พบผลลัพธ์ทั้งหมด 395 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันแก่หนี้ของคู่สมรส: ต้องมีหนี้เกิดขึ้นก่อนจึงจะให้สัตยาบันได้
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) มิได้ให้นิยามหรือคำจำกัดความของคำว่าสัตยาบันไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งพอสรุปได้ว่า สัตยาบัน คือ การยืนยันรับรองความตกลงหรือการรับรองนิติกรรม และเป็นที่เข้าใจกันได้ว่า บุคคลจะยืนยันรับรองความตกลงหรือรับรองนิติกรรมใดได้ ย่อมต้องมีข้อตกลงหรือนิติกรรมเช่นนั้นเกิดขึ้นเสียก่อนแล้วจึงให้สัตยาบัน การให้สัตยาบันของสามีหรือภริยาแก่หนี้ที่อีกฝ่ายก่อขึ้นตามมาตรา 1490 (4) ย่อมมีลักษณะเฉกเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ต้องมีหนี้เกิดขึ้นเสียก่อนสามีหรือภริยาถึงจะให้สัตยาบันได้ การให้ความยินยอมในขณะที่ยังไม่มีความตกลง ไม่มีนิติกรรมหรือไม่มีหนี้เกิดขึ้น ย่อมไม่ต้องด้วยความหมายของการให้สัตยาบัน โจทก์ไม่อาจถือเอาหนังสือยินยอมคู่สมรสที่จำเลยที่ 7 ทำไว้ต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 มาเป็นการให้สัตยาบันแก่หนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในภายหลังเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 และวันที่ 3 มิถุนายน 2558 ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองเพื่อประกันหนี้บุคคลอื่น: สิทธิจำนองจำกัดวงเงินและดอกเบี้ย, ศาลมีอำนาจสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
ผู้รับโอนโดยซื้อทรัพย์พิพาทจากการขายทอดตลาด ซึ่งมีเงื่อนไขให้ติดจำนองมาด้วยโดยมิได้เป็นลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนองได้ด้วยการรับใช้เงินให้เป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินซึ่งหมายถึงราคาทรัพย์จำนองในเวลาที่ผู้รับโอนขอไถ่ถอนจำนอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 736 และมาตรา 738 แต่เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดไม่รับคำเสนอและต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำเสนอเพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นตามมาตรา 739 เมื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินโดยติดจำนองซึ่งมิได้มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ตามข้อตกลงต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนอง และไม่มีข้อตกลงในการแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวจำเลยมาเป็นลูกหนี้แทน บ. ลูกหนี้ และ จ. ผู้จำนอง จึงไม่เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหรือลูกหนี้ร่วมได้ ความรับผิดของจำเลยย่อมมีเพียงทรัพย์สินซึ่งจำนองที่ตนรับโอนมาซึ่งตราเป็นประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น กรณีนี้จำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ตามวงเงินจำนองกับดอกเบี้ยของวงเงินจำนองและค่าอุปกรณ์อื่นตามมาตรา 715 ด้วย เมื่อปรากฏว่าหนังสือสัญญาจำนองเป็นประกันระบุว่า จ. จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้กู้ยืมของ บ. อันเป็นการจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระตามมาตรา 709 ที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหรือเวลาหนึ่งเวลาใดในภายหน้าเป็นต้นทุนขั้นสูงสุด 52,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี สิทธิจำนองจึงย่อมครอบเพียงต้นเงิน 52,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองเท่านั้น กรณีจึงไม่จำต้องกำหนดราคาอันสมควรกับทรัพย์จำนองพิพาทเพราะไม่เกิดประโยชน์แก่รูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจำนำรถเช่าซื้อโดยไม่ตรวจสอบเอกสารและรู้ว่าเป็นทรัพย์เช่าซื้อเข้าข่ายรับของโจร
จำเลยให้ ม. กู้ยืมเงิน 80,000 บาท โดย ม. ส่งรถแทรกเตอร์ของโจทก์ร่วมให้แก่จำเลยยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ อันเป็นการรับจำนำ และเมื่อ ม. เคยนำรถยนต์กระบะไปจำนำเป็นประกันการชำระหนี้ที่ ม. กู้ยืมเงินจำเลย 60,000 บาท ครั้งนั้นจำเลยตรวจสอบเอกสารการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เจ้าของรถ อันเป็นปกติของการประกอบกิจการค้าขายรถยนต์มือสองมาประมาณ 20 ปี แต่การรับจำนำรถแทรกเตอร์ของจำเลยในวันเกิดเหตุ จำเลยกลับไม่ได้ขอดูเอกสารเกี่ยวกับรถแทรกเตอร์และไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกัน การไม่ตรวจสอบทางทะเบียนเพื่อทราบถึงบุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงก่อน เป็นการผิดปกติวิสัยการรับจำนำหรือซื้อขายโดยสุจริตทั่วไป ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยต้องรู้ดีว่ารถแทรกเตอร์ที่จำเลยรับจำนำไว้นั้นเป็นทรัพย์ที่ ม. เช่าชื้อมาและอยู่ระหว่างระยะเวลาตามสัญญา ซึ่ง ม. ไม่มีสิทธินำไปแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เข้าลักษณะกระทำความผิดฐานยักยอก จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดีขับรถในขณะเมาสุราฯ จำเลยฎีกาว่าต้องลงโทษฐานประมาท แต่ศาลฎีกาเห็นว่าบทขับรถเมาฯ โทษหนักกว่า
ในขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท ส่วนความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท แม้บทกฎหมายที่ระวางโทษในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวมีระวางโทษจำคุกขั้นสูงเท่ากัน คือ จำคุกไม่เกินสิบปีแต่ความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ มีระวางโทษจำคุกขั้นต่ำสามปีด้วย ความผิดดังกล่าวจึงมีโทษหนักกว่าความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 จึงต้องลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) (4), 157, 160 ตรี การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 42 (2), 160 ตรี วรรคสี่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 3 ปี อันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้แก้ไขบทมาตราแห่งความผิดเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้นจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) (4), 157, 160 ตรี การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 42 (2), 160 ตรี วรรคสี่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 3 ปี อันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้แก้ไขบทมาตราแห่งความผิดเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้นจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การชดใช้ค่าเสียหาย และการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยมีข้ออ้างและคำขออย่างเดียวกันมาพร้อมกับฎีกา ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำสั่งไปแล้ว การที่จำเลยยังคงฎีกาในประเด็นดังกล่าวโดยขอให้ศาลฎีกาส่งความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยและรอการพิพากษาคดีไว้ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มิถุนายน 2557 ในคำสั่งข้อ 6 เมื่อพิจารณาเนื้อหาของคำสั่งดังกล่าวเห็นว่าเป็นเพียงคำสั่งทางบริหารที่กำหนดแนวนโยบายการปฏิบัติงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินเท่านั้น คำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้ประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ไม่มีความผิด หรือมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือให้งดเว้นการดำเนินคดีตามกฎหมายแต่อย่างใด จึงต้องถือว่าบุคคลดังกล่าวยังมีความผิดตามกฎหมายอยู่ไม่ว่าบุคคลนั้นจะบุกรุกเข้าทำประโยชน์ก่อนหรือหลังวันที่ 17 มิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จำเลยไม่อาจที่จะอ้างคำสั่งดังกล่าวว่าตนได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุมาก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2557 เพื่อลบล้างความผิดของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ซึ่งขณะนั้นจำเลยก็ยังคงยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซี่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายเดิมยังมีผลใช้บังคับและขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับแล้ว การกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 จึงชอบที่จะต้องนำ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาในส่วนนี้ว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) นั้น จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มิถุนายน 2557 ในคำสั่งข้อ 6 เมื่อพิจารณาเนื้อหาของคำสั่งดังกล่าวเห็นว่าเป็นเพียงคำสั่งทางบริหารที่กำหนดแนวนโยบายการปฏิบัติงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินเท่านั้น คำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้ประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ไม่มีความผิด หรือมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือให้งดเว้นการดำเนินคดีตามกฎหมายแต่อย่างใด จึงต้องถือว่าบุคคลดังกล่าวยังมีความผิดตามกฎหมายอยู่ไม่ว่าบุคคลนั้นจะบุกรุกเข้าทำประโยชน์ก่อนหรือหลังวันที่ 17 มิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จำเลยไม่อาจที่จะอ้างคำสั่งดังกล่าวว่าตนได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุมาก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2557 เพื่อลบล้างความผิดของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ซึ่งขณะนั้นจำเลยก็ยังคงยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซี่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายเดิมยังมีผลใช้บังคับและขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับแล้ว การกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 จึงชอบที่จะต้องนำ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาในส่วนนี้ว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) นั้น จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การชำระหนี้ในคดีผู้บริโภค: พยานบุคคลใช้ได้หรือไม่ และการบังคับใช้กฎหมายดอกเบี้ยใหม่
การฟ้องคดีและการพิสูจน์ถึงนิติกรรมสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 10 วรรคสาม บัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 94 แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่ผู้บริโภคในการฟ้องคดีผู้บริโภค และการพิสูจน์ถึงนิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้บริโภคจึงนำพยานบุคคลมานำสืบถึงนิติกรรมการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 กระทำต่อโจทก์โดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยร่วมได้ โดยไม่อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง และ ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ก) ที่ห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารเมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินสนับสนุนพรรคการเมือง, ความรับผิดของกรรมการบริหารพรรค, และการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
เงินสนับสนุนของพรรคการเมืองที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองนั้นเป็นเงินที่มอบให้แก่พรรคการเมืองต่าง ๆ ที่มีสิทธิได้รับนำไปใช้ในการพัฒนาพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองโดยโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานและแผนการใช้เงินซึ่งหากใช้ไปโดยชอบและสามารถแสดงหลักฐานการใช้จ่ายต่อโจทก์ทั้งสองได้ พรรคการเมืองนั้นก็ไม่ต้องคืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองแก่กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองแต่อย่างใด แต่หากเป็นการใช้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองก็มีสิทธิเรียกคืนเงินในส่วนที่ใช้ไปโดยไม่ชอบคืนส่งเข้ากองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองได้ สิทธิในการเรียกคืนจึงเกิดมีขึ้นเมื่อมีการใช้เงินโดยมิชอบหรือเมื่อพรรคการเมืองนั้นถูกยุบแล้วแต่กรณี ซึ่งในส่วนเงินสนับสนุนของพรรค ด. ประจำปี 2557 นั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิเรียกคืนเงินในส่วนที่ใช้ไปโดยไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 84 ก็ตาม แต่สิทธิในการเรียกคืนเงินดังกล่าวซึ่งเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้ โจทก์ชอบที่จะทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ชำระหนี้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง หากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ไม่ชำระจึงจะตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดให้แก่โจทก์ทั้งสองตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง (เดิม) เมื่อโจทก์ที่ 1 มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ให้คืนเงินและส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 และ ท. ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่คืนเงิน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ผิดนัดคือวันถัดจากวันครบกำหนดตามหนังสือดังกล่าวเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การคืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองประจำปี 2556 นั้น ได้ความจากคำฟ้องและจากหนังสือฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2557 ที่โจทก์ที่ 2 มีไปถึงพรรค ด. ว่า โจทก์ที่ 2 อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 82 ในการทวงถามให้พรรค ด. ส่งมอบเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง ซึ่งตามมาตรา 82 บัญญัติให้นำความในมาตรา 42 วรรคสอง ว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองมาใช้บังคับกับกรณีการฝ่าฝืนมาตรา 82 โดยอนุโลม ต่อมาเมื่อพรรค ด. ไม่จัดส่งเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 42 วรรคสอง ดำเนินการเพื่อให้มีการยุบพรรค ด. หลังจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. เมื่อเป็นกรณีที่พรรค ด. ถูกยุบเพราะฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 82 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ความรับผิดในการคืนเงินสนับสนุนของพรรค ด. จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 85 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาใช้บังคับ ส่วนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ด. อยู่ในช่วงปี 2556 จะต้องร่วมรับผิดกับพรรค ด. อย่างลูกหนี้ร่วมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่พรรค ด. ได้รับเงินไปจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. โจทก์ทั้งสองอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติมาตรา 85 ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. คืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองที่พรรค ด. ได้รับไป เมื่อปี 2556 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. ไม่ชำระ โจทก์ทั้งสองก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และที่ 11 ถึงที่ 17 ในฐานะทายาท ท. รับผิดชำระดอกเบี้ยในช่วงเวลาตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. จนถึงวันก่อนวันฟ้องได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในส่วนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองประจำปี 2556 ตั้งแต่วันฟ้อง
จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 ยื่นคำแก้ฎีกาโดยอ้างว่าจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองนั้น เป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับศาลล่างทั้งสอง ซึ่งจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การคืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองประจำปี 2556 นั้น ได้ความจากคำฟ้องและจากหนังสือฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2557 ที่โจทก์ที่ 2 มีไปถึงพรรค ด. ว่า โจทก์ที่ 2 อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 82 ในการทวงถามให้พรรค ด. ส่งมอบเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง ซึ่งตามมาตรา 82 บัญญัติให้นำความในมาตรา 42 วรรคสอง ว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองมาใช้บังคับกับกรณีการฝ่าฝืนมาตรา 82 โดยอนุโลม ต่อมาเมื่อพรรค ด. ไม่จัดส่งเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 42 วรรคสอง ดำเนินการเพื่อให้มีการยุบพรรค ด. หลังจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. เมื่อเป็นกรณีที่พรรค ด. ถูกยุบเพราะฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 82 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ความรับผิดในการคืนเงินสนับสนุนของพรรค ด. จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 85 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาใช้บังคับ ส่วนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ด. อยู่ในช่วงปี 2556 จะต้องร่วมรับผิดกับพรรค ด. อย่างลูกหนี้ร่วมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่พรรค ด. ได้รับเงินไปจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. โจทก์ทั้งสองอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติมาตรา 85 ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. คืนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองที่พรรค ด. ได้รับไป เมื่อปี 2556 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และ ท. ไม่ชำระ โจทก์ทั้งสองก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และที่ 11 ถึงที่ 17 ในฐานะทายาท ท. รับผิดชำระดอกเบี้ยในช่วงเวลาตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด. จนถึงวันก่อนวันฟ้องได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในส่วนเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองประจำปี 2556 ตั้งแต่วันฟ้อง
จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 ยื่นคำแก้ฎีกาโดยอ้างว่าจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองนั้น เป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับศาลล่างทั้งสอง ซึ่งจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 642/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพ, พ.ร.บ.คุมประพฤติ, การรับฟังพยานหลักฐาน, ดุลพินิจศาล, การรอการลงโทษ
ตาม พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ.2559 มาตรา 31 ศาลมีอำนาจรับฟังรายงานและความเห็นของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 30 โดยไม่ต้องมีพยานหลักฐานประกอบ แต่ก็เป็นเพียงการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจและความเห็นของพนักงานคุมประพฤติมารับฟังเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเท่านั้น มิใช่นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วย นอกจากนี้เมื่อศาลชั้นต้นอ่านรายงานการสืบเสาะและพินิจให้จำเลยฟัง จำเลยก็ขอสละถ้อยคำในเชิงปฏิเสธไปแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงในรายงานการสืบเสาะและพินิจมารับฟังลบล้างคำรับสารภาพของจำเลยในข้อหาตามที่ถูกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4237/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตต้องเป็นไปตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้น สัญญายังคงมีผลผูกพัน
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง จำเลยผู้รับประกันภัยให้การต่อสู้ว่า สัญญาประกันชีวิตทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นโมฆียะ และจำเลยได้บอกล้างแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่า จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ตั้งแต่เมื่อใด และได้บอกล้างสัญญาดังกล่าวแล้วภายใน 1 เดือน นับแต่ทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยทราบเหตุอันบอกล้างโดยทราบข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 แต่ตามพยานหลักฐานจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยมอบหมายให้บุคดลใดเป็นผู้ตรวจสอบหรือจำเลยทำการตรวจสอบอย่างไร แต่ปรากฏจากสำเนาบัตรตรวจโรคโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ว่า โรงพยาบาลวารินชำราบ ส่งตัว ป. ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ เกี่ยวกับโรคติดสุรา โดยระบุที่มุมด้านข้างของเอกสารว่า เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2559 และมี ว. เจ้าพนักงานเวชสถิติชำนาญงาน เป็นผู้รับรองสำเนาถูกต้องเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2559 ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความ ล. ว่าประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนจำเลยได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง อันแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของ ป. ไปยังโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ในช่วงเวลาดังกล่าวและโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ได้ออกเอกสารตามสำเนาบัตรตรวจโรคให้แก่จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยผู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 แล้ว กำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนในการใช้สิทธิบอกล้างโมฆียกรรม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 ที่ตัวแทนของจำเลยได้รับสำเนาประวัติการตรวจรักษาของ ป. ซึ่งเป็นการทราบมูลอันจำเลยจะบอกล้างโมฆียกรรมได้ การที่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 20 มิถุนายน 2559 บอกล้างสัญญาประกันชีวิตทั้งสองฉบับไปยังโจทก์ และโจทก์ได้รับหนังสือบอกล้างดังกล่าววันที่ 26 มิถุนายน 2559 จึงพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียกรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฎีกาคดียาเสพติด: วันที่คดีถึงที่สุดคือวันที่ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษา
จำเลยที่ 4 ซึ่งต้องจำคุกอยู่ในเรือนจำยื่นฎีกาต่อพัศดีภายในกำหนดเวลาฎีกา หากส่งฎีกาไปถึงศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาฎีกาแล้ว ให้ถือว่าเป็นฎีกาที่ได้ยื่นภายในกำหนดเวลา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 199 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 บทบัญญัติดังกล่าว สามารถใช้แก่การถอนฎีกาต่อพัศดีด้วยเช่นกัน การที่จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกาผ่านเรือนจำกลางคลองไผ่เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ก่อนที่ศาลจังหวัดสีคิ้วอ่านคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 ฎีกา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 และเรือนจำกลางคลองไผ่รับคำร้องขอถอนฎีกาของจำเลยที่ 4 แล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอถอนฎีกาของจำเลยที่ 4 ไว้พิจารณา เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 หลังจากที่ศาลจังหวัดสีคิ้วอ่านคำสั่งศาลฎีกาที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 ฎีกาแล้วก็ตาม กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา ก่อนที่คำสั่งศาลฎีกาที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 ฎีกามีผล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 ถอนฎีกา ย่อมมีผลลบล้างการยื่นฎีกาและขออนุญาตฎีกาของจำเลยที่ 4 คดีของจำเลยที่ 4 จึงถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งเป็นวันที่ศาลจังหวัดสีคิ้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 4 ฟัง ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง มิใช่ถึงที่สุดวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา