พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,639 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็น: การแบ่งแยกที่ดินและการใช้ทางเดิมต่อเนื่อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำทางเข้าออกจากที่ดินของจำเลยสู่ทางสาธารณะโดยทำจากถนนคูหามุข ซอยจินากุล อันเป็นทางสาธารณะซึ่งอยู่ห่างที่ดินของโจทก์ประมาณ 200 เมตรเข้ามาในที่ดินของจำเลยจรดกับที่ดินของโจทก์ มีความกว้างประมาณ 5 เมตร ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ทางที่จำเลยทำขึ้นในที่ดินของจำเลยดังกล่าวเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะ ตามคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงถึงความกว้างยาวของทางที่โจทก์ต้องการให้จำเลยเปิดเป็นทางจำเป็นโดยแจ้งชัดแล้ว ส่วนปัญหาว่าทางดังกล่าวจะคิดเป็นเนื้อที่เท่าใดนั้นมิใช่สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์จำต้องบรรยายในคดี คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ทางที่จำเลยทำขึ้นในที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ มิได้บรรยายว่าเดิมที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกกันเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในส่วนที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ
โจทก์เคยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู้ทางสาธารณะ และในขณะยื่นฟ้องผู้เช่าที่ดินของโจทก์ทำสวนผลไม้ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเช่นเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่าทางพิพาทมีความกว้าง 3 เมตร โจทก์ยื่นคำแก้ฎีกาขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 5 เมตร ตามสภาพความเป็นจริงเป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 โจทก์จะต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาเข้ามา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ทางที่จำเลยทำขึ้นในที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ มิได้บรรยายว่าเดิมที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกกันเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในส่วนที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ
โจทก์เคยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู้ทางสาธารณะ และในขณะยื่นฟ้องผู้เช่าที่ดินของโจทก์ทำสวนผลไม้ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเช่นเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่าทางพิพาทมีความกว้าง 3 เมตร โจทก์ยื่นคำแก้ฎีกาขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 5 เมตร ตามสภาพความเป็นจริงเป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 โจทก์จะต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาเข้ามา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายค่าขาดประโยชน์ได้ แม้ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขาดราคาแล้ว หากการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาและนำออกประมูลขายทอดตลาดได้เงิน 70,000 บาท เมื่อนำมาหักกับราคาเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วยังขาดอยู่อีก 179,173.72 บาท โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา 179,173.72 บาท และค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน เป็นเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัด ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา 160,000 บาท ส่วนค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยนั้นถือเป็นการคิดค่าเสียหายส่วนหนึ่ง เมื่อได้กำหนดค่าเสียหายให้เป็นจำนวนพอสมควรแล้วจึงไม่กำหนดให้อีก ดังนั้น ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำฟ้องในเนื้อที่ดินพิพาท ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เกินคำฟ้องเนื่องจากเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ฎีกาของจำเลยและจำเลยร่วมที่ว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองในเนื้อที่ดินที่ฟ้องหรือไม่ แม้เป็นประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยและจำเลยร่วมจึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ จำเลยและจำเลยร่วมอุทธรณ์โดยรับในอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทฟังเป็นยุติว่ามีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ จำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องแต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ จำเลยและจำเลยร่วมอุทธรณ์โดยรับในอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทฟังเป็นยุติว่ามีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ จำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม, สัญญาเช่า, ค่าเสียหายจากการครอบครองทำประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว, การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
โจทก์ทั้งสี่กับจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกัน จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ทั้งสี่โดยมีกำหนดระยะเวลา เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว สัญญาเช่าย่อมสิ้นสุดลง คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ โจทก์ทั้งสี่และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมต่างก็มีสิทธิเท่าเทียมกันในการที่จะครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้งแปลงจนกว่าจะแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมตามกฎหมาย การที่จำเลยยังคงครอบทำประโยชน์ที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวย่อมขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายต้องขาดประโยชน์อันควรได้รับจากที่ดินดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่เป็นค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยยังคงครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตามควรค่าแห่งการใช้นั้นตามมาตรา 391 วรรคสาม
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งเช่าที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่น และโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ขอให้บังคับจำเลยไปแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยกับโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าเปลี่ยนเจตนาเป็นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โดยมีเจตนาให้มีผลผูกพันกันทั้งสองฝ่าย มิได้ยกเลิกสัญญาเช่ากันตามที่จำเลยต่อสู้ ก็เพื่อจะวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ส่วนที่วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้น ในที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็หาได้พิพากษาบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินหรือให้ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่การพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน เมื่อในส่วนที่มีทุนทรัพย์นั้นศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 32,000 บาท และค่าขาดประโยชน์เป็นรายเดือนหลังฟ้องแก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยฎีกาว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดประโยชน์เลย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาตามจำนวนที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เท่านั้น
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งเช่าที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่น และโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ขอให้บังคับจำเลยไปแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยกับโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าเปลี่ยนเจตนาเป็นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โดยมีเจตนาให้มีผลผูกพันกันทั้งสองฝ่าย มิได้ยกเลิกสัญญาเช่ากันตามที่จำเลยต่อสู้ ก็เพื่อจะวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ส่วนที่วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้น ในที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็หาได้พิพากษาบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินหรือให้ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่การพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน เมื่อในส่วนที่มีทุนทรัพย์นั้นศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 32,000 บาท และค่าขาดประโยชน์เป็นรายเดือนหลังฟ้องแก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยฎีกาว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดประโยชน์เลย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาตามจำนวนที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9692/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยชอบ และสิทธิของผู้รับซื้อขายฝากเมื่อผู้ขายไม่ไถ่ถอน
โฉนดที่ดินมีชื่อ บ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพีงผู้เดียวโจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างร่วมกับ บ. บ. ยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ท. ทั้งแปลงโดยไม่ชอบ และ ท. นำไปขายฝากกับจำเลยแล้วไม่ไถ่ถอน ทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตกเป็นสิทธิขาดแก่จำเลย แต่โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์จากจำเลยกึ่งหนึ่งโดยมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนให้ระหว่าง บ. กับ ท. เท่ากับว่าการโอนดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย เมื่อการโอนชอบ ท. ย่อมมีสิทธินำไปขายฝากให้แก่จำเลยได้ จำเลยจึงรับซื้อไว้โดยชอบ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่สามารถบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9591/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในฐานะตัวการตัวแทนและขอบเขตการฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 4 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 4 เป็นตัวการ อันเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวการตัวแทนตามมาตรา 427 การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการตัวแทนจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 โจทก์ไม่อุทธรณ์ปัญหานี้จึงยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 โจทก์ไม่อุทธรณ์ปัญหานี้จึงยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9494/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จำนอง-การบังคับจำนอง-ดอกเบี้ย-การแก้ไขคำพิพากษา
สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่นั้น อายุความฟ้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีกำหนดอายุความห้าปี และเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 จึงเกินห้าปี ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ และศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับ จ. เจ้ามรดกที่มีจำเลยที่ 1 เป็นทายาทโดยธรรมซึ่งให้การยกข้อต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247
หนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 744 ที่บัญญัติเหตุจำนองระงับไว้ใน (1) ถึง (6) โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้ แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีตามที่มาตรา 745 บัญญัติห้ามไว้เท่านั้น
โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 13.75 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา จึงมิใช่เบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างมาในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
หนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 744 ที่บัญญัติเหตุจำนองระงับไว้ใน (1) ถึง (6) โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้ แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีตามที่มาตรา 745 บัญญัติห้ามไว้เท่านั้น
โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 13.75 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา จึงมิใช่เบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างมาในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจประกันตัวและเช็คคืนเงินประกัน สิทธิในการเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานตัวแทนและลูกหนี้
โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยนำเงิน 70,000 บาท ของโจทก์ไปประกันตัว ก. ต่อศาลชั้นต้นแทนโจทก์ เมื่อคดีถึงที่สุดศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 70,000 บาท ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่จำเลยในฐานะนายประกัน จำเลยมอบเช็คให้โจทก์แต่ไม่ยอมมาเบิกเงินตามเช็คจากธนาคารคืนโจทก์ แต่จำเลยอยู่ในฐานะผู้ทรงที่พึงจะยื่นเช็คเพื่อให้ธนาคารใช้เงินแก่ตนเท่านั้น เงินที่ธนาคารพึงใช้ให้แก่จำเลยตามเช็คมิใช่เงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 โดยตรง เมื่อหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน หากจำเลยไม่ชำระ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่จำเลยตามมาตรา 214 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินจากธนาคารตามเช็คเพื่อมอบให้แก่โจทก์ รวมทั้งจะขอให้บังคับธนาคารตามเช็คซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีใช้เงินตามเช็คที่ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่โจทก์ก็ไม่ได้
ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยมาเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้องอันเป็นเพียงวิธีการบังคับชำระหนี้เป็นตัวเงิน แต่เมื่อมีหนี้เงินดังกล่าวซึ่งจำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยมาเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้องอันเป็นเพียงวิธีการบังคับชำระหนี้เป็นตัวเงิน แต่เมื่อมีหนี้เงินดังกล่าวซึ่งจำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิโจทก์บังคับจำเลยถอนเงินจากเช็คชำระหนี้ แม้เป็นเงินประกันตัวคดีอาญา
โจทก์มอบหมายให้ ส. นำเงินของโจทก์ไปประกันตัว ก. ต่อศาลชั้นต้น จำเลยรับเงินจาก ส. ไปดำเนินการ เมื่อคดีถึงที่สุดศาลชั้นต้นสั่งคืนเงินประกันโดยสั่งจ่ายเช็คธนาคาร อ. ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงิน จำเลยย่อมอยู่ในฐานะผู้ทรงในฐานเป็นผู้รับเงินที่พึงจะยื่นเช็คเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คแก่ตนเท่านั้น เงินที่ธนาคารพึงใช้ให้แก่จำเลยตามเช็คจึงไม่ใช่เงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 โดยตรง หากจำเลยไม่ชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลย รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินจากธนาคารตามเช็คเพื่อมอบให้แก่โจทก์ รวมทั้งจะขอให้บังคับธนาคารซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีใช้เงินตามเช็คดังกล่าวแก่โจทก์ไม่ได้
คำฟ้องของโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้อง ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ได้
คำฟ้องของโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้อง ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ได้