พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทำสัญญาผ่อนชำระแทนเจ้าของกิจการ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกหนี้เอง
โจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการ ฟ. โดยโจทก์เป็นผู้พิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่จำเลยด้วยการให้จำเลยผ่อนชำระค่าศัลยกรรมซึ่งโจทก์ทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการสนับสนุนเงินทุนเพื่อทำศัลยกรรมกับ ซ. โดย ซ. เบิกความสนับสนุนว่ามีการทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์กันไว้จริงตามเอกสารหมาย จ.11 อันเป็นการนำสืบพยานหลักฐานในทำนองว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนร่วมกันประกอบกิจการในโครงการ ฟ. แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏตามคำเบิกความของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ. 4426/2563 ของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่าร่วมกับพวกกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยในคดีดังกล่าวโจทก์เบิกความว่า โจทก์ทำงานในโครงการ ฟ. ในฐานะเป็นลูกจ้าง ซึ่งตรงกับที่โจทก์เบิกความในคดีอื่น ๆ อีกหลายคดีที่ระบุว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของโครงการ ฟ. ได้รับเงินเดือนโดยเป็นผู้อำนวยการโครงการ มีหน้าที่จัดทำเว็บไซต์ของโครงการและทำหน้าที่ด้านการเงินเท่านั้น ซึ่งคำเบิกความของโจทก์และผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันโจทก์ว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างในโครงการ ฟ. โดยทำหน้าที่ในด้านการเงินและเป็นผู้เปิดบัญชีรับโอนเงินกับรับทำสัญญาผ่อนชำระหนี้ในโครงการดังกล่าวแทน ซ. เท่านั้น โจทก์เพิ่งยกหนังสือสัญญาแบ่งผลประโยชน์เป็นหลักฐานในคดีนี้ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวขัดกับคำให้การและคำเบิกความในคดีก่อนโดยโจทก์ไม่ได้นำสืบเอกสารดังกล่าวต่อศาล เชื่อว่าเอกสารหมาย จ.11 มีการจัดทำขึ้นในภายหลังเพื่อผลประโยชน์ในคดีที่เรียกร้องเงินตามสัญญาผ่อนชำระหนี้จากลูกหนี้ในโครงการเท่านั้น อีกทั้งโจทก์ยังเบิกความว่าโจทก์ได้รับมอบอำนาจจาก ซ. ให้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ. 12 อันเป็นข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับเอกสารหมาย จ.11 จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวได้
คดีหมายเลขแดง ที่ ผบ. 4426/2563 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าการกระทำของโจทก์กับพวกซึ่งเป็นจำเลยในคดีไม่เป็นการทำละเมิด โดยไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นลูกจ้างหรือเป็นหุ้นส่วนกับ ซ. อันเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้หรือไม่ ผลของคำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์และจำเลยในคดีนี้ และจำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่าโจทก์เบิกความเท็จต่อศาลในคดีดังกล่าวว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างไม่มีส่วนได้เสียในโครงการ ฟ. และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ อันเป็นการยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ในคดีนี้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างในโครงการ ฟ. การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาการผ่อนชำระเงินค่าทำศัลยกรรมและค่าตอบแทน จึงเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของ ซ. เท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่ได้ระบุว่ากระทำในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจาก ซ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาที่แท้จริง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้
คดีหมายเลขแดง ที่ ผบ. 4426/2563 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าการกระทำของโจทก์กับพวกซึ่งเป็นจำเลยในคดีไม่เป็นการทำละเมิด โดยไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นลูกจ้างหรือเป็นหุ้นส่วนกับ ซ. อันเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้หรือไม่ ผลของคำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์และจำเลยในคดีนี้ และจำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่าโจทก์เบิกความเท็จต่อศาลในคดีดังกล่าวว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างไม่มีส่วนได้เสียในโครงการ ฟ. และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ อันเป็นการยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ในคดีนี้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างในโครงการ ฟ. การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาการผ่อนชำระเงินค่าทำศัลยกรรมและค่าตอบแทน จึงเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของ ซ. เท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่ได้ระบุว่ากระทำในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจาก ซ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาที่แท้จริง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาหลังจำเลยเสียชีวิต และการดำเนินคดีแพ่งต่อโดยบุคคลที่กฎหมายกำหนด
คดีนี้โจทก์มีคำขอให้จำเลยชดใช้เงินที่ยักยอกไปจากผู้ร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 จำเลยถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา อันส่งผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินที่โจทก์ขอมาด้วย คดีในส่วนแพ่งจึงต้องดำเนินการเพื่อให้บุคคลที่กฎหมายกำหนดเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินจัดสรรที่เป็นที่ดินสาธารณูปโภคเป็นโมฆะ ผู้ซื้อไม่สุจริตต้องคืนที่ดิน
จำเลยร่วมที่ 1 ได้โฆษณาหรือให้คำรับรองแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในโครงการว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะบนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในแผ่นพับโฆษณาและแผนผังโครงการ แม้จะมิได้มีการจดแจ้งให้ปรากฏในโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงก็ไม่ทำให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไม่เป็นที่ดินสำหรับสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะโดยเปลี่ยนเป็นที่ดินสำหรับจัดสรรเพื่อขายไปได้ โดยถือว่าข้อความในแผ่นพับโฆษณาและแผนผังโครงการเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 และถือว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงรวมทั้งสระว่ายน้ำและสวนหย่อมที่ได้จัดทำขึ้นแล้วบนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65722 เป็นสาธารณูปโภคและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง
การที่ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะโดยพลการก็โดยวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยมีเงื่อนไข ข้อจำกัดทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ สำหรับการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไปยังบุคคลอื่นก็อาจทำให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายลักษณะเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขึ้นแล้ว ผู้จัดสรรที่ดินก็ต้องดำเนินการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) หรือหากไม่มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้จัดสรรที่ดินต้องเป็นผู้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน หรือผู้จัดสรรที่ดินต้องจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (2) หรือ (3) (เดิม) ประการหนึ่งประการใด ดังนี้ การที่ผู้จัดสรรที่ดินโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณะไปยังบุคคลอื่นจึงเป็นนิติกรรมที่ไม่อาจกระทำได้ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33
การซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65722 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 การขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าวระหว่างจำเลยร่วมที่ 2 กับโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65657 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดเพชรบุรี จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
จำเลยได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยชอบด้วย พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แล้วจำเลยร่วมที่ 1 ในฐานะผู้จัดสรรที่ดินจึงต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่จำเลยไปจัดการและดูแลบำรุงรักษาตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) โดยโจทก์ไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
การที่ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะโดยพลการก็โดยวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยมีเงื่อนไข ข้อจำกัดทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ สำหรับการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไปยังบุคคลอื่นก็อาจทำให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายลักษณะเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขึ้นแล้ว ผู้จัดสรรที่ดินก็ต้องดำเนินการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) หรือหากไม่มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้จัดสรรที่ดินต้องเป็นผู้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน หรือผู้จัดสรรที่ดินต้องจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (2) หรือ (3) (เดิม) ประการหนึ่งประการใด ดังนี้ การที่ผู้จัดสรรที่ดินโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณะไปยังบุคคลอื่นจึงเป็นนิติกรรมที่ไม่อาจกระทำได้ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33
การซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65722 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 การขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าวระหว่างจำเลยร่วมที่ 2 กับโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65657 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดเพชรบุรี จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
จำเลยได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยชอบด้วย พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แล้วจำเลยร่วมที่ 1 ในฐานะผู้จัดสรรที่ดินจึงต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่จำเลยไปจัดการและดูแลบำรุงรักษาตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) โดยโจทก์ไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4217/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สั่งจำคุก 19 ปี
โจทก์ร่วมอายุ 10 ปีเศษ ถูกจำเลยล่วงละเมิดทางเพศ มิได้ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องกระทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรม กรณีเป็นบิดาต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดาโจทก์ร่วมหย่าขาดกับมารดาโดยให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า บิดาโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และมาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมโดยบิดาโจทก์ร่วมขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตนั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ว่าจะยกฟ้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์หรือฎีกา และจำเลยเพิ่งฎีกาขึ้นมา และคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป การจะสั่งให้แก้ไขอำนาจฟ้องของโจทก์ร่วมให้ถูกต้องเสียก่อนในกรณีนี้จึงไม่จำเป็นเพราะไม่เกิดประโยชน์อย่างใด
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 2 ฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ซึ่งเป็นบิดา แต่ไม่รับคำร้องอีกฉบับของโจทก์ร่วมโดย พ. ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา ทั้งโจทก์ร่วมโดย พ. ยังเคยขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในคดีส่วนแพ่งด้วย ต้องถือว่า พ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม ได้ให้ความยินยอมตามคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ฉบับที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องแล้ว จึงไม่ต้องมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์ร่วมแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 2 ฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ซึ่งเป็นบิดา แต่ไม่รับคำร้องอีกฉบับของโจทก์ร่วมโดย พ. ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา ทั้งโจทก์ร่วมโดย พ. ยังเคยขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในคดีส่วนแพ่งด้วย ต้องถือว่า พ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม ได้ให้ความยินยอมตามคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ฉบับที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องแล้ว จึงไม่ต้องมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์ร่วมแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกประมาทเลินเล่อ ผู้รับจำนองสุจริตไม่ต้องรับผิด
ภายหลัง ท. ถึงแก่ความตาย ได้มีผู้ไถ่ถอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงซึ่งมีชื่อ ท. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และในการที่ บ. ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ก็ได้ระบุว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดก ดังนั้น โฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอยู่ในครอบครองของ บ. แล้ว ต่อมาที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมีการจดทะเบียนโอนขายแก่จำเลยที่ 1 โดยมีลายมือชื่อ ท. เป็นผู้มอบอำนาจและมี ส. ลงลายมือชื่อเป็นพยาน ซึ่ง บ. มิได้ดำเนินการจดทะเบียนโอนมาเป็นชื่อของตนในฐานะผู้จัดการมรดกเสียก่อน แต่กลับมีผู้นำหนังสือมอบอำนาจของ ท. ไปโอนขายแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีลายมือชื่อของ ส. เป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจของทั้งสองฝ่าย แม้ตามสัญญาซื้อขายระหว่าง ท. กับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่า บ. มีส่วนเกี่ยวข้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ แต่ ส. ย่อมมีหนังสือมอบอำนาจที่ ท. ลงลายมือชื่อไว้ล่วงหน้าโดยมีชื่อ ส. เป็นพยาน ดังนั้น ในการไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเชื่อได้ว่า ส. เป็นผู้ดำเนินการภายหลัง ท. ถึงแก่ความตายแล้ว จึงสามารถนำโฉนดที่ดินพิพาทมาคืนแก่ บ. ได้ การที่ บ. มอบโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้ ส. ไปดำเนินการโอนขายแก่จำเลยที่ 1 นับว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของ บ. หรืออาจเป็นเพราะ บ. ทราบจาก ส. ว่า การจดทะเบียนโอนที่ดินใส่ชื่อ บ. ในฐานะผู้จัดการมรดก แล้วจดทะเบียนขายต่อบุคคลภายนอกจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 2 ครั้ง พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้ บ. ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ท. ไม่อาจยกเอาความบกพร่องของตนมาใช้ยันแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งรับจำนองไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนให้รับความเสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้สืบสิทธิของ บ. และ ฮ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสัญญาจำนองและการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดเจ็บป่วยในสัญญาประกันชีวิต ทำให้สัญญามีโมฆียะ ผู้รับประกันมีสิทธิบอกล้างสัญญาได้
ในสัญญาประกันชีวิต การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลหนึ่งเป็นสำคัญ และมาตรา 865 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. บัญญัติว่า "...บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยการทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ" จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการเปิดเผยข้อเท็จจริงต่าง ๆ รวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพของผู้เอาประกันชีวิต เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันชีวิตซึ่งการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตน ที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ หาใช่หน้าที่ของจำเลยผู้รับประกันชีวิตที่จะต้องสืบหาประวัติการรักษาอาการเจ็บป่วยของผู้เอาประกันชีวิตไม่ การที่ผู้เอาประกันชีวิตระบุในใบคำขอเอาประกันภัยสินเชื่อกลุ่ม (แบบสั้น) ที่ถามชัดเจนว่าระหว่าง 6 เดือนที่ผ่านมาเคยให้แพทย์ตรวจหรือเข้าสถานพยาบาลทำการรักษาตัว ตรวจโลหิต ความดันโลหิตหรือไม่ แต่ผู้เอาประกันชีวิตกลับตอบว่า การตรวจสุขภาพประจำปีผลปกติ ทั้งที่ก่อนที่จะยื่นใบคำขอเอาประกันภัยสินเชื่อกลุ่ม (แบบสั้น) เพิ่งไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอาการป่วยด้วยโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง บ่งชี้ได้ว่า ผู้เอาประกันชีวิตจงใจปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพและอาการเจ็บป่วยดังกล่าวของตนที่เป็นข้อสาระสำคัญซึ่งหากจำเลยทราบก็จะไม่รับทำสัญญาประกันชีวิต การปกปิดข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นผลให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะตามบทกฎหมายข้างต้น เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาประกันชีวิตไปยังโจทก์ทั้งสองผู้รับประโยชน์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง โดยชอบแล้ว สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8887/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินผิดกฎหมาย การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยอายุความ
ย. ตกลงขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้พันเอก พ. เมื่อปี 2519 ต่อมาปี 2520 เมื่อมีการเดินสำรวจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เนื่องจากติดข้อกำหนดที่ห้ามมิให้ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นภายใน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่ง ป.ที่ดิน ย. และพันเอก พ. จึงทำสัญญาจำนองโดยไม่มีการกู้ยืมเงินจริง แต่ทำเพื่ออำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่ยังไม่อาจโอนสิทธิในที่ดินได้เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ สัญญาจำนองจึงเป็นนิติกรรมอำพราง ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 เมื่อสัญญาจำนองเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยได้
การทำสัญญาการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามกฎหมาย เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนั้น การที่ ย. ทำสัญญาการซื้อขายและมอบให้พันเอก พ. ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท พันเอก พ. ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นระยะเวลาห้ามโอนคือวันที่ 24 สิงหาคม 2530 พันเอก พ. และทายาทครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอย่างต่อเนื่องและเป็นผู้ชำระภาษีบำรุงท้องที่มาโดยตลอดตั้งแต่ พ.ศ.2528 ถึง พ.ศ.2559 โดยไม่ปรากฏว่า ย. หรือทายาทเข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ย. หรือทายาทได้สละการครอบครองที่พิพาทให้แก่พันเอก พ. แล้ว ย่อมถือว่าพันเอก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อแต่นั้นมา พันเอก พ. ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา
การทำสัญญาการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามกฎหมาย เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนั้น การที่ ย. ทำสัญญาการซื้อขายและมอบให้พันเอก พ. ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท พันเอก พ. ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นระยะเวลาห้ามโอนคือวันที่ 24 สิงหาคม 2530 พันเอก พ. และทายาทครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอย่างต่อเนื่องและเป็นผู้ชำระภาษีบำรุงท้องที่มาโดยตลอดตั้งแต่ พ.ศ.2528 ถึง พ.ศ.2559 โดยไม่ปรากฏว่า ย. หรือทายาทเข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ย. หรือทายาทได้สละการครอบครองที่พิพาทให้แก่พันเอก พ. แล้ว ย่อมถือว่าพันเอก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อแต่นั้นมา พันเอก พ. ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์เมื่อไม่มีการขาย: ความรับผิดชอบของผู้ขออายัดจากการตรวจสอบทรัพย์สินที่ไม่ถูกต้อง
ค่าธรรมเนียมเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เป็นค่าบริการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บจากคู่ความที่มาขอใช้บริการการยึดทรัพย์จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วแต่ต่อมาไม่มีการขายทรัพย์ที่ยึดนั้น
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมส่งโฉนดที่ดิน ภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้าง และเอกสารประกอบ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์กล่าวอ้างจึงทำการยึดให้แล้วประเมินราคาทรัพย์ที่ยึด แจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดินและจำเลยทั้งสองทราบ ปิดประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ การยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงมีค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์หลงผิดในส่วนภาพถ่ายของที่ดินที่นำยึด ความจริงแล้วที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินว่างเปล่าไม่ปรากฏสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขให้ถูกต้อง เท่ากับโจทก์ประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างตามภาพถ่าย กรณีจึงเป็นการขอถอนการยึดทรัพย์ที่มีอยู่จริง จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 หมายเลข 3 ท้าย ป.วิ.พ.
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมส่งโฉนดที่ดิน ภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้าง และเอกสารประกอบ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์กล่าวอ้างจึงทำการยึดให้แล้วประเมินราคาทรัพย์ที่ยึด แจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดินและจำเลยทั้งสองทราบ ปิดประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ การยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงมีค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์หลงผิดในส่วนภาพถ่ายของที่ดินที่นำยึด ความจริงแล้วที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินว่างเปล่าไม่ปรากฏสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขให้ถูกต้อง เท่ากับโจทก์ประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างตามภาพถ่าย กรณีจึงเป็นการขอถอนการยึดทรัพย์ที่มีอยู่จริง จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 หมายเลข 3 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7301/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมคบกันพยายามครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: การกระทำที่เป็นขบวนการและบทลงโทษ
การที่จำเลยที่ 2 ร่วมเดินทางไปกับจำเลยที่ 1 โดยเป็นคนขับรถยนต์ให้จำเลยที่ 1 และไปจอดรถยนต์เพื่อรอรับกัญชาของกลางจาก ว. เป็นจำนวนถึง 7.95 กิโลกรัม ในบริเวณที่จำเลยที่ 1 นัดหมายกับ ว. ทางโทรศัพท์ในระหว่างการเดินทาง ตามพฤติการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 โดยช่วยทำหน้าที่ขับรถยนต์พาจำเลยที่ 1 ไปรับกัญชาที่สั่งซื้อจาก ว. อันเป็นการกระทำที่เป็นขบวนการโดยแบ่งหน้าที่กันทำ ถือเป็นการร่วมคบคิดกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสมคบกับจำเลยที่ 1 และ ว. เพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่ายผู้ซื้อยังไม่ได้รับมอบกัญชาจาก ว. ฝ่ายผู้ขาย จำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นตัวการร่วมกับ ว. ครอบครองกัญชาของกลาง เพราะจำเลยทั้งสองฝ่ายผู้ซื้อไม่อาจครอบครองกัญชาของกลางร่วมกับ ว. ฝ่ายผู้ขายได้ในขณะเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันมีกัญชาของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเมื่อการซื้อขายกัญชาของกลางไม่สำเร็จ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานสมคบโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคสอง แต่การที่จำเลยทั้งสองไปรอรับกัญชาของกลางจาก ว. ที่จุดนัดหมายถือเป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จเข้าขั้นลงมือกระทำความผิดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามมีกัญชาของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ก็เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 และศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8570/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ศาลยืนตามพินัยกรรมเดิม
ปัญหาตามฎีกาของผู้คัดค้านทั้งสี่ที่ว่า ผู้ร้องรื้อบ้านให้เช่าของผู้ตายแล้วเอาบ้านไม้ไปโดยทุจริต ทำให้กองมรดกได้รับความเสียหายนั้น ผู้คัดค้านทั้งสี่ไม่ได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าว ส่วนฎีกาที่ว่าผู้ร้องรื้อบ้านของผู้ตายและนำเงินที่ขายได้ไปใช้ส่วนตัวโดยพลการนั้น ผู้คัดค้านทั้งสี่นำสืบว่าผู้ร้องนำเงินจำนวนนี้ไปซ่อมแซมบ้านซึ่งผู้ตายพักอาศัย ฎีกาของผู้คัดค้านทั้งสี่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บุคคลที่ศาลจะตั้งเป็นผู้จัดการมรดก นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมอื่น ๆ ประกอบด้วย พยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งสี่ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าผู้ร้องไม่สมควรที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งมีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก การที่ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยไม่ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกฝ่ายเดียวจึงชอบแล้ว ส่วนปัญหาว่าสมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องหรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า นอกจากที่ดินที่ระบุหลักฐานโฉนดที่ดินในพินัยกรรมแล้ว ผู้ตายยังมีทรัพย์สินอื่นที่คู่ความไม่โต้แย้งกัน ซึ่งหากผู้ตายมีเจตนาจะยกทรัพย์สินดังกล่าวให้ด้วยแล้ว ก็น่าที่จะระบุไว้ในพินัยกรรมให้ชัดเจน นอกจากนี้ไม่ปรากฏข้อความที่ผู้ตายจะตัดทายาทอื่นไม่ให้รับมรดก จึงมีทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรม คดีนี้ผู้คัดค้านทั้งสี่ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ดังนั้น หากศาลเห็นว่าการตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกอีกผู้หนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังไม่ได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวน ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ตายโอนที่ดินให้ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 3 ก็อ้างว่าผู้ร้องใช้การฉ้อฉลแสดงเจตนาหลอกลวงให้ผู้ตายโอนที่ดินให้ผู้ร้อง และร่วมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนนิติกรรม ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าผู้ตายถูกจำเลยฉ้อฉลหลอกลวงและพิพากษายกฟ้อง คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ทำให้เชื่อว่าหากผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง การจัดการมรดกก็จะมีข้อขัดแย้งและเป็นอุปสรรคในการจัดการมรดกให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้คัดค้านที่ 3 จึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ที่ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวชอบแล้ว
บุคคลที่ศาลจะตั้งเป็นผู้จัดการมรดก นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมอื่น ๆ ประกอบด้วย พยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งสี่ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าผู้ร้องไม่สมควรที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งมีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก การที่ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยไม่ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกฝ่ายเดียวจึงชอบแล้ว ส่วนปัญหาว่าสมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องหรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า นอกจากที่ดินที่ระบุหลักฐานโฉนดที่ดินในพินัยกรรมแล้ว ผู้ตายยังมีทรัพย์สินอื่นที่คู่ความไม่โต้แย้งกัน ซึ่งหากผู้ตายมีเจตนาจะยกทรัพย์สินดังกล่าวให้ด้วยแล้ว ก็น่าที่จะระบุไว้ในพินัยกรรมให้ชัดเจน นอกจากนี้ไม่ปรากฏข้อความที่ผู้ตายจะตัดทายาทอื่นไม่ให้รับมรดก จึงมีทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรม คดีนี้ผู้คัดค้านทั้งสี่ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ดังนั้น หากศาลเห็นว่าการตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกอีกผู้หนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังไม่ได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวน ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ตายโอนที่ดินให้ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 3 ก็อ้างว่าผู้ร้องใช้การฉ้อฉลแสดงเจตนาหลอกลวงให้ผู้ตายโอนที่ดินให้ผู้ร้อง และร่วมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนนิติกรรม ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าผู้ตายถูกจำเลยฉ้อฉลหลอกลวงและพิพากษายกฟ้อง คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ทำให้เชื่อว่าหากผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง การจัดการมรดกก็จะมีข้อขัดแย้งและเป็นอุปสรรคในการจัดการมรดกให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้คัดค้านที่ 3 จึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ที่ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวชอบแล้ว