พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานีบริการก๊าซไม่ละเมิดสิทธิหากปฏิบัติตามกฎหมายและผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากหน่วยงานราชการ
ขณะที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ทราบมาก่อนว่าจำเลยที่ 1 ให้คำรับรองแก่โจทก์ทั้งหกว่าจะนำที่ดินพิพาทไปก่อสร้างอาคารพาณิชย์ การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงเป็นการซื้อขายโดยสุจริต ต่อมาจำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทไปให้จำเลยที่ 3 เช่าโดยจำเลยที่ 3 นำที่ดินที่เช่าไปขออนุญาตปลูกสร้างและขออนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการแก๊สถูกต้องตามกฎหมายโดยก่อนที่จะออกใบอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ตั้งสถานีบริการแก๊สได้นั้นต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานด้วยกัน โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยและผลกระทบต่าง ๆ การที่โจทก์ทั้งหกอ้างว่าการก่อสร้างสถานีบริการแก๊สอาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย และทรัพย์สินรวมทั้งสภาพความเป็นอยู่ของโจทก์ทั้งหกจึงเกิดจากการคาดคะเนของโจทก์ทั้งหกเอง ซึ่งกรณีที่โจทก์ทั้งหกจะได้รับความเดือดร้อนถึงกับต้องใช้สิทธิเพื่อยังความเดือดร้อนให้สิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 นั้น จะต้องได้ความว่าเป็นความเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรการที่จำเลยที่ 3 ใช้สิทธิใช้สอยทรัพย์พิพาทที่จำเลยที่ 3 เช่าจากจำเลยที่ 2 โดยมีการขออนุญาตปลูกสร้างและขออนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการแก๊สโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยปกติ โดยมีเหตุสมควรถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งหก หรือเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งหกเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งหกตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 และมาตรา 1337 การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินหลังหย่า และอายุความของคดีเรียกร้องสิทธิ
บันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่าระหว่าง ก. และโจทก์ระบุเรื่องทรัพย์สินชัดเจนว่า ข้อ 3.2 แมนชั่น เลขที่ 246/18 ฝ่ายหญิงยินยอมให้เป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายชาย แต่มีเงื่อนไขข้อ 3.2.1. ว่าฝ่ายชายจะต้องจ่ายเงินจากรายได้ค่าเช่าให้ฝ่ายหญิงทุกวันที่ 5 ของเดือน ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไปตลอดชีวิตของฝ่ายหญิง และข้อ 3.2.2. ถ้าฝ่ายชายขายแมนชั่นต้องแบ่งเงินให้แก่ฝ่ายหญิงครึ่งหนึ่ง ข้อ 3.3 ฝ่ายชายจะแบ่งรายได้จากค่าเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 819 ปีละ 40,000 บาท โดยชำระ 2 งวด งวดละ 20,000 บาท ข้อ 3.4 ถ้าฝ่ายชายขายที่ดินได้จะแบ่งเงินให้ฝ่ายหญิงร้อยละ 10 ของรายได้สุทธิที่ได้จากการขายที่ดิน ข้อตกลงดังกล่าวทำให้เห็นว่าหาก ก. ต้องการให้โจทก์มีรายได้จากทรัพย์สินจนกว่า ก. จะถึงแก่ความตาย ย่อมสามารถระบุให้ชัดเจนได้ว่า ตลอดชีวิตของฝ่ายชาย การที่ ก. ระบุว่า จะต้องจ่ายเงินจากรายได้ค่าเช่าให้ฝ่ายหญิงตลอดชีวิตของฝ่ายหญิง แสดงให้เห็นว่า ก. ต้องการให้โจทก์มีรายได้เลี้ยงตัวเอง และหากมีการขายทรัพย์สินดังกล่าวจะต้องแบ่งเงินให้ฝ่ายหญิง บันทึกเรื่องทรัพย์สินเป็นข้อตกลงที่ผูกพันทรัพย์สิน เมื่อจำเลยที่ 1 บุตร ก. เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทั้งสองรายการจาก ก. จึงต้องผูกพันตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่า จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
ก. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่ ก. ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ก. ซึ่งเป็นบิดา เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่า มิได้ฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อเจ้ามรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ก. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่ ก. ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ก. ซึ่งเป็นบิดา เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามบันทึกเรื่องทรัพย์สินท้ายทะเบียนการหย่า มิได้ฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อเจ้ามรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินของเกษตรกรเช่าเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์โดยมิชอบตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคแรก บัญญัติว่า "ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบ โดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก. ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวัน และถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก. ตำบล ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้" และมาตรา 54 วรรคแรก บัญญัติว่า "ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน..." ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการเช่าที่ดินอันจะได้รับความคุ้มครองนั้นจะต้องเป็นการเช่าที่ดินระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าโดยกำหนดวิธีการที่ผู้ให้เช่าต้องปฏิบัติว่า ผู้ให้เช่านาจะขายที่นาได้ก็ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายที่นาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขาย และวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคณะกรรมการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คชก.) เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้สิทธิผู้เช่านาที่จะซื้อที่นาได้ก่อนบุคคลอื่นและหากผู้ให้เช่านามิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ไม่ว่าที่นานั้นจะโอนไปยังผู้ใด ผู้เช่านาย่อมมีสิทธิซื้อที่นาจากผู้รับโอนนั้นได้ตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนรับซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า ส. นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ยืมกับธนาคาร ก. แล้วผิดนัดชำระหนี้ จึงถูกธนาคาร ก. ฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง ตามคดีหมายเลขแดงที่ 9154/2542 และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย หรือ บสท. ได้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนธนาคาร ก. ระหว่างพิจารณาคดีศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งอายัดที่ดิน โดยห้ามมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาท บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยขายทอดตลาดที่ดินพิพาท แต่ไม่มีผู้สนใจเข้าประมูลซื้อหรือมีผู้สนใจประมูลซื้อในราคาต่ำกว่าราคาที่พึงจะได้รับ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยจึงรับโอนที่ดินพิพาทในราคา 28,868,000 บาท ซึ่งไม่น้อยกว่าราคาที่พึงจะได้รับจากการขายทอดตลาดแทนการจำหน่าย ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 76 ต่อมาผู้ชำระบัญชีของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นให้แก่กระทรวงการคลัง เพื่อการบริหารจัดการสินทรัพย์ หนี้สินและทรัพย์สินที่คงเหลือของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 มาตรา 19 และในวันเดียวกันกระทรวงการคลังได้โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า การที่ที่ดินพิพาทตกมาเป็นของผู้คัดค้านมิได้เกิดจากการขายที่ดินพิพาทของ ส. แต่อย่างใด แต่เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายโดยชอบ และจะถือว่า ส. มิได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคแรก อันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านนั้นตามมาตรา 54 วรรคแรกหาได้ไม่ แม้ว่าที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำแขวงลำผักชี จะมีมติเห็นชอบให้ผู้ร้องมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากผู้รับโอนได้ก็ตาม ก็หามีผลให้ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวแต่ประการใดไม่ ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำแขวงลำผักชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การในชั้นฎีกาและการสละปัญหาข้อกฎหมาย ผลกระทบต่อการพิจารณาคดีเช็ค
จำเลยยื่นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การจากที่ให้การปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเสียเองเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา และถือว่าจำเลยสละปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 แม้ข้อกล่าวหาในฟ้องไม่ตรงกับพฤติการณ์
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับ บ. และจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแก่สายลับ จึงมิอาจถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และ บ. ในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ แต่การติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนคดีนี้ บ. เป็นตัวการสำคัญมีอำนาจตัดสินใจในการขายเมทแอมเฟตามีน ในขณะเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยที่ 1 บ. ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อมายังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 โอนเงินเข้าบัญชีของ ส. ตามที่เคยทำมาก่อน แต่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธเนื่องจากเครื่องไม่รับ บ. จึงบอกว่าจะมอบให้จำเลยที่ 2 มารับเงินแทน บ. ที่บริเวณปากซอยเชื่อมสัมพันธ์ 24 อันถือได้ว่าเป็นการกระทำเกี่ยวเนื่องกับการชำระค่าเมทแอมเฟตามีนให้แก่ บ. นั่นเอง การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนยังไม่ขาดตอน เมื่อจำเลยที่ 2 มาจอดรถกระบะรอรับเงินและถูกจับได้ถือว่าเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ หรือเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดอันเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนผู้อื่นในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง เพราะข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและจำเลยที่ 2 มิได้หลงต่อสู้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 กับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-บังคับคดี: คดีเดิมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การฟ้องใหม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้เกี่ยวข้องกับค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม ซึ่งเมื่อโจทก์ได้ยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีในคดีเดิมจนศาลมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว
การที่คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจำนวนเดิมกับที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยในชั้นบังคับคดีในคดีเดิมก่อนคดีในชั้นบังคับคดีนั้นจะถึงที่สุด
และแก้ไขคำฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทในคดีเดิมแก่โจทก์เมื่อคดีในชั้นบังคับคดีในคดีเดิมถึงที่สุดแล้ว
คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การยื่นคำร้องหรือคำฟ้องในกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่จะเข้าข้อยกเว้น ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (1) แต่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลชั้นต้นในคดีเดิมได้วินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่สุดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมแล้ว คำฟ้องโจทก์คดีนี้
จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
การที่คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจำนวนเดิมกับที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยในชั้นบังคับคดีในคดีเดิมก่อนคดีในชั้นบังคับคดีนั้นจะถึงที่สุด
และแก้ไขคำฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทในคดีเดิมแก่โจทก์เมื่อคดีในชั้นบังคับคดีในคดีเดิมถึงที่สุดแล้ว
คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การยื่นคำร้องหรือคำฟ้องในกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่จะเข้าข้อยกเว้น ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (1) แต่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลชั้นต้นในคดีเดิมได้วินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่สุดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมแล้ว คำฟ้องโจทก์คดีนี้
จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลที่ต้องวางพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หมายถึงค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาเดิมเท่านั้น ไม่รวมค่าใช้จ่ายภายหลัง
เงินค่าธรรมเนียมที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำมาวางต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หมายถึงเฉพาะค่าธรรมเนียมตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาล หารวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมอื่นที่เกิดขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีแล้ว ค่าใช้จ่ายในการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองจึงหาใช่ค่าธรรมเนียมที่ต้องนำมาวางพร้อมกับอุทธรณ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: การนับอายุความเริ่มเมื่อใดเมื่อจำเลยเบียดบังทรัพย์สิน และผลกระทบต่อสิทธิการฎีกา
คดีนี้จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระชัดเจน และบริษัทลูกหนี้มีสถานะฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกคืนเงินกู้ได้ทันที
ตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงินที่ระบุว่า จำเลยผู้กู้จะชำระเงินที่กู้ยืมทั้งหมดคืนเมื่อได้รับส่วนแบ่งจากการขายโครงการ ก็มิได้ระบุว่า การก่อสร้างโครงการเสร็จเมื่อใดและจำเลยจะได้รับส่วนแบ่งจากการขายโครงการเมื่อใด เมื่อปรากฏว่าโครงการดังกล่าวไม่ได้อยู่ในระหว่างก่อสร้างดังที่จำเลยให้การต่อสู้คดี แต่หยุดการก่อสร้างแล้ว กรณีจึงไม่มีระยะเวลาชำระหนี้ที่กำหนดลงไว้แน่นอน ทั้งจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ว่าเมื่อใดจะมีการก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ และจำเลยจะได้รับส่วนแบ่งจากการขายโครงการเพียงพอที่จะชำระเงินที่กู้ยืมทั้งหมดคืนแก่โจทก์ได้ เพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ยากจะมองเห็นผลสำเร็จได้ว่าต้องใช้เวลานานเพียงใด ในเมื่อพฤติการณ์ที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับสัญญาหุ้นส่วน และบริษัท ธ. ที่ทั้งสองฝ่ายถือหุ้นร่วมกันเพื่อดำเนินการโครงการดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัว และอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น การชำระเงินกู้ยืมคืนตามข้อตกลงดังกล่าวจึงถือได้ว่าไม่ได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้กันไว้แน่นอน เจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ถือว่าเป็นการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ยืมอยู่ในตัวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8257/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: ผู้เสียหายโดยนิตินัยมีสิทธิร้องทุกข์และอัยการมีอำนาจฟ้องได้ แม้ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง ตาม ป.อ. มาตรา 341 (เดิม), 83 โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายให้ร่วมลงทุนเป็นเจ้ามือการพนันเมล็ดฟักทองกับจำเลยและพวกเพื่อหลอกเอาเงินจาก ป. ซึ่งเป็นพวกของจำเลย ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงนำเงิน 5,330,000 บาท และสร้อยคอทองคำหนัก 6 บาท พร้อมพระเครื่องหลวงพ่อโสธรเลี่ยมทอง 1 องค์ ราคา 300,000 บาท มาร่วมลงทุน โดยจำเลยกับพวกไม่มีเจตนาที่จะเล่นการพนัน ไม่มีเจตนาที่จะชักชวนผู้เสียหายให้ร่วมลงทุนเป็นเจ้ามือการพนันและไม่ได้ร่วมกันเล่นการพนันดังกล่าว แต่จำเลยกับพวกมีเจตนาหลอกเอาเงินและทรัพย์สินจากผู้เสียหายมาแต่ต้น โดยใช้วิธีการวางแผนเป็นกระบวนการโดยแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนเป็นเจ้ามือการพนัน และให้ ป. เป็นผู้เล่นเพื่อหลอกเอาเงินและทรัพย์สินจากผู้เสียหายให้แนบเนียน ทั้งที่ผู้เสียหายไม่มีเจตนาที่จะร่วมเล่นการพนันกับพวกจำเลยมาแต่ต้น การที่ผู้เสียหายมอบเงินและทรัพย์สินให้แก่จำเลยกับพวกเพื่อเล่นการพนันเป็นการตกหลุมพรางที่วางไว้ ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายร่วมเล่นการพนันกับพวกจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงอันจะเป็นการร่วมกับจำเลยกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง และพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เนื่องจากความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง ตาม ป.อ. มาตรา 341 (เดิม), 83 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คู่ความจึงอาจต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าจำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าว
เนื่องจากความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง ตาม ป.อ. มาตรา 341 (เดิม), 83 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คู่ความจึงอาจต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าจำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าว