พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 273/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำพยานบุคคลหักล้างเอกสารในคดีอาญา และการสอบสวนตามหนังสือกล่าวโทษ
ในคดีอาญาคู่ความมีสิทธินำพะยานบุคคลมาสืบประกอบเพื่อแสดงว่า เอกสารที่อ้างอิงนั้นไม่ถูกต้องตรงกับความจริงได้
วิ.อาญา ม. 122 มิใช่เป็นบทห้ามเด็ดขาดมิให้พนักงานสอบสวน ๆ ตามหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเทห์
วิ.อาญา ม. 122 มิใช่เป็นบทห้ามเด็ดขาดมิให้พนักงานสอบสวน ๆ ตามหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเทห์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการแทงด้วยอาวุธมีด: ศาลฎีกาพิพากษาเพิ่มโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
จำเลยใช้มีดปลายแหลมทั้งตัวทั้งด้ามยาวราว 1 ศอก แทงเขาถูกที่หน้าท้องเหนือสดือแผลยาว 6 เซ็นติเมตร กว้าง 3 เซ็นติเมตร ลึกทะลุหลังด้านซ้ายเหนือสะเอว แผลยาว 4 เซ็นติเมตร กว้าง2 เซ็นติเมตร ไส้ไหล นับว่าเป็นแผลฉกรรจ์มากและต้องแทงโดยแรง แม้จะแทงเพียงทีเดียว ก็ย่อมแสดงอยู่ว่า จำเลยกระทำโดยมีเจตนาฆ่าให้ตาย ต้องด้วยมาตรา 249 แห่ง ก.ม.ลักษณะอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์ทำให้บาดเจ็บตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300: การพิจารณาบาดแผลเพื่อประกอบการวินิจฉัย
บาดแผลดังนี้คือ 1. ในช่องจมูกแถบซ้ายด้านใน รอยขีดหนังขาดยาว 3 ม.ม. และโลหิตออกทางช่องจมูกทั้งสอง
2. ชายโครงด้านหน้าแถบซ้าย รอยผื่นแดงยาว 8 ซ.ม. กว้าง 5 ซ.ม.
3. ใต้ลิ้นปี่ รอยผื่นแดงยาว 4 ซ.ม. กว้าง 3 ซ.ม.
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นรอยถูกกระทำแก่ร่างกายถึงแก่บาดเจ็บแล้ว
2. ชายโครงด้านหน้าแถบซ้าย รอยผื่นแดงยาว 8 ซ.ม. กว้าง 5 ซ.ม.
3. ใต้ลิ้นปี่ รอยผื่นแดงยาว 4 ซ.ม. กว้าง 3 ซ.ม.
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นรอยถูกกระทำแก่ร่างกายถึงแก่บาดเจ็บแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานยักยอกเงินราชการ แม้ได้รับมอบหมายให้รักษาไว้ชั่วคราว ก็มีความผิดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานยักยอกเงินของทางราชการกองทัพเรือ จำเลยให้การรับสารภาพ และตามคำพยานหลักฐานก็ปรากฎว่าจำเลยรับราชการในแผนกสมุหบัญชีอยู่แล้ว สมุหบัญชีได้มอบเงินทางราชการมาให้จำเลยจ่ายเงินเดือนซึ่งเป็นการมอบหมายมาให้หน้าที่ แม้จะเป็นการมอบหมายให้ปกครองรักษาไว้ชั่วคราวก็ตาม เมื่อจำเลยยักยอกเอาไปก็มีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 131
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ทหาร' กับ 'พลเรือนสังกัดราชการทหาร' แตกต่างกัน การเพิ่มโทษตามกฎหมายอาญาทหารใช้ไม่ได้กับพลเรือน
พลเรือนซึ่งสังกัดในราชการทหาร กระทำการลักทรัพย์ของทางราชการทหารในขณะที่เป็นยามรักษาการ และมีสาตราวุธของหลวงประจำตัวนั้น จะเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญาทหารมาตรา 50 ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ทหาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการยักยอกเงินสโมสรทหาร หากเงินสโมสรเป็นของราชการ ความผิดฐานใช้อำนาจในทางทุจริต (มาตรา 131) จะร้ายแรงกว่าฐานยักยอก (มาตรา 319)
แม้จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการมีหน้าที่เก็บเงินตามบิลเชื่อของสโมสรทหาร ซึ่งเป็นส่วนราชการแล้วยักยอกไป ถ้าโจทก์ไม่นำสืบให้ ปรากฎว่าสิ่งของที่สโมสรขายเชื่อนั้นจัดหาโดยเงินของทางราชการแล้ว จำเลยไม่ผิดมาตรา 131 คงผิดเพียงมาตรา 319(3) เท่านั้น
ศาลอุทธรณ์แก้บทและกำหนดโทษของศาลชั้นต้น เป็นการแก้มาก ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลอุทธรณ์แก้บทและกำหนดโทษของศาลชั้นต้น เป็นการแก้มาก ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยฐานกระทำผิดซ้ำ โดยพิจารณาจากประวัติโทษและมาตรา 72 แทนมาตรา 74
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายหลายบทหลายกะทง ตามคำบรรยายฟ้องเกี่ยวกับขอให้เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบนั้น กล่าวว่าจำเลยเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษมาแล้วตามใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้อง พ้นโทษครั้งหลังมายังไม่เกิน 5 ปี ก็กลับมากระทำผิดในคดีนี้อีก ย่อมหมายความถึงความผิดทุกกะทง แม้โจทก์จะอ้างมาตรา 74 เมื่อศาลเห็นว่าความผิดกะทงใดเพิ่มโทษตามมาตรา 74 ไม่ได้ ก็ชอบที่จะเพิ่มตามมาตรา 72 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีลักทรัพย์ และไม่มีความเสียหายจากรายงานเท็จ จึงไม่มีความผิด
จำเลยเป็นเลขานุการกรมเชื้อเพลิง มีหน้าที่แต่ทำหนังสือราชการ ไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการสอบสวนสืบสวนความผิดเรื่องผู้ร้ายลัก หรือยักยอกทรัพย์ของกรมเชื้อเพลิง หน้าที่พิเศษที่จำเลยได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นกรรมการสอบสวนหรือสืบสวนเรื่องผู้ร้ายลักหรือยักยอกแผ่นเหล็กของกรมเชื้อเพลิงนั้น จำเลยได้รับแต่งตั้งภายหลังเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยได้เรียกหรือรับสินบลจาก ส. และ ง. ซึ่งรับซื้อแผ่นเหล็กของกรมเชื้อเพลิง จึงถือไม่ได้ว่าขณะจำเลยกระทำการตามฟ้องจำเลยมีอำนาจหน้าที่ดังฟ้อง
ความผิดฐานรายงานเท็จ เมื่อไม่ปรากฎว่า การที่จำเลยรายงานเท็จดังฟ้องได้เกิดความเสียหาย หรืออาจจะเสียหายแก่กรมเชื้อเพลิงได้อย่างไร ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้.
ความผิดฐานรายงานเท็จ เมื่อไม่ปรากฎว่า การที่จำเลยรายงานเท็จดังฟ้องได้เกิดความเสียหาย หรืออาจจะเสียหายแก่กรมเชื้อเพลิงได้อย่างไร ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความต่อเนื่องของการกระทำผิดฉ้อโกง: การส่งมอบทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำผิดก่อนหน้า
ในคดีฉ้อโกง โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดในวันที่ 8 มีนาคม 2489 เวลากลางคืน ทางพิจารณาปรากฎว่า ได้มีการส่งมอบยางกันในวันที่ 9 มีนาคม 2489 เวลากลางวัน แต่ตามคำพะยานปรากฎว่าการกระทำผิดเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2489 เวลากลางคืน แม้การมอบทรัพย์จะทำในวันรุ่งขึ้นก็ดี ก็เป็นการกระทำเกี่ยวเนื่องติดต่อกันในระยะเวลาอันใกล้ชิด ยังไม่พอถือว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหารครอบคลุมนายทหารสัญญาบัตรทุกเหล่า รวมถึงทหารอากาศ
นายทหารสัญญาบัตรประจำการตามพระธรรมนูญศาลทหาร 2477 มาตรา 39 ไม่ได้เจาะจงว่า เป็นทหารแผนกใด เหล่าใด ดังนั้นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการทุกเหล่า ย่อมขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารในเวลาปกติทั้งนั้น
คำปรารภในการตราพระธรรมนูญศาลทหาร 2477 ไม่ได้กล่าวถึงทหารอากาศนั้น ก็เพราะขณะนั้นยังไม่ได้ตั้งกองทัพอากาศ แต่ ก็มีกรมอากาศยานขึ้นอยู่กับกองทัพบก กรมอากาศยานนี้เอง ต่อมาเปลี่ยนเป็นกรมทหารอากาศ และในที่สุดตั้งเป็นกองทัพอากาศขึ้น เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร 2477 ครอบถึงทหารอากาศด้วย การตั้งนายทหารอากาศเป็นกรรมการในศาลทหาร ย่อมเป็นการชอบตามความในพระธรรมนูญศาลทหารแล้ว.
คำปรารภในการตราพระธรรมนูญศาลทหาร 2477 ไม่ได้กล่าวถึงทหารอากาศนั้น ก็เพราะขณะนั้นยังไม่ได้ตั้งกองทัพอากาศ แต่ ก็มีกรมอากาศยานขึ้นอยู่กับกองทัพบก กรมอากาศยานนี้เอง ต่อมาเปลี่ยนเป็นกรมทหารอากาศ และในที่สุดตั้งเป็นกองทัพอากาศขึ้น เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร 2477 ครอบถึงทหารอากาศด้วย การตั้งนายทหารอากาศเป็นกรรมการในศาลทหาร ย่อมเป็นการชอบตามความในพระธรรมนูญศาลทหารแล้ว.