คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับศาล/ผู้พิพากษา
ศาลจังหวัดราชบุรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 465 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ของผู้ไม่ทราบว่าเป็นเจ้าของรวม
ผู้ร้องทั้งสองครอบครองทำประโยชน์โดยไม่ได้ยึดถือที่ดินตามสัดส่วนของเจ้าของรวมและครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ทราบว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าของรวม แสดงถึงเจตนาของผู้ร้องทั้งสองว่าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับรู้ถึงสิทธิของเจ้าของรวมทั้งฝ่ายที่ส่งมอบการครอบครองต่อ ๆ มาแก่ตนและเจ้าของรวมฝ่ายผู้คัดค้านจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของเอง หาใช่ครอบครองในฐานะเจ้าของรวมหรือผู้สืบสิทธิจากเจ้าของรวมอันจะต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินแก่เจ้าของรวมไม่ เมื่อผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทินส่งผลต่อการพิจารณา 'ผู้กระทำความผิดซ้ำ' ในการขอพระราชทานอภัยโทษ
พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 มาตรา 12 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 13 นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษจากกำหนดโทษลง 1 ใน 6"และมาตรา 3 บัญญัติว่า "ในพระราชกฤษฎีกานี้... "ผู้กระทำความผิดซ้ำ" หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว และกลับมาต้องโทษจำคุกในคราวนี้อีกภายในห้าปีนับแต่วันพ้นโทษคราวก่อน กับความผิดทั้งสองคราวไม่ใช่ความผิดฐานลหุโทษหรือประมาท..." เมื่อคำว่าผู้กระทำความผิดซ้ำเป็นองค์ประกอบหนึ่งของมาตรา 12 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่านักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมเช่นเดียวกับผู้ร้องจะได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษหรือไม่ เพียงใด อันเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนั้น แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในข้อที่วินิจฉัยแปลความคำว่า นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ตามมาตรา 3 และศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้ยกเรื่องการแปลความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ทั้งคู่ความไม่ได้ยกเรื่องการแปลความดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในฎีกาด้วย ศาลฎีกาก็ยกเรื่องการแปลความคำว่านักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ตามมาตรา 3 ขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ผู้ร้องได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ในความผิดฐานลักทรัพย์ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2829/2543 ของศาลจังหวัดกาญจนบุรีอันมีผลให้ถือว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว แม้การล้างมลทินไม่ได้เป็นการลบล้างความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกลงโทษจำคุกในความผิดฐานลักทรัพย์ก็ตาม แต่ผลของการล้างมลทินที่ให้ถือว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว ย่อมมีความหมายชัดเจนอยู่ว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีก่อน ผู้ร้องจึงไม่ใช่นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ย่อมไม่มีทางที่ผู้ร้องจะเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำไปได้ กรณีจึงไม่อาจพิจารณาให้ผู้ร้องได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 มาตรา 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าไฟฟ้าปรับปรุง เหตุมิได้เกิดจากการไม่ชำระหนี้ แต่เกิดจากการดัดแปลงมิเตอร์ของผู้ใช้ไฟฟ้า
โจทก์ทำสัญญาตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจดหน่วยพร้อมแจ้งค่าไฟฟ้าให้แก่โจทก์ แต่พนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดหน่วยมิเตอร์ไฟฟ้า โจทก์ตรวจสอบพบว่ามิเตอร์ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าถูกดัดแปลงทำให้มิเตอร์ไฟฟ้าหมุนช้าลงและแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าคลาดเคลื่อน ซึ่งเกิดการกระทำละเมิดของผู้ใช้ไฟฟ้า ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าไฟฟ้าปรับปรุงอันเกิดจากการที่มิเตอร์ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าหมุนช้าลงและแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าคลาดเคลื่อน จึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาตั้งตัวแทนจดหน่วยพร้อมแจ้งค่าไฟฟ้า ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นพฤติกรรมเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 ย่อมไม่มีค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ขออนุญาตฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184-1187/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์โดยมิชอบ ความผิดตามมาตรา 269/5 แม้ได้รับมอบหมายให้ใช้แต่ใช้นอกเหนือจากที่ได้รับมอบหมายถือเป็นความผิด
โจทก์ร่วมเปิดบัญชีเงินฝาก ธนาคารให้รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านแก่โจทก์ร่วม ซึ่งโจทก์ร่วมใช้ข้อมูลบัญชีเงินฝาก รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านบนโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ ชำระหนี้อื่นแทนการชำระเงินสด ใช้โอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ร่วมไปยังบัญชีเงินฝากของบุคคลอื่น ใช้ในการเบิกถอนเงินสด หรือใช้ในธุรกรรมอย่างอื่น ถือได้ว่าเป็นการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของมาตรา 1 (14) (ข) แห่ง ป.อ.
ข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคาร รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านที่โจทก์ร่วมได้รับมา เป็นข้อตกลงระหว่างธนาคารและโจทก์ร่วมในการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ โดยโจทก์ร่วมต้องเก็บรักษาเป็นความลับของตนมิให้ผู้ใดล่วงรู้ การที่โจทก์ร่วมให้จำเลยที่ 2 ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์โดยการบอกข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคาร รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านแก่จำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้าง ก็เพื่อให้ทำธุรกรรมบนโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตแทนโจทก์ร่วมให้เป็นไปตามที่โจทก์ร่วมสั่งหรือมอบหมายให้ทำ หาใช่นำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้เกินกว่าที่โจทก์ร่วมสั่งหรือมอบหมายให้ทำไม่ การที่จำเลยที่ 2 ใช้ข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคาร รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านของโจทก์ร่วมโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ร่วมไปยังบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ร่วมไม่ได้สั่งหรือมอบหมายให้ทำ ย่อมเป็นการทำโดยไม่มีอำนาจและโจทก์ร่วมไม่ได้ยินยอม ทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายสูญเสียเงินฝากในบัญชี จึงเป็นการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของโจทก์ร่วมโดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาต้องระบุเจตนาพิเศษในการหลอกลวงเพื่อประโยชน์ทางการเงิน หากคำฟ้องขาดองค์ประกอบนี้ ศาลยกฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษ... ดังนั้น การกระทำความผิดฐานดังกล่าวผู้กระทำจะต้องมีมูลเหตุจูงใจอันเป็นเจตนาพิเศษ เพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ แต่โจทก์บรรยายคำฟ้องเพียงว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำหรือยินยอมให้กระทำในการจัดทำเอกสารเท็จหรือลงข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารของมูลนิธิเพื่อลวงให้กรรมการมูลนิธิและประชาชนเชื่อว่ามีการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิตามวันเวลา สถานที่ และรายละเอียดการประชุมจริง เพื่อแสดงให้เชื่อว่ามูลนิธิเป็นเจ้าของกิจการบ้านลุงสนิทของโจทก์ อันเป็นการทำให้โจทก์ในฐานะส่วนตัวและเป็นกรรมการของมูลนิธิได้รับความเสียหาย โดยคำฟ้องมิได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีมูลเหตุชักจูงใจอันเป็นเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้แต่ประการใด คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิด ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการส่งประกาศขายทอดตลาดที่ถูกต้องตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยแจ้งไว้
กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า มีเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้จัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยได้แถลงไว้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้จำเลยไม่ทราบและไม่ได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาหรือหาบุคคลอื่นเข้าสู้ราคาหรือไม่นั้น เห็นว่า จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งขอเปลี่ยนที่อยู่จัดส่งเอกสารต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีคำสั่งคำร้องว่า "ทราบ รวม จำเลยทราบประกาศขายในวันนี้แล้ว" เมื่อประกาศขายทอดตลาดใหม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจำต้องส่งประกาศขายทอดตลาดแก่จำเลยที่ที่อยู่ตามที่จำเลยแจ้งภูมิลำเนาเฉพาะการไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้จัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยแจ้งไว้ กลับจัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง ถือมิได้ว่ามีการจัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยแล้ว การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ครั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งเฉพาะศาลชั้นต้น ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาโดยคัดลอกข้อความมาจากอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสิ้น คงมีการแก้ไขเฉพาะคำว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นศาลฎีกา และมีส่วนเพิ่มเติม พิมพ์ตกหรือพิมพ์ผิดไปจากอุทธรณ์บ้างเล็กน้อยในรายละเอียด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่า พิพากษาไม่ชอบอย่างไรหรือไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพราะเหตุใด ทั้งเหตุผลในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีบางส่วนก็แตกต่างกัน ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 216 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 และศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยชอบ การเพิกถอนนิติกรรมเนื่องจากหลอกลวง/ไม่สุจริต และอำนาจการฟ้อง
ตามสำเนาคำขอโอนมรดกเฉพาะส่วน สำเนาบันทึกถ้อยคำเรื่องผู้จัดการมรดกรับโอนมรดก และสารบัญจดทะเบียนในสำเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 13015 ได้ความว่า โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ขอจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 13015 ส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ป. ที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. รับโอนมาให้แก่โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะที่โจทก์เป็นทายาทของ ป. เจ้ามรดก ดังนี้ การขอจดทะเบียนของโจทก์ดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกขอจดทะเบียนสิทธิในที่ดินให้แก่ทายาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 82 วรรคสอง ถือได้ว่าการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกได้กระทำโดยชอบตามกฎหมาย หากทายาทคนอื่นของ ป. เห็นว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการมรดกไม่ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกับโจทก์เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกดังกล่าวได้กระทำโดยชอบตามกฎหมายโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ดังนั้น นิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินส่วนดังกล่าวตามสัญญาให้ที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วจึงมีผลสมบูรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วมีโจทก์ฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยทั้งสามไม่ได้อุทธรณ์แต่ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์โดยกล่าวโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวว่า ตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบฟังได้ว่าโจทก์ทำนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 13015 ส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ป. ที่โจทก์รับโอนมาโดยเสน่หาและโดยสมัครใจ จำเลยที่ 1 ไม่ได้หลอกลวงโจทก์ให้ทำนิติกรรม และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทส่วนดังกล่าวโดยสุจริต ดังนี้ ในชั้นอุทธรณ์จึงมีประเด็นดังกล่าวต้องวินิจฉัยเพราะคู่ความยังโต้เถียงกันอยู่ และปัญหาดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังไม่ได้วินิจฉัย แต่คดีได้มีการสืบพยานของคู่ความในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาใหม่ ในชั้นนี้จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 หลอกลวงให้โจทก์ทำนิติกรรมสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 13015 ส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ป. ที่โจทก์รับโอนมา และจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทส่วนดังกล่าวโดยไม่สุจริตตามที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างหรือไม่ โดยพยานโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และ ท. มาหลอกลวงโจทก์ให้โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ตามที่อ้างในฟ้อง นิติกรรมตามสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 13015 ส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ป. ที่โจทก์รับโอนมาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีข้อบกพร่องตามกฎหมายอย่างใดที่จะเพิกถอนได้ เมื่อไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะเพิกถอนนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แล้วย่อมมีผลทำให้ไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมตามสัญญาขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 13015 ส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ป. ที่โจทก์รับโอนมาได้เช่นเดียวกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซื้อที่ดินดังกล่าวโดยสุจริตหรือไม่จึงไม่เป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ไม่ถือเป็นเหตุบรรเทาโทษตามกฎหมาย
คำรับสารภาพของจำเลยอันจะถือเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 จะต้องเป็นกรณีที่ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงจะพิจารณาลดโทษที่ลงแก่จำเลยได้ คดีนี้โจทก์มีทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ และพยานพฤติเหตุแวดล้อมแน่นหนามั่นคง โดยเฉพาะหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ศาลก็ได้อาศัยพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในการวินิจฉัยและพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องอาศัยคำรับสารภาพของจำเลยอีก ทั้งตามรูปคดีที่โจทก์นำสืบก็มีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน หาใช่เพราะสำนึกในความผิดไม่ คำรับสารภาพของจำเลยทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาในกรณีเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษอันจะพึงลดโทษให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาแก้ฟ้องฐานฝ่าฝืนไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ เนื่องจากประกาศ คปท.ขัดรัฐธรรมนูญ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 พิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบประวัติการต้องโทษทางอาญา อันเป็นการกระทำความผิดตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 25 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา แต่ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 25 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่เพิ่มภาระและจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล โดยเฉพาะสิทธิและเสรีภาพในชีวิตร่างกายเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ได้สัดส่วน หรือไม่มีความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ส่วนรวมที่จะได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนจะต้องสูญเสียไป กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และหลักนิติธรรม จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 26 วรรคหนึ่ง และมาตรา 28 วรรคหนึ่ง จึงเป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามมาตรา 5 แห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่กฎหมายในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
of 47