พบผลลัพธ์ทั้งหมด 409 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการชนสะพาน: ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 7 มิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้เช่นเดียวกับจำเลยอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์เพราะเป็นข้ออุทธรณ์ที่นอกเหนือคำให้การของตน ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่มีผลให้จำเลยที่ 7 มีสิทธิฎีกา
โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น.เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1 สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่
สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอดได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะกับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย
ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1 นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลยจำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง
กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด
โจทก์เป็นเจ้าของสะพานเทพหัสดินทร์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 5 แม้จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าซ่อมแซมสะพานที่เสียหายนั้นไปแทนโจทก์ ก็เป็นการออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น โจทก์ยังต้องชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ทดรองจ่ายไปดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาเอกสารหมาย ล.15 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างบริษัท น.เป็นผู้รับจ้างซ่อมสะพานโดยได้จ่ายค่าซ่อมสะพานแทนจำเลยที่ 3 ไปก่อนแล้ว จำเลยที่ 3 จะจ่ายเงินนั้นคืนให้จำเลยที่ 1 สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานที่ถูกละเมิดกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาทำให้หนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดระงับไปไม่
สะพานเทพหัสดินทร์มีช่องกลางสะพานให้เรือลอดได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ผู้เดินเรือด้วยกัน ช่องทางที่เกิดเหตุเรือชนเสาสะพานไม่ใช่ช่องทางให้เรือแล่น การที่เรือพ่วงชนเสาสะพานจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือลากจูงที่ไม่บังคับเรือเข้าไปในช่องทางที่ใช้เป็นทางสำหรับให้เรือแล่นผ่านโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้ผักตบชวาไปปะทะกับหัวเรือพ่วงที่ลากจูงมาแล้วเบี่ยงเบนไปชนกับเสาสะพานจนเกิดความเสียหาย
ในระหว่างที่จำเลยที่ 5 ขับเรือลากจูงเรือพ่วงของจำเลยที่ 1 นั้นยังมืดอยู่ไม่มีแสงจันทร์ และจำเลยที่ 5 ไม่ได้ใช้ไฟฉายเป็นสัญญาณใด ๆ ระหว่างเรือลากจูงกับเรือพ่วงเลยจำเลยที่ 5 เห็นผักตบชวาในระยะใกล้เมื่อเรือเข้าไปอยู่ใต้สะพานแล้วไม่สามารถกลับลำได้ จึงไม่มีทางที่ผู้ที่อยู่ในเรือพ่วงจะทราบและเตรียมป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ การที่เรือพ่วงชนสะพานของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมเรือพ่วง
กรมทางหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ มีระเบียบแบบแผนในการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น จะถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบโดยทางบอกเล่าหรือโดยทางหนังสือพิมพ์นั้นหาได้ไม่ ต้องถือเอาวันที่อธิบดีของโจทก์รับทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เป็นวันที่โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
การที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จำเลยที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปทำการลากจูงเรือพ่วงโดยจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเทพหัสดินทร์ เท่ากับจำเลยที่ 7 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจำเลยที่ 9เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ด้วย จำเลยที่ 9 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม - สัญญาค้ำประกัน - การปรับตามสัญญา - การรับสภาพหนี้
จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกปัญหาคำสั่งศาลให้ปิดหมายเรียกไม่ชอบขึ้นว่ามาในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาจากพยานหลักฐานในสำนวน จำเลยที่ 1 ทำสัญญาลาไปศึกษาและดูงานกับโจทก์ว่าต้องกลับมาปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 5 เท่า ของระยะเวลาที่ลามิฉะนั้นยอมชดใช้เงินคืน 5 เท่า ของเงินที่รับไป จำเลยที่ 1กลับมาปฏิบัติงานให้โจทก์ไม่ครบถ้วน โจทก์คิดค่าปรับตามสัญญาแล้วหักเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากโจทก์ส่วนจำนวนที่ยังไม่ครบค่าปรับได้ให้จำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ไว้นั้นมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และการเปลี่ยนแปลงสถานะเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งเมื่อฟ้องคดีต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10(2) หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ แม้เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้น ซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่โดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหนี้มีประกันเดิมของโจทก์ย่อมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตามผลของ ป.พ.พ. มาตรา 349 และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ให้สิทธิโจทก์ยึดถือใบหุ้นไว้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันอีกต่อไป โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากเจ้าหนี้มีประกันเป็นหนี้ไม่มีประกัน ส่งผลต่อข้อกำหนดการฟ้องคดีล้มละลาย
การฟ้องคดีล้มละลายในกรณีที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน ปัญหาว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ เพิ่งมีประเด็นขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ โจทก์ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าซื้อหุ้น โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินที่ค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 ดังนี้โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 6 แต่เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิขายใบหุ้นที่โจทก์ยึดหน่วงไว้เพื่อชำระหนี้โจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้มีประกันเดิมจึงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวในฟ้องตามที่ระบุไว้ในมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากค่าสินค้าเป็นสัญญากู้ และน้ำหนักพยานหลักฐานในการพิสูจน์สัญญากู้
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ เมื่อจำเลยขอรับเช็คคืน แล้วทำสัญญากู้ให้ไว้กับโจทก์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 มิได้บัญญัติมิให้ศาลยอมรับฟังพยานที่เป็นพี่น้องกับคู่ความฝ่ายที่อ้าง โจทก์มี บ. น้องของโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เบิกความยืนยันตรงกับโจทก์ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำนวน 170,000 บาท ส่วนจำเลยเองมีแต่เพียงตัวจำเลยเบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นมาสนับสนุนว่ารับสินค้าของโจทก์ไปขาย แล้วโจทก์ให้จำเลยลงชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ ประกอบกับจำเลยรับราชการเป็นครูการที่จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยไม่มีการกรอกข้อความนั้น ผิดวิสัยของบุคคลที่มีความรู้ทั่ว ๆ ไปคำพยานโจทก์จึงมีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้ดีกว่าพยานจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบรถยนต์คืน ถือเป็นการระงับสัญญา แม้จะมีการแปลงหนี้
จำเลยที่ 1 ติดต่อกับโจทก์เพื่อขอโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้แก่ ด. ได้มีการทำหนังสือโอนสัญญาเช่าซื้อโดยโจทก์ให้ใช้แบบพิมพ์ของโจทก์ และโจทก์ยังได้ให้ ด.ลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญาเช่าซื้อโดยไม่มีการกรอกข้อความ ทั้งในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างและค่าเช่าซื้อล่วงหน้าของผู้รับโอนสัญญาเช่าซื้ออีก 1 งวดด้วยเช็คของ ด.รวมทั้งค่าธรรมเนียมการโอนสัญญาเช่าซื้อกับค่าอากรให้แก่โจทก์รับไปถูกต้องตามประเพณีปฏิบัติในการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อของโจทก์แล้ว ประกอบกับในวันเดียวกันนั้น ด.ได้ทำแบบยื่นขอทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทกับโจทก์โจทก์ก็รับไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ดังนั้นไม่ว่าการแปลงหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะได้ทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ สัญญาเช่าซื้อก็เป็นอันเลิกกันแล้วนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนโจทก์ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างและค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบรถคืน และผลกระทบต่อการฟ้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ติดต่อกับโจทก์เพื่อขอโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้แก่ด. ได้มีการทำหนังสือโอนสัญญาเช่าซื้อโดยโจทก์ให้ใช้แบบพิมพ์ของโจทก์ และโจทก์ยังได้ให้ ด.ลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญาเช่าซื้อโดยไม่มีการกรอกข้อความ ทั้งในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างและค่าเช่าซื้อล่วงหน้าของผู้รับโอนสัญญาเช่าซื้ออีก 1 งวดด้วยเช็คของ ด. รวมทั้งค่าธรรมเนียมการโอนสัญญาเช่าซื้อกับค่าอากรให้แก่โจทก์รับไปถูกต้องตามประเพณีปฏิบัติในการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อของโจทก์แล้ว ประกอบกับในวันเดียวกันนั้น ด. ได้ทำแบบยื่นขอทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทกับโจทก์ โจทก์ก็รับไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ดังนั้นไม่ว่าการแปลงหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะได้ทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ สัญญาเช่าซื้อก็เป็นอันเลิกกันแล้วนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนโจทก์ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างและค่าเสียหายให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อมีการโอนสิทธิและส่งมอบรถยนต์คืน สัญญาเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 573
การที่จำเลยผู้เช่าซื้อส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเนื่องจากได้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ด.โดยโจทก์ยินยอมแล้วนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ดังนั้น ไม่ว่าการแปลงหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลยจะได้ทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ สัญญาเช่าซื้อก็เป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 นับแต่วันที่จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากค่าเสียหายเป็นหนี้เงินกู้: สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญา แล้วถูกศาลชั้นต้นสั่งขายทอดตลาดไปโดยจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้ให้ไว้โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็น ผู้ทำสัญญาค้ำประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากค่าที่ดินเป็นหนี้กู้ และการผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญาแล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดไป จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เงินเป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้โดยให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองต้องผูกพันตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เพื่อไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และรับเงินจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยในคดีอาญา แล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวของโจทก์ จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินคืนให้โจทก์ไม่ได้ และไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน การนำสืบดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องหรือต่างกับฟ้องไม่.