พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3710/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น และยืนตามคำพิพากษาเดิมในคดีพยายามฆ่า
การวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ต้องวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและมิได้ยกข้อเท็จจริงตามฎีกาขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นว่า ผู้เสียหายทะเลาะวิวาทกับจำเลยมาก่อนแล้วผู้เสียหายมารอจำเลยที่บ้านของบิดาจำเลยโดยพร้อมที่จะทะเลาะวิวาทกับจำเลย จำเลยจึงเกิดโทสะเข้าชกต่อยผู้เสียหายแล้วจำเลยพลั้งมือหยิบอาวุธมีดขนาดเล็กเหวี่ยงไปทางผู้เสียหาย จำเลยก็ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานใดให้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว อีกทั้งทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมอันจะเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิพากษาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเท็จเกี่ยวกับการตรวจสอบมาตรฐานข้าวสาร ผู้ประกอบการมีส่วนรับผิด
ผู้ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 ต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลและต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเท่านั้น ซึ่งในการประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องว่าจ้างผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมากระทำการแทน ทั้งผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจึงเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามมาตรา 269 แห่ง ป.อ. หากผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จหรือจงใจกระทำการใด ๆ ให้การตรวจสอบมาตรฐานสินค้าผิดไปจากความเป็นจริง ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลต้องรับผิดในการกระทำของผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าดังกล่าวเสมือนหนึ่งได้กระทำด้วยตนเอง เพราะบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นบัญญัติให้ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งมีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นพนักงานของตน และต้องรับผิดเมื่อมีการรับรองมาตรฐานสินค้าอันเป็นเท็จหรือผิดไปจากความเป็นจริงโดยเฉพาะ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัท ด. ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ให้ตรวจสอบข้าวสารที่จะนำเข้าเก็บในคลังสินค้าให้ได้ข้าวสารที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 หากข้าวสารที่จำเลยที่ 1 ตรวจสอบแล้วเป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวก็อนุญาตให้นำข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัท ด. จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้นาย ช. ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตรวจสอบข้าวสารที่โรงสีข้าวนำมาส่งให้ได้ข้าวสารที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ เพื่อนำเข้าเก็บในคลังสินค้า แต่ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวของสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปรากฏว่า ข้าวสารไม่ถูกต้องตามมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ดังนั้น การที่นาย ช. ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานสินค้ากระทำการแทนในนามจำเลยที่ 1 ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวโดยทำคำรับรองอันเป็นเท็จและตรวจสอบข้าวให้ผิดไปจากความเป็นจริง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและเป็นผู้มอบหมายให้นาย ช. ทำการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวดังกล่าวแทนเป็นผู้ทำคำรับรองการตรวจสอบข้าวเป็นเอกสารอันเป็นเท็จและทำให้ผิดจากความเป็นจริงแล้ว โดยการที่นาย ช. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าในผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเพิ่งเห็นผลการวิเคราะห์คุณภาพข้าวของนาย ช. หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้มีวิชาชีพในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า หรือจำเลยที่ 1 มอบหมายให้นาย ช. เป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าโดยจำเลยที่ 1 มิได้เกี่ยวข้องกับการทำคำรับรองเป็นเอกสารดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 1 โดยนาย ช. ใช้หรืออ้างคำรับรองไปตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับมอบข้าวสารที่นาย ช. ตรวจสอบจึงเป็นการใช้หรืออ้างคำรับรองอันเป็นเท็จโดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 57 เพราะการตรวจสอบมาตรฐานของข้าวสารในคดีนี้เป็นการตรวจสอบเพื่อนำข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้า ไม่ใช่กรณีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเพื่อขอออกใบรับรองมาตรฐานสินค้านำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากรก่อนส่งสินค้าออกนอกประเทศตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 17
แม้จำเลยที่ 1 มีความผิดเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และขอให้ลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงกรรมเดียว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์ฎีกาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการกระทำความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานตัวการในความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 คงลงโทษในฐานผู้สนับสนุนการกระทำความผิด เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 269 วรรคสอง จึงต้องลงโทษตามมาตรา 269 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามที่โจทก์ฎีกา
ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบพยานให้ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับการทำคำรับรองมาตรฐานสินค้าอันเป็นเท็จหรือผิดไปจากความเป็นจริงที่โจทก์นำมาฟ้องอย่างไร และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่ในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามกฎหมายที่ต้องรับผิดในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าของพนักงานของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จได้
แม้จำเลยที่ 1 มีความผิดเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และขอให้ลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงกรรมเดียว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์ฎีกาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการกระทำความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานตัวการในความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 คงลงโทษในฐานผู้สนับสนุนการกระทำความผิด เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 269 วรรคสอง จึงต้องลงโทษตามมาตรา 269 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามที่โจทก์ฎีกา
ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบพยานให้ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับการทำคำรับรองมาตรฐานสินค้าอันเป็นเท็จหรือผิดไปจากความเป็นจริงที่โจทก์นำมาฟ้องอย่างไร และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่ในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามกฎหมายที่ต้องรับผิดในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าของพนักงานของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ขนส่งผู้ลักลอบเข้าเมือง ต้องพิจารณาว่าใช้เพื่อหลบหนีหรือหลีกเลี่ยงการจับกุมโดยตรงหรือไม่
จำเลยทั้งหกใช้รถยนต์ของกลาง 4 คัน พาคนต่างด้าว 47 คน ที่ลักลอบเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยไปส่งยังจุดหมายปลายทางที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จึงเป็นการใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะให้คนต่างด้าวนั่งโดยสารมาในรถด้วยเท่านั้น มิได้เป็นการใช้รถยนต์ของกลางเพื่อพาคนต่างด้าวหลบหนีให้พ้นจากการจับกุม หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจตามฟ้องของโจทก์โดยตรง รถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยทั้งหกได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีแม้คำขออาจไม่ถูกต้องสมบูรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแก่จำเลยทั้งสี่ได้ ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560 โจทก์ยื่นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีทั้งเป็นศาลที่มีอำนาจในการออกหมายบังคับคดีรวมตลอดถึงมีอำนาจในการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดหรือทำคำสั่งในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี ต่อมาศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 ตามหมายบังคับคดีมีรายละเอียดเกี่ยวกับคำพิพากษาซึ่งจะขอให้มีการบังคับคดี จำนวนที่ยังไม่ได้รับชำระตามคำพิพากษาและวิธีการบังคับคดีซึ่งขอให้ออกหมายนั้น รวมตลอดถึงหมายเลขคดี ชื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี และชื่อคู่ความทั้งหมดถูกต้องครบถ้วนตรงตามสำนวนคดีนี้ จึงเชื่อว่าศาลชั้นต้นได้ตรวจสอบคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์ และได้ออกหมายบังคับคดีโดยถูกต้องแล้ว ส่วนที่ผู้คัดค้านทั้งสามอ้างว่าคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่ใช่คำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีในสำนวนคดีนี้นั้น สำเนาคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเอกสาร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นในสำนวนคดีนี้ ทั้งหากจะฟังว่าโจทก์ยื่นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีผิดพลาดไป ก็พอเข้าใจเจตนาของโจทก์ได้ว่า โจทก์ประสงค์ที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในสำนวนคดีนี้ มิใช่ประสงค์ที่จะบังคับคดีเอาแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นจำเลยในสำนวนคดีอื่น การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ในกรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นใช้อำนาจออกหมายบังคับคดีตามข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแล้ว โดย ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่งตอนท้ายบัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควรได้ โดยไม่จำต้องสั่งยกคำขอหรือให้โจทก์แก้ไขคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเสียก่อน ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีชอบแล้ว ไม่มีเหตุต้องเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อขอเปลี่ยนบัตรประชาชน โดยผู้มีสัญชาติไทย ศาลแก้ไขบทลงโทษตามกฎหมายที่ถูกต้อง
จำเลยได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย ฉะนั้นในวันที่ 29 มกราคม 2557 และวันที่ 20 มีนาคม 2561 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน จำเลยจึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2512 ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนกรณีบัตรชำรุดโดยแจ้งข้อมูลว่าจำเลยเกิดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2511 สัญชาติไทย พร้อมเลขประจำตัวประชาชนของ จ. แม้ที่จำเลยแจ้งว่ามีสัญชาติไทยไม่เป็นความเท็จ แต่การที่จำเลยแจ้งว่าเกิดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2511 นั้น เป็นความเท็จเพราะจำเลยเกิดวันที่ 1 มกราคม 2512 และจำเลยยังใช้เลขประจำตัวประชาชนของ จ. โดยอ้างว่าจำเลยชื่อ จ. เป็นบุตร ย. และ ส. ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตาม ป.อ. มาตรา 137 ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตาม ป.อ. มาตรา 267 และฐานแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนกรณีบัตรชำรุด ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 (2) วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้พิพากษาแก้โทษจำคุกและยืนยันความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และข่มขืนกระทำชำเรา
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและคงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลฎีกาเพื่อให้รับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริงนี้ไว้พิจารณา แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาจำเลยดังกล่าวเสียเองจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามฎีกาและมีคำสั่งตามคำร้องขอรับรองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่าส่งศาลฎีกานั้นเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเสียและมีคำสั่งเสียใหม่ให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่ง
แม้คำร้องของจำเลยในทำนองว่าฎีกาของจำเลยมีข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาอันสำคัญอันควรแก่การพิจารณาก็ตาม ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจแก่ศาลฎีกาที่จะก้าวล่วงมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ดังนั้นศาลฎีกาจึงไม่รับฎีกาของจำเลยที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้พิจารณา
แม้คำร้องของจำเลยในทำนองว่าฎีกาของจำเลยมีข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาอันสำคัญอันควรแก่การพิจารณาก็ตาม ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจแก่ศาลฎีกาที่จะก้าวล่วงมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ดังนั้นศาลฎีกาจึงไม่รับฎีกาของจำเลยที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเอกสารสำคัญ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น สัญญาขายฝากมีผลผูกพัน
โจทก์เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทอันเป็นเอกสารสำคัญไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงาน ซึ่งอยู่ภายในบ้านชั้นล่างโดยไม่ได้ล็อกกุญแจ ย่อมง่ายต่อการเปิดโอกาสให้บุคคลที่มาใช้บริการร้านเสริมสวยของ บ. และ บ. หยิบฉวยโฉนดที่ดินพิพาทไปได้โดยง่าย ถือเป็นการเก็บโฉนดที่ดินพิพาทไว้ในที่ไม่ปลอดภัย อันเป็นการไม่ใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาอย่างวิญญูชนพึงกระทำ การที่ บ. ลักโฉนดที่ดินพิพาทของโจทก์ไปทำการปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจแล้วนำโฉนดที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนขายฝากแก่จำเลย ถือว่าเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์โดยตรง เมื่อจำเลยมิได้ล่วงรู้ว่า บ. ลักโฉนดที่ดินพิพาทของโจทก์ไปทำการปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจแล้วนำโฉนดที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนขายฝากแก่จำเลย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เมื่อต่างฝ่ายต่างอ้างความสุจริต ฝ่ายที่ประมาทเลินเล่อย่อมเสียเปรียบและต้องรับผลต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่อาจยกเอาความประมาทของตนมาเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อจำเลยได้ สัญญาขายฝากดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนบัตรปลอมกับฉ้อโกง: ความผิดต่างกรรมกัน
การสับเปลี่ยนธนบัตรฉบับจริงของผู้เสียหายทั้งสี่และได้ไปซึ่งธนบัตรฉบับจริงของผู้เสียหายทั้งสี่ตามที่จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสี่เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง แต่การที่จำเลยกับพวกร่วมกันมีธนบัตรปลอมไว้แล้วนำออกใช้สับเปลี่ยนกับธนบัตรฉบับจริงของผู้เสียหายทั้งสี่เป็นการมีไว้เพื่อนำออกใช้ตามความใน ป.อ. มาตรา 244 ประกอบมาตรา 247 เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการรับธนบัตรนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นธนบัตรปลอม ไม่ใช่เมื่อมีการนำออกใช้ การกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จำเลยกับพวกย่อมมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกันและสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรของรัฐบาลต่างประเทศปลอม ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและพรากผู้เยาว์: การพิจารณาความต่อเนื่องของการกระทำความผิด
จำเลยรับผู้เสียหายที่ 1 มาที่บ้านของจำเลยเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 19 นาฬิกา แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 แม้เวลา 24 นาฬิกา ผู้เสียหายที่ 1 ออกไปค้างคืนที่บ้านของ น. แต่ก็กลับมาที่บ้านของจำเลยอีกในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 6 นาฬิกา แล้วจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 อีก อันเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจารเช่นเดิม จนเวลา 13 นาฬิกา จำเลยจึงพาผู้เสียหายที่ 1 ไปส่งที่บ้านของ ส. โดยตั้งแต่จำเลยรับผู้เสียหายที่ 1 มาจนพากลับไปส่งดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ยังไม่ได้กลับบ้านไปหาผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 1 กลับมาที่บ้านของจำเลยในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 จึงไม่เป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากการดูแลของผู้เสียหายที่ 2 อีกเป็นครั้งที่สอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3986/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ แม้จะถูกล่อซื้อน้ำยาเคมีล้างกระดาษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษจำคุก
ธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมอยู่ในความครอบครองของจำเลยมาแต่แรก เจ้าพนักงานตำรวจค้นพบของกลางทั้งหมดภายในบ้านจำเลย หาได้กระทำการใดอันเป็นการก่อให้จำเลยจัดหามาไว้ในความครอบครองของตนซึ่งธนบัตรปลอมดังกล่าว การล่อซื้อน้ำยาเคมีล้างกระดาษให้กลายเป็นธนบัตรดอลลาร์สหรัฐของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นเพียงการแสวงหาพยานหลักฐานมาเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยเท่านั้น มิใช่จำเลยขาดเจตนากระทำความผิดมาแต่แรกแล้วเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำความผิดอันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย การสอบสวนชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยเก็บธนบัตรปลอมไว้ในบ้านจำนวนมากลักษณะที่พร้อมจะนำออกมาใช้เองหรือมอบต่อให้ผู้อื่นใช้ดังเช่นธนบัตรจริง กับนำออกแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ล่อซื้อเพื่อให้หลงเชื่อหรือสนใจซื้อน้ำยาเคมีจากจำเลยด้วย ถือเป็นการมีธนบัตรปลอมไว้ในครอบครองเพื่อนำออกใช้แล้ว
จำเลยเก็บธนบัตรปลอมไว้ในบ้านจำนวนมากลักษณะที่พร้อมจะนำออกมาใช้เองหรือมอบต่อให้ผู้อื่นใช้ดังเช่นธนบัตรจริง กับนำออกแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ล่อซื้อเพื่อให้หลงเชื่อหรือสนใจซื้อน้ำยาเคมีจากจำเลยด้วย ถือเป็นการมีธนบัตรปลอมไว้ในครอบครองเพื่อนำออกใช้แล้ว