พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และการรับรองเอกสารโดยเจ้าพนักงานตามระเบียบกรมที่ดิน ศาลยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐาน แล้วนำมาวินิจฉัยทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแล้ว แม้ข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย รวมทั้งบทมาตราที่ยกขึ้นปรับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะเป็นอย่างเดียวกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ไม่ถือว่าเป็นการคัดลอกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำเบิกความของโจทก์ในคดีแพ่งอื่น มิได้เบิกความต่อหน้าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีโอกาสถามค้าน จึงมีน้ำหนักน้อย ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ปลอมและใช้หนังสือมอบอำนาจปลอม
ศ. และ อ. เจ้าพนักงานที่ดิน เป็นผู้บอกให้จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อ และข้อความตามหนังสือมอบอำนาจและสัญญาขายฝากเป็นไปตามระเบียบของกรมที่ดินที่จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการฟ้องร้องเจ้าพนักงานที่ดินให้รับผิดในภายหลังเท่านั้น เมื่อบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งกรมที่ดินเพื่อป้องกันมิให้กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินถูกฟ้องร้องให้รับผิดทางแพ่ง จึงมิใช่บันทึกถ้อยคำตามนัยแห่งกฎหมายหรือตามหน้าที่ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งเนื้อความแห่งบันทึกถ้อยคำยังมีข้อความว่าถ้าเกิดความผิดพลาดเพราะผิดตัวเจ้าของ จำเลยที่ 3 ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อตามหนังสือมอบอำนาจจริง แม้ความจริงโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าจำเลยที่ 3 การกระทำของจำเลยที่ 3 ก็ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137 ประกอบมาตรา 83
คำเบิกความของโจทก์ในคดีแพ่งอื่น มิได้เบิกความต่อหน้าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีโอกาสถามค้าน จึงมีน้ำหนักน้อย ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ปลอมและใช้หนังสือมอบอำนาจปลอม
ศ. และ อ. เจ้าพนักงานที่ดิน เป็นผู้บอกให้จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อ และข้อความตามหนังสือมอบอำนาจและสัญญาขายฝากเป็นไปตามระเบียบของกรมที่ดินที่จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการฟ้องร้องเจ้าพนักงานที่ดินให้รับผิดในภายหลังเท่านั้น เมื่อบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งกรมที่ดินเพื่อป้องกันมิให้กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินถูกฟ้องร้องให้รับผิดทางแพ่ง จึงมิใช่บันทึกถ้อยคำตามนัยแห่งกฎหมายหรือตามหน้าที่ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งเนื้อความแห่งบันทึกถ้อยคำยังมีข้อความว่าถ้าเกิดความผิดพลาดเพราะผิดตัวเจ้าของ จำเลยที่ 3 ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อตามหนังสือมอบอำนาจจริง แม้ความจริงโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าจำเลยที่ 3 การกระทำของจำเลยที่ 3 ก็ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137 ประกอบมาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีอาญา แม้ข้อเท็จจริงสอดคล้อง แต่โจทก์มิได้ขอลงโทษในบทมาตรานั้น
การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ซึ่งโจทก์ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยกับศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยเป็นทำนองเห็นพ้องด้วยและตามคำฟ้องของโจทก์นอกจากขอให้ลงโทษฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 แล้วยังพอแปลได้ว่าโจทก์บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดเพื่อจะมิให้การเป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตาม ป.อ. มาตรา 187 ไว้ด้วย แต่โจทก์ไม่ได้ระบุ ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 187 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง แสดงว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว แม้การกระทำของจำเลยที่สร้างภาระจำนองเพิ่มมากขึ้นดังกล่าวจะเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่จะถูกบังคับ เพื่อจะมิให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอม อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 187 ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัย ก็ไม่อาจพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามความผิดตาม ป.อ. มาตรา 187 ที่โจทก์ไม่ได้ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้องได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ที่ศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด อันจะทำให้ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 187 นั้น เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังขึ้น ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป พิพากษากลับเป็นว่า ให้ยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการคุมความประพฤติเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และสิทธิในการอุทธรณ์
กรณีที่จำเลยไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายตามบันทึกข้อตกลงซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยไว้ เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติที่ศาลกำหนดตาม ป.อ. มาตรา 56 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการคุมความประพฤติและให้ลงโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้แก่จำเลย ดังนี้ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ.2559 มาตรา 34 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5537/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินปฏิรูป สิทธิซื้อขายที่ดินของรัฐ ผู้เสียหายทางอาญา
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แล้วกรมป่าไม้มอบให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จัดสรรให้เกษตรกรทำกินตามกฎหมาย ดังนั้น หากเป็นกรณีที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากบุคคลอื่นตามที่กล่าวอ้างก็เป็นการซื้อขายที่ดินของรัฐ ไม่อาจอ้างสิทธิใช้ยันต่อรัฐได้ และหากประสงค์จะขอเข้ารับการจัดสรรที่ดินต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 19 (7) และมาตรา 36 ทวิ ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นเกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดินรวมทั้งได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4 - 01 ไม่ จึงเป็นกรณีที่จะต้องมีการพิจารณาต่อไปว่าผู้ใดอยู่ในฐานะที่จะได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4 - 01 ที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ดังนั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายทางอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วยการครอบครองปรปักษ์และการยกให้โดยชอบธรรม โดยมิใช่ทรัพย์มรดก
แม้จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยได้ก่นสร้างแผ้วถางปรับสภาพที่ดินจนกลายเป็นที่นา ทางราชการจึงออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย ส่วนที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดกของ ช. กับ ป. ได้มีการแบ่งปันให้แก่ทายาททุกคนแล้ว แต่การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยได้ช่วย ช. บิดาจำเลยแผ้วถางที่ดินพิพาทจนบิดายกที่ดินดังกล่าวให้จำเลยโดยโจทก์และพี่น้องคนอื่น ๆ ไม่เคยคัดค้านว่าที่ดินพิพาทยังเป็นทรัพย์มรดก ทั้ง ด. กับ ล. พยานจำเลยเบิกความถึงเรื่องที่ ป. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย ดังนั้น ที่ ป. พูดกับบุตรทุกคนว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยก็เพื่อให้บุตรทุกคนรับรู้ว่า ช. ได้ยกที่ดินพาทให้จำเลยครอบครองทำกินแต่ผู้เดียว ทางนำสืบของจำเลยจึงไม่นอกเหนือคำให้การต่อสู้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทเกินอำนาจศาลแขวง: คำขอบังคับโอนกรรมสิทธิ์บ้านรวมราคาสูงกว่า 300,000 บาท
แม้คำขอบังคับของโจทก์ทั้งสองในข้อที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ถือว่ามีทุนทรัพย์พิพาทกันเพียง 300,000 บาท ก็ตาม แต่คำขอบังคับข้อ 2 ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และหักกลบลบหนี้กับค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้โจทก์ผู้ซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้และวางเงินคงเหลือไว้ต่อศาล คำขอบังคับส่วนนี้มุ่งประสงค์บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายรวมราคาซื้อขายไว้เป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งหากโจทก์ทั้งสองชนะคดีโจทก์ทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทที่มีราคาดังกล่าว ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีจึงเกินกว่า 300,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10809/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์แต่ไม่กระทบเจตนา ยกทรัพย์สินให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ถูกตัดสิทธิมรดก
ข้อความในพินัยกรรมส่วนที่เพิ่มเติมตอนท้ายไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับไม่สมบูรณ์ แต่ไม่มีผลกระทบถึงพินัยกรรมทั้งฉบับ ข้อความเดิมในพินัยกรรมย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับ เมื่อพิเคราะห์ข้อความส่วนที่ยังมีผลใช้บังคับได้ ย่อมเห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมได้โดยชัดแจ้งว่า ต้องการยกทรัพย์สินของผู้ตายให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียว ข้อความในส่วนอื่นในพินัยกรรมที่ระบุทรัพย์สินเป็นข้อๆ เป็นเพียงส่วนประกอบให้เห็นว่า ผู้ตายมีทรัพย์สินใดบ้าง หรือมีทรัพย์สินที่ผู้ตายจำได้ในขณะที่กำลังเขียนพินัยกรรมเท่านั้น ทรัพย์สินที่ผู้ตายเขียนระบุเพิ่มเติมตอนท้ายโดยไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับ น่าเชื่อว่าเป็นเพราะผู้ตายเพิ่งระลึกนึกได้ว่ามีทรัพย์สินดังกล่าวด้วย แต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเจตนาของผู้ตายที่ต้องการยกทรัพย์สินของตนเองทั้งหมดซึ่งรวมทั้งทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลย คดีฟังได้ว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมดให้แก่จำเลย ทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมย่อมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 ดังนั้น โจทก์ทั้งเจ็ดจึงถูกตัดโดยผลของพินัยกรรมทำให้ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตาย
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความได้สละประเด็นข้อพิพาททั้งหมด คงให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งเจ็ดหรือไม่ เพียงใด ก็ตาม แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ส่วนที่โจทก์ทั้งเจ็ดฎีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งกำหนดให้ ส. เป็นผู้รวบรวมทรัพย์มรดกแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่า ๆ กัน เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความได้สละประเด็นข้อพิพาททั้งหมด คงให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งเจ็ดหรือไม่ เพียงใด ก็ตาม แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ส่วนที่โจทก์ทั้งเจ็ดฎีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งกำหนดให้ ส. เป็นผู้รวบรวมทรัพย์มรดกแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่า ๆ กัน เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเสพยาเสพติด: การไม่ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูและการดำเนินคดีฐานอื่น
จำเลยกระทำผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ต่อมาคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำวินิจฉัยว่าพบประวัติการกระทำความผิดของจำเลยว่า จำเลยเคยเข้ารับการฟื้นฟูในความผิดฐานเสพและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองแล้วไม่ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูและผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่พอใจ จึงแจ้งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป คดีก่อนที่จำเลยต้องหาว่ากระทำผิดฐานเสพและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง จำเลยต้องเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กรณีถือว่าจำเลยยังไม่ได้รับการฟื้นฟูให้ครบถ้วนตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 30 และมาตรา 31 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่จับจำเลยเข้าไปไว้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อบำบัดฟื้นฟูตามแผนและให้มีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 ได้อีกด้วย แต่เมื่อได้ตัวจำเลยมาดำเนินคดีนี้แล้ว ไม่ปรากฏว่าคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่ามีข้อเท็จจริงปรากฏภายหลังที่ศาลมีคำสั่งตามมาตรา 19 ว่า จำเลยต้องหาหรือถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำวินิจฉัยคดีนี้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยอยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานอื่นและเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 โดยไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8384/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงแชร์ทองคำ: ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดกรรมเดียวหรือไม่ และการเพิ่มโทษโดยมิชอบ
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ในช่วงเดือนเมษายน 2556 จำเลยมาที่บ้านโจทก์ร่วมและพูดชักชวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามให้เล่นแชร์ทองคำกับจำเลย โดยบอกว่าจะได้ผลตอบแทนในอัตราร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ลงเล่นแชร์ทองคำภายใน 1 ถึง 2 วัน แต่ในวันดังกล่าวโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามยังไม่สนใจ หลังจากนั้นจำเลยพูดชักชวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนให้เล่นแชร์ทองคำกับจำเลยอีกหลายครั้งจนกระทั่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามตกลง โดยโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยผ่านทางบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วม ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ได้เงินไปจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสาม โดยจำเลยมีเจตนาให้เกิดผลต่อโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน เป็นความผิดสำเร็จสำหรับโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดรวม 4 กรรม ส่วนที่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามนำเงินโอนเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยหลายครั้งหลายคราวตามฟ้องนั้น เป็นเพียงผลสืบเนื่องจากการกระทำของจำเลยในครั้งแรก โดยมีเจตนาอันเดียวกันเพื่อให้ได้รับเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน โจทก์และโจทก์ร่วมไม่อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำคุก 2 ปี จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน โจทก์และโจทก์ร่วมไม่อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำคุก 2 ปี จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16490/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องยักยอกทรัพย์ต้องระบุทรัพย์สินที่ถูกยักยอกอย่างชัดเจน หากนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากที่ฟ้อง ศาลไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองครอบครองทรัพย์ของโจทก์ร่วม เช่น อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งของที่ใช้ประกอบอาหาร สุรา บุหรี่ และของใช้ทั่วไป แล้วร่วมกันเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปขาย และเบียดบังยักยอกเงินค่าขายทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยทั้งสอง แต่กลับนำสืบว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำทรัพย์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารไปใช้ที่ร้านอาหารของจำเลยที่ 1 อันเป็นการยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ไม่ใช่ยักยอกเงินค่าขายทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ในสาระสำคัญ ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองได้