาถึงสัญญาประนีประนอมยอมความประกอบคำร้องและคำคัดค้านแล้วเห็นได้ว่ากรณีเป็นข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน ดังนั้น แม้มีทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท ก็สามารถไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านอ้างเกี่ยวกับการขายที่ดินพิพาทว่าเป็นเท็จอันเป็นเหตุของการกระทำอันไม่สุจริตที่กล่าวอ้างเป็นข้อเท็จจริงในส่วนเนื้อหาของข้อพิพาทที่ต้องพิจารณากันในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท แม้ผู้คัดค้านอ้างทํานองว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่การจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจําต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้างต้นเสียก่อน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคห้า กําหนดให้สัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันตามมาตรา 61/2 วรรคสี่ มีผลเช่นเดียวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และในกรณีตามมาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่พิพาทอีกฝ่ายสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ออกคำบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยให้นํากฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งในคดีร้องขอให้ออกคำบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ประกอบ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 42 ถึง 44 นั้น ไม่ได้ให้ผู้ซึ่งจะถูกบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความพิสูจน์โต้แย้งข้อเท็จจริงในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท และศาลไม่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าวซ้ำอีก
ข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านอ้างเกี่ยวกับการขายที่ดินพิพาทว่าเป็นเท็จอันเป็นเหตุของการกระทำอันไม่สุจริตที่กล่าวอ้างเป็นข้อเท็จจริงในส่วนเนื้อหาของข้อพิพาทที่ต้องพิจารณากันในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท แม้ผู้คัดค้านอ้างทํานองว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่การจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจําต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้างต้นเสียก่อน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคห้า กําหนดให้สัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันตามมาตรา 61/2 วรรคสี่ มีผลเช่นเดียวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และในกรณีตามมาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่พิพาทอีกฝ่ายสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ออกคำบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยให้นํากฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งในคดีร้องขอให้ออกคำบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 61/2 วรรคเจ็ด ประกอบ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 42 ถึง 44 นั้น ไม่ได้ให้ผู้ซึ่งจะถูกบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความพิสูจน์โต้แย้งข้อเท็จจริงในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท และศาลไม่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงในชั้นไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าวซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: แม้ไม่ใช่พนักงานสอบสวนโดยตรง แต่การช่วยปฏิบัติหน้าที่ก็เข้าข่ายความผิดฐานดูหมิ่นได้
แม้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ตำแหน่งรองสารวัตรจราจร ไม่ใช่พนักงานสอบสวน ไม่มีอำนาจเปรียบเทียบคดีตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนจะต้องกระทำการเป็นการเฉพาะตัวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 38 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องกระทำเองเป็นการเฉพาะตัวไปเสียทั้งหมด ดังจะเห็นได้จาก ป.วิ.อ. มาตรา 128 (1) และ (2) ได้บัญญัติให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะร้องขอหรือสั่งให้เจ้าพนักงานอื่นทำการแทนตนได้บ้าง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ร่วมช่วยร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบโดยนั่งเขียนใบเสร็จรับเงินชำระค่าปรับให้แก่ผู้ต้องหากระทำความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.จราจรทางบกตามที่ตั้งด่านกวดขันวินัยจราจร และผู้ต้องหายินยอมชำระค่าปรับตามที่ร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว อยู่บนโต๊ะใกล้ ๆ กับร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวน ถือได้ว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวน และมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเจาะจงให้พนักงานสอบสวนต้องเขียนใบเสร็จรับเงินชำระค่าปรับด้วยตนเอง การกระทำของโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามที่พนักงานสอบสวนได้มอบหมายให้กระทำ และข้อความที่จำเลยลงในเฟซบุ๊กของจำเลยซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์สาธารณะว่า โจทก์ร่วมปิดหน้าปิดตายังกะโจร เป็นข้อความที่กล่าวสบประมาทโจทก์ร่วมขณะปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 136
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่สมบูรณ์-ศาลแพ่งเกินอำนาจ: การพิจารณาคดีอาญา-แพ่งที่เกี่ยวข้องกัน
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์แล้ว ลำพังเพียงการที่จำเลยแจ้งโจทก์ว่าไม่มีรางวัลของจำเลยตามใบรับรองการถูกรางวัลและไม่มีหลักฐานการดำเนินการทางกฎหมายของจำเลยแก่บริษัทต่างประเทศชื่อ E ทำให้โจทก์ไม่ได้รับเงินรางวัล ก็ยังไม่อาจสรุปข้อเท็จจริงจากคำบรรยายฟ้องได้ว่า จำเลยมีพฤติการณ์ใด ๆ อันแสดงถึงการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยจำเลยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการออกใบรับรองการถูกรางวัลที่บริษัท E ส่งมาให้แก่โจทก์อย่างไร และการกระทำของจำเลยประการใดที่ทำให้จำเลยได้รับทรัพย์สินไปจากโจทก์ หรือทำให้โจทก์ต้องทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธินั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในกรณีศาลที่พิจารณาคดีอาญาไม่รับฟ้องคดีส่วนอาญาไว้พิจารณาหรือพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา การพิจารณาว่าศาลนั้นมีอำนาจรับฟ้องคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยเขตอำนาจศาล ตามมาตรา 2 (1) ว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา และโจทก์ขอให้บังคับจำเลยชดใช้เงินรางวัล 18,117,213.87 บาท พร้อมดอกเบี้ย 90,586.06 บาท ซึ่งเกินกว่าอำนาจที่ผู้พิพากษาคนเดียวจะพิจารณาพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวพิพากษายกฟ้องในคดีส่วนแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์เกิน 300,000 บาท เท่ากับเป็นการใช้อำนาจวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีในทางเนื้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) และทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนนี้ไม่ชอบไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 และ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในกรณีศาลที่พิจารณาคดีอาญาไม่รับฟ้องคดีส่วนอาญาไว้พิจารณาหรือพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา การพิจารณาว่าศาลนั้นมีอำนาจรับฟ้องคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยเขตอำนาจศาล ตามมาตรา 2 (1) ว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา และโจทก์ขอให้บังคับจำเลยชดใช้เงินรางวัล 18,117,213.87 บาท พร้อมดอกเบี้ย 90,586.06 บาท ซึ่งเกินกว่าอำนาจที่ผู้พิพากษาคนเดียวจะพิจารณาพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวพิพากษายกฟ้องในคดีส่วนแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์เกิน 300,000 บาท เท่ากับเป็นการใช้อำนาจวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีในทางเนื้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) และทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนนี้ไม่ชอบไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 และ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีไม้หวงห้าม จำเลยต้องพิสูจน์ที่มาของไม้ หากไม่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายถือว่าผิด
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีภาระพิสูจน์ว่าไม้พะยูงของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่านั้น เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไม้พะยูงอันยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองโดยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีไม้พะยูงแปรรูปไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48, 69 และ 73 ตามคำฟ้องโจทก์ดังกล่าว หากจำเลยจะต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จำเลยจะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าไม้ท่อนของกลางเป็นไม้ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ส่วนไม้แปรรูปของกลางก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 50 (4) เมื่อมาตรา 69 วรรคหนึ่งและมาตรา 50 (4) ได้บัญญัติในเรื่องภาระการพิสูจน์ไว้เป็นการเฉพาะเช่นนี้แล้ว แม้ต่อมาภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วมี พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 7 ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม" บทบัญญัติมาตรา 7 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวก็หามีผลทำให้โจทก์มีภาระพิสูจน์ถึงที่มาของไม้ท่อนและไม้แปรรูปของกลางไม่ แต่ยังคงเป็นภาระของจำเลยที่ได้ประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวในการนำสืบข้อเท็จจริงอันจะทำให้ตนพ้นผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน: ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่เรียกร้องทรัพย์สินคืนจากผู้ถือครองแทนห้างฯ
การชำระบัญชีนั้น เป็นกระบวนการที่ผู้ชำระบัญชีเข้าทำการตรวจสอบบัญชี ทรัพย์สินและหนี้สินของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน หากปรากฏว่าห้างฯ มีหนี้ค้างชำระอยู่แก่บุคคลภายนอก ผู้ชำระบัญชีก็ต้องจัดการนำทรัพย์สินของห้างฯ ชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกให้เสร็จสิ้นไป ในทางกลับกัน หากปรากฏว่าห้างฯ มีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินใด ๆ อยู่แก่บุคคลภายนอก ผู้ชำระบัญชีก็ต้องดำเนินการเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวคืนเข้ากองทรัพย์สินของห้างฯ หากบุคคลภายนอกซึ่งมีทรัพย์สินที่ต้องชำระหรือส่งมอบคืน ไม่ยอมชำระหรือส่งมอบคืน ผู้ชำระบัญชีก็ย่อมต้องฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาลเป็นเรื่อง ๆ ไป คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 3 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แทนห้างฯ ซึ่งมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรณีถือว่าจำเลยที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์แทนผู้เป็นหุ้นส่วน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีที่จะต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินดังกล่าวคืนมายังกองทรัพย์สินของห้างฯ เพื่อจัดการชำระบัญชีในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน หากจำเลยที่ 3 ไม่ยอมโอนที่ดินคืน ผู้ชำระบัญชีก็ต้องฟ้องร้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีต่อศาล เพื่อให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินดังกล่าวคืน เพื่อผู้ชำระบัญชีจะได้รวบรวมและจัดการทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปตามกฎหมาย การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ และขอให้บังคับจำเลยที่ 3 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ และส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์หรือแก่ผู้ชำระบัญชีเป็นการไม่ชอบ เพราะหน้าที่ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการในการชำระบัญชีของห้างฯ ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพยายามฆ่า, การป้องกันเกินสมควร, ผู้ก่อเหตุไม่ใช่ผู้เสียหาย, การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน, และการรอการลงโทษ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิด โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจึงไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม แม้โจทก์ร่วมจะไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ผู้เสียหายยังคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เสียหายจะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ ผู้เสียหายในทางแพ่งชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งริบทรัพย์สินและการไม่มีอำนาจฟ้องคดีใหม่ หากศาลพิพากษายกฟ้องในคดีอาญา
มาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลง..." ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า ในส่วนคดีอาญาศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่ให้ยกฟ้อง เป็นผลให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลง จำเลยไม่มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของโจทก์อีกต่อไป จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นในคดีริบทรัพย์สินตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ร.2/2549 ดำเนินกระบวนพิจารณามีคำสั่งริบทรัพย์สินโดยมิชอบ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของมาตรา 32 วรรคหนึ่ง ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ร.2/2549 ที่มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งริบทรัพย์สินและคืนเงินที่ริบแก่โจทก์ต่อไป โจทก์จะมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่หาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่ยื่นฟ้อง