พบผลลัพธ์ทั้งหมด 759 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเครื่องหมายการค้า: จำเลยต้องรู้ว่าสินค้าปลอมเลียนเครื่องหมายการค้า โจทก์ต้องพิสูจน์ความรู้ของจำเลย
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ผู้กระทำต้องรู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่าย เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร แต่เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบคงได้ความเพียงว่า ตามวันและเวลาเกิดเหตุในฟ้อง พันตำรวจตรี ช. ได้รับแจ้งจาก บ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายว่า ที่ร้าน ว. มีการนำสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรมาเสนอจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป พันตำรวจตรี ช. และ บ. กับพวก จึงนำหมายค้นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเข้าตรวจค้นที่ร้านดังกล่าว พบว่าจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร จึงจับกุมจำเลยและยึดของกลางส่งพนักงานสอบสวน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่า จำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร กลับได้ความจาก บ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายให้การว่า สินค้าของผู้เสียหายยังไม่มีการจำหน่ายในประเทศไทย คงมีจำหน่ายเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเท่านั้น โดยผู้เสียหายยังไม่ได้มอบหมายให้ตัวแทนรายใดเป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย อันแสดงได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งในส่วนนี้จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เครื่องหมายที่ติดบนสินค้าของกลางเป็นสัญลักษณ์ไม้กางเขน จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นเครื่องหมายที่บุคคลใดก็สามารถนำไปใช้ได้ สอดคล้องกับที่จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนโดยอ้างว่า จำเลยซื้อสินค้าของกลางมาเพื่อขายต่อ โดยไม่ทราบว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น และจำเลยยังมีบาทหลวง ท. เจ้าอาวาสวัด น. เป็นพยานเบิกความว่า เครื่องหมายการค้าตามฟ้องเป็นรูปกางเขนของศาสนาคริสต์ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ทำปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าด้วยตนเอง และการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ประกอบกับการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายมีลักษณะใกล้เคียงกับไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ที่ประชาชนหรือผู้ขายสินค้าทั่วไปจะไม่รู้จักเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย และอาจเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏบนสินค้าของกลางเป็นไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยรู้หรือไม่ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: การพิสูจน์ความผิดจากพยานหลักฐานการสั่งซื้อ และการบังคับคดีค่าปรับ
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่โฆษณาภาพตัวอย่างเสื้อกีฬาที่มีลายการ์ตูนมังกี้ ดี. ลูฟี่ ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไว้เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งผลิตเสื้อกีฬาที่มีลายการ์ตูนดังกล่าวได้ และเคยผลิตเสื้อกีฬาที่มีลายการ์ตูนดังกล่าวให้แก่ลูกค้ารายอื่นมาแล้ว ประกอบกับการที่ ว. สั่งให้จำเลยที่ 1 ผลิตเสื้อกีฬาที่มีลายการ์ตูนมังกี้ ดี. ลูฟี่ ตามแบบที่จำเลยที่ 1 โฆษณาอยู่แล้ว โดยไม่ได้นำภาพลายการ์ตูนมังกี้ ดี. ลูฟี่ มาให้จำเลยที่ 1 ใช้ผลิตเสื้อกีฬา หรือสั่งให้จำเลยที่ 1 ออกแบบภาพลายการ์ตูนมังกี้ ดี. ลูฟี่ ขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปผลิตเสื้อกีฬา ย่อมชี้ให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้อยู่แล้วว่าลายการ์ตูนมังกี้ ดี. ลูฟี่ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยมีเจตนาขายเสื้อกีฬาที่มีลายการ์ตูนดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว การที่ ว. สั่งผลิตเสื้อกีฬาตามแบบที่จำเลยที่ 1 โฆษณาเป็นเพียงการแสวงหาพยานหลักฐานมาเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า ว. เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยซึ่งมีอำนาจร้องทุกข์ ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง พยานหลักฐานที่เกิดจากการสั่งซื้อเสื้อกีฬาดังกล่าวสามารถรับฟังเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 1 ได้ กรณีไม่ใช่พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบหรือพยานหลักฐานที่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ อันจะต้องห้ามมิให้รับฟังตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 226 และมาตรา 226/1 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1)
คดีนี้โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม อันเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีส่วนอาญาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมเพื่อการค้า โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้ตามคำร้องในคดีส่วนแพ่ง แม้โจทก์ร่วมไม่ได้ฎีกา แต่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีส่วนแพ่งให้แก่โจทก์ร่วมได้ เพราะปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225
คดีนี้โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม อันเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีส่วนอาญาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมเพื่อการค้า โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้ตามคำร้องในคดีส่วนแพ่ง แม้โจทก์ร่วมไม่ได้ฎีกา แต่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีส่วนแพ่งให้แก่โจทก์ร่วมได้ เพราะปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุรายละเอียดการคัดลอก/ดัดแปลงให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจได้
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) นั้น โจทก์ต้องบรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด รวมทั้งต้องเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้จำเลยเข้าใจว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างไร คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนการกระทำความผิดของจำเลยว่า "..จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานนวนิยายของโจทก์ดังกล่าวด้วยการคัดลอกและดัดแปลงบทสนทนาของตัวละคร บริบทของตัวละคร และบริบทของฉากในนวนิยายของโจทก์ที่เป็นฉากสำคัญหลาย ๆ ฉาก ในนวนิยายของโจทก์แต่ละเล่มแล้วนำไปเรียบเรียงไว้ในบทนวนิยายของจำเลย..." อันเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์บางส่วนที่อยู่ในนวนิยาย 2 เล่ม ของโจทก์ หาใช่เป็นการคัดลอกดัดแปลงนวนิยายทั้งฉบับทั้ง 2 เล่ม ที่การบรรยายฟ้องนี้อาจจะทำให้จำเลยพอเข้าใจได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างไร แต่เมื่อเป็นการคัดลอกดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เพียงบางส่วน โจทก์ย่อมจะต้องบรรยายฟ้องข้อเท็จจริงให้พอเข้าใจได้ว่าบทสนทนาของตัวละคร บริบทของตัวละคร และบริบทของฉากในนวนิยายของโจทก์ที่เป็นฉากสำคัญหลาย ๆ ฉากนั้น เป็นส่วนไหนในนวนิยายเล่มใดใน 2 เล่ม ของโจทก์ และจำเลยคัดลอกและดัดแปลงงานดังกล่าวอย่างไร รวมทั้งนำไปใช้อยู่ในส่วนไหนของนวนิยายของจำเลย อันจะทำให้จำเลยสามารถเทียบเคียงได้ว่า ข้อความที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์นั้นเป็นการคัดลอกดัดแปลงจริงหรือไม่ กรณีเช่นนี้หาใช่รายละเอียดที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นหรือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลังดังที่โจทก์ฎีกาไม่ อีกทั้งเป็นการพิจารณาถึงการแสดงออก (Expression) ไม่ใช่แนวคิด (Idea) ต่างจากที่โจทก์ฎีกาว่า การวินิจฉัยต้องพิจารณาเนื้อหาของงานทั้งหมดโดยรวมประกอบกัน มิใช่แยกพิจารณาออกมาเป็นส่วน ๆ เฉพาะที่มีการคัดลอกเท่านั้น อนึ่ง การบรรยายฟ้องที่เพียงใช้ข้อความตามกฎหมาย เช่น การทำซ้ำหรือดัดแปลง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามสมควรว่าเป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงอย่างไร ย่อมไม่อาจทำให้จำเลยสามารถเข้าใจฟ้องของโจทก์ได้ ประกอบกับปัญหานี้เป็นการพิจารณาเฉพาะในส่วนของการบรรยายฟ้องเรื่องการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด จึงไม่เกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องอื่น ๆ ส่วนการพิจารณาว่าฟ้องของโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากฟ้องเท่านั้น ไม่อาจนำเอกสารท้ายฟ้องมาพิจารณาประกอบได้ ทั้งเป็นขั้นตอนที่ต้องพิจารณาก่อนไต่สวนมูลฟ้อง จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนมูลฟ้องมาพิจารณาประกอบเช่นกัน เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในส่วนของการกระทำความผิดของจำเลยว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์บางส่วนด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงนั้นถูกกระทำโดยจำเลยในส่วนไหน อย่างไร ย่อมต้องถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: ชื่อบุคคลธรรมดาไม่ต้องแสดงลักษณะพิเศษ
มาตรา 7 วรรคสอง (1) (เดิม) ของ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 บัญญัติว่า "เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ (1) ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง..." จากบทบัญญัติดังกล่าว ข้อความว่า "ที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ" เป็นคำขยายของคำว่า "ชื่อในทางการค้า" เท่านั้น มิได้รวมไปถึงชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์เป็นชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ทั้งคำดังกล่าวก็มิได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าตามที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง ย่อมมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงโดยลักษณะพิเศษแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 7 วรรคสอง (1) (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดส่วนบุคคลของกรรมการบริษัทในหนี้ซื้อขายสินค้า แม้ไม่มีการประทับตราบริษัท
โจทก์นำสืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของฝ่ายจำเลยในการติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศครั้งนี้ไว้แล้ว โดยเฉพาะการกระทำตามอำเภอใจของจำเลยที่ 2 ตั้งแต่การเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการเจรจากับโจทก์มาตลอด การไม่ยอมชำระค่าบริการสินค้าตั้งแต่แรกด้วยการอ้างว่าขาดสภาพคล่องทางการเงิน การทำสัญญาค้ำประกันโดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญทั้งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 การทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อและประทับลายนิ้วมือแต่ไม่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 รวมทั้งการทำหลักฐานการโอนเงินให้แก่โจทก์ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีการทำธุรกรรมดังกล่าวต่อธนาคารแต่อย่างใด การกระทำเหล่านี้นับเป็นข้อพิรุธหลายประการของจำเลยที่ 2 ที่ทำให้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำการไม่สุจริตในลักษณะที่ตนเองเป็นบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนอกเหนือจากการเป็นเพียงผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น ทั้งเป็นการกระทำที่ไม่คำนึงถึงแบบพิธีของจำเลยที่ 1 ในการประทับตราสำคัญ หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงไม่ถือว่าได้ทำขึ้นโดยเจตนาให้มีลักษณะเป็นทางการอย่างเช่นหนังสือที่ออกโดยนิติบุคคลทั่วไป แต่มีลักษณะที่อาจเข้าใจไปได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำในนามส่วนตัวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่โจทก์และยอมปล่อยสินค้า จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่ค้าผู้สุจริตได้ ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้เข้าร่วมเป็นการส่วนตัวกับจำเลยที่ 1 เพื่อรับผิดในหนี้ค่าสินค้าที่ค้างชำระต่อโจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสิทธิเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองจำกัดเฉพาะสินค้าที่จดทะเบียน การใช้กับสินค้าต่างจำพวกไม่ถือเป็นการละเมิด
สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนในราชอาณาจักรได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 โดยเป็นการให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับจำพวกและรายการสินค้าตามที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น และเป็นการคุ้มครองสิทธิในลักษณะที่เป็นการหวงกันมิให้ผู้อื่นนําเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าไปใช้โดยมิชอบ ดังนั้น ขอบเขตแห่งสิทธิของโจทก์ในกรณีนี้จึงมีจำกัดเฉพาะเครื่องหมายการค้ารูปพังงาเรือ และคําว่า HIKARI ที่ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 8 รายการสินค้าสว่านมือสำหรับเจาะเหล็ก กบไสไม้สำหรับไสไม้ให้บางลง เครื่องขัดสำหรับขัดเหล็กให้ผิวเรียบ ที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันมิให้จำเลยที่ 11 ใช้เครื่องหมายการค้าคําว่า HIKARI กับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้าจักรเย็บผ้า มอเตอร์จักรเย็บผ้า ซึ่งเป็นการใช้กับสินค้าต่างจำพวกกันและรายการสินค้าไม่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับจำพวกและรายการสินค้าที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 11 ไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ การที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 11 ไม่มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงเป็นการกระทำที่อยู่นอกขอบเขตแห่งสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคําขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 11 ได้ ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และจำเลยที่ 11 มิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องเพิกถอนอนุสิทธิบัตร: ผู้มีส่วนได้เสียต้องได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำตามสิทธิในอนุสิทธิบัตร
ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 นว วรรคสอง เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้สิทธิบุคคลใดจะกล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรก็ได้ ซึ่งอาจรวมถึงการยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่จะถึงขนาดเป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้น กฎหมายบัญญัติให้สิทธิเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการเท่านั้น ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิฟ้องคดีเช่นว่านี้ได้ย่อมต้องไม่ใช่บุคคลใดก็ได้ แต่ต้องเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากการมีอยู่ของอนุสิทธิบัตรโดยตรง เช่น บุคคลผู้ต้องเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์อันเนื่องมาจากการที่มีบุคคลอื่นเป็นผู้ทรงอนุสิทธิบัตรนั้น ประกอบกับเมื่อพิจารณาในด้านสิทธิของผู้ทรงอนุสิทธิบัตรในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ตามอนุสิทธิบัตรแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากอนุสิทธิบัตรโดยจํากัดเพียงการกระทำดังที่บัญญัติในมาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 36 วรรคหนึ่ง (1) แล้ว บุคคลอื่นที่ต้องเสื่อมเสียสิทธิในที่นี้คือ บุคคลที่จะกระทำการต่าง ๆ ดังกล่าวนั่นเอง กรณีหาใช่การตีความอย่างกว้างหรืออย่างแคบไม่ แม้โจทก์เป็นส่วนราชการมีภารกิจและมีอำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 2 และดำเนินการต่าง ๆ ตามที่กล่าวอ้างมา แต่การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นเพียงการดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาหาแนวทางปรับการทำงาน การจัดประชุม การจัดสัมมนา และการออกกฎกระทรวงและประกาศ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเลยว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ตามอนุสิทธิบัตรพิพาทโดยตรง อันจะมีผลกระทบจากการมีอยู่ของอนุสิทธิบัตรพิพาทที่จะถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชื่อบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ต้องพิจารณาถึงลักษณะบ่งเฉพาะ
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 7 วรรคสอง (1) (เดิม) ที่มีข้อความว่า "ที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ" นั้น เป็นคำขยายคำว่า "ชื่อในทางการค้า" เท่านั้น มิได้รวมไปถึงชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดาด้วย ประกอบกับเจตนารมณ์ของมาตรา 7 วรรคหนึ่ง มุ่งหมายจะคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนในลักษณะต้องเป็นเครื่องหมายที่ใช้ประโยชน์ในการแยกแยะความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าเพื่อมิให้สาธารณชนเกิดความสับสนหรือหลงผิดในการเลือกซื้อสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้น ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าอื่นแล้ว ส่วนเหตุผลและเจตนารมณ์ของกฎหมายอื่นที่ถูกยกเลิกไปแล้ว และการใช้ถ้อยคำรวมถึงการจัดวางตำแหน่งของคำตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เองต่างจากเดิมจึงไม่อาจอ้างการตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเดิมได้ ดังนั้น หากชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าเป็นชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา และมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่นแม้ไม่ได้แสดงโดยลักษณะพิเศษแล้ว ย่อมถือได้ว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า ซึ่งมีที่มาจากชื่อของ ค. นักออกแบบชาวอังกฤษผู้ก่อตั้งโจทก์ ถือเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลธรรมดา เมื่อพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมแล้วไม่ปรากฏว่าเป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดาของประชาชนในประเทศไทย กับคำดังกล่าวมิได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าตามที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรงแล้ว จึงย่อมมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านี้แตกต่างไปจากสินค้าอื่นและมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองโดยไม่จำต้องแสดงโดยลักษณะพิเศษอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกร้องประกันภัยทางทะเล: ผู้รับช่วงสิทธิต้องพิสูจน์การสูญเสียหรือเสียหายจากภัยที่เอาประกันจริง
กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลมีข้อตกลงโดยชัดแจ้งว่า สัญญาประกันภัยทางทะเลระหว่างผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ผู้รับประกันภัย กับผู้ร้องที่ 22 ผู้เอาประกันภัย ให้อยู่ภายใต้กฎหมายและแนวปฏิบัติของประเทศอังกฤษ กรณีจึงต้องนำกฎหมายเกี่ยวกับประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษมาใช้บังคับตามสัญญาดังกล่าว
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยอ้างเหตุว่า ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เข้ารับช่วงสิทธิของผู้ร้องที่ 22 จากการที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ชำระค่าสินไหมทดแทนไปตามสัญญาประกันภัยสินค้าทางทะเล จำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 อ้างเหตุในฐานะผู้สืบสิทธิของผู้ร้องที่ 22 ซึ่งเป็นคู่พิพาทตามคำชี้ขาด ดังนี้ การพิจารณาเหตุแห่งการใช้สิทธิทางศาลของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ดังกล่าวจึงต้องพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิอันเกิดแต่สัญญาประกันภัยสินค้าทางทะเลระหว่างผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 กับร้องที่ 22 ว่า ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เป็นผู้สืบสิทธิโดยชอบโดยผลของกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ ซึ่งผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 มีภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้ โดยกรณีนี้ต้องนำกฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษมาใช้บังคับตามสัญญา ซึ่งคู่ความนำสืบรับกันว่าคือ พ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 (Marine Insurance Act 1906) โดยไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 เมื่อพิจารณาจากบทนิยามตามมาตรา 1 แห่ง พ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 ที่ให้คำนิยามไว้ว่า สัญญาประกันภัยทางทะเลเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีเกิดความเสียหายอันเกิดจากการเสี่ยงภัยทางทะเลตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยที่มาตรา 3 ให้ความหมายของคำว่า การเสี่ยงภัยทางทะเลตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่อาจระบุไว้ในสัญญาประกันภัยทางทะเล ซึ่งวัตถุที่เอาประกันภัยต้องเกี่ยวข้องกับภัยทางทะเล (Maritime Perils) และให้ความหมายคำว่า "Maritime Perils" ว่า หมายถึงภัยอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเดินเรือทางทะเลอันได้แก่ภัยทางทะเล อัคคีภัย ภัยสงคราม โจรสลัด โจรกรรม การยึด การหน่วงเหนี่ยว การทิ้งทะเล การกระทำโดยทุจริตของคนเรือและภัยอื่นที่มีลักษณะเดียวกันหรือที่ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ แต่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 นำสืบได้ความแต่เพียงว่า กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลมีข้อตกลงการรับประกันภัยสินค้าถ่านหินในส่วนที่ 6 โดยมีเงื่อนไขความคุ้มครองการประกันภัยสินค้า (เอ) ซึ่งเป็นการคุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่ทำให้เกิดความสูญหายหรือเสียหายต่อวัตถุที่เอาประกันภัย เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดเท่านั้น แต่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ทำลายถ่านหินทำให้เกิดการสูญหายหรือความเสียหายต่อวัตถุที่เอาประกันภัยและเข้าเงื่อนไขความคุ้มครองการประกันสินค้าแบบ (เอ) แล้ว ขณะที่ผู้ร้องที่ 22 ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในถ่านหินและยังเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่เอาประภัยตามสัญญาซื้อขายตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในส่วนที่ 6 เกี่ยวกับถ่านหิน หรือเข้าลักษณะหรือประเภทของภัยทางทะเลที่ได้รับการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม Institute Cargo Clauses (A) ในข้อใดอย่างไรหรือไม่ เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาการคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า การประกันภัยเริ่มคุ้มครองตั้งแต่เวลาที่วัตถุที่เอาประกันภัยอยู่ในความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยและต่อเนื่องในขณะอยู่ระหว่างขนส่งไปจนกว่าจะถูกจัดส่งถึงปลายทาง หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยสิ้นสุดลงโดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขของการซื้อขาย และระหว่างพิจารณาผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 แถลงรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ว่า สินค้าถ่านหินคดีนี้ตั้งแต่มีการขนส่งที่ต้นทางจนถึงปลายทางและขนส่งต่อไปจนถึงโรงงานของผู้คัดค้านนั้น สินค้าถ่านหินไม่ได้รับความเสียหายหรือสูญหายแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าสัญญาประกันภัยทางทะเลระหว่างผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 กับผู้ร้องที่ 22 สิ้นสุดลงตามข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาการคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว โดยไม่ปรากฏเหตุที่ก่อให้เกิดความสูญหายหรือเสี่ยงภัยทางทะเลในระหว่างการเดินเรือทางทะเลที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องที่ 22 นอกจากนี้ตามสำเนาคำชี้ขาดขาดของสถาบันอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศสิงค์โปร์ยังแสดงให้เห็นว่าหนี้ที่พิพาทกันระหว่างผู้ร้องที่ 22 กับผู้คัดค้านมีมูลความแห่งคดีมาจากการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ชำระหนี้จำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ผู้ร้องที่ 22 ตามสัญญาซื้อขาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เข้ารับช่วงสิทธิเป็นผู้สิทธิของผู้ร้องที่ 22 ตามสัญญาประกันทางทะเลโดยชอบ ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องที่ 22 ได้
คดีนี้ศาลพิจารณาจากหลักกฎหมายตามพ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 (Marine Insurance Act 1906) และข้อตกลงในสัญญาประกันภัยทางทะเลตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญาที่อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศอังกฤษดังกล่าวข้างต้น โดยปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานของผู้ร้อนที่ 1 ถึงที่ 21 ในชั้นไต่สวนคำร้องไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ตามที่อ้างในคำร้อง กรณีจึงไม่ใช่เรื่องของการตีความกฎหมาย
แม้การที่ผู้ซื้อตั้งใจไม่ชำระราคาตั้งแต่แรก หรือผู้ซื้อไม่สุจริต หรือผู้ซื้อล้มละลายจะถือว่าเป็นภัยก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าการไม่ชำระราคาทุกกรณีจะเป็นภัยทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านมีเจตนาที่จะชำระราคาให้แก่ผู้ร้องที่ 22 ตั้งแต่ต้น แต่เป็นการชำระให้แก่บุคคลภายนอกที่มาหลอกหลวงผู้คัดค้าน จึงไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นภัยจากการไม่ชำระราคา
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยอ้างเหตุว่า ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เข้ารับช่วงสิทธิของผู้ร้องที่ 22 จากการที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ชำระค่าสินไหมทดแทนไปตามสัญญาประกันภัยสินค้าทางทะเล จำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 อ้างเหตุในฐานะผู้สืบสิทธิของผู้ร้องที่ 22 ซึ่งเป็นคู่พิพาทตามคำชี้ขาด ดังนี้ การพิจารณาเหตุแห่งการใช้สิทธิทางศาลของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ดังกล่าวจึงต้องพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิอันเกิดแต่สัญญาประกันภัยสินค้าทางทะเลระหว่างผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 กับร้องที่ 22 ว่า ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เป็นผู้สืบสิทธิโดยชอบโดยผลของกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ ซึ่งผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 มีภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้ โดยกรณีนี้ต้องนำกฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษมาใช้บังคับตามสัญญา ซึ่งคู่ความนำสืบรับกันว่าคือ พ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 (Marine Insurance Act 1906) โดยไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 เมื่อพิจารณาจากบทนิยามตามมาตรา 1 แห่ง พ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 ที่ให้คำนิยามไว้ว่า สัญญาประกันภัยทางทะเลเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีเกิดความเสียหายอันเกิดจากการเสี่ยงภัยทางทะเลตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยที่มาตรา 3 ให้ความหมายของคำว่า การเสี่ยงภัยทางทะเลตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่อาจระบุไว้ในสัญญาประกันภัยทางทะเล ซึ่งวัตถุที่เอาประกันภัยต้องเกี่ยวข้องกับภัยทางทะเล (Maritime Perils) และให้ความหมายคำว่า "Maritime Perils" ว่า หมายถึงภัยอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเดินเรือทางทะเลอันได้แก่ภัยทางทะเล อัคคีภัย ภัยสงคราม โจรสลัด โจรกรรม การยึด การหน่วงเหนี่ยว การทิ้งทะเล การกระทำโดยทุจริตของคนเรือและภัยอื่นที่มีลักษณะเดียวกันหรือที่ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ แต่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 นำสืบได้ความแต่เพียงว่า กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลมีข้อตกลงการรับประกันภัยสินค้าถ่านหินในส่วนที่ 6 โดยมีเงื่อนไขความคุ้มครองการประกันภัยสินค้า (เอ) ซึ่งเป็นการคุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่ทำให้เกิดความสูญหายหรือเสียหายต่อวัตถุที่เอาประกันภัย เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดเท่านั้น แต่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ทำลายถ่านหินทำให้เกิดการสูญหายหรือความเสียหายต่อวัตถุที่เอาประกันภัยและเข้าเงื่อนไขความคุ้มครองการประกันสินค้าแบบ (เอ) แล้ว ขณะที่ผู้ร้องที่ 22 ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในถ่านหินและยังเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่เอาประภัยตามสัญญาซื้อขายตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในส่วนที่ 6 เกี่ยวกับถ่านหิน หรือเข้าลักษณะหรือประเภทของภัยทางทะเลที่ได้รับการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม Institute Cargo Clauses (A) ในข้อใดอย่างไรหรือไม่ เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาการคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า การประกันภัยเริ่มคุ้มครองตั้งแต่เวลาที่วัตถุที่เอาประกันภัยอยู่ในความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยและต่อเนื่องในขณะอยู่ระหว่างขนส่งไปจนกว่าจะถูกจัดส่งถึงปลายทาง หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยสิ้นสุดลงโดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขของการซื้อขาย และระหว่างพิจารณาผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 แถลงรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ว่า สินค้าถ่านหินคดีนี้ตั้งแต่มีการขนส่งที่ต้นทางจนถึงปลายทางและขนส่งต่อไปจนถึงโรงงานของผู้คัดค้านนั้น สินค้าถ่านหินไม่ได้รับความเสียหายหรือสูญหายแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าสัญญาประกันภัยทางทะเลระหว่างผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 กับผู้ร้องที่ 22 สิ้นสุดลงตามข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาการคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว โดยไม่ปรากฏเหตุที่ก่อให้เกิดความสูญหายหรือเสี่ยงภัยทางทะเลในระหว่างการเดินเรือทางทะเลที่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องที่ 22 นอกจากนี้ตามสำเนาคำชี้ขาดขาดของสถาบันอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศสิงค์โปร์ยังแสดงให้เห็นว่าหนี้ที่พิพาทกันระหว่างผู้ร้องที่ 22 กับผู้คัดค้านมีมูลความแห่งคดีมาจากการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ชำระหนี้จำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ผู้ร้องที่ 22 ตามสัญญาซื้อขาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 เข้ารับช่วงสิทธิเป็นผู้สิทธิของผู้ร้องที่ 22 ตามสัญญาประกันทางทะเลโดยชอบ ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 21 จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องที่ 22 ได้
คดีนี้ศาลพิจารณาจากหลักกฎหมายตามพ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ. 1906 (Marine Insurance Act 1906) และข้อตกลงในสัญญาประกันภัยทางทะเลตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญาที่อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศอังกฤษดังกล่าวข้างต้น โดยปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานของผู้ร้อนที่ 1 ถึงที่ 21 ในชั้นไต่สวนคำร้องไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ตามที่อ้างในคำร้อง กรณีจึงไม่ใช่เรื่องของการตีความกฎหมาย
แม้การที่ผู้ซื้อตั้งใจไม่ชำระราคาตั้งแต่แรก หรือผู้ซื้อไม่สุจริต หรือผู้ซื้อล้มละลายจะถือว่าเป็นภัยก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าการไม่ชำระราคาทุกกรณีจะเป็นภัยทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านมีเจตนาที่จะชำระราคาให้แก่ผู้ร้องที่ 22 ตั้งแต่ต้น แต่เป็นการชำระให้แก่บุคคลภายนอกที่มาหลอกหลวงผู้คัดค้าน จึงไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นภัยจากการไม่ชำระราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3766/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประดิษฐ์ไม่ขึ้นใหม่: เปรียบเทียบอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 กับเลขที่ 5116 และสิทธิบัตรจีน CN 201068257Y
คดีนี้เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ โดยผู้มีส่วนได้เสียขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ หรือไม่ หลังจากมีการยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ฉ วรรคหนึ่ง แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการประดิษฐ์และทำรายงานการตรวจสอบเสนอต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ วรรคสอง เมื่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณารายงานการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว เห็นว่าการประดิษฐ์ไม่มีลักษณะตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ จึงมีคำสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงและแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ โดยโจทก์ยื่นคำแถลงแสดงเหตุผลของตนแล้วตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ วรรคสี่ ตอนต้น หลังจากสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องพิจารณาว่าการประดิษฐ์นั้นมีลักษณะตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาวินิจฉัยว่า การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 มีลักษณะทางเทคนิคแตกต่างไปจากงานที่ปรากฏอยู่แล้วเฉพาะข้อถือสิทธิข้อที่ 10 และกำหนดเงื่อนไขให้โจทก์แก้ไขข้อถือสิทธิใหม่โดยให้ระบุขอบเขตความคุ้มครองให้ชัดเจนเฉพาะข้อถือสิทธิที่แตกต่างดังกล่าวเท่านั้น เห็นได้ว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวได้พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของอนุสิทธิบัตรดังกล่าวพร้อมแสดงเหตุผลไว้ครบถ้วนแล้ว แต่ที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อเพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็เนื่องจากเห็นว่าหากโจทก์ยอมแก้ไขข้อถือสิทธิใหม่โดยระบุขอบเขตความคุ้มครองเฉพาะข้อถือสิทธิข้อที่ 10 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเสนอให้คณะกรรมการสิทธิบัตรเพิกถอนสิทธิบัตร อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา แล้วอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 72 โดยในอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ยังคงโต้แย้งเป็นประเด็นด้วยว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่พร้อมเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งดังกล่าว สำนวนการพิจารณาตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 ฉ ในคดีนี้ จึงเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิบัตร ดังนี้ แม้อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อเพิกถอนอนุสิทธิบัตร แต่ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมถือได้ว่ามีการดำเนินการไปตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 ฉ วรรคสี่ แล้ว เมื่อคณะกรรมการสิทธิบัตรมีอำนาจในการพิจารณาสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ วรรคสี่ ตอนท้าย ทั้งยังมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับอนุสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ ตามที่ พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 7 (2) บัญญัติ คณะกรรมการสิทธิบัตรซึ่งขณะนั้นมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นกรรมการจึงมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว และหากพิจารณาแล้วเห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 ของโจทก์ไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คณะกรรมการสิทธิบัตรย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้
ที่โจทก์แก้ฎีกาโต้แย้งทำนองว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้โจทก์แก้ไขอนุสิทธิบัตรตามกรณีปัญหาในคดีนั้นถือว่ายังอยู่ในระหว่างกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริง การที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นการให้ถ้อยคำชี้แจง ส่งเอกสาร หรือสิ่งใดเพิ่มเติม ซึ่งถือว่ายังอยู่ในกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่านั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวและไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งฉบับ แต่มีหน้าที่เพียงรวบรวมหนังสือและข้อชี้แจงดังกล่าว และทำความเห็นเสนอต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพิจารณาสั่งประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์ หากคณะกรรมการสิทธิบัตรมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรได้โดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรย่อมเป็นการก้าวล่วงอำนาจของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้น เห็นว่า เมื่อคดีมีการเริ่มดำเนินกระบวนการตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ มาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ โดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณาแสดงเหตุผลในประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยแล้ว การพิจารณาต่อมาของคณะกรรมการสิทธิบัตรจึงมิใช่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ตามอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 มีรายละเอียดการประดิษฐ์ไม่แตกต่างไปจากอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 ส่วนข้อถือสิทธิข้อที่ 2 ถึงที่ 9 ตามอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 นั้น ก็ล้วนเป็นการอ้างถึงลักษณะทางเทคนิคอันเป็นลักษณะพิเศษหรือรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมจากข้อถือสิทธิข้อที่ 1 เว้นแต่ข้อที่ 9 ซึ่งเพิ่มเติมจากข้อถือสิทธิข้อที่ 8 อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นได้ว่ามีรายละเอียดการประดิษฐ์ไม่แตกต่างไปจากอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 เช่นกัน ดังนี้ ข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ถึงที่ 9 ของอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 จึงเป็นการประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดไว้ในอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว สำหรับข้อถือสิทธิข้อที่ 10 ของอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 ซึ่งมีครีบยื่น (8) มีลักษณะเป็นครีบเฉียงนั้น แม้จะไม่ปรากฏว่ามีลักษณะตรงกับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 ก็ตาม แต่ก็ถือเป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ได้ส่งผลต่อองค์ประกอบสำคัญของการประดิษฐ์ ไม่ทำให้การทำงานต่างไปจากเดิม เมื่อพิจารณาข้อถือสิทธิทั้งหมดโดยรวมแล้วเห็นว่า การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 ไม่แตกต่างไปจากงานที่ปรากฏอยู่แล้วเดิม นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ชิ้นส่วนตัวจุกและชิ้นส่วนช่องไหลอาจถอดแยกออกจากกันได้โดยปรับปรุงให้ชิ้นส่วนตัวจุกและชิ้นส่วนช่องไหลกลายเป็นชิ้นส่วนเดียวกันนั้น ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเพียงเล็กน้อยโดยไม่ทำให้ลักษณะการทำงานเปลี่ยนไปจากเดิม การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 ทั้งฉบับจึงไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ในฐานะคณะกรรมการสิทธิบัตรเห็นว่าอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 มีข้อถือสิทธิส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ถือว่าไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และมีคำสั่งให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ที่โจทก์แก้ฎีกาโต้แย้งทำนองว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้โจทก์แก้ไขอนุสิทธิบัตรตามกรณีปัญหาในคดีนั้นถือว่ายังอยู่ในระหว่างกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริง การที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นการให้ถ้อยคำชี้แจง ส่งเอกสาร หรือสิ่งใดเพิ่มเติม ซึ่งถือว่ายังอยู่ในกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่านั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวและไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งฉบับ แต่มีหน้าที่เพียงรวบรวมหนังสือและข้อชี้แจงดังกล่าว และทำความเห็นเสนอต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพิจารณาสั่งประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์ หากคณะกรรมการสิทธิบัตรมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรได้โดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรย่อมเป็นการก้าวล่วงอำนาจของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้น เห็นว่า เมื่อคดีมีการเริ่มดำเนินกระบวนการตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ มาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ โดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณาแสดงเหตุผลในประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยแล้ว การพิจารณาต่อมาของคณะกรรมการสิทธิบัตรจึงมิใช่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ตามอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 มีรายละเอียดการประดิษฐ์ไม่แตกต่างไปจากอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 ส่วนข้อถือสิทธิข้อที่ 2 ถึงที่ 9 ตามอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 นั้น ก็ล้วนเป็นการอ้างถึงลักษณะทางเทคนิคอันเป็นลักษณะพิเศษหรือรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมจากข้อถือสิทธิข้อที่ 1 เว้นแต่ข้อที่ 9 ซึ่งเพิ่มเติมจากข้อถือสิทธิข้อที่ 8 อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นได้ว่ามีรายละเอียดการประดิษฐ์ไม่แตกต่างไปจากอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 เช่นกัน ดังนี้ ข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ถึงที่ 9 ของอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 จึงเป็นการประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดไว้ในอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว สำหรับข้อถือสิทธิข้อที่ 10 ของอนุสิทธิบัตรพิพาทเลขที่ 5467 ซึ่งมีครีบยื่น (8) มีลักษณะเป็นครีบเฉียงนั้น แม้จะไม่ปรากฏว่ามีลักษณะตรงกับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5116 ก็ตาม แต่ก็ถือเป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ได้ส่งผลต่อองค์ประกอบสำคัญของการประดิษฐ์ ไม่ทำให้การทำงานต่างไปจากเดิม เมื่อพิจารณาข้อถือสิทธิทั้งหมดโดยรวมแล้วเห็นว่า การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 ไม่แตกต่างไปจากงานที่ปรากฏอยู่แล้วเดิม นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ชิ้นส่วนตัวจุกและชิ้นส่วนช่องไหลอาจถอดแยกออกจากกันได้โดยปรับปรุงให้ชิ้นส่วนตัวจุกและชิ้นส่วนช่องไหลกลายเป็นชิ้นส่วนเดียวกันนั้น ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเพียงเล็กน้อยโดยไม่ทำให้ลักษณะการทำงานเปลี่ยนไปจากเดิม การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 ทั้งฉบับจึงไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ในฐานะคณะกรรมการสิทธิบัตรเห็นว่าอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5467 มีข้อถือสิทธิส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ถือว่าไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และมีคำสั่งให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวจึงชอบแล้ว