พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. หลักฐานขัดแย้ง ฟังไม่ได้ว่าขาดคุณสมบัติ
++ เรื่อง ขอให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้ง ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ตามหลักฐานการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามแบบ ส.ว.11 ปรากฏว่าผู้ร้องได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงรับสมัครผู้คัดค้านให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ต่อมามีผู้ร้องเรียนว่าในวันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน2543 นั้น ผู้คัดค้านไม่อยู่ในราชอาณาจักร จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวนทำการสอบสวนได้ความว่า มีหลักฐานการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้คัดค้านในระหว่างที่มีการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งให้การต่อกรรมการสอบสวนว่า ในวันลงคะแนนดังกล่าวพยานอยู่ที่หน่วยเลือกตั้งตลอดเวลาไม่พบผู้คัดค้านไปที่หน่วยเลือกตั้ง ส่วนบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งปรากฏว่ามีการจ่ายบัตรให้กับผู้คัดค้านและมีลายมือชื่อของผู้คัดค้านในบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
++ เมื่อผู้ร้องคงมีแต่หลักฐานตามเอกสารหมาย ร.3และ ร.4 แสดงว่าผู้คัดค้านได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรและรับกันว่าการเข้าออกนอกราชอาณาจักรตามระเบียบพิธีการของการตรวจคนเข้าเมือง ผู้เดินทางเข้าและออกนอกราชอาณาจักรจะต้องผ่านพิธีการประทับตราจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนทางปฏิบัตินั้น จะต้องมีการประทับตราทุกครั้งหรือไม่ ผู้ร้องไม่มีพยานยืนยันได้
++ ส่วนผู้คัดค้านก็มีกรรมการในหน่วยเดียวกัน ยืนยันว่าเห็นผู้คัดค้านไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 จึงเป็นการยันกันของพยานบุคคลแต่ละฝ่ายซึ่งเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหน่วยเดียวกัน ฟังยุติไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 ประกอบกับพยานหลักฐานเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 29 เมษายน2543 ตามแบบ ส.ว.11 อยู่ในความครอบครองของผู้ร้องระบุชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543ซึ่งขัดแย้งกับเอกสารหมาย ร.2 ซึ่งมีข้อความระบุโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 และผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่า ข้อความที่แสดงว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 เกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำโดยทุจริต พยานหลักฐานผู้ร้องจึงฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในวันที่ 29 เมษายน 2543 ผู้คัดค้านจึงไม่ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ตามหลักฐานการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามแบบ ส.ว.11 ปรากฏว่าผู้ร้องได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงรับสมัครผู้คัดค้านให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ต่อมามีผู้ร้องเรียนว่าในวันลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน2543 นั้น ผู้คัดค้านไม่อยู่ในราชอาณาจักร จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวนทำการสอบสวนได้ความว่า มีหลักฐานการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้คัดค้านในระหว่างที่มีการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งให้การต่อกรรมการสอบสวนว่า ในวันลงคะแนนดังกล่าวพยานอยู่ที่หน่วยเลือกตั้งตลอดเวลาไม่พบผู้คัดค้านไปที่หน่วยเลือกตั้ง ส่วนบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งปรากฏว่ามีการจ่ายบัตรให้กับผู้คัดค้านและมีลายมือชื่อของผู้คัดค้านในบัญชีรายชื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
++ เมื่อผู้ร้องคงมีแต่หลักฐานตามเอกสารหมาย ร.3และ ร.4 แสดงว่าผู้คัดค้านได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรและรับกันว่าการเข้าออกนอกราชอาณาจักรตามระเบียบพิธีการของการตรวจคนเข้าเมือง ผู้เดินทางเข้าและออกนอกราชอาณาจักรจะต้องผ่านพิธีการประทับตราจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนทางปฏิบัตินั้น จะต้องมีการประทับตราทุกครั้งหรือไม่ ผู้ร้องไม่มีพยานยืนยันได้
++ ส่วนผู้คัดค้านก็มีกรรมการในหน่วยเดียวกัน ยืนยันว่าเห็นผู้คัดค้านไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 จึงเป็นการยันกันของพยานบุคคลแต่ละฝ่ายซึ่งเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหน่วยเดียวกัน ฟังยุติไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 ประกอบกับพยานหลักฐานเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 29 เมษายน2543 ตามแบบ ส.ว.11 อยู่ในความครอบครองของผู้ร้องระบุชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543ซึ่งขัดแย้งกับเอกสารหมาย ร.2 ซึ่งมีข้อความระบุโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 และผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่า ข้อความที่แสดงว่าผู้คัดค้านได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายน 2543 เกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำโดยทุจริต พยานหลักฐานผู้ร้องจึงฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในวันที่ 29 เมษายน 2543 ผู้คัดค้านจึงไม่ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5606/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญา ใช้อาวุธปืนยิง: ยกประโยชน์แห่งความสงสัยเมื่อพยานหลักฐานไม่ชัดเจน
++ เรื่อง ความผิดต่อชีวิต พยายาม ความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ++
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายหลายคนร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงนายสัมผัสทองมี ผู้ตาย และนายเฉี้ยง อ่อนนวล ผู้เสียหายหลายนัด เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
++
++ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือไม่
++ โจทก์ระบุพยานซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ 2 ปาก คือนายสุภาพ สุวรรณโชติ และผู้เสียหาย สำหรับนายสุภาพมาศาลตามหมายเรียกแล้ว แต่โจทก์ไม่นำเข้าเบิกความ คงอ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของนายสุภาพตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งให้การไว้ว่า คืนเกิดเหตุนายสุภาพซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับไปสูบกัญชากันที่แหลมทวด เมื่อผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับมาถึงที่เกิดเหตุพบรถยนต์กระบะสีเข้มจอดปิดไฟหันหน้ารถไปทางตลาดดอนสัก มีคนร้าย 3 ถึง 4 คน เข้ามาขวางและผลักรถจักรยานยนต์ล้มลง มีเสียงปืนดัง 3 นัด นายสุภาพเข้าใจว่าจะถูกยิงจึงวิ่งลัดเลาะเข้าป่าข้างทางถึงถนนสายดอนสัก - ขนอม ปรากฏว่ามีโลหิตไหลที่ศีรษะจึงโดยสารรถยนต์ไปโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ แพทย์แจ้งว่าบาดแผลเกิดจากถูกฟันด้วยของมีคม นายสุภาพรักษาตัวที่โรงพยาบาล 2 วัน จึงกลับบ้าน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบว่านายสุภาพเดินทางไปกับผู้ตายจึงสอบปากคำไว้ แต่นายสุภาพอ้างว่าขณะเกิดเหตุกำลังมึนเมาไม่ทันได้สังเกตว่า คนร้ายเป็นใคร ส่วนผู้เสียหายเบิกความว่า คืนเกิดเหตุขับรถจักรยานยนต์จะไปลอยอวนจับปลาที่แหลมทวด ก่อนถึงที่เกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงไป โดยมีชายนั่งซ้อนท้าย 1 คน แล้วมีเสียงปืนดังขึ้น 3 ถึง 4 นัด เห็นจำเลย นายหมีไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุล นายปองไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุลกับพวกอีก 2 คน ยืนอยู่ข้างรถยนต์กระบะซึ่งจอดอยู่ริมถนน ผู้ตายถูกยิงฟุบไปที่พื้นพร้อมรถจักรยานยนต์ จำเลยสั่งให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายจึงจอดรถแล้วลงไปยืน ผู้เสียหายบอกว่าไม่รู้เรื่อง จะไปลอยอวน จำเลยพูดว่าฆ่าให้ตาย แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร ยิงผู้เสียหายในระยะห่างประมาณ 1 เมตร นัดแรกถูกด้านหลังทะลุหน้าท้อง นัดที่สองถูกที่คอทะลุปาก ผู้เสียหายล้มหมดสติแล้วมารู้สึกตัวที่โรงพยาบาล ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับมุ่งหน้าไปทางแหลมทวดนั้น ขัดแย้งกับคำให้การของนายสุภาพที่ว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับจากสูบกัญชาที่แหลมทวด หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนได้ตรวจสถานที่เกิดเหตุ ทำแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุไว้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.13 ก็พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับไปล้มอยู่ใกล้ศพผู้ตายเพียงคันเดียว ไม่ปรากฏว่าได้พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับและล้มไปพร้อมกับที่ผู้ตายถูกยิงดังที่ผู้เสียหายเบิกความ ผู้เสียหายเบิกความและให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.5 ว่า ไม่เคยรู้จักผู้ตายมาก่อน แต่รายงานการสืบสวนของร้อยตำรวตรีสุนิตย์ ไชยหาญ รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรอำเภอดอนสักเอกสารหมาย จ.15 ระบุว่าจากการสืบสวนหาข่าวทราบว่าเหตุที่ผู้ตายเดินทางผ่านไปที่เกิดเหตุเพราะผู้เสียหายชวนผู้ตายและนายสุภาพไปนอนที่บ้านซึ่งต้องผ่านที่เกิดเหตุ ส่วนเหตุการณ์ขณะคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงในที่เกิดเหตุซึ่งผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่บอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายได้พูดตอบโต้กับจำเลยผู้เสียหายเห็นจำเลยในระยะห่างประมาณ 1 เมตร และเห็นเหตุการณ์ชัดแจ้งถึงขนาดระบุว่าจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร นั้น ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การไว้เพียงว่า เมื่อขับรถจักรยานยนต์ไปถึงที่เกิดเหตุเห็นว่ามีการชุลมุนกัน จึงจอดรถจักรยานยนต์ริมถนน มีเสียงตะโกนถามว่าจะไปไหนผู้เสียหายบอกว่าจะไปลอยอวน เมื่อสิ้นเสียงก็มีเสียงปืนดังขึ้นในที่ชุลมุนกัน2 นัด มีเสียงพูดว่าต้องเก็บมันด้วย แล้วมีเสียงปืนดังติดกันหลายนัดจนผู้เสียหายถูกกระสุนปืนหมดสติไป ผู้เสียหายมิได้ให้การถึงพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยตลอดจนอาวุธปืนที่จำเลยใช้เหมือนที่เบิกความต่อศาล เห็นว่า คดีนี้โจทก์มีแต่ผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานปากเดียว การที่ผู้เสียหายเบิกความแตกต่างจากคำให้การชั้นสอบสวนและเบิกความขัดแย้งกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ ทำให้น่าสงสัยว่าผู้เสียหายจำคนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายได้แน่นอนว่าเป็นจำเลยหรือไม่ ส่วนที่โจทก์อ้างรายงานการสืบสวนของร้อยตำรวจตรีสุนิตย์เอกสารหมาย จ.15 ระบุว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำผิดคดีนี้ โจทก์ก็มิได้นำร้อยตำรวจตรีสุนิตย์มาเบิกความทำให้จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านเพื่อให้ข้อเท็จจริงเป็นที่กระจ่างแก่ศาลว่าร้อยตำรวจตรีสุนิตย์สืบสวนได้ข้อเท็จจริงมาอย่างไร ทั้งรายงานการสืบสวนดังกล่าวระบุว่าคนร้ายมี 8 คน แตกต่างกับที่ผู้เสียหายเบิกความว่าคนร้ายมี 5 คน อีกด้วย พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบทั้งหมดเมื่อประมวลแล้วเห็นว่ายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยอาจจะไม่ใช่คนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหาย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และเมื่อพยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายในเวลาเกิดเหตุจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตในเวลาเกิดเหตุ และไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรในเวลาเกิดเหตุด้วย
++ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8พิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยฟังขึ้น
++ สำหรับปลอกกระสุนปืนของกลางซึ่งตกอยู่ในที่เกิดเหตุ เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำผิด จึงเห็นสมควรให้ริบปลอกกระสุนปืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แต่คงให้ริบของกลาง.
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายหลายคนร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงนายสัมผัสทองมี ผู้ตาย และนายเฉี้ยง อ่อนนวล ผู้เสียหายหลายนัด เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
++
++ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือไม่
++ โจทก์ระบุพยานซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ 2 ปาก คือนายสุภาพ สุวรรณโชติ และผู้เสียหาย สำหรับนายสุภาพมาศาลตามหมายเรียกแล้ว แต่โจทก์ไม่นำเข้าเบิกความ คงอ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของนายสุภาพตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งให้การไว้ว่า คืนเกิดเหตุนายสุภาพซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับไปสูบกัญชากันที่แหลมทวด เมื่อผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับมาถึงที่เกิดเหตุพบรถยนต์กระบะสีเข้มจอดปิดไฟหันหน้ารถไปทางตลาดดอนสัก มีคนร้าย 3 ถึง 4 คน เข้ามาขวางและผลักรถจักรยานยนต์ล้มลง มีเสียงปืนดัง 3 นัด นายสุภาพเข้าใจว่าจะถูกยิงจึงวิ่งลัดเลาะเข้าป่าข้างทางถึงถนนสายดอนสัก - ขนอม ปรากฏว่ามีโลหิตไหลที่ศีรษะจึงโดยสารรถยนต์ไปโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ แพทย์แจ้งว่าบาดแผลเกิดจากถูกฟันด้วยของมีคม นายสุภาพรักษาตัวที่โรงพยาบาล 2 วัน จึงกลับบ้าน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบว่านายสุภาพเดินทางไปกับผู้ตายจึงสอบปากคำไว้ แต่นายสุภาพอ้างว่าขณะเกิดเหตุกำลังมึนเมาไม่ทันได้สังเกตว่า คนร้ายเป็นใคร ส่วนผู้เสียหายเบิกความว่า คืนเกิดเหตุขับรถจักรยานยนต์จะไปลอยอวนจับปลาที่แหลมทวด ก่อนถึงที่เกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงไป โดยมีชายนั่งซ้อนท้าย 1 คน แล้วมีเสียงปืนดังขึ้น 3 ถึง 4 นัด เห็นจำเลย นายหมีไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุล นายปองไม่ทราบชื่อจริงและนามสกุลกับพวกอีก 2 คน ยืนอยู่ข้างรถยนต์กระบะซึ่งจอดอยู่ริมถนน ผู้ตายถูกยิงฟุบไปที่พื้นพร้อมรถจักรยานยนต์ จำเลยสั่งให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายจึงจอดรถแล้วลงไปยืน ผู้เสียหายบอกว่าไม่รู้เรื่อง จะไปลอยอวน จำเลยพูดว่าฆ่าให้ตาย แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร ยิงผู้เสียหายในระยะห่างประมาณ 1 เมตร นัดแรกถูกด้านหลังทะลุหน้าท้อง นัดที่สองถูกที่คอทะลุปาก ผู้เสียหายล้มหมดสติแล้วมารู้สึกตัวที่โรงพยาบาล ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับมุ่งหน้าไปทางแหลมทวดนั้น ขัดแย้งกับคำให้การของนายสุภาพที่ว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับจากสูบกัญชาที่แหลมทวด หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนได้ตรวจสถานที่เกิดเหตุ ทำแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุไว้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.13 ก็พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับไปล้มอยู่ใกล้ศพผู้ตายเพียงคันเดียว ไม่ปรากฏว่าได้พบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับและล้มไปพร้อมกับที่ผู้ตายถูกยิงดังที่ผู้เสียหายเบิกความ ผู้เสียหายเบิกความและให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.5 ว่า ไม่เคยรู้จักผู้ตายมาก่อน แต่รายงานการสืบสวนของร้อยตำรวตรีสุนิตย์ ไชยหาญ รองสารวัตรป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรอำเภอดอนสักเอกสารหมาย จ.15 ระบุว่าจากการสืบสวนหาข่าวทราบว่าเหตุที่ผู้ตายเดินทางผ่านไปที่เกิดเหตุเพราะผู้เสียหายชวนผู้ตายและนายสุภาพไปนอนที่บ้านซึ่งต้องผ่านที่เกิดเหตุ ส่วนเหตุการณ์ขณะคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงในที่เกิดเหตุซึ่งผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่บอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ ผู้เสียหายได้พูดตอบโต้กับจำเลยผู้เสียหายเห็นจำเลยในระยะห่างประมาณ 1 เมตร และเห็นเหตุการณ์ชัดแจ้งถึงขนาดระบุว่าจำเลยใช้อาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร นั้น ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การไว้เพียงว่า เมื่อขับรถจักรยานยนต์ไปถึงที่เกิดเหตุเห็นว่ามีการชุลมุนกัน จึงจอดรถจักรยานยนต์ริมถนน มีเสียงตะโกนถามว่าจะไปไหนผู้เสียหายบอกว่าจะไปลอยอวน เมื่อสิ้นเสียงก็มีเสียงปืนดังขึ้นในที่ชุลมุนกัน2 นัด มีเสียงพูดว่าต้องเก็บมันด้วย แล้วมีเสียงปืนดังติดกันหลายนัดจนผู้เสียหายถูกกระสุนปืนหมดสติไป ผู้เสียหายมิได้ให้การถึงพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยตลอดจนอาวุธปืนที่จำเลยใช้เหมือนที่เบิกความต่อศาล เห็นว่า คดีนี้โจทก์มีแต่ผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานปากเดียว การที่ผู้เสียหายเบิกความแตกต่างจากคำให้การชั้นสอบสวนและเบิกความขัดแย้งกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ ทำให้น่าสงสัยว่าผู้เสียหายจำคนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายได้แน่นอนว่าเป็นจำเลยหรือไม่ ส่วนที่โจทก์อ้างรายงานการสืบสวนของร้อยตำรวจตรีสุนิตย์เอกสารหมาย จ.15 ระบุว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำผิดคดีนี้ โจทก์ก็มิได้นำร้อยตำรวจตรีสุนิตย์มาเบิกความทำให้จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านเพื่อให้ข้อเท็จจริงเป็นที่กระจ่างแก่ศาลว่าร้อยตำรวจตรีสุนิตย์สืบสวนได้ข้อเท็จจริงมาอย่างไร ทั้งรายงานการสืบสวนดังกล่าวระบุว่าคนร้ายมี 8 คน แตกต่างกับที่ผู้เสียหายเบิกความว่าคนร้ายมี 5 คน อีกด้วย พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบทั้งหมดเมื่อประมวลแล้วเห็นว่ายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยอาจจะไม่ใช่คนร้ายที่ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหาย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และเมื่อพยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ร่วมใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายในเวลาเกิดเหตุจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตในเวลาเกิดเหตุ และไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรในเวลาเกิดเหตุด้วย
++ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8พิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยฟังขึ้น
++ สำหรับปลอกกระสุนปืนของกลางซึ่งตกอยู่ในที่เกิดเหตุ เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำผิด จึงเห็นสมควรให้ริบปลอกกระสุนปืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แต่คงให้ริบของกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: ศาลมิได้วินิจฉัยกรรมสิทธิ์ในคดีก่อน แม้ประเด็นเกี่ยวกับที่ดินเดียวกัน
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญเช่าไม่ชำระค่าเช่า ขอให้บังคับให้จำเลยชำระและขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยในคดีก่อนกลับเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้ ขอให้โจทก์คดีก่อนยอมรับไถ่ที่ดินที่ขายฝากไว้ดังนี้ แม้คดีก่อนจะถึงที่สุดไปแล้ว ก็ฟ้องคดีใหม่นี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะศาลมิได้วินิจฉัยประเด็นในคดีก่อนโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับประเด็นในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเบิกความเท็จ: ผู้ครอบครองทรัพย์มีสิทธิฟ้องหากได้รับความเสียหายจากการเบิกความเท็จในคดีแพ่ง
กรณีที่ถือว่าเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานเบิกความเท็จได้