คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 349

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 409 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9695/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์คดีเช็ค, การฟ้องคดีเช็ค และการพิสูจน์มูลหนี้ที่แท้จริง
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยออกเช็ครวม 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครั้นเช็คถึงกำหนดโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้เพราะจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค คำฟ้องดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบถ้วนเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ใดจะมอบอำนาจไว้ล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเพื่อกระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนตนซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสามารถจะทำได้ การมอบอำนาจให้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คแก่พนักงานสอบสวน เป็นการมอบอำนาจให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายแม้ในขณะมอบอำนาจความผิดยังไม่เกิดผู้มอบอำนาจก็สามารถจะมอบอำนาจไว้ก่อนได้
ในขณะที่มีการมอบอำนาจนั้น โจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 4 ฉบับ และขณะนั้นมีเช็ค 2 ฉบับ ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ร่วมจึงมอบอำนาจให้ ม. แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยแทนโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมก็มิได้เจาะจงให้ผู้รับมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนสำหรับเช็คฉบับใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนสำหรับเช็คฉบับใดก็ได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ร่วม หากเช็คฉบับนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น เมื่อต่อมาปรากฏว่าเช็คที่เหลืออีก 2 ฉบับก็ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ม.จึงมีอำนาจที่จะแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดเกี่ยวกับเช็ค 2 ฉบับหลังได้ด้วย และเมื่อ ม. ได้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมจริงโดยมีมูลหนี้มาจากค่าก่อสร้าง และต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ร่วมไว้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกันและการสัตยาบันข้อตกลง แม้ไม่มีตราสำคัญก็มีผลผูกพันได้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ล. โดย น.และ อ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลย โดย อ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับ แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัท ล.เป็นหนี้โจทก์ จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล. ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า อ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเอง หาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกัน และอำนาจฟ้องตามสัญญา การแปลงหนี้ การผิดนัดชำระหนี้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัทล.โดยน.กรรมการบริษัทกับอ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลยโดยอ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัทล.เป็นหนี้โจทก์จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าอ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเองหาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของอ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349และ350แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัทล.อยู่ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใดๆที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไปบันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลยแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่าจำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัทล.ให้แก่โจทก์และบริษัทล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้กรณีต้องด้วยมาตรา314ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัทล.และบริษัทล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์ บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด4เดือนนับแต่วันทำสัญญาเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงมิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้แปลงจากค่าที่ดิน-สัญญาเงินกู้ สัญญาเงินกู้ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่โจทก์กับพวกขายให้แก่จำเลย หนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์สัญญากู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายที่ดิน โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่ สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแปลงหนี้: สัญญากู้เงินที่แปลงจากค่าที่ดินและแปลงหนี้เงินกู้เดิม ย่อมมีผลบังคับใช้ได้
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่โจทก์กับพวกขายให้แก่จำเลย หนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ สัญญากู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายที่ดิน
โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่ สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขาย หากมีเจตนาชำระหนี้ค่าที่ดิน และการแปลงหนี้ระหว่างสัญญากู้
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่โจทก์กับพวกขายให้แก่จำเลยหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์สัญญากู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายที่ดิน โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากค่าที่ดินเป็นหนี้กู้เงิน สัญญาไม่เป็นนิติกรรมอำพราง
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่โจทก์กับพวกขายให้แก่จำเลยหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์สัญญากู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายที่ดิน โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนและการแปลงหนี้ใหม่ทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาตามเช็คระงับ
ตามสัญญาชำระหนี้แทนซึ่ง อ. ตกลงขอเข้ามาชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยโดยจ่ายเช็คให้โจทก์3ฉบับมีข้อความอันเป็นสาระสำคัญว่าเมื่อ อ. ได้ผ่านเช็คทั้งหมดให้แล้วโจทก์จะไปถอนฟ้องคดีให้แก่จำเลยทันทีดังนั้นการที่ อ.จะต้องชำระเงินตามเช็คทั้ง3ฉบับจึงเป็นเงื่อนไขในการที่โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาให้แก่จำเลยและตามสัญญาชำระหนี้แทนก็ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเช็คทั้ง3ฉบับที่ อ. ชำระให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้จึงมีผลว่าโจทก์ไม่ผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2) การที่โจทก์กับ อ. ตกลงทำสัญญาชำระหนี้แทนสั่งจ่ายเช็ค3ฉบับมอบให้โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนเช็คพิพาทถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นตามเช็คทั้ง3ฉบับอันเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349มีผลให้หนี้ตามเช็คพิพาทซึ่งเป็น หนี้เดิม ระงับไปมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันแม้สัญญาชำระหนี้แทนจะมีเงื่อนไขให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาเมื่อเช็คทั้ง3ฉบับเรียกเก็บเงินได้แล้วก็เป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการถอนฟ้องอันเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39เท่านั้นหามีผลทำให้การตกลงดังกล่าวไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไปไม่ดังนั้นคดีอาญาจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา7สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อากรแสตมป์: การประเมินและเรียกเก็บอากรแสตมป์เพิ่มเติมจากบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเงินกู้
เมื่อวันที่15กุมภาพันธ์2525บ. ขอกู้เงินตามวิธีและธรรมเนียมประเพณีการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ในวงเงิน2,000,000บาทกำหนดชำระหนี้ให้หมดสิ้นภายในวันที่15กุมภาพันธ์2526ได้ทำสัญญากันไว้ตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"โดยปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ในตราสารดังกล่าวแล้วต่อมาได้ทำ"บันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ให้เบิกเงินเกินบัญชีได้ถึงวันที่15กุมภาพันธ์2530(ในวงเงินเดิม)และในวันที่26กุมภาพันธ์2529บ. ได้ทำ"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"กับโจทก์โดยตกลงเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ขึ้นอีกรวมเป็นวงเงิน3,000,000บาทข้อตกลงอื่นคงให้เป็นไปตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ดังนั้นในวันที่26กุมภาพันธ์2529บ. ยังมีข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ประกอบ"บันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"อยู่จำนวน2,000,000บาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหาได้ถูกยกเลิกไปแล้วไม่การที่บ.ตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ตาม"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ในวันดังกล่าวจึงเป็นการที่โจทก์ตกลงให้บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารในยอดเงินเพียง1,000,000บาทส่วนจำนวน2,000,000บาทยังคงเป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ซึ่งโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์ไว้บริบูรณ์แล้วโจทก์จึงมีหน้าที่ปิดอากรแสตมป์ในตราสาร"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"โดยคำนวณจากยอดเงินเพียง1,000,000บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้และการทำสัญญาจำนองโดยตรง ไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้อง
เดิมจำเลยร่วมกู้ยืมเงินจากธนาคาร ก. แทนโจทก์ต่อมาจำเลยร่วมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแทนโจทก์แต่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยร่วมแล้วจำเลยร่วมได้โอนหนี้ดังกล่าวให้แก่จำเลยโจทก์ตกลงด้วยและจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้แก่จำเลยดังนี้เป็นการตกลงทำสัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยตรงโดยโจทก์ยินยอมให้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยก่อนแล้วการทำสัญญาจำนองจึงไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยร่วมกับจำเลยที่ต้องมีการทำเป็นหนังสือต่างหาก
of 41