พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณวันคำพิพากษาถึงที่สุดเพื่อขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 ต้องยึดตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่ตามวันที่ศาลอนุญาตขยายเวลา
การร้องขอคืนของกลางตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 36 นั้น เจ้าของที่แท้จริงซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดย่อมมีสิทธิร้องขอคืนของกลางต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งคำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" นี้ ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง บัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งใดซึ่งอาจอุทธรณ์ฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้นั้น ถ้ามิได้อุทธรณ์ฎีกาหรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง..." ซึ่งก็คือ เมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 และมาตรา 216 ในกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฎีกาแล้วมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามที่ได้ขอขยายระยะเวลาไว้ วันคำพิพากษาถึงที่สุดย่อมต้องกลับไปใช้ระยะเวลา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดโดยกฎหมาย คือ เมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง คดีนี้เมื่อมีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ให้คู่ความความฟัง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 โจทก์และจำเลยทั้งสองใช้สิทธิฎีกาได้ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2564 ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้ขอขยายระยะเวลาฎีกา และมิได้ใช้สิทธิฎีกา ส่วนโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาและศาลชั้นต้นอนุญาตถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2564 แต่โจทก์มิได้ฎีกา คำพิพากษาย่อมถึงที่สุดในวันที่ 15 มีนาคม 2564 อันเป็นวันครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ให้คู่ความฟัง สิทธิของผู้ร้องที่จะขอคืนของกลางต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด จึงต้องนับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 มิใช่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 ดังที่ผู้ร้องอุทธรณ์ ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36 ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่คดียาเสพติดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และขยายผลถึงตัวการร่วม
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 3 ร่วมกับพวกมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดฐานจำหน่ายตาม ป.ยาเสพติด มีจำนวน 2,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 40.445 กรัม แม้ไม่ปรากฏพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อย่างชัดเจน แต่ปริมาณของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวย่อมบ่งชี้ได้ว่าหากไม่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดเป็นของกลางเสียก่อน จำเลยที่ 3 กับพวกต้องจำหน่าย จ่าย แจกเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไปยังกลุ่มผู้เสพหลายคน โดยสภาพย่อมถือเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงต้องด้วยมาตรา 145 วรรคสอง (2) ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 มากกว่ากฎหมายเดิม เมื่อโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดตามคำพิพากษาก่อนลดโทษหนักกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ศาลต้องกำหนดโทษให้จำเลยที่ 3 ใหม่ตามโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง
จำเลยที่ 3 ซึ่งกำลังรับโทษอยู่ร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ และศาลกำหนดโทษให้จำเลยที่ 3 ใหม่แล้ว เมื่อความปรากฏต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยังรับโทษอยู่ ศาลย่อมกำหนดโทษใหม่สำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ด้วยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) และ ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
จำเลยที่ 3 ซึ่งกำลังรับโทษอยู่ร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ และศาลกำหนดโทษให้จำเลยที่ 3 ใหม่แล้ว เมื่อความปรากฏต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยังรับโทษอยู่ ศาลย่อมกำหนดโทษใหม่สำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ด้วยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) และ ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่ และการพิจารณาโทษสำหรับความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
ป.วิ.อ มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี...(7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง" และมาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง" ซึ่งคำว่า "ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย..."นั้น หมายถึง กรณีที่ศาลตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้ว ปรากฏว่าคำฟ้องที่ยื่นนั้น โจทก์กระทำไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยเขตอำนาจศาลที่ยื่นฟ้องตามมาตรา 157 หรือกระทำไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 158 (1) ถึง (7) มาตรา 159 และมาตรา 160 หากผลการตรวจคำฟ้องปรากฏว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อตามฟ้องโจทก์ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์แล้ว แต่ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์อันเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ มาตรา 158 (7) ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ที่ศาลสามารถสั่งให้แก้ไขได้ การที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องโดยไม่มีลายมือชื่อโจทก์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ มาตรา 158 (7) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 และมิได้มีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในฟ้องให้ถูกต้องเสียก่อน จึงเป็นข้อผิดพลาดที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยจำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงประกอบอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนพบข้อผิดพลาดของโจทก์และศาลชั้นต้นดังกล่าว โดยศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้โดยมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ เช่นนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะให้ศาลชั้นต้นสั่งโจทก์แก้ไขฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้องได้ การที่ศาลอุทธรณ์ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเสร็จแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง และมาตรา 215 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการเป็นโจทก์และการตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลประโยชน์ขัดกัน
ความผิดฐานกระทำอนาจาร พยายามกระทำชำเรา และกระทำชำเรา ผู้เสียหายเท่านั้นเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดดังกล่าว มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย แต่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการแทนผู้เสียหาย แต่ขณะเกิดเหตุผู้คัดค้านและจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 1 คน จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลย แม้ภายหลังจะจดทะเบียนหย่ากัน แต่ยังคงมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน อีกทั้งโจทก์คัดค้านคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้คัดค้าน เพราะมีพฤติการณ์กระทำการเป็นปฏิปักษ์กับโจทก์ อาจทำให้คดีของโจทก์เสียหาย เชื่อได้ว่าผู้คัดค้านมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เสียหาย เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้แทนเฉพาะคดีเพราะเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้เสียหาย จึงทำให้ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายและไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการแทนผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักในที่ดินปฏิรูปฯ ไม่เป็นไม้หวงห้าม ฎีกาให้ยกฟ้องอาศัยกฎหมายใหม่
จำเลยกระทำความผิดเมื่อระหว่างวันที่ 10 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 14 มกราคม 2561 ต่อมาเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562 มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 7 ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตาม ป.ที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม" และระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิเพื่อให้ไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินดังกล่าวไม่เป็นไม้หวงห้าม พ.ศ. 2563 ข้อ 2 บัญญัติว่า "ให้ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประเภทหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามแบบ ส.ป.ก. 4-01 ส.ป.ก. 4-01 ก ส.ป.ก. 4-01 ข ส.ป.ก. 4-01 ค หรือ ส.ป.ก. 4-01 ช เป็นที่ดินซึ่งไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นไม้หวงห้าม
ความตามวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินดังกล่าวก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับด้วย"
ได้ความจากการไต่สวนพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นตามที่ศาลฎีกามีคำสั่งว่า ไม้สักตามฟ้องที่จำเลยทำไม้ และไม้สักที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้นเป็นไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์และจำเลยได้ปลูกไม้สักที่จำเลยเข้าไปทำไม้โดยการตัดเป็นท่อนและมีไว้ในครอบครอง การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับไม้สักดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เป็นความผิดฐานทำไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 อีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง และเมื่อฟังไม่ได้ว่าไม้สักของกลางเป็นไม้หวงห้าม จึงไม่อาจริบได้ ต้องคืนให้แก่เจ้าของ
ความตามวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินดังกล่าวก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับด้วย"
ได้ความจากการไต่สวนพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นตามที่ศาลฎีกามีคำสั่งว่า ไม้สักตามฟ้องที่จำเลยทำไม้ และไม้สักที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้นเป็นไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์และจำเลยได้ปลูกไม้สักที่จำเลยเข้าไปทำไม้โดยการตัดเป็นท่อนและมีไว้ในครอบครอง การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับไม้สักดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เป็นความผิดฐานทำไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 อีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง และเมื่อฟังไม่ได้ว่าไม้สักของกลางเป็นไม้หวงห้าม จึงไม่อาจริบได้ ต้องคืนให้แก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำซัดทอดร่วมกับพยานแวดล้อมเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดค้ายาเสพติด
คำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งให้การด้วยความสมัครใจและตามความสัตย์จริง โดยไม่มีเหตุจูงใจทั้งมีทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนและลงลายมือชื่อไว้ แม้ทนายความที่เข้าร่วมฟังการสอบสวนจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นคนละคนก็ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้สงสัยว่าไม่มีทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วย เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 กำหนดให้พนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาเท่านั้น กรณีการสอบสวนผู้ต้องหาหลายคนจึงไม่จำเป็นต้องมีทนายความคนเดียวกันเข้าร่วมฟังการสอบสวน คำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงรับฟังได้
แม้คำให้การชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่คำซัดทอดนั้นมิได้เป็นเรื่องปัดความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ให้เป็นความผิดของจำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียว คงเป็นการแจ้งเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ได้ประสบมาจากการกระทำความผิดของตนยิ่งกว่าเป็นการปรักปรำกลั่นแกล้งจำเลยที่ 3 ทั้งไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ 3 โดยจะรับฟังลงโทษจำเลยที่ 3 ได้ต่อเมื่อมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 เมื่อพยานพฤติเหตุแวดล้อมในคดีรับฟังประกอบคำซัดทอดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แล้ว ทำให้คำซัดทอดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ประกอบไปด้วยเหตุผลและรับฟังเป็นความจริงได้ ย่อมเป็นพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือในการพิสูจน์ความจริง
แม้คำให้การชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่คำซัดทอดนั้นมิได้เป็นเรื่องปัดความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ให้เป็นความผิดของจำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียว คงเป็นการแจ้งเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ได้ประสบมาจากการกระทำความผิดของตนยิ่งกว่าเป็นการปรักปรำกลั่นแกล้งจำเลยที่ 3 ทั้งไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ 3 โดยจะรับฟังลงโทษจำเลยที่ 3 ได้ต่อเมื่อมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 เมื่อพยานพฤติเหตุแวดล้อมในคดีรับฟังประกอบคำซัดทอดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แล้ว ทำให้คำซัดทอดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ประกอบไปด้วยเหตุผลและรับฟังเป็นความจริงได้ ย่อมเป็นพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือในการพิสูจน์ความจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดียาเสพติด: ต้องพิสูจน์ว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด หากพิสูจน์ไม่ได้ต้องคืนเจ้าของ
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 233/2554 ของศาลชั้นต้น แต่ น. ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ 2 และพิพากษาลงโทษ น. ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 เครื่อง และรถจักรยานยนต์ของกลาง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ คดีนี้จึงเป็นคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อ น. ในเรื่องซื้อขายเมทแอมเฟตามีนและให้ น. นำรถจักรยานยนต์ไปติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยและรถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ไม่อาจริบได้ แม้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์ดังกล่าวตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 233/2554 แต่เมื่อฟังไม่ได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้ จะต้องคืนแก่เจ้าของ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 และมีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9), 215 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่จดทะเบียน และผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้าง
ตามหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ระบุว่า จำเลยขายฝากเฉพาะที่ดินไม่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 252 ด้วย ซึ่งต้องแปลความว่าไม่รวมบ้านไม่มีเลขที่บ้านด้วย เพราะฉะนั้นการขายฝากสมบูรณ์เฉพาะที่ดินเท่านั้น แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์กับจำเลยตกลงขายฝากที่ดินพร้อมบ้าน 2 หลัง คือบ้านเลขที่ 252 กับบ้านที่ไม่มีเลขที่บ้านอีก 1 หลัง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งว่าจดทะเบียนขายฝากบ้าน 2 หลัง ดังกล่าวด้วยไม่ได้เพราะต้องประเมินราคาจึงจดทะเบียนขายฝากเฉพาะที่ดิน โจทก์กับจำเลยจึงได้ทำสัญญาซื้อขายบ้าน 2 หลัง เพิ่มเติมตามที่ตกลงกันตามหนังสือสัญญาซื้อขาย แต่สัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายประเภทหนึ่งจึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องซื้อขายมาใช้บังคับด้วย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ เมื่อการขายฝากบ้านทั้งสองหลังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ นอกจากนี้สัญญาขายฝากที่ดิน และสัญญาซื้อขาย ยังทำวันเดียวกันแสดงให้เห็นเจตนาโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาต้องการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 อีกด้วย ดังนั้นโจทก์ไม่อาจอ้างว่าบ้านทั้งสองหลังตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยหลักส่วนควบได้ โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านทั้งสองหลัง
คู่สัญญาไม่ได้ตกลงขายฝากบ้านเลขที่ 252 ด้วย บ้านหลังดังกล่าวยังเป็นของจำเลยโดยไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน และกรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1310 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่จำเลยปลูกบ้านเลขที่ 252 ในที่ดินของโจทก์ แม้ภายหลังขายฝากจำเลยจะได้ต่อเติมบ้านหลังดังกล่าวก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์อีกต่อไป จำเลยต้องรื้อบ้านหลังดังกล่าวออกจากที่ดินของโจทก์
ส่วนบ้านไม่มีเลขที่ ขณะทำสัญญาขายฝากที่ดินบ้านหลังไม่มีเลขที่บ้านยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง การที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยก่อสร้างบ้านหลังดังกล่าวในที่ดินที่ขายฝากต่อไปโดยโจทก์ไม่ได้ห้ามปราม จำเลยซึ่งเป็นผู้ปลูกสร้างย่อมเข้าใจว่าตนมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ต่อไปจนแล้วเสร็จเพราะเชื่อตามสัญญาขายฝากว่าตนมีสิทธิไถ่ที่ดินคืนได้ภายในกำหนดในสัญญา การปลูกสร้างบ้านไม่มีเลขที่บ้านของจำเลยจึงเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต แต่เมื่อทำสัญญาขายฝากแล้วจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ที่ดินที่ขายฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยเด็ดขาด กรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะใช้ปรับได้โดยตรง จึงต้องใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง อันได้แก่ ป.พ.พ. มาตรา 1310 วรรคหนึ่ง ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่จำเลยผู้สร้าง และการที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยปลูกสร้างบ้านต่อไปในที่ดินของโจทก์โดยมิได้ห้ามปรามถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการสร้างโรงเรือนของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้น และต้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มให้แก่จำเลย
คู่สัญญาไม่ได้ตกลงขายฝากบ้านเลขที่ 252 ด้วย บ้านหลังดังกล่าวยังเป็นของจำเลยโดยไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน และกรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1310 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่จำเลยปลูกบ้านเลขที่ 252 ในที่ดินของโจทก์ แม้ภายหลังขายฝากจำเลยจะได้ต่อเติมบ้านหลังดังกล่าวก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์อีกต่อไป จำเลยต้องรื้อบ้านหลังดังกล่าวออกจากที่ดินของโจทก์
ส่วนบ้านไม่มีเลขที่ ขณะทำสัญญาขายฝากที่ดินบ้านหลังไม่มีเลขที่บ้านยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง การที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยก่อสร้างบ้านหลังดังกล่าวในที่ดินที่ขายฝากต่อไปโดยโจทก์ไม่ได้ห้ามปราม จำเลยซึ่งเป็นผู้ปลูกสร้างย่อมเข้าใจว่าตนมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ต่อไปจนแล้วเสร็จเพราะเชื่อตามสัญญาขายฝากว่าตนมีสิทธิไถ่ที่ดินคืนได้ภายในกำหนดในสัญญา การปลูกสร้างบ้านไม่มีเลขที่บ้านของจำเลยจึงเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต แต่เมื่อทำสัญญาขายฝากแล้วจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ที่ดินที่ขายฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยเด็ดขาด กรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะใช้ปรับได้โดยตรง จึงต้องใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง อันได้แก่ ป.พ.พ. มาตรา 1310 วรรคหนึ่ง ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่จำเลยผู้สร้าง และการที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยปลูกสร้างบ้านต่อไปในที่ดินของโจทก์โดยมิได้ห้ามปรามถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการสร้างโรงเรือนของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้น และต้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12333/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษคดียาเสพติดและการพิจารณาโทษซ้ำเมื่อมีคดีอื่นถึงที่สุด ศาลฎีกาพิจารณาได้แม้ผู้เขียนฎีกาไม่มีใบอนุญาต
แม้ น. เป็นผู้เรียงและเขียนฎีกาของจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 ที่บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความ หรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือ คำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" ก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้มาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วและปัญหาว่าการเพิ่มโทษจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ตามที่จำเลยฎีกา เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยให้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 133/2554 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์อ้างเป็นเหตุให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง และโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี จำเลยจึงมิใช่ผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 กรณีจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนอง: เจ้าหนี้มีสิทธิเพียงในฐานะเจ้าหนี้จำนอง ไม่สามารถเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้สามัญได้
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองและเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 4 ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ.1148/2552 ของศาลชั้นต้น ผู้ร้องย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิในอันที่จะขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287, 289 และขอเฉลี่ยทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ได้ด้วย ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากเงินขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 73911 ตามคำร้องลงวันที่ 7 มกราคม 2553 แม้ผู้ร้องอ้างถึงมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ.1148/2552 ของศาลชั้นต้น แต่ตามคำร้องคงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งบุริมสิทธิจำนองเท่านั้น และไม่อาจที่จะให้ถือว่าเป็นการที่ผู้ร้องได้ขอเฉลี่ยทรัพย์ให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้สามัญอีกฐานะหนึ่งมาพร้อมกันด้วยได้ เพราะการใช้สิทธิในการขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งบุริมสิทธิจำนองและการขอเฉลี่ยทรัพย์มีเงื่อนไขและองค์ประกอบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างกัน โดยเฉพาะเงื่อนไขของการขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ผู้ยื่นคำขอต้องไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ก็ไม่ปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยที่ 4 ยิ่งกว่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นชัดเจนว่าเป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งบุริมสิทธิจำนอง โดยมิได้มีถ้อยคำใดในอันที่จะให้แปลว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญอีกฐานะหนึ่งด้วยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญ