พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์และการบังคับคดี ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อน
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยซึ่งรวมทั้งที่พิพาทด้วย ผู้ร้องยื่นคำร้องที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่พิพาทตั้งแต่วันซื้อขาย โดยสงบเปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้าง ผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 การที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของกรมสิทธิ์ที่พิพาทแต่ผู้เดียว เป็นแต่เพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า ผู้มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และโจทก์ผู้นำยึดทรัพย์ไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 ศาลชั้นต้นควรที่จะฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความเสียก่อน ไม่ชอบที่จะสั่งงดสืบพยานผู้ร้องและโจทก์แล้วพิพากษายกคำร้อง (อ้างฎีกาที่ 456-458/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างแม้ผู้โดยสารไม่มีค่าโดยสาร และความรับผิดต่อทรัพย์สินที่สูญหาย
คนขับรถใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถแทนคนขับมีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้รถคว่ำและบุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย คนขับจะต้องรับผิดในการละเมิดที่เกิดขึ้น เหตุที่เกิดการละเมิดนี้อยู่ในกรอบกิจการที่จ้าง นายจ้างจะต้องร่วมรับผิดด้วยแม้คนตายจะโดยสารรถโดยไม่ได้ชำระค่าโดยสาร ก็ไม่เป็นเหตุให้นายจ้างพ้นความรับผิด เมื่อทรัพย์สินของผู้ตายสูญหายไปซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการที่ลูกจ้างทำละเมิดนายจ้างจะต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การไม่นำสืบประเด็นอายุความถือว่าขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินอันเกิดแต่มูลละเมิดจากจำเลย เมื่อพ้นปีหนึ่ง โดยอ้างว่าเพิ่งรู้ตัวจำเลยว่าจะต้องรับผิดและจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความนั้น เป็นหน้าที่โ่จทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของตนไม่ขาดอายุความ หากไม่สืบก็ต้องถือว่าขาดอายุความแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151-1152/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านการโอนได้ในชั้นบังคับคดีโดยไม่ต้องฟ้องเพิกถอน
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโอนทรัพย์สินให้ผู้อื่นโดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ นั้น เป็นการพิจารณาชั้นบังคับคดี เจตนารมย์ของการบังคับคดี ยอมให้ว่ากล่าวกัน ได้ภายหลังการยึดทรัพย์แล้ว ศาลจึงมีอำนาจชี้ขาดตามความในมาตรา 237 ได้ โดยมิพักต้องให้เจ้าหนี้ไป ฟ้องดำเนินคดี ฟ้องร้องขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลเสียก่อน แต่ประการใด (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการไฟฟ้า: การผูกพันตามสัมปทานและการเรียกเก็บเงินประกันที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ได่รับสัมปทานตั้งโรงทำการจำหน่ายไฟฟ้านั้นถือได้ว่าได้ทำคำเสนอแสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าจะรับจำหน่างไฟฟ้าให้แก่ประชาชาชนในเขตสัมปทาน เมื่อมีผู้ขอให้ไฟฟ้าโดยยอมรับปฏิบัติตามสัมปทานแล้วก็ถือได้ว่าได้มีการสนองรับคำเสนอก่อให้เกิดสัญญาผูกพันกันขึ้นตามข้อที่กำหนดไว้ในสัมปทาน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเรียกร้องตั้งข้อกำหนดนอกเหนือไปจากสัมปทานอีกไม่ได้และบอกเลิกสัญญาโดยลำพังตาม ป.พ.พ.ม. 386 ก็ไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2498)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืนไม่มีทะเบียน: ศาลไม่คืนของกลางและไม่ริบ เนื่องจากฟ้องไม่ได้ขอริบและเป็นของผิดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในความครอบครอง และขอให้ศาลสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของ ศาลจะสั่งคืนตามคำขอไม่ได้ เพราะปืนของกลางไม่มีทะเบียน ใครครอบครองย่อมมีความผิด การสั่งคืนแก่เจ้าของย่อมเป็นการขัดต่อกฎหมายในตัวและศาลจะสั่งริบก็มิได้ เพราะโจทก์มิได้ขอไว้เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้อนเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน ศาลต้องรอฟังผลคดีเดิมก่อนเพื่อความชัดเจนในอำนาจฟ้อง
อัยการเป็นโจทก์ฟ้องนางจีนร่วมกับจำเลยแทนผู้เยาว์ ในคดีดำที่ 99/2494 แล้ว ต่อมานายสมจิตบิดาผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องฉะเพาะจำเลยแทนผู้เยาว์อีกคดีหนึ่งทั้งทรัพย์พิพาทและพยานหลักฐานก็อย่างเดียวกัน แต่อ้างว่าอัยการไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์ ในคดีดำที่ 99/2494 มีอำนาจฟ้องเฉพาะนางจีนผู้บุพการีของผู้เยาว์เท่านั้น ดังนี้การชี้ขาดตัดสินคดีเรื่องนี้จำต้องรอฟัง คำชี้ขาดตัดสินในคดีดำที่ 99/2494 นั้นก่อนตาม ป.วิ.แพ่ง ม.39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696-698/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิที่ดินจากตราจอง: การครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องและการกลับเป็นที่ว่างเปล่า
ที่ดินมีตราจองก่อน พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 6) พ.ศ. 2479 นั้น แม้เจ้าพนักงานจะได้ตราไว้ว่า "ได้ทำประ โชน์แล้ว" หรือตราไว้ว่า "ทำประโชน์สมควรแก่เนื้อที่" แล้วศาลฎีกาก็เห็นว่า ตราจองชะนีดนี้ถ้าผู้ถือตราจองได้ ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตลอดมาโดยมิได้ละทิ้งจนถึงวันประกาศใช้ พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 6) พ.ศ. 2479 แล้ว มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงรับรองว่า ผู้ถือตราจองมีกรรมสิทธิที่ดินตามตราจองนั้น.
ฉะนั้นเมื่อก่อนออก พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 6) พ.ศ. 2479 เจ้าของที่ดินตามตราจอง แม้ที่ตราไว้ว่า " ได้ทำ ประโยชน์แล้ว" ก็ตาม ถ้าได้ทอดทิ้งไม่ทำให้เป็นประโยชน์เกิน 3 ปีแล้ว ที่ดินนั้นก็กลับเป็นที่ว่างเปล่าตามเดิม และ แม้จะโอนให้ใคร ๆต่อไป จะเป็นการโอนทางทะเบียนหรือไม่ก็ดี ผู้รับโอนก็ย่อมไม่ได้สิทธิอะไรในที่ดินนั้น
ฉะนั้นเมื่อก่อนออก พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 6) พ.ศ. 2479 เจ้าของที่ดินตามตราจอง แม้ที่ตราไว้ว่า " ได้ทำ ประโยชน์แล้ว" ก็ตาม ถ้าได้ทอดทิ้งไม่ทำให้เป็นประโยชน์เกิน 3 ปีแล้ว ที่ดินนั้นก็กลับเป็นที่ว่างเปล่าตามเดิม และ แม้จะโอนให้ใคร ๆต่อไป จะเป็นการโอนทางทะเบียนหรือไม่ก็ดี ผู้รับโอนก็ย่อมไม่ได้สิทธิอะไรในที่ดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าจากบาดแผลที่เกิดจากปืนที่ทำขึ้นเอง
การใช้ปืนที่ทำขึ้งเองยิงคนนั้น จะสันนิษฐานว่าปืนที่ทำขึ้นเองใช้ยิงคนให้ตายได้หรือไม่ ยังไม่ชอบ ต้องดูพฤติการณ์ทั่วไปๆไป ประกอบ เช่นลักษณะของปืน กระสุนและบาดแผล เป็นต้น.
ใช้ปืนที่ทำขึ้นเองยิงเขามีบาดแผล 3 แห่ง แผลที่ 1 ตรงเหนือข้อมือซ้ายกว้าง 5 ม.ม. ยาว 7 ม.ม. ลึกทะลุ, แผนที่ 2 ตรงชายโครงซ้าย กว้าง 3 ม.ม. ยาว 3 ม.ม. ลึก 3 ซ.ม. , แผลที่ 3 ตรงหน้าขาซ้าย กว้าง 1 ซ.ม. ยาว 1 ซ.ม. ลึก 6 ซ.ม.
ฐานแผลช้ำทั้ง 3 แผล ดังนี้ ตามลักษณะบาดแผลเช่นนี้ ถ้าถูกที่สำคัญอาจทำให้ถึงตายได้ จำเลยต้องมีความผิด
ฐานพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนา./
ใช้ปืนที่ทำขึ้นเองยิงเขามีบาดแผล 3 แห่ง แผลที่ 1 ตรงเหนือข้อมือซ้ายกว้าง 5 ม.ม. ยาว 7 ม.ม. ลึกทะลุ, แผนที่ 2 ตรงชายโครงซ้าย กว้าง 3 ม.ม. ยาว 3 ม.ม. ลึก 3 ซ.ม. , แผลที่ 3 ตรงหน้าขาซ้าย กว้าง 1 ซ.ม. ยาว 1 ซ.ม. ลึก 6 ซ.ม.
ฐานแผลช้ำทั้ง 3 แผล ดังนี้ ตามลักษณะบาดแผลเช่นนี้ ถ้าถูกที่สำคัญอาจทำให้ถึงตายได้ จำเลยต้องมีความผิด
ฐานพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนา./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355-361/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินยังไม่จดทะเบียน vs สิทธิบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริตและจดทะเบียน
ผู้ได้กรรมสิทธิที่ดินมาโดยการครอบครอง ยังมิได้จดทะเบียนจะยกสิทธินี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับบุคคลภายนอกซึ่งได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ทั้งได้จดทะเบียนสิทธิแล้ว หาได้ไม่
ขอประกาศรับมรดกที่ดินของผู้อื่น เมื่อได้มาแล้วก็ยกให้อีกคนหนึ่งคนที่ได้รับการยกให้ ได้เอาที่ดินนั้นไปจำนองไว้แก่บุคคลภายนอก ถ้าการจำนองนี้กระทำกันโดยสุจริต เจ้าของที่ดินก็ขอให้เพิกถอนการจำนองไม่ได้ คงเพิกถอนได้เฉพาะการรับมรดกและการโอนให้ เท่านั้น
ขอประกาศรับมรดกที่ดินของผู้อื่น เมื่อได้มาแล้วก็ยกให้อีกคนหนึ่งคนที่ได้รับการยกให้ ได้เอาที่ดินนั้นไปจำนองไว้แก่บุคคลภายนอก ถ้าการจำนองนี้กระทำกันโดยสุจริต เจ้าของที่ดินก็ขอให้เพิกถอนการจำนองไม่ได้ คงเพิกถอนได้เฉพาะการรับมรดกและการโอนให้ เท่านั้น