พบผลลัพธ์ทั้งหมด 604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4442/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้างชำระสหกรณ์: สิทธิการถอนหุ้นต้องรอการชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 5 เรื่อง ความระงับแห่งหนี้ กำหนดไว้ว่า หนี้ระงับไปต้องมีการชำระหนี้ การปลดหนี้ การหักกลบลบหนี้ การแปลงหนี้ใหม่ หรือหนี้เกลื่อนกลืนกัน เมื่อโจทก์กับจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการเรื่องความระงับแห่งหนี้ หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยก็ยังคงมีอยู่ แม้ล่วงเลยเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 แล้วก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจบังคับคดีได้เท่านั้น เป็นคนละส่วนกับหนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลย เมื่อตามข้อบังคับสหกรณ์จำเลยระบุว่า สมาชิกผู้ไม่มีหนี้สินต่อสหกรณ์ในฐานะผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันหรือหนี้สินอื่นที่ผูกพันจะต้องชำระต่อสหกรณ์ อาจลาออกได้โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการฯ ได้ ดังนั้น เมื่อหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมยังไม่ระงับไป และโจทก์ไม่ชำระหนี้ที่มีต่อจำเลย ถือว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ทำไว้กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิลาออกจากสมาชิกของจำเลยและขอถอนเงินค่าหุ้นออกจากสหกรณ์จำเลย และโจทก์ไม่อาจฟ้องจำเลยให้คืนเงินค่าหุ้นแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาคดีฆ่าผู้อื่น: การลดโทษ, การพิจารณาเหตุผลในการลดโทษ และสิทธิในการอ่านคำพิพากษาของผู้ร้อง
ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดให้ผู้ร้องทั้งสองซึ่งยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 มาฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นและไม่ได้อ่านคำพิพากษาให้ผู้ร้องทั้งสองฟัง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 182 การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 อย่างไรก็ตาม เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีส่วนอาญาชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงเป็นความบกพร่องเฉพาะในคดีส่วนแพ่ง มิได้มีผลกระทบต่อคดีส่วนอาญา ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนอาญาไปก่อนแล้วพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งในภายหลังได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/2 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าทางคดีต้องชัดเจน ผลจากคำท้าต้องเป็นที่ยอมรับโดยไม่ต้องตีความเพิ่มเติม
การแพ้หรือชนะคดีกันตามคำท้านั้น ผลที่ได้จากเงื่อนไขที่ท้ากันจะต้องชัดเจนตรงกับประเด็นตามคำท้าโดยที่ศาลไม่ต้องตีความผลดังกล่าวให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดอีก เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการถือเอาคำวินิจฉัยของศาลเป็นผลแพ้หรือชนะคดีแทนผลที่ได้จากคำท้า คดีนี้ประเด็นตามคำท้าคือ ลายมือชื่อของจำเลยในหนังสือสัญญากู้เงินและตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยเอกสารหมาย จ.2 ล.1 ถึง ล.4 เมื่อเปรียบเทียบกับลายมือชื่อผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 แล้วเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ โจทก์และจำเลยไม่ได้ท้ากันว่า ลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 เกิดจากการพิมพ์หรือการลงชื่อ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจึงไม่ได้เป็นไปตามคำท้า หากจะให้รับฟังว่าลายมือชื่อที่เกิดจากการพิมพ์ย่อมไม่ใช่การลงชื่ออันแสดงว่าลายมือชื่อดังกล่าวไม่ใช่ของบุคคลคนเดียวกัน เท่ากับว่าศาลจะต้องตีความต่อความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอีกชั้นหนึ่ง การตีความเช่นนี้จึงเป็นคำวินิจฉัยของศาล หาใช่ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในประเด็นที่ตกลงท้ากันไม่ ซึ่งในชั้นท้ากันคู่ความก็ไม่ได้ตกลงยอมให้ศาลตีความต่อความเห็นของผู้เชี่ยวชาญไว้ด้วย ศาลจึงไม่อาจวินิจฉัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในชั้นนี้ได้ เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานอันได้จากการสืบพยานของคู่ความซึ่งย่อมประกอบด้วยพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติมจากรายงานการตรวจพิสูจน์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมทำร้ายจนถึงแก่ความตาย ศาลปรับบทลงโทษจากฆ่าเป็นทำร้ายจนถึงแก่ความตาย
การที่ผู้ตายที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทง น. แล้ว น. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ 1 จึงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่างกะทันหันโดยจำเลยมิได้คบคิดนัดหมายกันมาก่อน ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและฐานฆ่าผู้อื่นโดยพลาด แต่เมื่อจำเลยมีเจตนาร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้ตายที่ 1 มาตั้งแต่ต้นและร่วมชุลมุนชกต่อยผู้ตายที่ 1 จึงต้องรับผลแห่งการกระทำของพวกจำเลยและ น. ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานทำร้ายผู้ตายที่ 1 จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 และฐานร่วมกันทำร้ายผู้ตายที่ 2 จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายโดยพลาดตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 60, 83 อันเป็นความผิดหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นและฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยพลาดตามที่โจทก์ฟ้อง และเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ซึ่งศาลฎีกาลงโทษในความผิดดังกล่าวตามที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสืบเสาะและพินิจเป็นข้อมูลลับ ห้ามเปิดเผยแก่คู่ความ
พนักงานคุมประพฤติจัดทำรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยตามคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีโดยได้ดำเนินการแสวงหาและรวบรวมข้อเท็จจริง การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ถูกสืบเสาะและพินิจแล้วจัดทำรายงานและเสนอความเห็นต่อศาล ซึ่งข้อมูลที่พนักงานคุมประพฤติแสวงหามาได้มีทั้งผลดีและผลร้ายต่อจำเลยเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาพิพากษาหรือดุลพินิจในการกำหนดโทษเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 และ พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 30 ข้อเท็จจริงในชั้นพนักงานคุมประพฤติเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 ได้กำหนดโทษผู้นำความลับนั้นไปเปิดเผย รายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยจึงเป็นข้อมูลที่เป็นความลับและเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา 15 (2) (3) (4) และ (6) แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์คัดถ่ายรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยบันดาลโทสะจากเหตุลักทรัพย์ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและให้รอการลงโทษ
ผู้ตายและผู้เสียหายเข้ามาลักผลปาล์มในสวนของบุตรชายจำเลย การลักทรัพย์เป็นการประทุษร้ายต่อทรัพย์สินและเป็นการละเมิดต่อสิทธิในความเป็นเจ้าของทรัพย์ เป็นการกระทำที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น ไม่เป็นธรรมต่อเจ้าของผลผลิตและผู้เกี่ยวข้องที่ต้องลงทุนลงแรง เมื่อจำเลยมีหน้าที่เฝ้าดูแลสวนป่าให้บุตรชายมาพบเห็นการกระทำของผู้ตายและผู้เสียหายซึ่งหน้า ย่อมต้องเกิดโทสะและมีอำนาจที่จะปกป้องติดตามจับกุมผู้ตายและผู้เสียหายเพื่อนำทรัพย์สินคืนมาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 79 แม้จะได้ความว่าจำเลยตะโกนบอกให้ผู้ตายและผู้เสียหายหยุด โดยผู้ตายและผู้เสียหายได้ทิ้งผลปาล์มที่ลักมาแล้วและพยายามหลบหนีออกจากที่เกิดเหตุ แต่ผู้ตายและผู้เสียหายไม่ยอมหยุดกลับรีบขับรถจักรยานยนต์หลบหนีโดยมิได้รู้สำนึกในการกระทำผิดของตน ย่อมต้องสร้างความไม่พอใจและก่อให้เกิดโทสะแก่จำเลยยิ่งขึ้นจนเป็นเหตุให้จำเลยจำต้องใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหาย ซึ่งโทสะของจำเลยนี้ยังคงมีอยู่ต่อเนื่องตราบเท่าที่บุคคลทั้งสองยังพยายามหลบหนี การใช้อาวุธปืนยิงของจำเลยในขณะที่ถูกข่มเหงรังแกจากการถูกผู้ตายและผู้เสียหายเข้ามาลักทรัพย์และมีโทสะอยู่เช่นนี้ จึงนับเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความร้องทุกข์ฐานยักยอก: เริ่มนับเมื่อใด และผลกระทบต่อคดีอาญาและคำขอเรียกทรัพย์
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าจำเลยมีเจตนายักยอกเอารถตู้ของกลางคันที่เช่าซื้อมาเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตไป จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายไม่สามารถส่งมอบรถตู้คันที่เช่าซื้อคืนให้แก่บริษัท ต. นับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2560 อายุความร้องทุกข์ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2560 เมื่อผู้เสียหายมอบอำนาจให้ น. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2562 จึงเกินกำหนดสามเดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.อ. มาตรา 96 สิทธิของโจทก์ที่นำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ทำให้คำขอส่วนแพ่งของพนักงานอัยการโจทก์ตกไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างทนาย ความรับผิดชอบร่วมของจำเลยทั้งสอง ดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ถือเอาผลสำเร็จแห่งการงานที่จ้างเป็นสำคัญ และการจ่ายสินจ้างถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อสัญญาจ้างดังกล่าวกำหนดชำระค่าจ้าง 3 งวด แต่มีเฉพาะงวดที่ 1 เท่านั้น ที่ถึงกำหนดชำระ ต้องถือว่าเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ทั้ง 9 ครั้ง เป็นการชำระหนี้ในงวดที่ 1 ซึ่งถึงกำหนดชำระแล้ว ตามมาตรา 328 วรรคสอง อันมีผลทำให้อายุความในหนี้ค่าจ่างว่าความงวดที่ 1 สะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 (1) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายตามมาตรา 193/15 วรรคสอง คำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องเรียกเอาค่าการงานมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (16) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
อย่างไรก็ตาม จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมในสัญญาจ้างว่าความ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือว่า จำเลยที่ 1 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) และข้อความจริงใด เมื่อเป็นเรื่องท้าวถึงตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะแต่ตัวลูกหนี้คนนั้นเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 การที่จำเลยที่ 2 เพียงคนเดียวชำระหนี้แก่โจทก์ อายุความจึงสะดุดหยุดลงเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ หนี้ค่าจ้างว่าความงวดที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงต้องเริ่มนับแต่วันทำสัญญาจ้างซึ่งเป็นเวลาขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์ตามสัญญาจ้างว่าความในงวดที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ
สำหรับค่าจ้างว่าความงวดที่ 2 กำหนดชำระเมื่อสืบพยานทั้งสองฝ่ายแล้วเสร็จ และงวดที่ 3 กำหนดชำระหนี้ก่อนนัดฟังคำพิพากษา 15 วัน มิใช่หนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อโจทก์ว่าความให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วเสร็จโดยตกลงกับคู่กรณีได้ ถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ถึงกำหนดชำระในวันดังกล่าว ตราบใดที่โจทก์ยังไม่เตือนให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ จำเลยทั้งสองจึงยังไม่ได้ชื่อว่าผิดนัด เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยทั้งสองมีกำหนดเวลาให้นำเงินมาชำระหนี้ภายใน 7 วัน และจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือทวงถามแล้ว แต่เมื่อครบกำหนด 7 วัน จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ถือว่าจำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดสำหรับค่าจ้างว่าความในงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ได้ในวันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมในสัญญาจ้างว่าความ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือว่า จำเลยที่ 1 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) และข้อความจริงใด เมื่อเป็นเรื่องท้าวถึงตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะแต่ตัวลูกหนี้คนนั้นเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 การที่จำเลยที่ 2 เพียงคนเดียวชำระหนี้แก่โจทก์ อายุความจึงสะดุดหยุดลงเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ หนี้ค่าจ้างว่าความงวดที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงต้องเริ่มนับแต่วันทำสัญญาจ้างซึ่งเป็นเวลาขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์ตามสัญญาจ้างว่าความในงวดที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ
สำหรับค่าจ้างว่าความงวดที่ 2 กำหนดชำระเมื่อสืบพยานทั้งสองฝ่ายแล้วเสร็จ และงวดที่ 3 กำหนดชำระหนี้ก่อนนัดฟังคำพิพากษา 15 วัน มิใช่หนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อโจทก์ว่าความให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วเสร็จโดยตกลงกับคู่กรณีได้ ถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ถึงกำหนดชำระในวันดังกล่าว ตราบใดที่โจทก์ยังไม่เตือนให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ จำเลยทั้งสองจึงยังไม่ได้ชื่อว่าผิดนัด เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยทั้งสองมีกำหนดเวลาให้นำเงินมาชำระหนี้ภายใน 7 วัน และจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือทวงถามแล้ว แต่เมื่อครบกำหนด 7 วัน จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ถือว่าจำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดสำหรับค่าจ้างว่าความในงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ได้ในวันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทจำกัดในฐานะผู้แทนทางกฎหมายต่อความเสียหายจากสัตว์ที่อยู่ในความดูแลของบริษัท
จำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการอันอยู่ในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคหนึ่ง การมีเสือไว้ในครอบครองและดูแลรักษาก็เพื่อกิจการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงออกโดยจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง และเหตุเกิดขึ้นที่สวนสัตว์อันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ทั้งตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบก็ได้ความว่า มีพนักงานจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลเสือโดยเฉพาะ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้รับเลี้ยงเสือด้วย จำเลยที่ 2 คงมีความเกี่ยวข้องในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 มิได้เลี้ยงหรือดูแลเสือโดยตรง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลหรือรับเลี้ยงรับรักษาสัตว์ไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 433 อันจะก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำการใดนอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในฐานะเจ้าของรถและนายจ้าง/ตัวการ, การคิดดอกเบี้ยผิดนัด, และขอบเขตความรับผิดร่วม
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.951/2562 ของศาลจังหวัดทุ่งสง พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาขับรถในขณะเมาสุรา ขับรถโดยประมาทหรือหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจและผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ซึ่ง ต. ผู้เอาประกันภัยยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของ ต. ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้ จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อฟ้องกันอีก ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ในคดีอาญาดังกล่าว ต. ผู้เอาประกันภัยได้ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าซ่อมรถยนต์คันเกิดเหตุ โดยอ้างส่งหลักฐานการซ่อมเป็นรายการราคาของอะไหล่แต่ละชิ้นและภาพถ่ายรถยนต์ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งศาลจังหวัดทุ่งสงพิจารณาหลักฐานดังกล่าวแล้ว เห็นว่า รถยนต์ย่อมเสื่อมสภาพลงเพราะการใช้งาน การคิดคำนวนราคาซ่อมไม่อาจคิดคำนวณราคาค่าอะไหล่ทุกชิ้นเป็นเกณฑ์ในการเรียกราคา ทั้งพิจารณาจากสภาพรถยนต์ที่ได้รับความเสียหาย หากทำการซ่อมก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ทั้งหมด เห็นควรกำหนดค่าเสียหายให้ 400,000 บาท อันเป็นการวินิจฉัยราคาค่าซ่อมรถยนต์จากหลักฐานรายการซ่อมและสภาพความเสียหายที่ปรากฏจากภาพถ่ายรถยนต์คันเกิดเหตุ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จากการตรวจสอบสภาพความเสียหายและประเมินราคาค่าซ่อมรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัย ปรากฏว่าได้รับความเสียหาย 254,463 บาท ตามเอกสารสรุปค่าอะไหล่และใบเสนอราคาความเสียหายของอู่ ซึ่งสูงเกินกว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยที่กำหนดไว้ 200,000 บาท โจทก์จึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยเต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัย 200,000 บาท ตามความผูกพันในสัญญาประกันภัยข้อ 2.1 การชดใช้ความเสียหายต่อรถยนต์ในกรณีรถยนต์เสียหายสิ้นเชิง ค่าเสียหายที่ ต. ได้รับจากจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาคดีอาญาของศาลจังหวัดทุ่งสง 400,000 บาท และที่ ต. ได้รับจากโจทก์ 200,000 บาท จึงเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อรถยนต์เช่นเดียวกัน การที่โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ต. ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ก่อนวันที่ศาลจังหวัดทุ่งสงมีคำพิพากษาในคดีอาญาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าซ่อมรถยนต์แก่ ต. เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 สิทธิของโจทก์ในการเข้ารับช่วงสิทธิของ ต. เรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัย ย่อมเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง และมาตรา 880 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงในคดีอาญาของศาลจังหวัดทุ่งสง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่ ต. และเข้ารับช่วงสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 จาก ต. ก่อนวันที่ศาลจังหวัดทุ่งสงมีคำพิพากษาในคดีอาญา ทั้งการที่จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อรถยนต์ให้แก่ ต. เป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดทุ่งสงที่กำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายตามคำร้องขอให้บังคับผู้กระทำความผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนแพ่ง ตามพฤติการณ์จึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งได้ทำให้แก่ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิในมูลหนี้ละเมิดโดยสุจริต การชำระหนี้ดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ตามมาตรา 316 แม้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิจาก ต. ก่อนจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ดังกล่าว แต่สิทธิของโจทก์มีเท่ากับสิทธิของ ต. ผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่โดยมูลหนี้ต่อจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 226 วรรคหนึ่ง และการชำระหนี้ในมูลละเมิดสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินของ ต. ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำลงนั้นสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว มูลหนี้ส่วนนี้จึงระงับไป โจทก์ไม่อาจเรียกให้จำเลยทั้งสองรับผิดในค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อรถยนต์ 200,000 บาท ได้ แต่สำหรับค่าลากรถที่โจทก์ฟ้องเรียกมา 6,400 บาท นั้น เป็นค่าเสียหายคนละส่วนกับค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อรถยนต์ ซึ่งจำเลยที่ 1 ชดใช้ให้แก่ ต. ไปตามคำพิพากษาคดีอาญาของศาลจังหวัดทุ่งสง เมื่อโจทก์ได้ชดให้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ ต. ไป และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ ต. แล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของ ต. เรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ได้
ในคดีอาญาดังกล่าว ต. ผู้เอาประกันภัยได้ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าซ่อมรถยนต์คันเกิดเหตุ โดยอ้างส่งหลักฐานการซ่อมเป็นรายการราคาของอะไหล่แต่ละชิ้นและภาพถ่ายรถยนต์ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งศาลจังหวัดทุ่งสงพิจารณาหลักฐานดังกล่าวแล้ว เห็นว่า รถยนต์ย่อมเสื่อมสภาพลงเพราะการใช้งาน การคิดคำนวนราคาซ่อมไม่อาจคิดคำนวณราคาค่าอะไหล่ทุกชิ้นเป็นเกณฑ์ในการเรียกราคา ทั้งพิจารณาจากสภาพรถยนต์ที่ได้รับความเสียหาย หากทำการซ่อมก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ทั้งหมด เห็นควรกำหนดค่าเสียหายให้ 400,000 บาท อันเป็นการวินิจฉัยราคาค่าซ่อมรถยนต์จากหลักฐานรายการซ่อมและสภาพความเสียหายที่ปรากฏจากภาพถ่ายรถยนต์คันเกิดเหตุ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จากการตรวจสอบสภาพความเสียหายและประเมินราคาค่าซ่อมรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัย ปรากฏว่าได้รับความเสียหาย 254,463 บาท ตามเอกสารสรุปค่าอะไหล่และใบเสนอราคาความเสียหายของอู่ ซึ่งสูงเกินกว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยที่กำหนดไว้ 200,000 บาท โจทก์จึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยเต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัย 200,000 บาท ตามความผูกพันในสัญญาประกันภัยข้อ 2.1 การชดใช้ความเสียหายต่อรถยนต์ในกรณีรถยนต์เสียหายสิ้นเชิง ค่าเสียหายที่ ต. ได้รับจากจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาคดีอาญาของศาลจังหวัดทุ่งสง 400,000 บาท และที่ ต. ได้รับจากโจทก์ 200,000 บาท จึงเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อรถยนต์เช่นเดียวกัน การที่โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ต. ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ก่อนวันที่ศาลจังหวัดทุ่งสงมีคำพิพากษาในคดีอาญาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าซ่อมรถยนต์แก่ ต. เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 สิทธิของโจทก์ในการเข้ารับช่วงสิทธิของ ต. เรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัย ย่อมเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง และมาตรา 880 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงในคดีอาญาของศาลจังหวัดทุ่งสง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่ ต. และเข้ารับช่วงสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 จาก ต. ก่อนวันที่ศาลจังหวัดทุ่งสงมีคำพิพากษาในคดีอาญา ทั้งการที่จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อรถยนต์ให้แก่ ต. เป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดทุ่งสงที่กำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายตามคำร้องขอให้บังคับผู้กระทำความผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนแพ่ง ตามพฤติการณ์จึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งได้ทำให้แก่ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิในมูลหนี้ละเมิดโดยสุจริต การชำระหนี้ดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ตามมาตรา 316 แม้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิจาก ต. ก่อนจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ดังกล่าว แต่สิทธิของโจทก์มีเท่ากับสิทธิของ ต. ผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่โดยมูลหนี้ต่อจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 226 วรรคหนึ่ง และการชำระหนี้ในมูลละเมิดสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินของ ต. ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำลงนั้นสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว มูลหนี้ส่วนนี้จึงระงับไป โจทก์ไม่อาจเรียกให้จำเลยทั้งสองรับผิดในค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อรถยนต์ 200,000 บาท ได้ แต่สำหรับค่าลากรถที่โจทก์ฟ้องเรียกมา 6,400 บาท นั้น เป็นค่าเสียหายคนละส่วนกับค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อรถยนต์ ซึ่งจำเลยที่ 1 ชดใช้ให้แก่ ต. ไปตามคำพิพากษาคดีอาญาของศาลจังหวัดทุ่งสง เมื่อโจทก์ได้ชดให้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ ต. ไป และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ ต. แล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของ ต. เรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ได้