พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,639 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก – ทายาทมีสิทธิรับส่วนแบ่งตามสัดส่วน แม้มีการชำระเงินบางส่วนไปแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกของ ด. แบ่งปันกันเอง โดยจำเลยทั้งสามร่วมกันอ้างว่า ด. มีบุตร 3 คน ซึ่งเป็นความเท็จ และร่วมกันแบ่งทรัพย์มรดกของ ด. โดยไม่แบ่งปันให้แก่โจทก์และบุตร จำเลยทั้งสามสมควรที่จะถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดก และมีคำขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนหรือแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ด. ตามส่วนให้แก่โจทก์และบุตร ตามคำฟ้องและอุทธรณ์ของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกของ ด. แบ่งปันกันเอง โดยไม่แบ่งปันให้แก่โจทก์และบุตร จำเลยทั้งสามสมควรที่จะถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดก และมีคำขอที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนหรือแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ด. ตามส่วนให้แก่โจทก์และบุตร ตามคำฟ้องและอุทธรณ์ของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ด. ให้แก่โจทก์และบุตร ย่อมมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 และไม่อาจถือว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ด. ประกอบกับเหตุแห่งการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกตามฟ้องเกิดขึ้นหลัง ด. ตายเกินกว่าระยะเวลา 1 ปีแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้เกินระยะเวลา 1 ปี นับแต่ ด. ถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม แม้โจทก์ประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบ
ก. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์เก็บรักษาสมุดเช็คไว้ในตู้เซฟภายในห้องทำงาน บางครั้งจะให้ ศ. พนักงานการเงินและบัญชีกรอกรายละเอียดในเช็คที่จะสั่งจ่าย ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ลักเช็คพิพาททั้งสิบเจ็ดฉบับไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย หาก ก. ตรวจสอบก็จะทราบว่าลายมือที่ต้นขั้วเช็คเป็นของ ส. ไม่ใช่ลายมือของ ศ. โจทก์จึงมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ การจ่ายเงินตามเช็คเป็นงานที่เกิดขึ้นเป็นประจำ พนักงานจำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คกับตัวอย่างลายมือชื่อที่จำเลยมีอยู่ว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายจริงหรือไม่ เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมในเช็คแตกต่างกับลายมือชื่อที่โจทก์ให้ไว้แก่จำเลย การที่พนักงานของจำเลยจ่ายเงินตามเช็คถึงสิบเจ็ดฉบับจึงเป็นการขาดความระมัดระวังเท่าที่สมควรจะต้องใช้ในกิจการเช่นจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเช็คทั้งสิบเจ็ดฉบับ รวมเป็นเงิน 1,707,975.05 บาท พร้อมดอกเบี้ย เท่ากับเป็นการขอให้บังคับจำเลยคืนเงินตามเช็ค รวมจำนวน 1,707,975.05 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์มากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเช็คทั้งสิบเจ็ดฉบับ รวมเป็นเงิน 1,707,975.05 บาท พร้อมดอกเบี้ย เท่ากับเป็นการขอให้บังคับจำเลยคืนเงินตามเช็ค รวมจำนวน 1,707,975.05 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์มากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5226/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเล็กน้อยในจำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระตามคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ณ วันที่ 20 มีนาคม 2552 จำเลยมีหนี้ค้างชำระการใช้บัตรเครดิตแก่โจทก์จำนวน 200,042.17 บาท ซึ่งจะต้องชำระภายในวันที่ 9 เมษายน 2552 โจทก์ได้ทวงถามแล้วแต่จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นเงิน 200,042.17 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 184,386.18 บาท นับแต่วันที่ 21 มีนาคม 2552 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2552 เป็นเงิน 6,592.44 บาท รวมเป็นเงินที่ต้องชำระทั้งสิ้น 206,634.61 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 6,592.44 บาท ซึ่งคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสิ้น 206,634.61 บาท และโจทก์ระบุเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องคดีนี้ อันเป็นการบรรยายหนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ตามที่ปรากฏในคำฟ้องแล้ว แสดงว่าโจทก์ประสงค์ที่จะได้รับชำระหนี้ตามจำนวนที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ดังกล่าว หาใช่ต้องการให้จำเลยชำระหนี้เพียง 6,592.44 บาท ไม่ น่าเชื่อว่าตามคำขอบังคับของโจทก์ เกิดจากความพลั้งเผลอพิมพ์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนาที่แท้จริง เป็นเหตุให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 6,592.44 บาท ผิดพลาดไปด้วย กรณีถือได้ว่าคำพิพากษามีข้อผิดพลาดเล็กน้อย โจทก์จึงชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องได้ จึงมีเหตุสมควรแก้ไขจำนวนเงินในคำพิพากษาจาก 6,592.44 บาท เป็น 206,634.61 บาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4502/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดรับผิดชอบหนี้แม้ลาออก: ตัวการเชิดหุ้นส่วนผู้จัดการ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด สำหรับจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2539 ถึงปี 2545 และเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด และกล่าวในตอนท้ายว่า ถือว่าจำเลยทั้งสามได้ประโยชน์จากการทำงานของโจทก์ จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสามให้การและแก้ไขคำให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จริง แต่ลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้ว จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด หลังจากลาออกเป็นเวลา 2 ปี เท่านั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจากจำเลยที่ 3 ลาออกเป็นเวลากว่า 2 ปี จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้อง โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ จากจำเลยทั้งสามนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 และหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยหรือไม่ จึงรวมอยู่ในข้อหาที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดอย่างไรตามบทกฎหมายใด ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวการเชิดจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แทนตน แล้วให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2560)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2560)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1476/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโอนสิทธิและผลของการครอบครองโดยชอบธรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากพระภิกษุ ป. และเข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แต่ที่ดินพิพาทกลับมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของ และมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับซื้อฝาก เป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท เท่ากับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ โจทก์จึงเสนอคดีของตนต่อศาลได้ ส่วนที่ดินพิพาทไม่ใช่แปลงเดียวกับที่โจทก์ซื้อมาจากพระภิกษุ ป. หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากพระภิกษุ ป. และเข้าครอบครองทำประโยชน์ หาใช่เป็นการครอบครองที่ดินผิดแปลง แม้การให้ที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับพระภิกษุ ป. ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 แต่เมื่อ ส. สละการครอบครองและโอนการครอบครองโดยส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่พระภิกษุ ป. การครอบครองของ ส. ย่อมสิ้นสุดลง พระภิกษุ ป. ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 และแม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างพระภิกษุ ป. กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อพระภิกษุ ป. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยสละการครอบครองและส่งมอบที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ค. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จึงไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทซึ่งไม่ใช่มรดกของ ส. ให้แก่ ป. ป. ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ไม่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตามความจริง จึงไม่ใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง และไม่มีสิทธิขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แม้การขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากพระภิกษุ ป. และเข้าครอบครองทำประโยชน์ หาใช่เป็นการครอบครองที่ดินผิดแปลง แม้การให้ที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับพระภิกษุ ป. ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 แต่เมื่อ ส. สละการครอบครองและโอนการครอบครองโดยส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่พระภิกษุ ป. การครอบครองของ ส. ย่อมสิ้นสุดลง พระภิกษุ ป. ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 และแม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างพระภิกษุ ป. กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อพระภิกษุ ป. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยสละการครอบครองและส่งมอบที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ค. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จึงไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทซึ่งไม่ใช่มรดกของ ส. ให้แก่ ป. ป. ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ไม่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตามความจริง จึงไม่ใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง และไม่มีสิทธิขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แม้การขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10027/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำฟ้องอุทธรณ์ คดีมรดก-กรรมสิทธิ์ที่ดิน ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นบุตรของผู้ตาย คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ และที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย แต่ติดจำนองบุคคลภายนอกที่ไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีนี้จึงไม่อาจพิพากษาให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยปลอดจำนองได้ จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่าโจทก์ไม่ใช่บุตรของผู้ตาย คดีโจทก์ขาดอายุความ และที่ดินพิพาทไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ไม่อุทธรณ์ เพียงแก้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีชั้นอุทธรณ์จึงไม่มีปัญหาว่าจำเลยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 นอกจากจะวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นบุตรของผู้ตาย คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ และที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ผู้ตายครอบครองแทนทายาทอื่นแล้ว ยังวินิจฉัยเลยไปว่าต้องนำทรัพย์มรดกมาแบ่งปันระหว่างโจทก์กับจำเลยคนละครึ่งแล้วพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกึ่งหนึ่งในที่ดินพิพาท และพิพากษาเลยไปถึงบ้านที่ตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าวด้วย ดังนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นการพิพากษาให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ มิชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8347-8401/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์ที่รู้เห็นการออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับผิดเป็นการส่วนตัวในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง ของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์ฎีกาแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินกระทำการประมาทเลินเล่อ โดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ซึ่งเมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับผิดเป็นการส่วนตัวในผลแห่งละเมิด กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำละเมิดหรือไม่
โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ซึ่งรับทำการจัดซื้อที่ดินผืนใหญ่ให้โจทก์ สนับสนุนให้จำเลยที่ 3 เจ้าหน้าที่ที่ดินกระทำโดยทุจริตในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงพิพาท ซึ่งเมื่อโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่ชอบ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ได้ ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่สิบเก้า
โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ซึ่งรับทำการจัดซื้อที่ดินผืนใหญ่ให้โจทก์ สนับสนุนให้จำเลยที่ 3 เจ้าหน้าที่ที่ดินกระทำโดยทุจริตในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงพิพาท ซึ่งเมื่อโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่ชอบ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ได้ ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่สิบเก้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสที่ดิน เงินฝาก และหุ้นหลังการหย่าร้าง ประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ และข้อจำกัดการฎีกา
คำฟ้องของโจทก์ข้อ 2.2 - 2.5 บรรยายบัญชีเงินฝากในธนาคาร ก. ธนาคาร ท. ธนาคาร อ. และธนาคาร พ. รวม 4 ธนาคาร แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์และบรรยายในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า ขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะทรัพย์สินดังต่อไปนี้ว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ล. โดยไม่ได้อุทธรณ์ถึงบัญชีเงินฝากธนาคาร พ. แต่อย่างใด ทั้งในตอนท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ยังมีคำขอในข้อ 2 ให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสในส่วนที่เป็นเงินฝากธนาคารแก่โจทก์เพียง 35,872.73 บาท เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เงินฝากในธนาคาร พ. มีจำนวน 800,000 บาท เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ล. โจทก์จึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่งและพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งสินสมรสในส่วนเงินฝากธนาคารแก่โจทก์ 435,872.22 บาท พร้อมดอกเบี้ยนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5662/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อทั้งสองฝ่าย: การพิพากษาความรับผิดทางละเมิด กรณีอุบัติเหตุบนทางก่อสร้าง
เมื่อโจทก์ทั้งสองอ้างส่งภาพถ่ายรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง ทั้งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายประมาทหรือไม่ และจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ เพียงใด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกภาพถ่ายดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยและมีอำนาจวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความประมาทเลินเล่อด้วยหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อจะได้กำหนดค่าเสียหายได้ถูกต้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 จึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องหรือนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การพิจารณาฐานะผู้ตาย, ผู้รับประโยชน์, และความรับผิดของผู้รับประกัน
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคท้าย ย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู และต้องพิจารณาว่าหากผู้ตายมีชีวิตจะให้อุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใดและเป็นเวลานานเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะถึงแก่ความตายผู้ตายกำลังใกล้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในระหว่างนั้นโจทก์ที่ 1 มีอายุ 53 ปี และโจทก์ที่ 2 มีอายุ 45 ปี หากผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายย่อมมีโอกาสจบการศึกษาและประกอบอาชีพมีรายได้พอสมควร ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายโดยให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสองเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี นับว่าเหมาะสมตามสมควรและตามฐานะของผู้ตายกับโจทก์ทั้งสองแล้ว
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์แท็กซี่และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 หรือผู้ใช้ จ้างวาน หรือผู้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 กระทำการร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์แท็กซี่ด้วยความประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์สามล้อเครื่องที่จำเลยที่ 5 ขับจนเป็นเหตุให้ผู้ตายซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย ฐานที่ตั้งแห่งสิทธิเรียกร้องตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองต่อจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด และโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์แท็กซี่จากจำเลยที่ 2 ให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ฐานที่ตั้งแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองต่อจำเลยที่ 4 เป็นเรื่องหนี้อันเกิดแต่สัญญา การที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 4 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยที่ 4 ยอมใช้เงิน 300,000 บาท เป็นการระงับหนี้อันเกิดแต่สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 4 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนจำนวนเงินที่ยังไม่เต็มตามความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นข้อโต้แย้งสิทธิอันเกิดจากสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 เมื่อคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 4 รับผิดตามสัญญาประกันภัยตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. ย่อมไม่อาจให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในวงเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเนื่องจากจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์แท็กซี่และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 หรือผู้ใช้ จ้างวาน หรือผู้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 กระทำการร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์แท็กซี่ด้วยความประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์สามล้อเครื่องที่จำเลยที่ 5 ขับจนเป็นเหตุให้ผู้ตายซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย ฐานที่ตั้งแห่งสิทธิเรียกร้องตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองต่อจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด และโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์แท็กซี่จากจำเลยที่ 2 ให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ฐานที่ตั้งแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองต่อจำเลยที่ 4 เป็นเรื่องหนี้อันเกิดแต่สัญญา การที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 4 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยที่ 4 ยอมใช้เงิน 300,000 บาท เป็นการระงับหนี้อันเกิดแต่สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 4 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนจำนวนเงินที่ยังไม่เต็มตามความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นข้อโต้แย้งสิทธิอันเกิดจากสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 เมื่อคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 4 รับผิดตามสัญญาประกันภัยตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. ย่อมไม่อาจให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในวงเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเนื่องจากจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142