พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,639 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ: การฟ้องละเมิดต้องฟ้องหน่วยงาน ไม่ใช่ตัวเจ้าหน้าที่
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่ได้วินิจฉัยเป็นประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ มาตรา 183 และศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้สิ้นกระแสความเสียก่อน แต่กลับรับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติและวินิจฉัยคดีไปเลย ย่อมเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไปเสียทีเดียวก่อนที่จะวินิจฉัยเนื้อหาฎีกาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18028/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากฟ้าผ่าเสาสัญญาณโทรศัพท์: ผู้ประกอบการต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหากประมาทเลินเล่อ
โจทก์บรรยายไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของบ้านเช่าครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น เปิดให้เช่า 5 คูหา ต่อมาฟ้าผ่าเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังไม่ต่อสายล่อฟ้าลงพื้นดินเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้าวิ่งไปตามสายไฟฟ้าเข้ามิเตอร์วัดไฟที่ต่อให้ประชาชนใช้ตามบ้านจนเกิดเพลิงไหม้อาคารบ้านเรือนรวมถึงอาคารบ้านเรือน 5 คูหาของโจทก์ แม้โจทก์จะบรรยายเลขที่บ้านเป็นเลขที่ 81 แต่ทางพิจารณาเป็นเลขที่ 16 ก็เป็นข้อแตกต่างที่ไม่เป็นสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17838/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัด สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจำกัดเฉพาะผู้ผิดสัญญา
เดิมโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการครูฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการครูและผู้ใต้บังคับบัญชาโจทก์ ในความผิดทางอาญาฐานเบิกความเท็จ นำสืบแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ และความผิดทางแพ่งในมูลละเมิดเรียกค่าเสียหาย ในคดีแพ่งคู่ความสามารถตกลงกันได้โดยจะไปดำเนินการถอนเรื่องที่ยื่นฟ้องกันไว้ที่ศาลปกครองทั้งหมด รวมถึงคดีแพ่งและคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นนี้ โดยจะไม่นำมาฟ้องร้องอีกเว้นแต่จะเกิดการกระทำขึ้นใหม่ ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ถอนฟ้องและถอนอุทธรณ์ในคดีอาญา แต่จำเลยทั้งสองไม่ถอนฟ้องคดีที่ฟ้องโจทก์ต่อศาลปกครองขอนแก่น เนื่องจากโจทก์มิได้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยทั้งสองและคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในส่วนของข้อตกลงที่ให้ไปถอนเรื่องที่อยู่ในระหว่างดำเนินการทั้งหมดรวมทั้งเรื่องที่ยื่นฟ้องคดีที่ศาลปกครองขอนแก่น ระบุเพียงว่า โจทก์จำเลย (หมายถึงจำเลยที่ 1 ในคดีนี้) เท่านั้น โดยมิได้ระบุให้จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ (ซึ่งอยู่ในห้องพิจารณาด้วย) ไปยื่นคำร้องขอถอนเรื่องด้วย ข้อตกลงตามรายงานดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และย่อมไม่ถือว่าจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 แต่สำหรับจำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงย่อมตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์
ส่วนความรับผิดในค่าเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนอุทธรณ์คดีที่ฟ้องโจทก์แล้วย่อมไม่ทำให้โจทก์เสียหายมากนัก เห็นควรไม่กำหนดค่าเสียหายในกรณีที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาแล้ว ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ศาลปกครองนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยังมีสิทธิฟ้องโจทก์ต่อศาลปกครองขอนแก่น โจทก์จึงยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ศาลดังกล่าวเช่นเดิม การที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีต่อไปฟังไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียงเกียรติยศของโจทก์ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งว่าประสงค์จะเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จึงไม่อาจกำหนดได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ส่วนความรับผิดในค่าเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนอุทธรณ์คดีที่ฟ้องโจทก์แล้วย่อมไม่ทำให้โจทก์เสียหายมากนัก เห็นควรไม่กำหนดค่าเสียหายในกรณีที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาแล้ว ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ศาลปกครองนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยังมีสิทธิฟ้องโจทก์ต่อศาลปกครองขอนแก่น โจทก์จึงยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ศาลดังกล่าวเช่นเดิม การที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีต่อไปฟังไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียงเกียรติยศของโจทก์ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งว่าประสงค์จะเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จึงไม่อาจกำหนดได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14436/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิดและการชำระหนี้: การชำระค่าผลไม้ผ่านตัวแทนย่อมถือเป็นการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซื้อผลไม้ตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรของโจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยซื้อผลไม้จากโจทก์ ไม่เคยค้างชำระค่าผลไม้ จำเลยซื้อผลไม้จาก ส. และ ด.โดยชำระราคาค่าผลไม้ให้แก่บุคคลทั้งสองไปแล้ว ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยซื้อผลไม้จากโจทก์และชำระราคาแล้วหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยชำระราคาค่าผลไม้แก่ ส. และ ด. โดยบุคคลทั้งสองเป็นตัวแทนเชิดของโจทก์ เท่ากับจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไปครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นที่ว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ เพราะจำเลยอาจชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงหรือชำระผ่านตัวแทนของโจทก์ก็ได้ มิใช่เรื่องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13349/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: คดีเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท แม้มีคำขอต่อเนื่องอื่น
การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองในที่ดินพิพาทที่อ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกโดยมีคำขอบังคับท้ายฟ้องเน้นให้เพิกถอนและให้โอนคืนตามลำดับก็เพื่อเรียกร้องให้ได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่ทายาทของ ป. ผู้ตาย รวมทั้งประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามด้วย คดีของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาทจำนวน 233,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงสุพรรณบุรี แม้โจทก์จะมีคำขอให้กำจัดจำเลยที่ 1 ไม่ให้รับมรดกของ ป. ซึ่งเป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์มาด้วย ก็เป็นคำขอต่อเนื่องลำดับที่รองลงไป เมื่อศาลแขวงสุพรรณบุรีมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอหลักดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขออื่นที่รองลงไปนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10879-10880/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการไม่เป็นฟ้องซ้อน กรณีจำเลยเป็นบริวารและบุคคลอื่น
จำเลยทั้งสองและบริวารอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นการทำละเมิดโจทก์ด้วยกันทุกคน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารทั้งหมดให้ออกไปจากที่ดินได้ ไม่ว่าจะฟ้องรวมมาในคดีเดียวกันหรือแยกฟ้องเป็นรายบุคคล โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 สำนวนหลัง ซึ่งเป็นจำเลยคนละคนกับสำนวนแรกจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ประเด็นในคดีก่อนตามคำพิพากษาศาลฎีกามีว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ ส่วนคดีนี้ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคำฟ้องเกี่ยวกับเรื่องละเมิด ซึ่งมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกัน ถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ประเด็นในคดีก่อนตามคำพิพากษาศาลฎีกามีว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ ส่วนคดีนี้ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคำฟ้องเกี่ยวกับเรื่องละเมิด ซึ่งมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกัน ถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10513/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ทำโดยคู่สมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และอำนาจฟ้องของคู่สมรส
การที่ อ. ภริยา ทำสัญญาขายฝากที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการขายฝากที่พิพาทไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง แม้คำขอบังคับของโจทก์เพียงขอให้จำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่พิพาท โดยมิได้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก ก็เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืน เท่ากับมีผลเป็นการเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากด้วยเช่นกัน และการเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากดังกล่าวต้องเพิกถอนนิติกรรมทั้งหมดจะเพิกถอนเฉพาะส่วนของโจทก์หาได้ไม่ แต่เมื่อโจทก์ขอมาเพียงเฉพาะส่วนของโจทก์เท่านั้น ศาลก็มิอาจเพิกถอนทั้งหมดได้เพราะจะเป็นการพิพากษาให้เกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8611/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุสามีบังคับประเวณีด้วยความรุนแรง ถือเป็นการทรมานจิตใจอย่างร้ายแรง
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยซึ่งเป็นสามีอ้างเหตุว่า จำเลยทรมานร่างกายและจิตใจของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3) โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ด้วยการใช้วาจาไม่สุภาพและทะเลาะกับโจทก์โดยไม่มีเหตุผลเป็นประจำ จำเลยถือมีดทำครัวยืนขวางไม่ให้โจทก์ออกจากบ้านและขู่จะฆ่าให้ตายหากไม่นำภาพถ่ายในอดีตของโจทก์มาให้และข่มขู่จะทำร้ายโจทก์ด้วยอารมณ์รุนแรงไม่มีเหตุผล ทำให้โจทก์หนีออกจากบ้านเพราะเกรงจะถูกทำร้าย การที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยใช้มีดขู่ให้โจทก์ยอมร่วมประเวณีด้วย ทั้งๆ ที่โจทก์ไม่สบายและไม่ต้องการร่วมประเวณี ทำให้โจทก์รู้สึกทรมานร่างกายและจิตใจอย่างมาก จึงเป็นรายละเอียดแห่งเหตุหย่าตามที่โจทก์กล่าวบรรยายในฟ้อง มิใช่การนำสืบนอกเหนือจากฟ้องตามฎีกาของจำเลยแต่อย่างใด โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อผู้ร้องเสียชีวิต และผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ร้องถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 คำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไป การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ร้องไม่อาจรับมรดกความกันได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องอีก ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756-5761/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเมื่อเกษียณอายุ และความแตกต่างจากบำเหน็จ
โจทก์ทั้งหกฟ้องเรียกเงินอันเกิดจากการเลิกจ้างจากจำเลย ส่วนการที่โจทก์ทั้งหกมีสิทธิได้รับเงินอันเกิดจากการเลิกจ้างตามกฎหมายใดเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับข้อเท็จจริงจากการเลิกจ้างเข้ากับตัวบทกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินอันเนื่องมาจากการเลิกจ้างด้วยเหตุเกษียณอายุ โจทก์ทั้งหกจึงถูกโต้แย้งสิทธิ มีอำนาจฟ้องเรียกเงินนั้นจากจำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยเป็นองค์การของรัฐและเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 มาตรา 6, 7 เป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4 ตามความหมายของคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ใน (1) ประเภทกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งจำเลย บุคคลทั้งหกเป็นพนักงานของรัฐวิสาหกิจตามความหมายของคำว่า "พนักงาน" เมื่อ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ถูกยกเลิก จำเลยก็ยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 ตามความหมายของคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ใน (1) ประเภทกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งจำเลย โจทก์ที่ 4 และที่ 6 ยังคงเป็นลูกจ้างของจำเลยต่อมาจึงเป็นลูกจ้างตามความหมายของคำว่า "ลูกจ้าง" เมื่อไม่มีพระราชกฤษฎีกายกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 แก่จำเลยตามมาตรา 5 จำเลยจึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 และอยู่ภายใต้ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 11 (1) 11 วรรคสอง เมื่อ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 ใช้บังคับแล้วระเบียบนี้ก็ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปตามมาตรา 95 วรรคหนึ่ง
ข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยบำเหน็จของพนักงานองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2520 ข้อ 4 กำหนดให้พนักงานได้รับบำเหน็จเมื่อต้องออกจากงานเพราะข้อ 4.1 ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ หมายความว่าเป็นการออกจากงานไม่ว่ากรณีใดซึ่งรวมถึงการลาออกและออกด้วยเหตุเกษียณอายุด้วย ไม่ใช่การออกจากงานเฉพาะเหตุเกษียณอายุจึงจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จ ส่วนข้อ 4.2 ถึง 4.4 จะได้รับบำเหน็จเมื่อทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีบริบูรณ์ ในกรณีหย่อนสมรรถภาพ ป่วยเจ็บถึงแก่ความตาย ข้อ 5 วรรคหนึ่ง กำหนดให้จ่ายบำเหน็จแก่บุคคลตามข้อ 4 ในจำนวนเท่ากับเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาทำงาน ดังนั้นผู้ที่ออกจากงานตามข้อ 4.1 จึงได้รับบำเหน็จตามข้อ 5 เริ่มต้นจากเมื่อทำงานมาแล้วครบ 5 ปีบริบูรณ์ (ซึ่งเป็นเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์) เท่ากับเงินเดือนเดือนสุดท้าย 5 เดือน หรือ 150 วัน และเพิ่มขึ้นในอัตราจำนวนปีเวลาทำงาน 1 ปี ต่อเงินเดือน 1 เดือน แตกต่างจากบำเหน็จตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 ที่กำหนดให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 5 ปี ขึ้นไป ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน เป็นความแตกต่างทั้งคุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ อัตราเริ่มต้นบำเหน็จและอัตราบำเหน็จที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งบำเหน็จตามข้อ 4.1 และข้อ 5 ไม่ใช่เงินที่จำเลยต้องจ่ายเป็นค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างพนักงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาทำงานที่ติดต่อกันครบ 120 วัน ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ดังนั้นบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้บุคคลทั้งหกไปแล้วจึงไม่ใช่เงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่เงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุที่จะนำมาหักออกจากเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคสอง จำเลยจึงต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานให้โจทก์แต่ละคนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
จำเลยเป็นองค์การของรัฐและเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 มาตรา 6, 7 เป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4 ตามความหมายของคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ใน (1) ประเภทกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งจำเลย บุคคลทั้งหกเป็นพนักงานของรัฐวิสาหกิจตามความหมายของคำว่า "พนักงาน" เมื่อ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ถูกยกเลิก จำเลยก็ยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 ตามความหมายของคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ใน (1) ประเภทกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งจำเลย โจทก์ที่ 4 และที่ 6 ยังคงเป็นลูกจ้างของจำเลยต่อมาจึงเป็นลูกจ้างตามความหมายของคำว่า "ลูกจ้าง" เมื่อไม่มีพระราชกฤษฎีกายกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 แก่จำเลยตามมาตรา 5 จำเลยจึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 และอยู่ภายใต้ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 11 (1) 11 วรรคสอง เมื่อ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 ใช้บังคับแล้วระเบียบนี้ก็ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปตามมาตรา 95 วรรคหนึ่ง
ข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยบำเหน็จของพนักงานองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2520 ข้อ 4 กำหนดให้พนักงานได้รับบำเหน็จเมื่อต้องออกจากงานเพราะข้อ 4.1 ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ หมายความว่าเป็นการออกจากงานไม่ว่ากรณีใดซึ่งรวมถึงการลาออกและออกด้วยเหตุเกษียณอายุด้วย ไม่ใช่การออกจากงานเฉพาะเหตุเกษียณอายุจึงจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จ ส่วนข้อ 4.2 ถึง 4.4 จะได้รับบำเหน็จเมื่อทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีบริบูรณ์ ในกรณีหย่อนสมรรถภาพ ป่วยเจ็บถึงแก่ความตาย ข้อ 5 วรรคหนึ่ง กำหนดให้จ่ายบำเหน็จแก่บุคคลตามข้อ 4 ในจำนวนเท่ากับเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาทำงาน ดังนั้นผู้ที่ออกจากงานตามข้อ 4.1 จึงได้รับบำเหน็จตามข้อ 5 เริ่มต้นจากเมื่อทำงานมาแล้วครบ 5 ปีบริบูรณ์ (ซึ่งเป็นเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์) เท่ากับเงินเดือนเดือนสุดท้าย 5 เดือน หรือ 150 วัน และเพิ่มขึ้นในอัตราจำนวนปีเวลาทำงาน 1 ปี ต่อเงินเดือน 1 เดือน แตกต่างจากบำเหน็จตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 ที่กำหนดให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 5 ปี ขึ้นไป ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน เป็นความแตกต่างทั้งคุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ อัตราเริ่มต้นบำเหน็จและอัตราบำเหน็จที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งบำเหน็จตามข้อ 4.1 และข้อ 5 ไม่ใช่เงินที่จำเลยต้องจ่ายเป็นค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างพนักงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาทำงานที่ติดต่อกันครบ 120 วัน ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ดังนั้นบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้บุคคลทั้งหกไปแล้วจึงไม่ใช่เงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่เงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุที่จะนำมาหักออกจากเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคสอง จำเลยจึงต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานให้โจทก์แต่ละคนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน