พบผลลัพธ์ทั้งหมด 524 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์, ฟ้องอาญาแจ้งความเท็จ, การสอบสวนที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน แต่ยังพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่พิพากษากลับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4 ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำคุก เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาล จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ทั้งเป็นกรณีที่ไม่อาจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาหลังจำหน่ายคดีแล้ว ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ไม่ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ย่อมมีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นแล้ว ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานับแต่โจทก์ถอนฟ้องและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าว อันเป็นคำสั่งที่เกิดขึ้นภายหลังมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามและคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 และ 198 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกเลิกสัญญาก่อนเช็คถึงกำหนด จ่ายเงินไม่ได้ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จําเลยทั้งสองและโจทก์ต่างมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายกิจการต่อกัน ย่อมมีผลให้สัญญาจะซื้อจะขายกิจการระงับไป และเป็นการเลิกสัญญาก่อนที่เช็คพิพาททั้งสามฉบับจะถึงกำหนด โจทก์และจําเลยทั้งสองต่างต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงต้องคืนเช็คพิพาททั้งสามฉบับให้แก่จําเลยทั้งสอง โจทก์ไม่มีสิทธินําเช็คพิพาทที่ออกล่วงหน้าเพื่อชําระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน แม้ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับ จําเลยทั้งสองก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา การไม่บันทึกคำถามค้านไม่ถือเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ศาลไม่ได้บันทึกคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 1 ที่ถามค้านโจทก์ในประเด็นเกี่ยวกับลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตายและลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรมปลอมโดยเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นในคดี ก็เป็นการใช้ดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริง หาใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าคดีมีมูลจึงชอบด้วยกฎหมาย เพราะการไต่สวนมูลฟ้องเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับศาลเพื่อให้ศาลได้ทราบข้อเท็จจริงว่าฟ้องโจทก์มีมูลหรือไม่ คำสั่งดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 1 ย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปอีกหาได้ไม่ หากในชั้นพิจารณาปรากฏว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดดังโจทก์ฟ้อง ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายกิจการทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คที่ออกไว้
แม้จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาททั้งสามฉบับซึ่งเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายกิจการ แต่ก่อนที่โจทก์จะนำเช็คพิพาททั้งสามฉบับไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ทั้งสองฝ่ายมีข้อขัดแย้งกันต่างฝ่ายต่างอ้างว่า อีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา กล่าวคือ จำเลยที่ 2 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์จดทะเบียนนิติบุคคลเพื่อประกอบธุรกิจรับจ้างเหมาแรงงานอันเป็นการค้าแข่งกับกิจการตามสัญญาที่มีต่อกัน ส่วนโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 โอนกิจการของจำเลยที่ 1 ที่จะซื้อขายกันไปให้บริษัทอื่นในระหว่างผ่อนชำระหนี้ แม้เหตุในการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2 โจทก์ยังโต้แย้งอยู่ว่าไม่มีข้อกำหนดในสัญญาให้สิทธิจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม แต่การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 2 และขอให้คืนกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แก่โจทก์เท่ากับยอมรับที่จะเลิกสัญญากัน ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ย่อมสิ้นผลผูกพันและทำให้ทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อสัญญาเลิกกันจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่เหลือและมีสิทธิระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับ ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดนั้นได้ การที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับจึงถือไม่ได้ว่ามีเจตนาทุจริต จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5518/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดทรัพย์ในคดีฟอกเงิน: มาตรการทางแพ่งมีผลเหนือกว่าการบังคับคดีสามัญ
มาตรการทางแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มุ่งป้องปรามมิให้มีการนำทรัพย์สินที่ได้มาหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดไปใช้สนับสนุนการก่ออาชญากรรมต่อไป จึงมิใช่การดำเนินคดีแพ่งโดยทั่วไป แม้ตามมาตรา 56 และ 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จะบัญญัติให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินในหมวด 6 ให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ และสามารถนำมาปรับใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดกับหลักการแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราว ตาม ป.วิ.พ. มาปรับใช้กับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวในคดีฟอกเงินได้
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องบัญชีเงินฝากของจำเลยไว้ก่อนที่ศาลชั้นต้นในคดีฟอกเงินจะมีคำสั่งให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่หากเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งอายัดไว้ชั่วคราวได้ อาจทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่มีอยู่ จนไม่มีเหตุที่จะไต่สวนและมีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และหากต่อมาศาลในคดีฟอกเงินมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของจำเลยรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดิน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นต้นไป ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยดังกล่าวเพื่อการบังคับคดีไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 หากโจทก์เห็นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลย โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินตามมาตรา 53 ซึ่งบัญญัติถึงขั้นตอนในการดำเนินการไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญ ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้มีผลถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟอกเงินได้
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องบัญชีเงินฝากของจำเลยไว้ก่อนที่ศาลชั้นต้นในคดีฟอกเงินจะมีคำสั่งให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่หากเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งอายัดไว้ชั่วคราวได้ อาจทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่มีอยู่ จนไม่มีเหตุที่จะไต่สวนและมีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และหากต่อมาศาลในคดีฟอกเงินมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของจำเลยรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดิน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นต้นไป ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยดังกล่าวเพื่อการบังคับคดีไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 หากโจทก์เห็นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลย โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินตามมาตรา 53 ซึ่งบัญญัติถึงขั้นตอนในการดำเนินการไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญ ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้มีผลถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟอกเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4414/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกันส่วนเจ้าหนี้จำนองและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา: การบังคับคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอกันส่วนฉบับลงวันที่ 13 มีนาคม 2562 มาก่อน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องไม่มีพยานมาให้ไต่สวน ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ตามคำร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 4873 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงของศาลแพ่ง ซึ่งศาลแพ่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของจำเลยในที่ดินโฉนดที่ 4873 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์จำนองที่ถูกยึดและขายทอดตลาดในคดีนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 322 (ใหม่) จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 (5) กรณีตามคำร้องของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 25 มิถุนายน 2562 จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคำร้องขอกันส่วนฉบับลงวันที่ 13 มีนาคม 2562 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 แต่อย่างใด และเมื่อได้ความว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้อง สำเนาคำร้องของผู้ร้องให้แก่โจทก์ จำเลย และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยระบุด้วยว่าหากจะคัดค้านให้ยื่นคัดค้านก่อนหรือในวันนัด มิฉะนั้นถือว่าไม่คัดค้าน ซึ่งมีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่บุคคลดังกล่าวแล้ว ครั้นถึงวันนัดพิจารณาคำร้องปรากฏว่าไม่มีคู่ความฝ่ายใดมาศาล ย่อมถือว่าคู่ความดังกล่าวไม่ได้คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงข้างต้น พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงดังกล่าวของศาลแพ่ง และศาลแพ่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนแล้ว ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเพียงพอที่จะวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องแล้ว โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ และเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ดังกล่าวจึงเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิกันส่วนตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดทรัพย์สินในคดีฟอกเงิน: เจ้าหนี้สามัญบังคับคดีขัดต่อกฎหมายเฉพาะ
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นมาตรการทางกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และกำหนดมาตรการทางแพ่งในการยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ไม่ใช่เป็นการดำเนินคดีแพ่งทั่วไป แม้มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การดำเนินการทางศาลตามหมวดนี้ให้ยื่นต่อศาลแพ่งและให้นำป.วิ.พ. มาบังคับใช้โดยอนุโลม ก็ต้องเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ และสามารถนำมาปรับใช้ได้เพียงเท่าที่ไม่ขัดกับหลักการแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งไว้เป็นการเฉพาะแล้ว แม้ว่าหนังสือแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องจะเป็นการอายัดไว้ก่อนที่ศาลแพ่งจะมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่หากให้เจ้าหนี้สามัญยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราว ตามมาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้ อาจทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่มีอยู่จนไม่มีมีเหตุที่จะทำการไต่สวนและมีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และหากต่อมาศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดินจะมีผลทางกฎหมายโดยนับแต่วันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดินเป็นต้นไป โจทก์ย่อมไม่อาจยึดเพื่อการบังคับคดี ไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการดำเนินคดีแพ่งทั่วไปมาปรับใช้กับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวในคดีฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 อันเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งโดยทั่วไปได้ และหากต่อมาศาลแพ่งมีคำสั่งให้สิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดินแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยเป็นเจ้าของ ผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินดังกล่าวตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการเป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญไม่อาจดำเนินการบังคับคดีในคดีนี้เพื่อให้มีผลถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีฟอกเงินดังกล่าวได้ โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยส่งเงินที่อายัดตามคำพิพากษาไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด, การขยายเวลาโอนกรรมสิทธิ์, เบี้ยปรับ, การสงวนสิทธิ์เรียกค่าปรับ
คำแก้อุทธรณ์เป็นคำคู่ความ คู่ความจึงอาจตั้งประเด็นมาในคำแก้อุทธรณ์ได้ แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นตัดสินให้จำเลยชนะคดีก็ตามแต่ในส่วนที่วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยผิดสัญญาเป็นการวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาฟังไม่ขึ้น จำเลยย่อมมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่วินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาได้ แม้จำเลยมิได้ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ จำเลยได้โต้แย้งโดยกล่าวมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา คดีในชั้นอุทธรณ์จึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทในปัญหาว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่อยู่ ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
จำเลยก่อสร้างอาคารและห้องชุดไม่เสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ได้ทันภายในเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งเป็นกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ที่โจทก์จำเลยตกลงให้ขยายระยะเวลา จำเลยจึงผิดสัญญาข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดข้อ 7.4.2 ระบุว่า หากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.01 ของราคาห้องชุดแต่รวมกันแล้วไม่เกินร้อยละสิบของราคาห้องชุด ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการให้สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งวรรคสามของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิ์ไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ได้บอกสงวนสิทธิ์กับจำเลยไว้ว่าจะเรียกเอาค่าปรับจากการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าปรับตามฟ้องจากจำเลย
จำเลยก่อสร้างอาคารและห้องชุดไม่เสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ได้ทันภายในเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งเป็นกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ที่โจทก์จำเลยตกลงให้ขยายระยะเวลา จำเลยจึงผิดสัญญาข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดข้อ 7.4.2 ระบุว่า หากจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนดไว้แล้ว โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.01 ของราคาห้องชุดแต่รวมกันแล้วไม่เกินร้อยละสิบของราคาห้องชุด ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการให้สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งวรรคสามของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิ์ไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ได้บอกสงวนสิทธิ์กับจำเลยไว้ว่าจะเรียกเอาค่าปรับจากการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าปรับตามฟ้องจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาโดยมีเจตนาทำให้เสียชื่อเสียงและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตถือเป็นการละเมิด
ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.3760/2559 ของศาลแขวงสมุทรปราการ จำเลยยกเรื่องการบรรยายฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.2283/2559 ของศาลจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งบรรยายฟ้องไว้ในหน้าที่ 18 บรรทัดที่ 11 จากบนว่า "...จำเลยทั้งเก้ามีพฤติการณ์แสดงถึงความไม่สุจริต ฉ้อฉล หลอกลวงชาวต่างชาติ..." มาเป็นเหตุอ้างในฟ้องเพื่อให้โจทก์รับผิดในข้อหาหมิ่นประมาทร่วมกับบริษัท จ. และ พ. การที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในคดีอาญาจึงเป็นการบ่งชี้ว่า จำเลยมีเจตนาที่จะทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการที่ต้องตกเป็นจำเลยในคดีอาญา อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากข้อความที่จำเลยอ้างว่า มีเนื้อหาหมิ่นประมาทจำเลยนั้น ก็พบว่าเป็นเพียงข้อความที่กล่าวมาในคำฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนนิติกรรม ซึ่งเป็นข้อหาหนึ่งในคำฟ้องคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.2283/2559 ของศาลจังหวัดสมุทรปราการ จึงต้องถือว่า เป็นเรื่องที่คู่ความหรือทนายความของคู่ความแสดงความคิดเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตนตาม ป.อ. มาตรา 331 ย่อมไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท และจำเลยซึ่งมีอาชีพนักกฎหมายย่อมทราบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวดีว่า การกระทำของโจทก์ไม่มีมูลความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ยังฝืนฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.3760/2559 ของศาลแขวงสมุทรปราการ อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้บุคคลอื่นเสียหาย ส่วนการที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์ในส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 เป็นไม่รับฟ้องแล้วให้ไปฟ้องจำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ต่อศาลที่คดีอยู่ในเขตอำนาจนั้น ก็หาใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อฟ้องโจทก์ไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์